การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หมายถึง การเก็บรักษา สงวน ซ่อมแซม ปรับปรุง และใช้ประโยชน์ตามความต้องการอย่างมีเหตุผลต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อเอื้ออำนวยให้เกิดคุณภาพสูงสุดในการสนองความเป็นอยู่ของมนุษย์อย่างถาวรต่อไป
หลักการอนุรักษ์
การที่จะให้บรรลุเป้าหมาย คือ การที่จะทำให้มีทรัพยากรธรรมชาติไว้ใช้และอยู่คู่กับโลกตลอดไปได้นั้น มีหลักการอนุรักษ์ 3 ประการ คือ
1. ใช้อย่างฉลาด การจะใช้ ต้องพิจารณาให้รอบคอบถึงผลดี ผลเสีย ความขาดแคลนหรือความหายากในอนาคต อีกทั้งพิจารณาหลักเศรษฐศาสตร์ถึงต้นทุนและผลตอบแทนอย่างถี่ถ้วน
2. ประหยัด (เก็บ รักษา สงวน) ของที่หายาก หมายถึง ทรัพยากรใดที่มีน้อยหรือหายาก ควรเก็บรักษาไว้มิให้สูญไป บางครั้งถ้ามีของบางชนิดที่พอจะใช้ได้ ต้องใช้อย่างประหยัด
3. ฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดีหรือเสื่อมโทรมให้ดีขึ้น (ซ่อมแซม ปรับปรุง) กล่าวคือ ทรัพยากรใดก็ตามมีสภาพล่อแหลมต่อการสูญเปล่า หรือจะหมดไปถ้าดำเนินการไม่ถูกต้องตามหลักวิชา ควรหาทางปรับปรุงให้อยู่ในลักษณะที่ดีขึ้น
2. การจัดการสิ่งแวดล้อม
การจัดการ(Management) หมายถึงการดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการจัดการ การเก็บรักษา ซ่อมแซม การใช้อย่างประหยัด อีกทั้งการสงวนเพื่อให้สิ่งที่ดำเนินนั้นสามารถให้ผลยั่งยืน (Sustained Yields) ต่อมวลมนุษย์และธรรมชาติ
การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หมายถึง การดำเนินการต่อทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสามารถเอื้ออำนวยให้มวลมนุษย์มีใช้ตลอดไป โดยไม่ขาดแคลนและมีปัญหาใดๆ โดยใช้วิธี กาสงวน อนุรักษ์และพัฒนา
3. บทบาทการประสานความร่วมมือขององค์กร หน่วยงานภาครัฐและเอกชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย
- ภาครัฐบาล สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมมลพิษ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กรมป่าไม้
- ภาคเอกชน NGOs องค์กรเอกชนด้านคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
- ระดับโลก องค์กรยูเนสโก (UNSECO) IUCN ,WWF, Green Peace
สิทธิและหน้าที่ของประชาชนและการให้ความช่วยเหลือต่อองค์กรเอกชน
สิทธิและหน้าที่ของประชาชนในการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติตามมาตรา 6 ของพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ได้ระบุไว้ดังนี้
1. การรับทราบข้อมูลและข่าวสารของทางราชการในเรื่องที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและรักษาคุณภาพ สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ยกเว้นข้อมูลทางราชการที่ถือว่าเป็นความลับ
2. การได้รับชดเชยค่าเสียหายหรือค่าทดแทนจากรัฐ ในกรณีที่เกิดจากภัยอันตรายจากการแพร่กระจายของมลพิษจากกิจการหรือโครงการที่ราชการหรือรัฐวิสาหกิจริเริ่มสนับสนุนหรือดำเนินการ
3. การร้องเรียน กล่าวโทษผู้กระทำผิดที่ละเมิด หรือฝ่าฝืนกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมมลพิษหรือการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
4. การให้ความร่วมมือและช่วยเหลือเจ้าพนักงานในการปฏิบัติหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการส่ง เสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
5. การปฏิบัติตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมหรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมโดยเคร่งครัดประเทศไทยกับอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ
ประเทศไทยได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มขึ้น จากการทำสัตยาบันในอนุสัญญาความหลากหลาย ทางชีวภาพ ดังนี้
1. เป็นภาพพจน์ที่ดีต่อที่รัฐบาลไทยให้คำมั่นสัญญาต่อประชาคมโลก ในการรักษาสิ่งแวดล้อม ของประเทศไทยและของโลกไว้ให้ดีที่สุดที่จะเป็นไปได้
2. มีการควบคุมดูแลอย่างจริงจังมากขึ้นในการที่ประเทศต่างๆจะเข้ามาศึกษาวิจัยและการนำทรัพยากรชีวภาพออกไปวิจัยนอกประเทศ
3.ได้รับสิทธิประโยชน์ต่อการที่ประเทศต่างๆมีการนำทรัพยากรที่มีใประเทศออกไปใช้ และ
ประเทศนั้นจะต้องถ่ายทอดเทคโนโลยีอย่างเหมาะสมให้กับประเทศไทยด้วย
4. ร่วมกับประเทศภาคีสมาชิกซึ่งมีทรัพยากรชีวภาพที่เหมือนกัน ในการเจรจาต่อรองกับประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจในการรักษาผลประโยชน์ด้านต่าง ๆ ร่วมกัน
5. สามารถนำทรัพยากรชีวภาพที่ขาดแคลนจากประเทศภาคีสมาชิกมาใช้ได้
6. สิทธิในการเข้าร่วมเจรจาระหว่างประเทศในการกำหนดหลักเกณฑ์ต่างๆ ในการจัดการ
ทรัพยากรชีวภาพในการประชุมของประเทศภาคีอนุสัญญาเช่นการเข้าไปร่วมกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ หรือ Bio Safety ฯลฯ
7. เป็นผลดีต่อการค้าส่งออกในระบบนานาชาติ เพราะปัจจุบันประเทศมหาอำนาจทางการค้า มองด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติของประเทศคู่ค้าเป็นสำคัญ
8. กระตุ้นให้รัฐบาลดำเนินงานด้านอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพให้กฎหมายเกี่ยวกับ การจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างจริงจัง เพราะรัฐบาลจะต้องรายงานสถานะภาพความหลากหลาย ทางชีวภาพต่อที่ประชุมใหญ่ของสมัชชาภาคีทุกปี
9. จะได้รับงบประมาณพิเศษมาช่วยเหลือจากกองทุนสิ่งแวดล้อมโลกในการวิจัยการจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรชีวภาพในประเทศ
10.อนุสัญญาฯนี้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งชุมชนท้องถิ่นและชุมชน พื้นเมืองจะได้รับการยอมรับมากขึ้นที่จะร่วมมือกับภาครัฐในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและทรัพยากรชีวภาพที่มีอยู่ในท้องถิ่นนั้นรวมทั้งสิทธิภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนต่างๆ จะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายที่จะมีขึ้นต่อไปในอนาคต
4. การเฝ้าระวังด้านสิ่งแวดล้อม
การเฝ้าระวังด้านสิ่งแวดล้อมเป็นมาตรการด้านความปลอดภัยวิธีการหนึ่งที่จะดูแลและรักษาสิ่งแวดล้อม
การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติโดยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดย การศึกษาจริยธรรม และกฎหมาย
การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติโดยพุทธจริยธรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม
พุทธศาสนามีหลักคำสอนเกี่ยวกับการพัฒนาสิ่งแวดล้อมอยู่หลายข้อ ตามที่ปรากฏในคัมภีร์พระไตรปิฎกหลักจริยธรรม ที่สำคัญบางประการที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการอนุรักษ์และการพัฒนาสิ่งแวดล้อมให้คงอยู่อย่างยั่งยืนเช่น การแสดงความกตัญญูกตเวที สิ่งแวดล้อมก็มีอุปการคุณต่อมนุษย์เราเป็นอย่างมาก กล่าวคือ แผ่นดินให้ที่อยู่อาศัยและที่ทำกิน แม่น้ำลำคลองให้น้ำดื่มน้ำใช้ และเป็นแหล่งอาหารของเรา ป่าไม้ให้ยาสมุนไพรช่วยรักษาโรคให้ความร่มรื่น การทำลายป่าก็เท่ากับการทำลายสิ่งมีชีวิตต่างๆ ที่อาศัยอยู่ของสัตว์ป่า เพราะฉะนั้นคนดีทั้งหลายจึงควรกตัญญูต่อแผ่นดินที่เราอาศัย ต่อป่า ต่อแม่น้ำลำคลองและแสดงกตเวทีคือช่วยกันดูแลรักษาสภาพของสิ่งแวดล้อม ความเมตตา กรุณา เป็นการแสดงความรัก ความปรารถนาดี และเสียสละต่อบุคคลอื่น บุคคลที่มีความรักความเมตตาจะไม่ทำลายสัตว์ป่า ไม่ทำลายแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์โลกต่างๆ ความเมตตากรุณาจะทำให้สภาพแวดล้อมไม่ถูกทำลาย ไม่ว่าจะเป็นสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อมทางสังคมก็ตาม
การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยการใช้กฎหมาย
การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยใช้กฏหมายมีความจำเป็น หากคนในสังคมขาดจริยธรรมจะนำไปสู่ความเสื่อมโทรมของทรัพยากร และในปัจจุบันประเทศไทยมีกฎหมายและพระราชบัญญัติหลายฉบับที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม
รัฐธรรมนูญกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
การกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยตั้งแต่ฉบับที่ 2517 จนถึงกระทั่งฉบับปัจจุบัน คือ รัฐธรรมนูญ ฉบับปี พ.ศ. 2540 มีบทบัญญัติให้สิทธิของบุคคลและชุมชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติร่วมกับภาครัฐ มีมากถึง 8 มาตราด้วยกันอาจเรียกได้ว่า เป็นรัฐธรรมนูญฉบับสีเขียว (Green Constitution)
กฎหมายเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กฎหมายเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย เช่นพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535
– พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพ.ศ.2535เป็นกฎหมายที่มีจุดมุ่งหมาย ในการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมในลักษณะครอบคลุมในทุกๆด้าน กฎหมายฉบับแรกที่ถือว่าเป็นกฎหมายสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยได้แก่ พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2518
- พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535
- พระราชบัญญัติโรงงาน 2535
- นโยบายและแผนส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ 2540-2559
– โครงการสิ่งแวดล้อมสหประชาชาติ
การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554)
ในส่วนบทที่ 5 ยุทธศาสตร์พัฒนาบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพและการสร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีเป้าหมายดังนี้
การรักษาความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ
2. การตอบสนองความต้องการและความจำเป็นในการดำรงชีวิตเช่น การนำขยะมูลฝอยกลับมา ใช้อีก
การวางรากฐานด้านการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่การพัฒนาบนฐานความหลาก
หลายทางชีวภาพ
แนวทางการพัฒนา
1. ให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ฟื้นฟูฐานทรัพยากรธรรมชาติและควบคุมดูแลคุณภาพ
สิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง ต่อเนื่อง
2. ระมัดระวังการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ การดำรงชีวิตของคนในชุมชน การสร้างกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้เป็นไปอย่างรู้คุณค่าโดยการมีส่วนร่วมของผู้ได้รับผลประโยชน์และผลกระทบจากการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ
3. การนำจุดแข็งของโอกาสของประเทศคือ ทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพมาสร้างกระบวนการพัฒนาประเทศอย่างสมดุล ด้วยการวางรากฐานการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจที่จะนำไปสู่การพัฒนาที่ผสมผสานระหว่างทุนทางเศรษฐกิจ ทุนทางสังคม และทุนทางทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
4. การบริหารจัดการความขัดแย้งในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ และการได้รับผลกระทบจากมลพิษโดยสันติ
แนวทางการดำเนินการ
1. การรักษาฐานทรัพยากรและความสมดุลของระบบนิเวศส่งเสริมการมีส่วนร่วม ส่งเสริมศักยภาพและจิตสำนึกเป็นเครื่องมือสำคัญในการตัดสินใจเพื่อรักษาสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ และผู้มีส่วนได้ส่วน เสียกลุ่มต่างๆ มีการพัฒนาระบบฐานข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์และข้อมูลแผนที่ 1:4000 เพื่อใช้กำหนดแนวเขตอนุรักษ์ที่ชัดเจน วางระบบการถือครองให้คนยากจน สนับสนุนการวิจัยร่วมระหว่างภาควิชาการกับชุมชนท้องถิ่น ใช้ภูมิปัญญาและ วัฒนธรรมของชุมชนตามลักษณะของระบบภูมินิเวศน์ในการฟื้นฟูฐานทรัพยากร ติดตามการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศ จัดทำฐานข้อมูลเพื่อเผยแพร่ต่อชุมชนที่เกี่ยวข้อง ส่งเสริมสิทธิชุมชนและการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากร และร่วมอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ กำหนดมาตรการ “คนอยู่ร่วมกับป่า”ทำกิจกรรมสนับสนุนการฟื้นฟูรักษาระบบนิเวศ ความอุดมสมบูรณ์ของดิน พัฒนาระบบการป้องกันภัยพิบัติ
2. สร้างสภาพแวดล้อมที่ดีเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยการกำหนดนโยบายสาธารณะที่ส่งเสริมการผลิตและการบริโภคเพื่อลดผลกระทบต่อฐานทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การผลิตที่สะอาดภาคอุตสาหกรรม ส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์และเกษตรที่ยั่งยืน มีมาตรการทางเศรษฐศาสตร์ การเงิน การคลังเพื่อการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน เช่นลดหย่อนภาษีสำหรับผู้ผลิตสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการวิจัย พัฒนาและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสะอาด นาโนเทคโนโลยี การใช้วัฒนธรรม ประเพณี การดำรงชีวิตตามวิถีไทยเพื่อปลูกฝังค่านิยมการบริโภคอย่างพอเพียง รณรงค์ เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ เพื่อสร้างจิตสำนึก ความรู้ เข้าใจและสร้างค่านิยมเกี่ยวกับการบริโภคที่ยั่งยืน
นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการเพื่อลดมลพิษและควบคุมกิจกรรมที่จะส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต
3. การพัฒนาคุณค่าความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น ใช้หลักเศรษฐกิจ
พอเพียงเป็นแนวทางสำคัญ มีการจัดองค์ความรู้สร้างภูมิคุ้มกันพัฒนาระบบฐานข้อมูลระดับชาติด้านทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพ อนุกรมวิธาน คุณสมบัติ การใช้ประโยชน์ ให้ชุมชนตระหนักถึงคุณค่าของความหลากหลายทางชีวภาพ สนับสนุนปราชญ์ชาวบ้านและแพทย์แผนไทยนักพฤษศาสตร์พื้นบ้านในการสืบทอดองค์ความรู้ ส่งเสริมการวิจัยพัฒนาที่ผสมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่นกับองค์ความรู้ใหม่ คุ้มครองสิทธิชุมชน อนุรักษ์ฟื้นฟูความหลากหลายของพันธุกรรมท้องถิ่นเพื่อรักษาสายพันธุ์ ส่งเสริมการใช้ความหลากหลายทางชีวภาพในการสร้างความมั่นคงด้านอาหาร สุขภาพ ภาคเศรษฐกิจท้องถิ่น และชุมชนสนับสนุนการผลิตพัฒนาศักยภาพชุมชนในการสร้างมูลค่าเพิ่มจากทรัพยากรท้องถิ่น ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติและการวิจัยตลาดของสินค้า บริการที่เชื่อมโยงกับความหลากหลายทางชีวภาพ เช่น นวดไทย สปา เกษตรปลอดสารพิษ พัฒนาขีดความสามารถและสร้างนวัตกรรมจากทรัพยากรชีวภาพที่เป็นเอกลักษณ์ของประเทศ
นางสาว วิชญาพร อ่องมี
การค้นหาข้อมูลโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
จารุพร พงศ์ศรีวัฒน์ และประภาวดี สืบสนธ์. รายงานการวิจัยเรื่องการพัฒนาระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
เสนอในการสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ทบวงมหาวิทยาลัย ร่วมกับ สำนักหอ
สมุดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2534.
ปี พ.ศ. 2538 เป็นปีเทคโนโลยีสารสนเทศไทย ทุกหน่วยงานเห็นความสำคัญ และเพิ่มบทบาทการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในหน่วยงานมากขึ้นอันเป็นการกระตุ้นให้เกิดการตื่นตัวและเข้าใจบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศสามารถประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นฉะนั้นเมื่อมีการนิยามความหมายของ“เทคโนโลยีสารสนเทศ”(Information Technology) โดยทั่วไปเน้นถึงการจัดการในกระบวนการดำเนินงานสารสนเทศ หรือสารนิเทศในขั้นตอนต่างๆ ตั้งแต่การแสวงหา การวิเคราะห์ การจัดเก็บ การจัดการ และการเผยแพร่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความต้องการ ความแม่นยำ และความรวดเร็ว ทันต่อการนำไปใช้ประโยชน์ (สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ , 2538) หรือหมายถึงสารนิเทศในรูปของเสียง ภาพ ตัวอักษร และตัวเลข โดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์และโทรคมนาคม (สุนทร แก้วลาย , 2532) หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง เพราะบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาในชีวิตประจำวันของมนุษย์เรามากขึ้น จึงมีการตื่นตัวและเห็นความสำคัญของสิ่งเหล่านั้น รวมถึงแนวคิดในการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศ ให้เกิดประโยชน์ในด้านต่างๆ ทั้งในบ้านและที่ทำงาน
ห้องสมุดในฐานะเป็นศูนย์รวมวิทยาการ และแหล่งสะสมข้อมูลหลากหลาย จำเป็นต้องคำนึงถึงบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศเหล่านี้ และจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนบทบาทของการให้บริการ เพื่อให้สอดคล้องกับกระแสความต้องการเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน การใช้บริการสืบค้นสารนิเทศจากฐานข้อมูลเครือข่ายสารสนเทศห้องสมุดในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผลมาจากโครงการพัฒนาเครือข่ายสารสนเทศห้องสมุดในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือโครงการ Chulalinet (Chulalongkorn University Library Information Network) ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อรองรับนโยบายการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้นิสิตเรียนรู้ด้วยตนเอง และพัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็นมหาวิทยาลัยวิจัย โดยมีจุดมุ่งหมายหลัก คือ การพัฒนาให้ห้องสมุดทุกแห่งในมหาวิทยาลัยเป็นห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ สามารถเชื่อมโยงข้อมูลของห้องสมุดทุกแห่งในมหาวิทยาลัยเป็นห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ สามารถเชื่อมโยงข้อมูลของห้องสมุดทุกแห่งเข้าด้วยกันเพื่อให้นิสิต อาจารย์ นักวิชาการ สามารถเข้าถึงสารนิเทศของห้องสมุดทั้งหมดได้อย่างรวดเร็ว
การพัฒนาห้องสมุดทุกแห่งให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว มหาวิทยาลัยจึงได้พิจารณานำโปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติมาใช้ และโปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติที่เครือข่ายสารสนเทศห้องสมุดในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนำเลือกมาใช้คือ โปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติอินโนแพค (INNOPAC) ที่ทำงานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ระบบ UNIX ส่วนระบบการสื่อสารที่ใช้เชื่อมโยงห้องสมุดต่างๆ เข้าด้วยกันใช้การสื่อสาร 2 ระบบคือ การสื่อสารโดยผ่าน คู่สายโทรศัพท์และการสื่อสารโดยใช้ใยแก้วนำแสง (Optical Fiber) ซึ่งเป็นโครงการวางเครือข่ายเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ของคณะ สถาบัน และหน่วยงานต่างๆ ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเข้าด้วยกัน
ฐานข้อมูลเครือข่ายสารสนเทศห้องสมุดในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดให้นิสิต อาจารย์ และบุคลากรมหาวิทยาลัยได้ค้นคืนสารนิเทศของห้องสมุดสมาชิกเครือข่ายตามคณะ และสถาบันต่างๆ เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2537 โดยสามารถค้นคืนได้จากชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง หัวเรื่อง คำสำคัญ หรือเลขหมู่ ผนวกกับเทคนิคการค้นแบบบูลีน (Boolean Operators) และจำกัดขอบเขตการค้นคืนด้วยภาษา ประเภทของสิ่งพิมพ์ คำในชื่อผู้แต่ง คำในชื่อเรื่อง คำในหัวเรื่อง ชื่อห้องสมุด ปีพิมพ์ สำนักพิมพ์ และรายการหน้าสารบาญ ซึ่งผู้ใช้จะทราบได้ทันทีว่ารายการสิ่งพิมพ์ที่ต้องการมีหรือไม่ ถ้ามีอยู่ในห้องสมุดแห่งใด และห้องสมุดแห่งใดกำลังจัดซื้ออยู่ หรืออยู่ในระหว่างการให้เลขหมู่และลงรายการ หรือว่ามีผู้อื่นขอยืมออกไป ทั้งนี้ผู้ใช้จะทราบวันกำหนดส่ง และสามารถสอบถามรายละเอียดการยืม – คืนของตนเองได้ ทั้งยังสามารถเปิดดูข่าวสารกิจกรรมของห้องสมุด เวลาเปิด-ปิดบริการ และรายชื่อห้องสมุดสมาชิกในเครือข่ายได้
พัฒนาการก้าวหน้าของการทำงานฐานข้อมูล Chulalinet (OPAC) รุดหน้าไปอย่างมาก มีการขยายขอบเขตการใช้ไปอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว การให้บริการค้นหาเอกสารในห้องสมุดทางคอมพิวเตอร์โดยระบบ Chulalinet (OPAC) เป็นกิจกรรมส่วนหนึ่งของการค้นหาข้อมูลที่ผู้ใช้ห้องสมุดจะต้องทำเป็นกิจกรรมที่ต้องอาศัยศักยภาพทั้งห้องสมุด ผู้ให้บริการ และผู้ใช้จะต้องกระทำร่วมกัน ประสานกัน จึงจะทำให้ทั้งผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ ได้ข้อมูลข่าวสารมากที่สุด ตรงตามความต้องการที่สุด และรวดเร็วที่สุด นับเป็นบริการของห้องสมุดประเภทหนึ่งเพื่อตอบสนอง ให้ผู้ใช้บริการสามารถสืบค้นสารนิเทศ จากฐานข้อมูลนี้ได้ในระบบออนไลน์ด้วยตนเอง
แม้ห้องสมุดจะได้พยายามให้ความสำคัญในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการให้บริการข้อมูลแล้วก็ตาม ห้องสมุดจำเป็นต้องการดำเนินการให้ผู้ใช้บริการสามารถค้นคืนข้อมูลด้วยตนเอง ผ่านระบบ Chulalinet (OPAC) ที่มีศักยภาพสูงในการประมวลผล แต่อย่างไรก็ตามห้องสมุดก็ยังไม่อาจสรุปได้ว่า การให้บริการสืบค้นสารนิเทศลักษณะนี้จะเป็นที่ยอมรับและพึงพอใจของผู้ใช้หรือไม่เพียงใด ทั้งนี้เนื่องจากการเข้าถึงข้อมูลที่จัดบริการอยู่ เป็นการดำเนินการตามระบบบูรณาการซึ่งกำหนดไว้แล้ว ผู้ใช้อาจมีข้อจำกัดบางประการ ซึ่งสามารถเข้าถึงข้อมูลรายการ Chulalinet (OPAC) นี้ เช่น ประเด็นด้านความสามารถในการเลือกคำค้น เวลาในการสืบค้น ผู้ใช้อาจต้องมีความรู้ทางเทคนิคของการสืบค้นอย่างเพียงพอ มีความสามารถในการใช้กลยุทธ์เพื่อการสืบค้นข้อมูล (Boolean Stategies) ที่ต้องใช้คำเชื่อม AND OR และ NOT สร้างความสัมพันธ์ระหว่างคำค้นที่กำหนดขึ้นควบคู่ไปกับการใช้ข้อความต่างๆ ผ่านรายการในเมนูหลัก ซึ่งประกอบด้วยการใช้ Author, Title, Subject, Keyword และ Call Number ตามลำดับ
การวิจัยเชิงสำรวจ จึงเป็นอีกแนวทางหนึ่งซึ่งจะได้ทราบผลสำเร็จ และความล้มเหลวในการสืบค้นสารนิเทศ จากฐานข้อมูล Chulalinet (OPAC) ที่มีอยู่ ว่าการสืบค้นข้อมูลสารนิเทศที่ผู้ใช้บริการผ่านระบบ OPAC ประสบความสำเร็จและความล้มเหลวเพียงใด รวมถึงการค้นหาสาเหตุของปัญหา และอุปสรรคที่ทำให้เกิดความล้มเหลว ในการสืบค้นแต่ละครั้ง ด้วยเหตุนี้ข้อเสนอแนะจากการวิจัยจะทำให้เกิดแนวคิดในการเร่งพัฒนาระบบการให้บริการสารนิเทศ และจัดการแก้ไขปัญหา ปรับปรุงการดำเนินงานเพื่อให้การบริการการสืบค้นสารนิเทศสัมฤทธิผลยิ่งขึ้น
น. ส วราภรณ์ รัชชุรัตน (โบว์) 031 การจัดการทั่วไป
การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน
การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน 6 มิติ
แต่องค์กรจะต้องมีการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพของกลยุทธ์ทุกกลยุทธ์ให้มีความเข้มแข็งด้วยกัน ดังต่อไปนี้
1. ความได้เปรียบจากการเป็นผู้เข้าสู่ตลาดรายแรก (customer market advantage) ประเด็นแรกที่องค์กรจะต้องให้ความสำคัญคือการสร้างตลาดใหม่หรือเป็นผู้คิดริเริ่มใหม่ ๆ ให้กับลูกค้าซึ่งการริเริ่มในสิ่งที่คู่แข่งยังไม่สามารถทำได้นั้นจะทำให้องค์กรปราศจากการแข่งขันซึ่งนับได้ว่าเป็นความได้เปรียบอย่างดีเยี่ยมและเป็นจุดเริ่มต้นแห่งความสำเร็จในอนาคต เช่น
Xerox ได้ริเริ่มทำธุรกิจการถ่ายเอกสารเป็นเจ้าแรก ลักษณะการทำธุรกิจของ Xerox จึงมีความโดดเด่นเป็นพิเศษภายใต้การจดทะเบียนขอสิทธิบัตร ด้วยเหตุนี้เองการตลาดของ Xerox จึงมีความแตกต่างในด้านการนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีความโดดเด่นและเหนือกว่าและไม่มีองค์กรใดสามารถทำธุรกิจได้เหมือนกับ Xerox อาจกล่าวได้ว่าเป็นการสร้างความได้เปรียบในการแข่งในเรื่องการเข้าสู่การตลาดเป็นรายแรก
2. ความได้เปรียบในการนำเสนอผลิตภัณฑ์หรือบริการที่โดดเด่นกว่าคู่แข่ง (product and service advantage) องค์กรใดก็ตามที่สามารถตอบสนองต่อความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีความโดดเด่น องค์กรนั้นถือได้ว่าเป็นองค์กรที่ใช้กลยุทธ์การสร้างความแตกต่าง ซึ่งการสร้างความแตกต่างนี้หากจะมองย้อนกลับไปในอดีตแล้ว เราจะพบว่าองค์กรหลายแห่งได้ใช้กลยุทธ์นี้มานานแล้ว และมีการพัฒนาไปสู่ความได้เปรียบในการแข่งขันในระยะยาว เช่น
Samsung เป็นบริษัทที่จะหน่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือมือถือที่เน้นรูปแบบ สีสัน และความทันสมัยของรูปลักษณ์ภายนอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน้าจอสีที่มีความคมชัดกว่ายี่ห้ออื่น ส่งผลให้มือถือของ Samsung มีความโดดเด่นและไม่เหมือนคู่แข่งขันรายอื่น อย่างไรก็ตาม ข้อด้อยของกลยุทธ์นี้ก็คือคู่แข่งขันสามารถลอกเลียนแบบได้ง่าย ด้วยเหตุนี้ องค์กรที่ใช้กลยุทธ์ดังกล่าวจะต้องมีการปรับปรุงและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนเองอยู่เสมอเพื่อให้ก้าวล้ำกว่าของคู่แข่ง
3. ความได้เปรียบในการสร้างห่วงโซ่คุณค่าหรือระบบธุรกิจ (Business system/value chain advantage) การบริหารกิจกรรมทางธุรกิจเพื่อให้บรรลุเป้าหมายองค์กร เรียกว่าการบริหารห่วงโซ่คุณค่าหรือระบบธุรกิจ กิจกรรมทางธุรกิจจะเริ่มต้นจากการวิจัยและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การผลิตการขาย การตลาด การจัดจำหน่าย และการบริการหลังการขาย หากองค์กรธุรกิจมีความโดดเด่นในกิจกรรมทางธุรกิจ กิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งก็จะส่งผลให้องค์กรนั้นมีความได้เปรียบทางการแข่งขันในเรื่องนั้น ๆ หลายองค์กรพยายามสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันโดยมุ่งเฉพาะกิจกรรมทางธุรกิจที่องค์กรถนัดและมุ่งการการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้องค์กรนั้นมีกลยุทธ์ที่เหนือกว่าคู่แข่งขัน และกลายเป็นจุดแข็งหรือเอกลักษณ์ขององค์กรในที่สุด เช่น
บริษัท พรอกเตอร์แอนด์แกมบิล (P&G) จำกัด มีความเชี่ยวชาญทางการตลาด
บริษัท โซนี่ จำกัด บริษัทที่เน้นนวัตกรรมในการออกแบบผลิตภัณฑ์ได้ตรงตามความต้องของลูกค้า
บริษัท โตโยต้า จำกัด เน้นประสิทธิภาพในการผลิต และ American Express บริษัทที่ให้การบริการลูกค้าได้อย่างประทับใจ เป็นต้น
แนวทางที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารห่วงโซ่คุณค่า ก็คือการติดต่อประสานงานระหว่างหน่วยงานในองค์กรเพื่อให้กิจกรรมต่าง ๆ ดำเนินไปได้ด้วยดีในบางครั้งองค์กรจำเป็นจะต้องมีการออกแบบโครงสร้างกรใหม่ เพื่อปรับรูปแบบ และระบบการดำเนินธุรกิจให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ตัวอย่างขององค์กรธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนระบบการดำเนินธุรกิจ ก็คือสายการบิน Southwest สายการบิน Southwest มีกำไรเพิ่มขึ้นจาการปรับระบบธุรกิจให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องขั้นตอนการเลือกที่นั่งของลูกค้าหรือการให้บริการลูกค้าสรุปแล้วจะเห็นได้ว่าห่วงโซ่คุณค่านั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อองค์กรธุรกิจที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์และธุรกิจขายบริหารจำไว้ว่าการจะทำให้ห่วงโซ่คุณค่าขององค์กรมีความโดดเด่นและเหนือกว่าคู่แข่งขันนั้น องค์กรจำเป็นจะต้องกำหนดวัตถุประสงค์ของกิจกรรมทุก ๆ กิจกรรมไว้อย่างชัดเจน และให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
4. ความได้เปรียบของแหล่งทรัพยากร (System assets / resources advantages) ทรัพยากรขององค์กรประกอบไปด้วยสินทรัพย์ที่ตัวตน เช่น ผลิตภัณฑ์และอาคาร และสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน เช่น ลิขสิทธิ์ ตราสินค้า และชื่อเสียงขององค์กร องค์กรส่วนใหญ่จะใช้ประโยชนจากทรัพยากรที่มีอยู่ในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้เกิดขึ้น ซึ่งการใช้ทรัพยากรเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้เกิดขึ้นนี้ เรียกว่าAsset Based Competitive Advantages เช่น
Coca – Cola เป็นบริษัทที่มีชื่อเสียงทางด้านเครื่องดื่มน้ำอัดลมจนเป็นที่รู้จักกันทั่วโลกมีมูลค่าของตราสินค้า (brand equity) สูงมาก ประกอบกับ Coca – Cola มีระบบการจัดจำหน่ายสินค้าที่มีประสิทธิภาพ มีทรัพยากรในการขนส่งสินค้าอย่างครบครัน ปัจจุบัน Coca – Cola มีความได้เปรียบทางการแข่งขันในด้านทรัพยากรที่มีอยู่ นั่นคือระบบการจัดจำหน่ายที่มีประสิทธิภาพและตราสินค้าที่มีชื่อเสียง
5. ความได้เปรียบในเรื่องพันธมิตร (Partner advantage) การมีพันธมิตรที่ดีจะช่วยสนับสนุนให้องค์กรสามารถพัฒนาธุรกิจอย่างรวดเร็ว หลายองค์กรพยายามค้นหาคู่ค้าเพื่อสร้างเป็นพันธมิตรในการทำธุรกิจระยะยาว เช่น
Rover ได้ประสบปัญหาด้านธุรกิจจำหน่ายรถยนต์กับสภาวะการขาดทุนและไม่สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้อีกจนกระทั่ง Honda ได้เข้ามาร่วมลงทุนขอเป็นพันธมิตรด้วยและได้ช่วยทำให้ Rover สามารถขายกิจการของตนเองได้กับ BMW ได้ การสร้างพันธมิตรทางธุรกิจไม่ใช่เรื่องง่ายที่องค์กรใดก็สามารถทำได้ องค์กรจะต้องมีการคัดเลือกพันธมิตรให้เหมาะสมกับองค์กรของตน เปรียบเสมือนการรวมจุดแข็งขององค์กรสองฝ่ายเข้าด้วยกันเพื่อสร้างผลประโยชน์สูงสุดให้เกิดขึ้นและนำไปสู่ความได้เปรียบทางการแข่งขันต่อไป
6. ความได้เปรียบในการประหยัดต้นทุนในการผลิต (Scale and scope advantage) องค์กรสามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้เกิดขึ้นได้ด้วยการมุ่งเน้นการสร้าง Economies of Scope นั่นคือ ความสามารถในการลดต้นทุนโดยใช้ทรัพยากรร่วมกันของหน่วยธุรกิจต่าง ๆ เราจะสังเกตเห็นได้ว่าโรงงานขนาดใหญ่มักจะมีต้นทุนการผลิตต่อหน่วยต่ำเนื่องจากผลิตสินค้าหลายประเภทเป็นจำนวนมาก จึงสามารถให้ทรัพยากรในการผลิตร่วมได้ก่อให้เกิดการประหยัดต้นทุนในการผลิต ส่วนหลักการของ Economies of Scale จะเน้นไปในเรื่องของการผลิตในปริมาณที่มากเพื่อให้ต้นทุนต่อหน่วยต่ำลง
ที่มา: สื่อการเรียนการสอนวิชา เทคนิคการจัดการสมัยใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
นางสาวสุกัญญา ปราณีดุดสี รหัส 5210125401006 ปี4 การจัดการทั่วไป
บทที่10
การแข่งขันในตลาดโลกและการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน
การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitive Advantage) ในมิติด้านนวัตกรรม (Innovation)
ปัจจุบันธุรกิจมีการแข่งขันสูงและต้องอาศัยปัจจัยหลายด้าน อันจะทำให้องค์กรสามารถอยู่รอดได้ ผู้บริหารจำเป็น ต้องมีการจัดการที่ดีกับทรัพยากรทางการจัดการ อันประกอบด้วย บุคลากร(Man) เครื่องจักร(Machine) วัตถุดิบ(Material) เงิน(Money) การจัดการ(Management) และตลาด(Market) หรือ 6 M’s นั่นเอง โดยมีบุคลากรเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด ที่จะทำให้องค์กรเจริญเติบโตไปข้างหน้าอย่างมั่นคง
ข้อได้เปรียบหรือจุดแข็ง (Strength) เป็นสิ่งที่ทุกองค์กรพยายามสร้างขึ้นมาแต่ก็ไม่ได้เป็นสิ่งง่าย ที่กิจการสามารถสร้างขึ้นมาได้ เช่น บริษัท NOKIA ได้มีการพัฒนาโทรศัพท์มือถือ ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยในระบบดิจิตอลมากกว่าคู่แข่งขัน ซึ่งในอดีตผู้นำคือบริษัท โมโตโรล่า ที่ยังเน้นเทคโนโลยีระบบอนาลอก บริษัทต้องเสียเวลามาปรับกลยุทธ์กับสินค้าใหม่แต่ก็ช้าเกินไป ทำให้ NOKIA สามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitive Advantage) และก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำแทน ทั้ง ๆ ที่ในอดีต NOKIA เป็นบริษัทเล็ก ๆ ของประเทศฟินแลนด์ ซึ่งมีประชากรแค่ 5.3 ล้านคน จึงมีการตั้งคำถามว่า ทำไมประเทศเล็ก ๆ นี้จึงสามารถเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี ภายในช่วงระยะเวลาไม่เกิน 20 ปีที่ผ่านมา ได้อย่างไร?
NOKIA เป็นตัวอย่างที่องค์กรต่าง ๆ พยายามศึกษาถึงกลยุทธ์ความสำเร็จ แต่การที่จะเป็นผู้นำได้นั้น ไม่สามารถสร้างในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ได้ จากการวิเคราะห์พบว่า ปัจจัยที่เป็นหัวใจหลักของการประสบความสำเร็จก็คือ รัฐบาลฟินแลนด์มีนโยบายให้ความสำคัญกับการศึกษาอย่างจริงจัง ด้วยการพยายามส่งเสริมภาคเอกชนมีการทำวิจัยและพัฒนาพร้อมไปกับผลงานของมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นการพัฒนาองค์ความรู้ (Knowledge) ของภาคเอกชนให้สามารถพัฒนาในเชิงพาณิชย์ (Commercialization) ได้ ทำให้ประเทศฟินแลนด์สร้างความได้เปรียบในการแข่งขันกับสินค้าอื่น ๆ อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามประเทศอื่น ๆ ก็สามารถที่จะทำให้มีความได้เปรียบเช่นเดียวกับประเทศฟินแลนด์เช่นกัน ดังภาพที่ 1 ซึ่งแสดงลำดับขั้นของการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของธุรกิจ
การสร้างกลยุทธ์ที่สำคัญของการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ประกอบด้วย
1. กลยุทธ์ต้นทุน (Cost Strategy) กิจการต่าง ๆ พยายามลดต้นทุนจนทำให้สร้างความได้เปรียบกว่าคู่แข่งขัน
2. กลยุทธ์ความแตกต่าง (Differentiate Strategy)ในอดีตสินค้ามักจะมีการผลิตที่เป็นจำนวนมาก (Mass Production) ตามความต้องการของผู้ขาย แต่ปัจจุบันจะทำเช่นนั้น ไม่ได้อีกแล้ว เพราะกลุ่มลูกค้ามีความต้องการหลากหลาย ทำให้ต้องมีการสร้างความแตกต่างมากกว่ารายอื่น
3. กลยุทธ์มุ่งเฉพาะกลุ่ม (Niche or Focus Strategy) ปัจจุบันโทรศัพท์มือถือ มีประสิทธิภาพทั้งสามารถส่งข้อมูลเสียงจนมาถึงส่ง (Short Message Service : SMS) และ Multi Message Service : MMS) ได้ มีธุรกิจหนึ่งที่กำลังน่าสนใจมากคือ Digital Content เป็นธุรกิจที่จะหาเนื้อหาหรือข้อมูลใหม่ ๆ
4. มีการวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D) ที่ดี :การวิจัยและพัฒนาเป็นสิ่งที่สำคัญ ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างนวัตกรรม แต่ละประเทศจะมีระบบและนโยบายด้านวิจัยและพัฒนาที่แตกต่างกันไป บางประเทศก็ประสบความสำเร็จ
พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ (New Product Development : NPD) ที่มีโอกาสความเป็นไปได้ : การพัฒนา ผลิตภัณฑ์ใหม่ เป็นสิ่งที่องค์กรจำเป็นจะต้องให้ความสำคัญ เพราะสินค้าใหม่ 100 ชนิดอาจจะมีที่อยู่รอดในช่วง 2-3 ปีแรกมีประมาณ 10% เท่านั้น และสินค้าดังกล่าวอาจจะประสบความล้มเหลวหลังจากนั้นมีอีกเพียง 3-4% เท่านั้นที่ประสบความสำเร็จ ดังนั้นเราจึงเห็นสินค้าต่าง ๆ จึงมีวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (Product Life Cycle) มีลักษณะแตกต่างกันไป กระบวนการพัฒนาสินค้าใหม่ประกอบด้วย
- การสะสมความคิด การพัฒนาและทดสอบแนวความคิด
- การพัฒนากลยุทธ์ตลาด
- การวิเคราะห์ธุรกิจ
- การพัฒนาผลิตภัณฑ์
- การทดสอบและแนะนำผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด
5. มีเทคนิคการผลิต (Production)ที่ทันสมัย : การผลิตเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อองค์กรเป็นอันมาก นอกเหนือจากการทำให้สินค้าที่ถึงมือผู้บริโภคแล้ว จำเป็นจะต้องมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของผู้ใช้
หาผู้ถ่ายทอดและความร่วมมือทางเทคโนโลยี (Technology Transfer and Collaboration)ที่มีประสบการณ์ : การถ่ายทอดเทคโนโลยีเป็นสิ่งที่สำคัญที่ทำให้นวัตกรรมนั้น มีการพัฒนาและต่อยอดจากเดิม เช่น กลุ่มบริษัท True Corp. ได้เลือกบริษัทที่มีเทคโนโลยีมือถือจาก บริษัท Orange ประเทศอังกฤษ เข้ามาใช้ในการถ่ายทอดเทคโนโลยี เป็นต้น
หาผู้ถ่ายทอดและความร่วมมือทางเทคโนโลยี (Technology Transfer and Collaboration)ที่มีประสบการณ์ : การถ่ายทอดเทคโนโลยีเป็นสิ่งที่สำคัญที่ทำให้นวัตกรรมนั้น มีการพัฒนาและต่อยอดจากเดิม เช่น กลุ่มบริษัท True Corp. ได้เลือกบริษัทที่มีเทคโนโลยีมือถือจาก บริษัท Orange ประเทศอังกฤษ เข้ามาใช้ในการถ่ายทอดเทคโนโลยี เป็นต้น
อ้างอิง : http://tulip.bu.ac.th/~jarin.a/content/Innovation/compet_advantage.htm
น.ส.ภาณีนุช ปิยภานีกุล การจัดการทั่วไป ปี4 รหัส 014
ประเภทและสาเหตุของการเปลี่ยนแปลง
1.ประเภทของการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องธรรมชาติ
ที่ทุกองค์การจะต้องประสบไม่ว่าจะเป็นองค์การประเภทไหน (ภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชน) ขนาด (เล็ก กลาง ใหญ่) ต่างก็ต้องเปลี่ยนแปลงทั้งสิ้นไม่มากก็น้อยแล้วแต่บริบทของแต่ละองค์การ
โดยที่การเปลี่ยนแปลงของแต่ละองค์การจะมีการเปลี่ยนแปลงหลายประเภทซึ่งอาจจะแบ่งได้หลายวิธีด้วยกัน
ในเรื่องนี้จะขอนำเสนอตามเกณฑ์ลักษณะการเปลี่ยนแปลงตามเกณฑ์เป้าหมายการเปลี่ยนแปลง
และตามเกณฑ์ระดับของการเปลี่ยนแปลง ดังนี้
1.1 ประเภทของการเปลี่ยนแปลงแบ่งตามลักษณะเปลี่ยนแปลง
แบ่งได้ 3 ประเภท
- การเปลี่ยนแปลงแบบปรับตัว -
การเปลี่ยนแปลงแบบสร้างสรรค์
- การเปลี่ยนแปลงแบบสร้างสรรค์อย่าใหญ่หลวง
1.2 ประเภทของการเปลี่ยนแปลงแปรตามปัจจัย หรือเป้าหมายของการเปลี่ยนแปลง ได้แก่
- คน - โครงสร้าง - งาน -
เทคโนโลยี
1.3 ประเภทของการเปลี่ยนแปลงตามระดับ แบ่งได้ 3 ประเภท
- การเปลี่ยนแปลงแบบอัลฟ่า - การเปลี่ยนแปลงแบบเบต้า - การเปลี่ยนแปลงแบบแกมม่า
2.สาเหตุของการเปลี่ยนแปลง แบ่งได้ 2 ประการ คือ
2.1 พลังจากภายนอก ได้แก่
- ปัจจัยทางประชากร - ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
- ด้านการตลาดและเศรฐกิจ - ความกดดันทางสังคมและการเมือง
2.2 พลังจากภายใน ได้แก่
- ปัญหาด้านบุคลากร - พฤติกรรมการบริหาร
อ้างอิง : กิ่งพร
ทองใบและคนอื่นๆ. (2553). องค์การและการจัดการและการจัดการเชิงกลยุทธ์.
สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทันธรรมาธิราช.
น.ส วราภรณ์ รัชชรัตน (โบว์) 031 การจัดการทั่วไป
เทคนิคการบริหารทรัพยากรมนุษย์
ให้การวางแผนกลยุทธ์ในการ จัดการทรัพยากรมนุษย์มีความแหลมคม และสามารถนำไปสู่การ ปฏิบัติให้เกิดสัมฤทธิผลได้ มีดังนี้
1. ความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจธุรกิจของโลกและ ประเทศเป็นอย่างไร
2. ตลาดธุรกิจขององค์กรมีแนวโน้มอย่างไร
3. คู่แข่งธุรกิจขององค์กรมีการพัฒนาอย่างไร ควรศึกษา คู่แข่งในระดับต้นๆ 3-5 องค์กร
4. แผนกลยุทธ์ของคู่แข่งเป็นอย่างไร ให้มองไปข้างหน้า 5-10 ปี
5. วัฒนธรรมขององค์กรมีจุดแข็งจุดอ่อนอะไรและอย่างไร จุดแข็ งที่ มี อยู่จะช่วงชิ งโอกาสหรือ กำจัดอุปสรรคได้หรือไม่อย่างไร ในกรณีที่มีจุดอ่อนจะต้องกำจัดจุดอ่อนนั้นอย่างไร6. กำหนดนโยบายการจัดการทรัพยากรมนุษย์ และ วางแผนกลยุทธ์ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยมีเป้าหมายที่ จะสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
กล่าวโดยสรุป พนักงานด้านทรัพยากรมนุษย์ที่จะประสบ ผลสำเร็จในยุคโลกาภิวัตน์ต้องมี ความคิดและรอบรู้ในความเป็นไป ของโลกธุรกิจไม่เฉพาะภายในประเทศเท่านั้นต้องรู้ทันต่อกระแส โลกาภิวัตน์ด้วย โดยต้องมีกลยุทธ์ในการจัดการ ไม่เช่นนั้นจะไม่ สามารถพัฒนาบุคลากรขององค์กรให้เป็นกำลังสำคัญในการนำองค์กรให้อยู่รอดท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์ได้
ที่มา.... การจัดการทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์ (Human Resource Management in the Era of Globalization)ดร.ประเวศน์ มหารัตน์สกุล สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ ,ผู้ช่วยศาสตราจารย์กฤติกา ลิ้มลาวัลย์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
http://www.bu.ac.th/knowledgecenter/executive_journal/oct_dec_11/pdf/aw026.pdf
นางสาวนพมาศ พิณทมร รหัส 5210125401067 เอกการจัดการทั่วไป ปี 4
บทที่ 10 6 กลยุทธ์การตลาด เพื่อความได้เปรียบในการแข่งขัน
เพื่อความได้เปรียบในการแข่งขันด้านการตลาด มีหลายเรื่องที่มักจะถูกพูดถึงว่าต้องทำ จำเป็นต้องทำ เพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่เหนือกว่าคู่แข่ง ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดเวลา ซึ่งเร็วมากสำหรับการเปลี่ยนแปลงของตลาดในปัจจุบันการปรับตัวอย่างเดียวจึงไม่เพียงพอ ยังต้องผสมผสานด้วยการวิเคราะห์แรงโน้มถ่วง และมีการเตรียมตัวก่อนการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นด้วยเพราะการเตรียมพร้อมก่อนการเปลี่ยนแปลงเป็นการกระทำที่เหนือผู้อื่น การพัฒนาทักษะ การพัฒนาความสามารถของการเป็นผู้นำ เป็นสิ่งที่ต้องปรับและคิดให้ได้ว่าทำอย่างไรให้คนคล้อยตาม รู้สึกศรัทธา ไม่ว่าจะเป็นการกระทำเพื่อธุรกิจหรือสังคม
6 กลยุทธ์เพื่อความได้เปรียบนี้ เป็นกลยุทธ์ที่ สุภัท ตันสถิติกร นายกสมาพันธ์การตลาดเอเชียแปซิฟิก และนักวิเคราะห์สถานการณ์ เป็นผู้ให้ข้อคิดไว้เมื่อการสัมมนา “ฟังธงการตลาด” ที่จัดโดยชมรม Y-ME สมาคมการตลาดที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์เมื่อเดือนธันวาคม 2543 โดยมีเนื้อหาเพื่อการทำตลาดที่เน้นความได้เปรียบในด้านบริการ การหาข้อมูลที่เหนือกว่าคู่แข่ง เพื่อนำไปสู่ชัยชนะ
1. เมื่อความพิเศษเป็นสิ่งที่ลูกค้าต้องการ การตลาดต้องเป็นแบบตัวต่อตัว (One-to-One Marketing) การตลาดแบบตัวต่อตัวมีสิ่งที่ต้องทำอยู่ 5 ประการ คือ การทบทวนและกำหนดตลาดเป้าหมายใหม่การสร้างฐานข้อมูล การตลาดเชิงสัมพันธภาพ การตลาดตัวต่อตัว และการเป็นหุ้นส่วนที่แท้จริง
รายละเอียดของสิ่งเหล่านี้มีสิ่งที่ต้องทำคือ การเริ่มต้นตั้งแต่การทบทวนและกำหนดตลาดเป้าหมายใหม่ จากนั้นจึงเก็บฐานข้อมูลรายละเอียดของลูกค้าให้ครบและชัดเจน ใช้การบริหาร logistic เป็นหัวใจของการบริหาร จากนั้นจึงเข้าสู่การตลาดเชิงสัมพันธภาพ ซึ่งจะหยุดอยู่เท่านั้นไม่ได้ คือต้องพัฒนาต่อไปอีกขั้นสู่การตลาดแบบตัวต่อตัว นั่นคือการทำให้ลูกค้ารู้สึกว่า “เรารู้จักเขาเป็นพิเศษจริง ๆ” ขณะเดียวกันฐานข้อมูลที่ทำไว้ก็ต้องทำเป็นทางการ ทำเป็นโครงสร้างของลูกค้าไว้ว่า ใครเป็นใคร มีหน้าที่อะไรในบริษัท พร้อมกับดูรายละเอียดในเชิงจิตวิทยาว่า ลูกค้าแต่ละคนชอบไม่ชอบอะไรในชีวิตส่วนตัว และในการทำงาน ดูตั้งแต่ระดับตัวแทนฝ่ายขายไปจนถึงกรรมการบริษัท จนขั้นตอนสุดท้ายคือการให้ความรู้สึกต่อลูกค้าว่าเขาเป็นเสมือนหุ้นส่วนที่แท้จริง
2. อยากเข้าให้ถึงตลาดเป้าหมาย ต้องรู้จักทั้งกายภาพและจิตใจ ประเด็นนี้คือ การเริ่มต้นตั้งเป้าหมายทางการตลาดไว้ก่อนว่า จะเลือกตลาดไหนในการแข่งขัน ซึ่งการเลือกตลาดนั้น ตลาดที่เลือกเป็นตลาดเป้าหมาย ต้องเป็นตลาดที่มั่นใจได้ว่าจะชนะคู่แข่งได้เท่านั้น ถ้าคิดว่าแค่พอสู้ได้ ไม่ควรเลือกมาเป็นตลาดเป้าหมาย
ตลาดที่มั่นใจว่าจะชนะคู่แข่งได้ เป็นตลาดที่บริษัทต้องมั่นใจว่าจะรู้ความเป็นไป การเปลี่ยนแปลงของตลาดตลอด รู้ว่าจะต้องทำวิจัย วิเคราะห์พฤติกรรม และวิเคราะห์วิถีชีวิตของผู้คนในตลาดอย่างไร เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาปรับปรุงสินค้าและบริการให้เข้ากับผู้บริโภค
ตัวอย่างเช่น ถ้าจะผลิตสินค้าเพื่อกลุ่มคนวัยทอง ซึ่งเป็นที่คาดกันว่าจะมีจำนวนมากขึ้น เพราะคนมีสุขภาพดี มีการงานดี เมื่อเข้าสู่วัยทองคนกลุ่มนี้จะมีการใช้ชีวิตเช่นไร ใช้จ่ายอย่างไร ต้องวิเคราะห์ให้ออก เพื่อผลิตสินค้าให้ถูกกลุ่มเป้าหมายและเป็นผู้นำในตลาดนั้น
3. ต้องมีนวัตกรรม ทั้งด้านสินค้าและบริการ ในหัวข้อนี้ จะมีการพูดถึงว่า หากมีการพยายามรักษาธุรกิจเดิม ๆ ที่ไม่ทำกำไรไว้ ก็จะเกิดความเสียหาย เพราะบริษัทต้องเปลืองค่าใช้จ่ายมากขึ้น ดังนั้นสิ่งที่ควรทำคือการเสียสละวัวศักดิ์สิทธิ์ไปเสีย หรือตัดกิจกรรมนั้นไปเพื่อไม่ให้ทุนจม อย่าเก็บเป็นของสะสม แต่ให้ถือเสียว่าเป็นการทำลายเพื่อสร้างเสริมให้ทันกับความต้องการของตลาดที่เปลี่ยนไป ขณะเดียวกันบริษัทก็ต้องมุ่งที่จะขับเคลื่อนตลาดไปพร้อม ๆ กัน พร้อมกับมีการสร้างความครอบงำและบงการตลาดได้ด้วย เพราะการตลาดยุคใหม่จะไม่เหมือนการตลาดในอดีตที่เน้นการทำตลาดที่ลูกค้าเป็นสำคัญ แต่ปัจจุบันผู้ผลิตสามารถเป็นฝ่ายสร้างความต้องการของตลาดและผลักดันตลาดตลอดเวลา
ตัวอย่างเช่น Microsoft ที่เข้าข่ายบงการตลาด ด้วยการสร้างซอต์ฟแวร์ใหม่ ๆ สร้างความสนใจให้กับผู้บริโภคที่จะในการเลือกใช้สินค้าของบริษัท ซึ่งบริษัทไหนก็ทำได้ในลักษณะเดียวกัน แต่ต้องคิดว่าจะทำอย่างไรให้เป็นผู้นำตลาดที่มีประโยชน์
ในอดีตใครมีส่วนแบ่งตลาดที่ 40% ขึ้นไปถือว่าอยู่ได้ กำไรดี แต่ปัจจุบันส่วนแบ่งยิ่งสูงยิ่งกำไรน้อย ดังนั้นจุดสำคัญจึงอยู่ที่ ใครทำกำไรได้มากกว่ากันเพราะการเป็นผู้นำในตลาดมักเกิดจากการที่มีผลิตภัณฑ์ และมีการนำเสนอประโยชน์ที่เหนือความคาดหมายของลูกค้า
4. ความภักดีและคุณค่าของลูกค้า(customer Loyalty & Life Long Value) ความภักดีและคุณค่าของลูกค้า เป็นสิ่งที่ทำให้ต้องเร่งขยายฐานตลาด เพื่อเพิ่มส่วนแบ่งของธุรกิจ สิ่งนี้ทำให้ต้องทุ่มเททุกอย่างเพื่อดูแลลูกค้าตามหลักของ one-to-one จะแบ่งการบริหารจัดการลูกค้าเป็น 3 ประเภท คือ MVCs (Most Valuable Customer) ถือเป็นกลุ่มลูกค้าที่มีคุณค่ามาก ห้ามบริษัทคู่แข่งมาเข้าใกล้ เป็นกลุ่มลูกค้าที่ต้องเอาใจใส่ที่สุด MGCs (Most Growing Customer) เป็นกลุ่มลูกค้าที่มีอัตราการเติบโตสูง แต่มีการซื้อผลิตภัณฑ์ของบริษัทน้อย ทำให้ต้องพยายามดึงลูกค้าให้มียอดซื้อสูงขึ้น และ BZs (Business Zero) เป็นลูกค้าบริษัทแต่ไม่มีการซื้อขายกับบริษัท หรือลูกค้าที่กำลังลดการซื้อกับบริษัท “กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ดูเหมือนจะไม่มีค่ากับบริษัท แต่ห้ามทิ้ง และต้องนำมาวิเคราะห์ว่าทำไม เพราะอะไรจึงซื้อขายกับเราน้อย แล้วบริษัทต้องทำอย่างไรถึงจะทำให้เขาเปลี่ยนใจกลับมาเป็นลูกค้ากลุ่ม 1 และ 2 ได้ต่อไป”
กลยุทธ์สุดท้ายในหมวดนี้คือ บริการ บริการ และบริการ หัวใจสำคัญของการตลาดทุกประเภท ตัวอย่างบริษัทที่ประสบความสำเร็จในเรื่องบริการ คือ IBM แม้ว่าไอบีเอ็มไม่ได้ทำอะไรใหม่ แต่ไอบีเอ็มได้รับการยอมรับว่าเป็นบริษัทผลิตโปรแกรมคอมพิวเตอร์หลัก ทำให้บริษัทอื่นต้องอิงไอบีเอ็ม เพราะถือเป็นบริษัทที่วางใจได้ และบริการลูกค้าได้เร็ว
5. มุ่งปัจเจกบุคคล (Focus on the Individual) เรื่องของการเสี่ยงมากได้มาก กลายเป็นเรื่องล้าสมัยไปแล้วในปัจจุบัน เพราะปัจจุบันต้องเสี่ยงน้อยได้มาก ต้องดีและถูกด้วย ดังนั้นการมุ่งให้ความสำคัญจึงไม่ใช่ดูอะไรที่เป็นภาพรวม แต่ต้องเน้นเฉพาะจุด เฉพาะบุคคลซึ่งอาจจะดูเหมือนเสี่ยงเกินไปในการโฟกัสที่จุดเล็ก ๆ แต่ธุรกิจสมัยนี้ไม่เสี่ยงไม่ได้
ดังนั้น จึงมีหลัก 2 ประการให้หัวข้อนี้ คือ หนึ่ง-เสี่ยงที่จะจ้างคนมีอำนาจหรือคนใหญ่คนโตในวงการเพื่อพัฒนาบริษัทของตัวเองสู่การเป็นใหญ่ในตลาด และสอง-เน้นที่การพัฒนาปัจเจกบุคคล ซึ่งต้องมีการส่งเสริมในหลาย ๆ ด้านนับแต่การให้อำนาจและส่งเสริมให้ใช้อำนาจนั้น ซึ่งการให้อำนาจอาจจะส่งบุคคลอาจจะถือเป็นเรื่องเสี่ยงสำหรับบริษัท ซึ่งผู้บริหารต้องกล้ารับผิดชอบในระดับหนึ่ง เพราะการไม่กล้าที่จะเสี่ยงอะไรเลยไม่มีประโยชน์ต่อบริษัท ส่วนเรื่องอื่นก็จะมีเป็นปกติเช่น การแสดงความชื่นชมและการให้รางวัล การฝึกอบรมและพัฒนา การวางแผนอนาคตในหน้าที่การงาน การสร้างตัวตายตัวแทน การให้เงินรางวัลตามผลงาน และการแปลงรูปเป็นองค์กรเรียนรู้ ซึ่งสิ่งสำคัญที่สุดในนี้และจำเป็นมาก ก็คือ การวางแผนอนาคตในหน้าที่การงาน นั่นเอง
6. การตลาดอิเล็คทรอนิกส์ (Online Marketing) ในอนาคตสำหรับการตลาดแบบนี้อาจจะถือว่าจำเป็น และหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ปัจจุบันสถานภาพของตลาดนี้ เป็นเพียงส่วนเสริมทำให้บริษัทดูดีขึ้นเท่านั้น การตลาดอิเล็คทรอนิกส์ เป็นสิ่งที่ MARKETEER พูดถึงค่อนข้างบ่อย ซึ่งจะประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก ๆ คือ เว็บไซต์/โฮมเพจ เพื่อการโฆษณาอิเล็กทรอนิกส์ แคตตาล็อก และการเสนอแนะจากบริษัทผ่านสื่อออนไลน์ ดอทคอม เพื่อสนับสนุนตัวแทนขาย การพัฒนาสู่อีคอมเมิร์ซ และทำ Chat Room เพื่อโต้ตอบกับลูกค้าได้อย่างฉับพลัน
สุดท้าย ขอย้ำว่า สำหรับ 6 กลยุทธ์ที่พูดถึง หัวข้อสุดท้ายยังไม่ใช่เรื่องจำเป็น ณ ปัจจุบัน เพราะเป็นการพัฒนาการตลาดเพื่อให้ดูมีบูรณาการด้านการตลาดเท่านั้น ถ้าทุกบริษัททำเฉพาะ 5 กลยุทธ์แรกได้อย่างสมบูรณ์ก็ยังสามารถแข่งขันอยู่ในตลาดได้อย่างแน่นอน
อ้างอิง : www.marketeer.co.th
นางสาวนพมาศ พิณทมร รหัส 5210125401067 เอกการจัดการทั่วไป ปี 4
บทที่ 9 แรงผลักดันและเป้าหมายในการเปลี่ยนแปลง (Forces and targets for change)
จากการเปลี่ยนแปลงเชิงปฏิรูปและการเปลี่ยนแปลงที่มากขึ้นนั้น ในองค์การจะต้องมีการพัฒนาและการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม ได้แก่
1. อิทธิพลจากสภาพแวดล้อมภายนอก (External forces) ประกอบด้วย ความเป็นโลกาภิวัตน์ ความเป็นสากลระดับโลก การแข่งขันของตลาด สภาพเศรษฐกิจ ท้องถิ่น อิทธิพลและค่านิยมของสังคม กฎหมายและข้อกำหนดของรัฐบาล การพัฒนาเทคโนโลยี เป็นต้น
2. อิทธิพลจากสภาพแวดล้อมภายใน (Internal forces) ซึ่งจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงความคิดริเริ่มเพื่อตอบสนองต่ออิทธิพลจากสภาพแวดล้อมภายนอก โดยการสร้างความจำเป็นเพื่อการเปลี่ยนแปลงในส่วนต่างๆของระบบ
เป้าหมายองค์การสำหรับการเปลี่ยนแปลง (Organizational targets for change)
1. งาน (Tasks) เป็นลักษณะของงานที่เกี่ยวข้องกับภารกิจ วัตถุประสงค์ กลยุทธ์และการออกแบบงานสำหรับบุคคลและกลุ่ม
2. บุคคล (People) ประกอบด้วยทัศนคติขีดความสามารถของพนักงานและระบบทรัพยากรมนุษย์ที่ให้การสนับสนุน
3. วัฒนธรรม (Culture) เป็นระบบค่านิยมขององค์การโดยรวมตลอดจนบรรทัดฐานที่ใช้ชักนำพฤติกรรมบุคคลและกลุ่ม
4. เทคโนโลยี (Technology) เป็นเทคโนโลยีข้อมูลสารสนเทศและการปฏิบัติการที่ใช้เพื่อสนับสนุนให้ออกแบบงาน การจดเส้นทางเคลื่อนย้ายของงาน การบูรณาการบุคคลและเครื่องจักรกลในระบบ
5. โครงสร้าง (Structure) ประกอบด้วยโครงร่างขององค์การในระบบที่สลับซับซ้อนประกอบด้วยลักษณะที่มีการออกแบบโครงสร้างสายการบังคับบัญชาตามหน้าที่และการสื่อสาร
อ้างอิง : หนังสือเรื่อง การจัดการสมัยใหม่ (Modern Management) ของ รศ.ดร.รังสรรค์ ประเสริฐศรี ปี พ.ศ. 2549
นางสาวนพมาศ พิณทมร รหัส 5210125401067 เอกการจัดการทั่วไป ปี 4
บทที่ 8 การพัฒนาแรงงานให้มีคุณภาพ
การพัฒนาแรงงานให้มีคุณภาพ (Developing a quality workforce) คนเริ่มทำงานจำเป็นต้องเรียนรู้ถึงสิ่งที่เขาทำงานอยู่ สิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เข้าทำงานใหม่เกิดความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมโดยมีการพัฒนาศักยภาพการทำงาน การเข้าสู่กระบวนการทางสังคม (Socialization) ขององค์การซึ่งจะมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมและทัศนคติของพนักงานใหม่ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการองค์การและฝ่ายพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์การจะต้องให้ความสำคัญและดำเนินการต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. การปฐมนิเทศพนักงาน (Employee orientation) หมายถึง การให้พนักงานใหม่คุ้นเคยกับงาน เพื่อนร่วมงาน นโยบาย และการให้บริการขององค์การซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการทางสังคมในองค์การ การปฐมนิเทศจะประกอบด้วย การให้พนักงานเข้าใจถึงภารกิจ วัฒนธรรมขององค์การ การอธิบายถึงวัตถุประสงค์ในการทำงานและความคาดหวังของงาน ตลอดจนการสื่อสารถึงนโยบายและกระบวนการต่างๆ
2. การฝึกอบรมและพัฒนา (Training and development) การฝึกอบรม หมายถึง การจัดหาโอกาสให้พนักงานได้เกิดการเรียนรู้ เพื่อจัดหาและปรับปรุงทักษะที่สัมพันธ์กับงาน ซึ่งประยุกต์ใช้ทั้งการฝึกอบรมในช่วงแรกของการทำงานและในช่วงหลังเพื่อยกระดับหรือเพื่อปรับปรุงทักษะ ซึ่งการฝึกอบรมและพัฒนามีดังนี้
2.1 การฝึกอบรมในการทำงาน (On-the-job training) เกิดขึ้นเมื่อมีการกำหนดงาน วิธีการโดยทั่วไป คือ การหมุนเวียนงาน ซึ่งจะให้พนักงานใช้เวลาทำงานในงานต่างๆ ขององค์การและมีการขยายขอบเขตขีดความสามารถในการทำงานโดยการสอนงาน
2.2 การฝึกอบรมนอกการปฏิบัติงาน (Off-the-job training) เป็นการฝึกอบรมในห้องฝึกอบรม ซึ่งมีบรรยากาศในการฝึกอบรมคล้ายๆกับการศึกษาในชั้นเรียน
3. ระบบการจัดการการทำงาน (Performance management system) เป็นการกำหนดมาตรฐานการประเมินผลลัพธ์ และการวางแผนเพื่อปรับปรุงการทำงาน เป็นส่วนสำคัญของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ (HRM) เป็นการออกแบบและการปฏิบัติการให้ประสบความสำเร็จ
4. การประเมินผลการทำงาน (Performance appraisal) เป็นขั้นตอนการประเมินอย่างเป็นทางการ เพื่อให้บรรลุผลการทำงานของพนักงานและการป้อนกลับงานที่ประเมินนั้น
อ้างอิง : หนังสือเรื่อง การจัดการสมัยใหม่ (Modern Management) ของ รศ.ดร.รังสรรค์ ประเสริฐศรี ปี พ.ศ. 2549
น.ส วราภรณ์ รัชชุรัตน โบว์ 031 การจัดการทั่วไป
การบริหารการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาอย่างยั่งยืน
1. ความซับซ้อนและความหลากหลายขององค์กร
การเปลี่ยนแปลงและความก้าวหน้าในสังคมปัจจุบัน ทำให้องค์กรหลายแห่งต้องปรับตัวจนมีโครงสร้างที่ซับซ้อน และมีรูปแบบที่หลากหลายขึ้น ซึ่งเราจะเห็นรูปแบบการปรับตัวในระดับต่างๆ เช่น การรื้อปรับระบบ (Reengineering) การแตกออกเป็นหน่วยธุรกิจย่อย (Business Unit) การลดระดับการบังคับบัญชา (Delayering) หรือการลดขนาดองค์กร(Downsizing) เป็นต้น ทำให้มีการปรับเปลี่ยนระบบและวิธีการทำงาน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อบุคลากรที่ปฏิบัติทั้งในเชิงกายภาพและจิตใจ ทำให้ฝ่ายบริหารไม่เพียงแต่ต้องตัดสินใจเปลี่ยนโครงสร้างขององค์กร แต่จะต้องสามารถวางแผนและทำการพัฒนาองค์กร เพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่ทั้งบุคคลและองค์กร
2. พลวัตของสภาพแวดล้อม
การขยายตัวและเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายนอก เช่น เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม การเมือง เทคโนโลยี และโลกาภิวัตน์ ตลอดจนสภาพแวดล้อมในการดำเนินงานต่างๆ เช่น ลูกค้า คู่แข่งขัน ต่างก็มีอิทธิพลต่อการดำรงอยู่ของทั้งองค์กรและบุคลากร ประกอบกับแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในระดับมหภาคของประเทศ ที่ให้ความสำคัญกับคุณภาพชีวิตของประชากร ได้สร้างแรงผลักดันให้องค์กรธุรกิจต้องปรับตัวและดำเนินงานเพื่อตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานของแรงงานเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตการทำงานที่ดีขึ้น
3. ความยืดหยุ่นและการตอบสนองต่อปัญหา
องค์กรต้องมีความยืดหยุ่นต่อแรงกดดันและสามารถตอบสนองต่อปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง และเหมาะสม เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงและความผันผวนของสภาพแวดล้อม อาจสร้างโอกาสหรืออุปสรรคให้แก่องค์กรได้ โดยโอกาสและอุปสรรคที่เกิดขึ้นอาจจะมีรูปแบบที่แตกต่างจากอดีต ทำให้องค์กรต้องสามารถตอบสนองต่อปัญหาได้อย่างเป็นระบบและตรงประเด็น ซึ่งต้องอาศัยความรู้ความสามารถและความพร้อมขององค์กร ในการรับรู้และตระหนักถึงปัญหา การวิเคราะห์สาเหตุ และการแก้ไขที่ถูกต้อง ผ่านทางทรัพยากรมนุษย์ที่มีศักยภาพ และเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างตนเอง กลุ่ม องค์กร และสภาพแวดล้อมอย่างดี
1. ความซับซ้อนและความหลากหลายขององค์กร
การเปลี่ยนแปลงและความก้าวหน้าในสังคมปัจจุบัน ทำให้องค์กรหลายแห่งต้องปรับตัวจนมีโครงสร้างที่ซับซ้อน และมีรูปแบบที่หลากหลายขึ้น ซึ่งเราจะเห็นรูปแบบการปรับตัวในระดับต่างๆ เช่น การรื้อปรับระบบ (Reengineering) การแตกออกเป็นหน่วยธุรกิจย่อย (Business Unit) การลดระดับการบังคับบัญชา (Delayering) หรือการลดขนาดองค์กร(Downsizing) เป็นต้น ทำให้มีการปรับเปลี่ยนระบบและวิธีการทำงาน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อบุคลากรที่ปฏิบัติทั้งในเชิงกายภาพและจิตใจ ทำให้ฝ่ายบริหารไม่เพียงแต่ต้องตัดสินใจเปลี่ยนโครงสร้างขององค์กร แต่จะต้องสามารถวางแผนและทำการพัฒนาองค์กร เพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่ทั้งบุคคลและองค์กร
2. พลวัตของสภาพแวดล้อม
การขยายตัวและเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายนอก เช่น เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม การเมือง เทคโนโลยี และโลกาภิวัตน์ ตลอดจนสภาพแวดล้อมในการดำเนินงานต่างๆ เช่น ลูกค้า คู่แข่งขัน ต่างก็มีอิทธิพลต่อการดำรงอยู่ของทั้งองค์กรและบุคลากร ประกอบกับแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในระดับมหภาคของประเทศ ที่ให้ความสำคัญกับคุณภาพชีวิตของประชากร ได้สร้างแรงผลักดันให้องค์กรธุรกิจต้องปรับตัวและดำเนินงานเพื่อตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานของแรงงานเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตการทำงานที่ดีขึ้น
3. ความยืดหยุ่นและการตอบสนองต่อปัญหา
องค์กรต้องมีความยืดหยุ่นต่อแรงกดดันและสามารถตอบสนองต่อปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง และเหมาะสม เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงและความผันผวนของสภาพแวดล้อม อาจสร้างโอกาสหรืออุปสรรคให้แก่องค์กรได้ โดยโอกาสและอุปสรรคที่เกิดขึ้นอาจจะมีรูปแบบที่แตกต่างจากอดีต ทำให้องค์กรต้องสามารถตอบสนองต่อปัญหาได้อย่างเป็นระบบและตรงประเด็น ซึ่งต้องอาศัยความรู้ความสามารถและความพร้อมขององค์กร ในการรับรู้และตระหนักถึงปัญหา การวิเคราะห์สาเหตุ และการแก้ไขที่ถูกต้อง ผ่านทางทรัพยากรมนุษย์ที่มีศักยภาพ และเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างตนเอง กลุ่ม องค์กร และสภาพแวดล้อมอย่างดี
4. แรงผลักดันของเทคโนโลยี
ปัจจุบันเทคโนโลยีเป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพ และประสิทธิผลในการทำงานของธุรกิจ การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมทำให้องค์กรต้องปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีของตนเอง เพื่อให้สามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลทัดเทียมหรือเหนือกว่าองค์กรอื่นๆ มิเช่นนั้นก็จะถูกคู่แข่งขันแซงหน้า และอาจจะต้องออกจากการแข่งขันไปในที่สุด ซึ่งเราสมควรให้ความสนใจกับเทคโนโลยีด้านต่างๆ ดังนี้
4.1)เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) หรือ IT ได้แก่ คอมพิวเตอร์ ชุดคำสั่ง อุปกรณ์สื่อสาร และระบบ Internet จะเป็นกลจักรสำคัญในการสร้างประสิทธิภาพ และความคล่องตัวให้แก่องค์กร ผ่านระบบการจัดการข้อมูลที่เหมาะสม ที่ช่วยให้การตัดสินใจแก้ไขปัญหามีความถูกต้องและเหมาะสมกับข้อจำกัดของสถานการณ์
4.2 )เทคโนโลยีการผลิตและการปฏิบัติงาน (Production/Operations Technology) เป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ช่วยให้การผลิตมีประสิทธิภาพ และผลผลิตสูงขึ้น ตลอดจนช่วยในการปฏิบัติงานของบุคคลให้สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อการเพิ่มผลิตภาพ (Productivity) ในการดำเนินงานของธุรกิจ
4.3) เทคโนโลยีการบริหารงาน (Management Technology) เป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ช่วยให้การทำงานขององค์กรมีประสิทธิภาพ ทั้งในด้านการวางแผน การปฏิบัติการ และการควบคุม เช่น Benchmarking การบริหารคุณภาพโดยรวม (Total Quality Management : TQM ) หรือ การรื้อปรับระบบ (Reengineering) เป็นต้น โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาทั้งโครงสร้างและการทำงานขององค์กรให้ก้าวหน้าและทันสมัย ซึ่งจะช่วยสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่งขัน
เราจะเห็นว่า พัฒนาการและการใช้งานเทคโนโลยีทั้งสามด้านอย่างเหมาะสมจะมีอิทธิพล และช่วยเร่งการพัฒนาผลิตภาพ (Productivity) รวมขององค์กร ดังนั้นการที่เราจะสามารถใช้เทคโนโลยีได้อย่างถูกต้อง และลงตัวจะต้องอาศัยทรัพยากรมนุษย์ที่ไม่เพียงแต่มีความรู้ในงานที่ตนทำ แต่จะต้องสามารถใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์กร โดยสามารถประสานประโยชน์และสร้างสมดุลระหว่างงานและระบบให้ได้อย่างเต็มที่
5. การตื่นตัวด้านจริยธรรมและความรับผิดชอบต่อสังคม
นอกจากแรงผลักดันของกระแสการดำเนินงาน และปัจจัยแวดล้อมภายนอก ดังที่กล่าวมาแล้ว ผู้บริหารในองค์กรต่างๆ ยังจะต้องตื่นตัวและให้ความสำคัญกับการดำเนินงานอย่างมีจริยธรรม ซื่อสัตย์ และรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม ลูกค้าและพนักงาน โดยเฉพาะพนักงานซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญอันดับหนึ่งขององค์กร ที่สมควรได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม และมีมนุษยธรรม เพื่อให้เขามีความพอใจ และเต็มใจปฏิบัติงานที่ตนได้รับมอบหมายอย่างเต็มความสามารถและเสียสละให้แก่องค์กร โดยพร้อมจะปฏิบัติงานอื่นที่อยู่นอกเหนือขอบเขตการทำงานของตน เพื่อให้องค์กรก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคงความหมายและแนวคิดของการพัฒนาองค์กร
ปัจจุบันเทคโนโลยีเป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพ และประสิทธิผลในการทำงานของธุรกิจ การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมทำให้องค์กรต้องปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีของตนเอง เพื่อให้สามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลทัดเทียมหรือเหนือกว่าองค์กรอื่นๆ มิเช่นนั้นก็จะถูกคู่แข่งขันแซงหน้า และอาจจะต้องออกจากการแข่งขันไปในที่สุด ซึ่งเราสมควรให้ความสนใจกับเทคโนโลยีด้านต่างๆ ดังนี้
4.1)เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) หรือ IT ได้แก่ คอมพิวเตอร์ ชุดคำสั่ง อุปกรณ์สื่อสาร และระบบ Internet จะเป็นกลจักรสำคัญในการสร้างประสิทธิภาพ และความคล่องตัวให้แก่องค์กร ผ่านระบบการจัดการข้อมูลที่เหมาะสม ที่ช่วยให้การตัดสินใจแก้ไขปัญหามีความถูกต้องและเหมาะสมกับข้อจำกัดของสถานการณ์
4.2 )เทคโนโลยีการผลิตและการปฏิบัติงาน (Production/Operations Technology) เป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ช่วยให้การผลิตมีประสิทธิภาพ และผลผลิตสูงขึ้น ตลอดจนช่วยในการปฏิบัติงานของบุคคลให้สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อการเพิ่มผลิตภาพ (Productivity) ในการดำเนินงานของธุรกิจ
4.3) เทคโนโลยีการบริหารงาน (Management Technology) เป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ช่วยให้การทำงานขององค์กรมีประสิทธิภาพ ทั้งในด้านการวางแผน การปฏิบัติการ และการควบคุม เช่น Benchmarking การบริหารคุณภาพโดยรวม (Total Quality Management : TQM ) หรือ การรื้อปรับระบบ (Reengineering) เป็นต้น โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาทั้งโครงสร้างและการทำงานขององค์กรให้ก้าวหน้าและทันสมัย ซึ่งจะช่วยสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่งขัน
เราจะเห็นว่า พัฒนาการและการใช้งานเทคโนโลยีทั้งสามด้านอย่างเหมาะสมจะมีอิทธิพล และช่วยเร่งการพัฒนาผลิตภาพ (Productivity) รวมขององค์กร ดังนั้นการที่เราจะสามารถใช้เทคโนโลยีได้อย่างถูกต้อง และลงตัวจะต้องอาศัยทรัพยากรมนุษย์ที่ไม่เพียงแต่มีความรู้ในงานที่ตนทำ แต่จะต้องสามารถใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์กร โดยสามารถประสานประโยชน์และสร้างสมดุลระหว่างงานและระบบให้ได้อย่างเต็มที่
5. การตื่นตัวด้านจริยธรรมและความรับผิดชอบต่อสังคม
นอกจากแรงผลักดันของกระแสการดำเนินงาน และปัจจัยแวดล้อมภายนอก ดังที่กล่าวมาแล้ว ผู้บริหารในองค์กรต่างๆ ยังจะต้องตื่นตัวและให้ความสำคัญกับการดำเนินงานอย่างมีจริยธรรม ซื่อสัตย์ และรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม ลูกค้าและพนักงาน โดยเฉพาะพนักงานซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญอันดับหนึ่งขององค์กร ที่สมควรได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม และมีมนุษยธรรม เพื่อให้เขามีความพอใจ และเต็มใจปฏิบัติงานที่ตนได้รับมอบหมายอย่างเต็มความสามารถและเสียสละให้แก่องค์กร โดยพร้อมจะปฏิบัติงานอื่นที่อยู่นอกเหนือขอบเขตการทำงานของตน เพื่อให้องค์กรก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคงความหมายและแนวคิดของการพัฒนาองค์กร
นางสาว วิชญาพร อ่องมี รหัส 5210125401075 การจัดการทั่วไป
บทที่ 7
การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และ วิเคราะห์ถึงผลกระทบต่อการบริหารจัดการ
อย่างที่เรารู้กันดีว่า ในปี พ.ศ. 2558 ข้อตกลงการเปิดการค้าเสรีในกลุ่มประเทศอาเซียน หรือ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community- AEC) จะมีผลบังคับใช้ ซึ่งประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในประเทศกลุ่มอาเซียน ดังนั้นข้อตกลงดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้กับไทยด้วยเช่นกัน ซึ่งเมื่อมีการเปิดการค้าเสรี แรงงานฝีมือในประเทศต่างๆ ที่อยู่ในกลุ่มประเทศอาเซียน จะสามารถโยกย้ายกันได้อย่างเสรี นอกจากนี้การลงทุนข้ามประเทศก็จะเป็นไปได้ง่าย และนั่นหมายความว่า การแข่งขันระหว่างองค์กรก็จะสูงขึ้น เมื่อการแข่งขันมีสูงขึ้น ศักยภาพของคนในองค์กรก็จาเป็นที่จะต้องมีมากขึ้นเช่นกัน
สำหรับองค์กรที่เป็นองค์กรข้ามชาติอยู่แล้ว ก็คงไม่มีปัญหาอะไรมากนัก เกี่ยวกับศักยภาพของคนในองค์กร แต่สาหรับองค์กรที่เป็นแบบไทยๆ การพัฒนาศักยภาพของพนักงาน จะกลายเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องได้รับการดูแลอย่างเร่งด่วน และการพัฒนาคนนั้นจาเป็นต้องใช้เวลาเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในการพัฒนาในเชิงพฤติกรรมที่ต้องใช้เวลาอย่างมากถึงมากที่สุด แล้วอะไรเป็นทักษะความรู้ที่ต้องพัฒนาบ้าง
สิ่งแรก คือ ทักษะด้านภาษา โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ แน่นอนว่านอกจากการพัฒนาเพื่อให้ทัดเทียมกับคู่แข่งที่มีศักยภาพแล้ว ถ้าเรามองในอีกมุมหนึ่งการลงทุนข้ามชาติ อาจหมายถึง การที่เราจะมีลูกค้าที่เป็นบริษัทข้ามชาติเพิ่มขึ้นได้เช่นกัน ดังนั้นเราจึงเตรียมพร้อมในเรื่องของภาษาไว้เพื่อที่เราจะได้สามารถสื่อสารกับเขาได้อย่างราบรื่น
นอกจากเรื่องของภาษาแล้ว กระบวนการทางาน บางอย่างก็จาเป็นต้องได้รับการปรับปรุง แม้นี่จะไม่ใช่งานหลักที่ HR ต้องเข้าไปดูแล เพราะแต่ละฝ่ายจะต้องมีหน้าที่ในการปรับปรุงกระบวนการทางานของตนเองอยู่แล้ว แต่ HR ก็ยังคงต้องเข้าไปช่วยเป็นกาลังเสริมให้กับฝ่ายเหล่านั้น เพราะอย่าลืมว่า หลังจากปรับปรุงกระบวนการทางาน ตาแหน่งงานและคุณสมบัติของคนทางานจะเปลี่ยนไป ซึ่ง HR จะต้องเข้าไปช่วยดูแลเพื่อให้คนที่อยู่ในตาแหน่งงานมีศักยภาพที่เหมาะสมกับตำแหน่งใหม่นั้นๆ
วัฒนธรรม เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่เราต้องคำนึงถึง เมื่อต่างชาติเข้ามาในไทย เขาจะนาเอาวัฒนธรรมบางอย่างเข้ามาด้วย ดังนั้น พนักงานจาเป็นต้องเรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของเชื้อชาติ ศาสนา หรือแม้แต่ความคิด และความเชื่อที่แตกต่างกัน แม้จะมีคากล่าวที่ว่า เข้าเมืองตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตาม
วัฒนธรรมขององค์กร เป็นอีกเรื่องที่อาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยนเพื่อความเหมาะสม ซึ่ง HR ต้องมีบทบาทอย่างมากเกี่ยวกับเรื่องนี้ เริ่มจากการค้นหาดูก่อนว่าปัจจุบันวัฒนธรรมขององค์กรเป็นอย่างไร และมีส่วนไหนบ้างที่อาจจะกลายเป็นอุปสรรคในการทางานในอนาคต จากนั้นปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมดังกล่าวเสีย ยกตัวอย่างเช่น การจ่ายผลตอบแทน หรือการเลื่อนตาแหน่งที่มองตามความอาวุโส แม้คนไทยส่วนใหญ่จะชอบให้เป็นเช่นนั้น แต่เมื่อเปิดการค้าเสรีแล้ววัฒนธรรมนี้จะทาให้คนเก่งแต่อาวุโสน้อยหนีหายไปจากองค์กรได้
อีกเรื่องหนึ่งที่ HR ต้องเตรียมความพร้อมไว้ คือ เรื่องของ การรักษาคนให้อยู่กับองค์กรได้นานๆ เพราะเมื่อองค์กรข้ามชาติเข้ามาในประเทศไทย การแก่งแย่งคนท้องถิ่นที่มีความสามารถสูงก็จะมีมากขึ้น ไม่ต้องพูดถึงค่าตอบแทนที่องค์กรต่างชาติจะกล้าจ่าย ทั้งยังมีเรื่องของโอกาสในการเดินทางไปต่างประเทศที่จะกลายเป็นจุดดึงดูดอีกด้วย ถ้าองค์กรของเราไม่สามารถสู้ในเรื่องเหล่านี้ได้ สิ่งที่ HR ต้องทาคือ การหาจุดเด่นขององค์กร ไม่ว่าจะเป็นในเชิงของวัฒนธรรม เพื่อนร่วมงาน หรือสวัสดิการบางอย่าง เพื่อใช้ในการดึงพนักงานไว้กับองค์กร หรือถ้าหาจุดเด่นไม่ได้จริงๆ HR ต้องร่วมมือกับผู้บริหารระดับสูงในการระบุออกมาเลยว่า พนักงานคนใดที่องค์กรต้องเก็บไว้ให้ดี และพยายามทุกวิถีทางในการเก็บรักษาพนักงานเหล่านี้เอาไว้
สำหรับตัว HR เอง ก็ต้องศึกษาเพิ่มเติมในส่วนงานของตนที่ต้องมองให้กว้างขึ้น เพราะในอนาคตนอกจากคนไทยที่ทางานในองค์กรแล้ว องค์กรอาจจะต้องรับชาวต่างชาติเข้ามาร่วมงานด้วย ดังนั้น HR อาจจะต้องดูแลเพิ่มในเรื่องของสวัสดิการต่างๆ ที่พนักงานต่างชาติอาจจะต้องมีเพิ่มมากกว่าคนไทย นอกจากนี้ HR ยังต้องเข้าใจถึงการเปรียบเทียบในเชิงต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น ในเชิงการศึกษา ถ้ามีชาวต่างชาติบอกว่าการศึกษาสูงสุดของเขา คือการสอบ GCE O Level ที่สิงคโปร์ HR ต้องเข้าใจแล้วว่า GCE O Level ของสิงคโปร์เทียบเท่ากับมัธยม 6 ของเมืองไทย
ที่มา : คอลัมน์ HR Talks จดหมายข่าวรายเดือน Productivity Corner เมษายน 2555 สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ
โชคดี กลิ่นศร (กล้า) 0823429864
เรื่องของผู้นำนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญมาก หลายองค์กรพยายามที่จะหาวิธีในการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารทุกระดับให้เกิดขึ้น เพื่อที่จะให้ผู้นำเหล่านี้ เป็นผู้ผลักดันความสำเร็จให้เกิดขึ้นกับองค์กร และจากผลการวิจัยของมหาวิทยาลัยมิชิแกน ในเรื่องของภาวะผู้นำนั้น ก็ยืนยันว่า องค์กรที่ประสบความสำเร็จนั้น เป็นผลมาจากการที่ผู้บริหารของตนมีภาวะผู้นำ และสามารถนำองค์กร นำคน ให้ไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้ได้
คุณสมบัติ 5 ประการในการเป็นผู้นำที่ดี
ผู้นำที่ดีต้องเป็นผู้มีวิสัยทัศน์ ต้องเป็นคนที่มองเห็นภาพในอนาคตที่คนอื่นมองไม่เห็น มองเห็นโอกาสในอนาคตได้ และเมื่อมองเห็นภาพอนาคตแล้ว ก็ต้องสามารถกำหนดเป้าหมาย และแผนงานในการไปสู่เป้าหมายนั้นได้อย่างชัดเจน ไม่ใช่แค่ฝันเฟื่องเพียงอย่างเดียว
ผู้นำที่ดีจะต้องกระจายงานให้ทีมงานอย่างเหมาะสม เป็นการนำแผนงานที่กำหนดไว้นั้น มากระจายสู่พนักงาน และทีมงาน โดยพิจารณาความเหมาะสมของพนักงานแต่ละคนให้เหมาะกับงานแต่ละอย่าง เพื่อให้เขาสามารถที่จะทำงานได้ตามที่ถนัด รวมทั้งให้โอกาสคนอื่นๆ ได้ทำงาน ผู้นำอาจจะต้องยอมรับความเสี่ยงในเรื่องนี้ กล่าวคือ ยอมที่จะไว้วางใจพนักงาน และเชื่อว่าพนักงานจะสามารถทำงานนั้นได้ ผมเห็นผู้นำหลายคนที่ใช้วิธีนี้กับลูกน้องของตนเอง ก็อาจจะมีลูกน้องที่ทำไม่ได้ แต่ส่วนใหญ่แล้วลูกน้องจะทำเต็มที่เพราะนายไว้ใจอย่างมาก ก็ไม่อยากทำให้นายผิดหวัง
ผู้นำที่ดีจะต้องสร้างทีมงานได้ จะต้องเป็นคนที่ทำงานให้สำเร็จ โดยเน้นทั้งงาน เน้นทั้งคน และในการสร้างทีมงานที่ดี ผู้นำก็ต้องมีทักษะในการสื่อความที่ดี มีความเป็นธรรมกับพนักงานทุกคนในทีม ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง เวลาทำงานก็จะเน้นให้ทุกคนร่วมกันทำงาน ไม่มีการทำตัวเด่นเพียงคนเดียว หรือรับแต่ชอบ ไม่ยอมรับผิด
ผู้นำที่ดีจะต้องสร้างแรงบันดาลใจให้พนักงานได้ มีพลังในการสร้างกำลังใจให้กับทีมงาน และกระตุ้นให้พนักงานมีความต้องการที่จะประสบความสำเร็จได้ เหมือนกับที่ Jack Welch อดีต CEO ของ GE ได้ใช้คำว่า Energize ก็คือการทำให้คนอื่นมีพลังในการทำงานอยู่เสมอ
ผู้นำที่ดีจะต้องเป็นผู้พัฒนาคนอื่นอยู่เสมอ มีความเข้าใจพนักงานที่มีผลงานไม่ดี และพยายามที่จะพัฒนาพนักงานให้มีความรู้ความสามารถ และทักษะในการทำงานมากขึ้น ผู้นำที่ดีจะไม่ด่าพนักงานว่า “ทำไมโง่จัง แค่นี้ยังทำไม่ได้” (ถ้าทำได้ก็คงมาเป็นหัวหน้าของผู้นำคนนี้ไปแล้ว) แต่จะพยายามพัฒนาให้พนักงานทำงานให้ได้ ผู้นำที่ดีจึงเปรียบเสมือนครู ที่สอนพนักงานทั้งด้านความรู้ในการทำงาน และเป็นตัวอย่างสำหรับพฤติกรรมที่เหมาะสมด้วย
อ้างอิง คุณลักษณะของผู้นำ ภราคร
ภาวะโลกร้อน * http://www.kanyarat.ispace.in.th/e/index3.html
ภาวะโลกร้อน (Global Warming) หรือ ภาวะ ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate Change)เป็นปัญหาใหญ่ของโลกเราในปัจจุบัน สังเกตได้จาก อุณหภูมิ ของโลกที่สูงขึ้นเรื่อยๆ
สาเหตุหลักของปัญหานี้มาจาก ก๊าซเรือนกระจก ครับ (Greenhouse gases) ปรากฏการณ์เรือนกระจก มีความสำคัญกับโลก เพราะก๊าซจำพวก คาร์บอนไดออกไซด์ หรือ มีเทน จะกักเก็บความร้อนบางส่วนไว้ในในโลก ไม่ให้สะท้อนกลับสู่บรรยากาศทั้งหมด มิฉะนั้น
โลกจะกลายเป็นแบบดวงจันทร์ ที่ตอนกลางคืนหนาวจัด (และ ตอนกลางวันร้อนจัด เพราะไม่มีบรรยากาศ กรองพลังงาน จาก ดวงอาทิตย์) ซึ่งการทำให้โลกอุ่นขึ้นเช่นนี้ คล้ายกับหลักการของ เรือนกระจก (ที่ใช้ปลูกพืช) จึงเรียกว่า ปรากฏการณ์เรือนกระจก (Greenhouse Effect) ครับ แต่การเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของ CO2 ที่ออกมาจาก โรงงานอุตสาหกรรม รถยนตร์ หรือการกระทำใดๆที่เผา เชื้อเพลิงฟอสซิล (เช่น ถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ หรือสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ) ส่งผลให้ระดับปริมาณ CO2 ในปัจจุบันสูงเกิน 300 ppm (300 ส่วน ใน ล้านส่วน)
เป็นครั้งแรกในรอบกว่า 6 แสนปีซึ่งคาร์บอนไดออกไซด์ ที่มากขึ้นนี้ได้เพิ่มการกักเก็บความร้อนไว้ในโลกของเรามากขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดเป็น ภาวะโลกร้อน ดังเช่นปัจจุบัน
ภาวะโลกร้อน (Global Warming) หมายถึง การที่อุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศบนโลกสูงขึ้นไม่ว่าจะเป็นอากาศบริเวณใกล้ผิวโลกและน้ำในมหาสมุทร ในช่วง 100 ปีที่ผ่านมาอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงขึ้นถึง 0.74 ? 0.18 องศาเซลเซียส และจากแบบจำลองการคาดคะเนภูมิอากาศพบว่าในปี พ.ศ. 2544 - 2643 อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกจะเพิ่มขึ้นถึง 1.1 ถึง 6.4 องศาเซลเซียส
สาเหตุ ที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนก็เพราะว่าเหล่าก๊าซเรือนกระจกทั้งหลายที่เกิดขึ้นจากการทำกิจกรรมต่างๆของมนุษย์นั้นเพิ่มขึ้นมากอย่างรวดเร็ว รวมถึงการที่ป่าไม้ถูกตัดและทำลาย ลงไปอย่างมาก จึงทำให้ไม่มีตัวฟอกอากาศที่มากพอจึงทำให้ก๊าซเรือนกระจกทั้งหลายเหล่านี้ขึ้นไปรวมตัวกันอยู่บนชั้นบรรยากาศ ของโลกอย่างหนาแน่น ความร้อนจากดวงอาทิตย์ที่เคยถูกสะท้อนกลับออกไปนอกโลกก็ถูกสะสมไว้ในโลกมาก เกินไป และก็เป็นสาเหตุที่ทำให้อุณหภูมิของโลกเพิ่มขึ้นนั่นเอง
ผลกระทบของภาวะโลกร้อนนั้นก็มีให้เราเห็นกันอยู่บ่อยๆ สภาพลมฟ้าอากาศที่ผิดแปลกไปจากเดิม ภัยธรรมชาติที่รุนแรงมากขึ้น น้ำท่วม แผ่นดินไหว พายุที่รุนแรง อากาศที่ร้อนผิดปกติจนมีคนเสียชีวิต รวมไปถึงโรคระบาดชนิดใหม่ๆ หรือโรคระบาดที่เคยหายไปจากโลกนี้แล้วก็กลับมาให้เราได้เห็นให้และพาหะนำโรคที่มีมากขึ้น ในอนาคตคาดว่าผลกระทบของภาวะโลกร้อนจะรุนแรงมากขึ้น
พวกเราสามารถช่วยลดภาวะโลกร้อนได้ด้วยหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการลดใช้พลังงาน ลดใช้ถุง พลาสติก ลดใช้สิ่งของที่ไม่จำเป็นเพื่อที่จะสร้างขยะให้น้อยลง รวมไปถึงการปลูกต้นไม และยังมีอีกหลายวิธีที่พวกเราสามารถทำได้ เพื่อที่จะช่วยบรรเทาภาวะโลกร้อนนี้
อ้างอิง นางสาวกัญญารัตน์ โพชนา
คุณสมบัติ 5 ประการในการเป็นผู้นำที่ดี
ผู้นำที่ดีต้องเป็นผู้มีวิสัยทัศน์ ต้องเป็นคนที่มองเห็นภาพในอนาคตที่คนอื่นมองไม่เห็น มองเห็นโอกาสในอนาคตได้ และเมื่อมองเห็นภาพอนาคตแล้ว ก็ต้องสามารถกำหนดเป้าหมาย และแผนงานในการไปสู่เป้าหมายนั้นได้อย่างชัดเจน ไม่ใช่แค่ฝันเฟื่องเพียงอย่างเดียว
ผู้นำที่ดีจะต้องกระจายงานให้ทีมงานอย่างเหมาะสม เป็นการนำแผนงานที่กำหนดไว้นั้น มากระจายสู่พนักงาน และทีมงาน โดยพิจารณาความเหมาะสมของพนักงานแต่ละคนให้เหมาะกับงานแต่ละอย่าง เพื่อให้เขาสามารถที่จะทำงานได้ตามที่ถนัด รวมทั้งให้โอกาสคนอื่นๆ ได้ทำงาน ผู้นำอาจจะต้องยอมรับความเสี่ยงในเรื่องนี้ กล่าวคือ ยอมที่จะไว้วางใจพนักงาน และเชื่อว่าพนักงานจะสามารถทำงานนั้นได้ ผมเห็นผู้นำหลายคนที่ใช้วิธีนี้กับลูกน้องของตนเอง ก็อาจจะมีลูกน้องที่ทำไม่ได้ แต่ส่วนใหญ่แล้วลูกน้องจะทำเต็มที่เพราะนายไว้ใจอย่างมาก ก็ไม่อยากทำให้นายผิดหวัง
ผู้นำที่ดีจะต้องสร้างทีมงานได้ จะต้องเป็นคนที่ทำงานให้สำเร็จ โดยเน้นทั้งงาน เน้นทั้งคน และในการสร้างทีมงานที่ดี ผู้นำก็ต้องมีทักษะในการสื่อความที่ดี มีความเป็นธรรมกับพนักงานทุกคนในทีม ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง เวลาทำงานก็จะเน้นให้ทุกคนร่วมกันทำงาน ไม่มีการทำตัวเด่นเพียงคนเดียว หรือรับแต่ชอบ ไม่ยอมรับผิด
ผู้นำที่ดีจะต้องสร้างแรงบันดาลใจให้พนักงานได้ มีพลังในการสร้างกำลังใจให้กับทีมงาน และกระตุ้นให้พนักงานมีความต้องการที่จะประสบความสำเร็จได้ เหมือนกับที่ Jack Welch อดีต CEO ของ GE ได้ใช้คำว่า Energize ก็คือการทำให้คนอื่นมีพลังในการทำงานอยู่เสมอ
ผู้นำที่ดีจะต้องเป็นผู้พัฒนาคนอื่นอยู่เสมอ มีความเข้าใจพนักงานที่มีผลงานไม่ดี และพยายามที่จะพัฒนาพนักงานให้มีความรู้ความสามารถ และทักษะในการทำงานมากขึ้น ผู้นำที่ดีจะไม่ด่าพนักงานว่า “ทำไมโง่จัง แค่นี้ยังทำไม่ได้” (ถ้าทำได้ก็คงมาเป็นหัวหน้าของผู้นำคนนี้ไปแล้ว) แต่จะพยายามพัฒนาให้พนักงานทำงานให้ได้ ผู้นำที่ดีจึงเปรียบเสมือนครู ที่สอนพนักงานทั้งด้านความรู้ในการทำงาน และเป็นตัวอย่างสำหรับพฤติกรรมที่เหมาะสมด้วย
อ้างอิง คุณลักษณะของผู้นำ ภราคร
ภาวะโลกร้อน * http://www.kanyarat.ispace.in.th/e/index3.html
ภาวะโลกร้อน (Global Warming) หรือ ภาวะ ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate Change)เป็นปัญหาใหญ่ของโลกเราในปัจจุบัน สังเกตได้จาก อุณหภูมิ ของโลกที่สูงขึ้นเรื่อยๆ
สาเหตุหลักของปัญหานี้มาจาก ก๊าซเรือนกระจก ครับ (Greenhouse gases) ปรากฏการณ์เรือนกระจก มีความสำคัญกับโลก เพราะก๊าซจำพวก คาร์บอนไดออกไซด์ หรือ มีเทน จะกักเก็บความร้อนบางส่วนไว้ในในโลก ไม่ให้สะท้อนกลับสู่บรรยากาศทั้งหมด มิฉะนั้น
โลกจะกลายเป็นแบบดวงจันทร์ ที่ตอนกลางคืนหนาวจัด (และ ตอนกลางวันร้อนจัด เพราะไม่มีบรรยากาศ กรองพลังงาน จาก ดวงอาทิตย์) ซึ่งการทำให้โลกอุ่นขึ้นเช่นนี้ คล้ายกับหลักการของ เรือนกระจก (ที่ใช้ปลูกพืช) จึงเรียกว่า ปรากฏการณ์เรือนกระจก (Greenhouse Effect) ครับ แต่การเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของ CO2 ที่ออกมาจาก โรงงานอุตสาหกรรม รถยนตร์ หรือการกระทำใดๆที่เผา เชื้อเพลิงฟอสซิล (เช่น ถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ หรือสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ) ส่งผลให้ระดับปริมาณ CO2 ในปัจจุบันสูงเกิน 300 ppm (300 ส่วน ใน ล้านส่วน)
เป็นครั้งแรกในรอบกว่า 6 แสนปีซึ่งคาร์บอนไดออกไซด์ ที่มากขึ้นนี้ได้เพิ่มการกักเก็บความร้อนไว้ในโลกของเรามากขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดเป็น ภาวะโลกร้อน ดังเช่นปัจจุบัน
ภาวะโลกร้อน (Global Warming) หมายถึง การที่อุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศบนโลกสูงขึ้นไม่ว่าจะเป็นอากาศบริเวณใกล้ผิวโลกและน้ำในมหาสมุทร ในช่วง 100 ปีที่ผ่านมาอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงขึ้นถึง 0.74 ? 0.18 องศาเซลเซียส และจากแบบจำลองการคาดคะเนภูมิอากาศพบว่าในปี พ.ศ. 2544 - 2643 อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกจะเพิ่มขึ้นถึง 1.1 ถึง 6.4 องศาเซลเซียส
สาเหตุ ที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนก็เพราะว่าเหล่าก๊าซเรือนกระจกทั้งหลายที่เกิดขึ้นจากการทำกิจกรรมต่างๆของมนุษย์นั้นเพิ่มขึ้นมากอย่างรวดเร็ว รวมถึงการที่ป่าไม้ถูกตัดและทำลาย ลงไปอย่างมาก จึงทำให้ไม่มีตัวฟอกอากาศที่มากพอจึงทำให้ก๊าซเรือนกระจกทั้งหลายเหล่านี้ขึ้นไปรวมตัวกันอยู่บนชั้นบรรยากาศ ของโลกอย่างหนาแน่น ความร้อนจากดวงอาทิตย์ที่เคยถูกสะท้อนกลับออกไปนอกโลกก็ถูกสะสมไว้ในโลกมาก เกินไป และก็เป็นสาเหตุที่ทำให้อุณหภูมิของโลกเพิ่มขึ้นนั่นเอง
ผลกระทบของภาวะโลกร้อนนั้นก็มีให้เราเห็นกันอยู่บ่อยๆ สภาพลมฟ้าอากาศที่ผิดแปลกไปจากเดิม ภัยธรรมชาติที่รุนแรงมากขึ้น น้ำท่วม แผ่นดินไหว พายุที่รุนแรง อากาศที่ร้อนผิดปกติจนมีคนเสียชีวิต รวมไปถึงโรคระบาดชนิดใหม่ๆ หรือโรคระบาดที่เคยหายไปจากโลกนี้แล้วก็กลับมาให้เราได้เห็นให้และพาหะนำโรคที่มีมากขึ้น ในอนาคตคาดว่าผลกระทบของภาวะโลกร้อนจะรุนแรงมากขึ้น
พวกเราสามารถช่วยลดภาวะโลกร้อนได้ด้วยหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการลดใช้พลังงาน ลดใช้ถุง พลาสติก ลดใช้สิ่งของที่ไม่จำเป็นเพื่อที่จะสร้างขยะให้น้อยลง รวมไปถึงการปลูกต้นไม และยังมีอีกหลายวิธีที่พวกเราสามารถทำได้ เพื่อที่จะช่วยบรรเทาภาวะโลกร้อนนี้
อ้างอิง นางสาวกัญญารัตน์ โพชนา
นางสาวนัฐภรณ์ อยู่ดี รหัส 5210125401068 การจัดการทั่วไปปี4
บทที่ 10 การแข่งขันในตลาดโลกและการปรับตัวเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
ตลาดในระบบเศรษฐกิจนับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากตลาดทำหน้าที่เชื่อมโยงระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภค ซึ่งจะช่วยทำให้สินค้าจากแหล่งผลิตไปสู่ผู้บริโภค และยังช่วยให้ผู้บริโภคมีสินค้าและบริการมาบำบัดความต้องการได้อย่างทั่วถึง ซึ่งในบทนี้ จะศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับตลาดในทางเศรษฐศาสตร์
ความหมายของตลาดในทางเศรษฐศาสตร์
ตลาด หมายถึง การซื้อขายสินค้าอย่างใดอย่างหนึ่งหรือภาวะการณ์ในการซื้อขายสินค้านั้นๆ ซึ่งก็หมายถึงว่า การซื้อขายไม่จำเป็นต้องมีตลาดเป็นตัวตน ผู้ซื้อและผู้ขายไม่จำเป็นต้องมาพบกัน เพียงแต่ใช้เครื่องมือสื่อสารตกลงกัน
หน้าที่ของการตลาด
การตลาด ซึ่งรวมถึงการรับเสี่ยงภัยและการขนส่ง ย่อมมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการผลิตในฐานะเป็นขั้นหนึ่งของกระบวนการผลิต ทั้งนี้ก็เพราะ การผลิต ในทางเศรษฐศาสตร์นั้นถือว่าจะมีผลผลิต ก็ต่อเมื่อสินค้าได้ถึงมือผู้บริโภคแล้ว เท่านั้น จึงพอสรุปหน้าที่ได้ ดังนี้
• แสวงหาอุปสงค์และคาดการณ์ล่วงหน้าเกี่ยวกับอุปสงค์
• เสริมสร้างให้เกิดอุปสงค์
• สนองความต้องการอุปสงค์
ลักษณะตลาดในระบบเศรษฐกิจ
ถ้าแบ่งตลาดในทางเศรษฐกิจออกตามลักษณะของการแข่งขันอาจแบ่งได้ 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ ตลาดที่มีการแข่งขันสมบูรณ์ และตลาดที่มีการเข่งขันไม่สมบูรณ์
• ตลาดที่มีการแข่งขันสมบูรณ์ ลักษณะเด่นของตลาดแบบนี้ คือ
1. ผู้ชื้อและผู้ขายมีจำนวนมาก
2. สินค้าที่ซื้อขายมีลักษณะคุณภาพมาตรฐานใกล้เคียงกันมาก
3. การติดต่อซื้อขายจะต้องกระทำได้โดยสะดวก
4. หน่วยธุรกิจสามารถเข้าหรือออกจากธุรกิจการค้าได้โดยง่าย
5. การเคลื่อนย้ายสินค้าและปัจจัยการผลิต จะต้องกระทำได้อย่างสมบูรณ์
• ตลาดที่มีการแข่งขันไม่สมบูรณ์ การพิจารณาลักษณะตลาดแข่งขันที่ไม่สมบูรณ์เราอาจแยกเป็น 2 ลักษณะด้วยกัน คือ ด้านผู้ขายและด้านผู้ซื้อ ดังต่อไปนี้
ทางด้านผู้ขาย
1. ตลาดกึงแข่งขันกึงผูกขาด มีผู้ขายและสินค้าจำนวนมาก สินค้าที่ขายมีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก แต่ไม่สามารถทำให้แตกต่างกันได้
2. ตลาดที่มีผู้ขายน้อยราย โดยทั่วไปจะมีผู้ขายเพียง 3-5 รายในตลาดเท่านั้น ส่วนใหญ่มักเป็นพวกอุตสาหกรรมหนัก
3. ตลาดที่มีการผูกขาดด้านการขายที่แท้จริง คือตลาดที่มีผู้ขายเพียงรายเดียว ผู้ขายจะมีอิทธิพลเหนือราคา
ทางด้านผู้ซื้อ
1. ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด ตลาดประเภทนี้มีผู้ซื้อจำนวนมากแต่ผู้ขายพอใจขายให้แก่ผู้ซื้อบางคนเท่านั้น จึงมีทางควบคุมราคาได้บ้าง
2. ตลาดที่มีผู้ซื้อน้อยราคา คือ ตลาดที่มีผู้ซื้อน้อยมาก ถ้าผู้ซื้อคนใดเปลี่ยนแปลงปริมาณซ้อจะมีผลกระทบกระเทือนราคาตลาดและผู้ซื้อคนอื่น ๆ ด้วย
3. ตลาดผูกขาดที่แท้จริงทางด้านผู้ซื้อ เป็นตลาดที่มีผู้ซื้อเพียงคนเดียวผู้ซื้อจึงอยู่ในฐานะเกี่ยงราคาได้ และในที่สุดก็สามารถที่จะกำหนดราคาสินค้าเองได้
ที่มา : http://www.tpa.or.th
นางสาวธัญญลักษณ์ คำแพง รหัส 1383 (เรียนร่วม) การจัดการทั่วไป
ทฤษฎีการบริหารการเปลี่ยนแปลงในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่เด่นๆ และสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา ได้แก่
ทฤษฎีของเลวิน (Lewin, 1985 อ้างถึงใน เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์, 2539) ซึ่งอธิบายถึงกระบวนการเปลี่ยนแปลง ทฤษฎี E และทฤษฎี O ของ ลียุค (Leucke, 2003) ทฤษฎี E นั้นเป็นการเปลี่ยนแปลงเป้าหมายจากหน้ามือเป็นหลังมืออย่างรวดเร็วโดยเน้นที่ค่านิยมที่เปลี่ยนจากบนลงสู่ล่างมีการใช้ที่ปรึกษา จากภายนอกเป็นจำนวนมาก ส่วนทฤษฎี O เน้นการเปลี่ยนเป้าหมายเพื่อให้เป้าหมายมีผลการปฏิบัติงานที่สูงขึ้น เน้นวัฒนธรรมที่ทรงพลังและบุคลากรที่มีความสามารถและมีสมรรถนะสูง
แนวคิดของทฤษฎี Hamlin (2001) ได้กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงส่วนใหญ่ครอบคลุม ในมิติที่เป็นการทำให้เกิดผลในส่วนต่างๆ ขององค์ประกอบในองค์การ อาจเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน ผสมผสานหรือเกิดขึ้นต่อเนื่องแต่ละประเภทก็ได้แล้วแต่บริบทของสถานศึกษาแต่ละแห่ง อย่างไรก็ตาม ทฤษฎีและแนวคิดทางการบริหารเป็นที่ทราบกันอยู่ว่า “ไม่มีวิธีการบริหารแบบใด แบบหนึ่งที่เป็นวิธีที่ดีที่สุด” (No one best way) ในทางปฏิบัติการเลือกใช้รูปแบบที่ดีที่สุด ที่เหมาะสมที่สุดกับสถานการณ์ที่เกิดในขณะนั้น และมักมีการคิดค้นพัฒนารูปแบบการบริหารใหม่ๆ ขึ้นมาใช้อยู่เสมอๆ ดังนั้น รูปแบบการบริหารที่ดีจะต้องแสดงถึงความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างระหว่างตัวแปร นำไปสู่การทำนายผลที่จะตามมา โดยสามารถตรวจสอบได้ด้วยข้อมูลเชิงประจักษ์ อธิบายถึงโครงสร้างหรือกลไกความสัมพันธ์เชิงเหตุผลของเรื่องที่กำลังทำอย่างชัดเจน นำไปสู่การสร้างแนวความคิดใหม่หรือความสัมพันธ์ใหม่ หรือขยายองค์ความรู้ สอดคล้องกับทฤษฎีของเรื่องที่จะใช้รูปแบบ
การบริหารการเปลี่ยนแปลงรูปแบบบูรณาการ 4 มุมมอง (Integrated four perspective Model)
มีองค์ประกอบย่อย 4 องค์ประกอบคือ
1) การเปลี่ยนแปลงสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้แก่ โครงสร้าง เทคโนโลยี คนและวัฒนธรรม
2) รูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลง 4 มุมมอง ได้แก่ คือ มุมมองจากบนลงล่าง (Top -Down) มุมมองจากล่างขึ้นบน (Bottom –Up) มุมมองจากภายนอกสู่ภายใน (Outside–In) และมุมมองภายในสู่ภายนอก (Inside–Out)
3) กระบวนการร่วมคิดร่วมทำได้แก่ การกำหนดเป้าหมายและวิเคราะห์ปัญหาความต้องการ การกำหนดนโยบาย การวางแผน การกำหนดงบประมาณ การทำแผนไปปฏิบัติและการประเมินผล
4) ระบบวงจรคุณภาพ (PDCA) โดยในแต่ละองค์ประกอบมีความสอดคล้องสัมพันธ์กันและขึ้นอยู่กับรูปแบบการขับเคลื่อน
ที่มา : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา http://www.thaiedresearch.org/thaied/
นางสาว ปลิดา หนูศิริ 5330125401394 เอกการจัดการทั่วไป รุ่น 26 หมู่ 2 ( เรียนร่วม )
บทที่ 9 การบริหารการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาอย่างยั่งยืน
องค์กรที่ดีควรมีความเจริญก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง และความต่อเนื่อง อละการพัฒนาที่ขาดการต่อเนื่องย่อมไม่ดีแน่ ดังนั้นจึงขอแนะนำ การพัฒนาองค์การอย่างเป็นระบบ อย่าง่าย
ควรมีการสร้างแผนแม่แอบบในการเปลี่ยนแปลง จะต้องมีการประเมินสถานการณ์ขององค์การ เพื่อให้เห็นช่องว่างของความแตกต่างระหว่างองค์การในปัจจุบันกับองค์การที่ควรจะเป็นในอนาคต หลังจากนั้นจะต้องมีการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคขององค์การ เพื่อที่จะนำจุดแข็งขององค์การมาผลักดันการพัฒนาองค์การ โดยมีกลไกการควบคุมทิศทางที่แน่นอน การพัฒนาองค์การจะต้องพิจารณาว่าองค์การที่จะพัฒนาเป็นแบบเปิดหรือแบบปิด ถ้าเป็นองค์การแบบเปิด ทุกคนจะต้องมีส่วนร่วมแก้ปัญหาร่วมรับผิดชอบ
โดยเน้นที่เป้าหมายขององค์การเป็นหลัก ลักษณะโครงสร้างขององค์การจะเป็นแบบกว้าง อาศัยการให้คำแนะนำมากกว่าสั่งการ การบริหารงานลักษณะนี้ พนักงานจะมีความซื่อสัตย์และมีจิตสำนึกในความสำเร็จของงานมากกว่าตัวบุคคล แต่ถ้าหากองค์การเป็นแบบปิดหรือแบบระบบราชการ การพัฒนาองค์การจะทำได้ยากลำบาก
ทั้งนี้เนื่องมาจากมีการแบ่งงานตามหน้าที่ ลักษณะงาน ซ้ำๆ กัน มีความรับผิดชอบตามหน้าที่ของหน่วยงานที่สังกัดอยู่ มีสายการบังคับบัญชาในลักษณะแนวดิ่ง ยึดถือตัวบุคคลเป็นหลักไม่เน้นทีมงานและความสำคัญของงาน ลักษณะเช่นนี้พัฒนาได้ยาก เนื่องจากมีแรงต้านมากเห็นแก่ญาติพวกพ้องครอบครัว ผู้บริหารสูญเสียอำนาจมีความเกรงอก เกรงใจ ไม่สามารถบริหารงานให้บรรลุเป้าหมายได้
สาเหตุที่องค์การจะต้องมีการพัฒนาเพื่อช่วยให้หน่วยงานมีกฎระเบียบน้อยลง และให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาขจัดอุปสรรคในการติดต่อสื่อสาร มุ่งเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์การและสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของ สนับสนุนให้ทำงานร่วมกันระหว่างแผนกเพื่อเป้าหมายขององค์การที่สูงขึ้น
นอกจากนั้นยังเกิดจากแรงผลักดันภายในและแรงผลักดันภายนอกที่ทำให้องค์การต้องพัฒนา แรงผลักภายในหมายความถึงการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ การเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมองค์การ ค่านิยม วัฒนธรรม ความอึดอัดในการทำงาน ความขัดแย้งในกฎระเบียบ อัตราการเข้าออกของพนักงานสูง ส่วนแรงผลักดันภายนอก ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงในวงการธุรกิจ เช่น การเปลี่ยนแปลงของตลาด การเปลี่ยนแปลงกำลังคน
การขาดแคลนแรงงาน การหันมาใช้เครื่องจักร การไม่สามารถบริการลูกค้าได้ การเปลี่ยนผู้บริหาร และการนำเทคโนโลยีใหม่เข้ามาใช้ การพัฒนาองค์การจะต้องเปลี่ยนแปลงระบบทั้งหมดขององค์การ เช่น แรงงานคน โครงสร้างและระบบงาน งานและปัญหา เทคโนโลยี โดยมี สิ่งแวดล้อมเป็นตัวประกอบ เช่น สังคม การเมือง และเศรษฐกิจ โดยมีแรงผลักดันภายนอกและภายในเป็นตัวกระตุ้นให้มีการปรับโครงสร้างเดิมให้เป็นโครงสร้างใหม่ www.classifiedthai.com
ส่งการบ้านย้อนหลัง บทที่1-2
บทที่1 การวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นในการจัดการการประเมิน สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์กร (SWOT)
การวิเคราะห์ สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์กร (SWOT)
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์กรทางการศึกษา เพื่อศึกษาแนวโน้มการพัฒนาการศึกษาให้
มีความเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนท้องถิ่น โดยแนวโน้มการพัฒนาการศึกษาขององค์กรทา
การศึกษาต้องมีความเป็นไปได้ในการพัฒนาตามเงื่อนไขข้อจำกัดและองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการจัดการศึกษาซึ่งได้แก่ นโยบายในการจัดการศึกษาของหน่วยงานต้นสังกัด รูปแบบการบริหารงานขององค์กรทางการศึกษา และปัจจัยทีเกี่ยวข้องอื่นการศึกษาความต้องการของชุมชน เป็นการสำรวจความต้องการขององค์กรชุมชนที่องค์กรทางการศึกษาตั้งอยู่ความต้องการของผู้ปกครองนักเรียนและความต้องการของชาวบ้านในชุมชนสรุปมาเป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนการวิเคราะห์สภาพขององค์กรทางการศึกษาเพื่อกำหนดแนว
ทางในการพัฒนาการศึกษา จะต้องวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดจากปัจจัยต่าง ๆ ด้วย เรียกว่า SWOT Analysis ซึ่งได้แก่
1. Strengths - จุดแข็งหรือข้อได้เปรียบ
2. Weaknesses - จุดอ่อนหรือข้อเสียเปรียบ
3. Opportunities - โอกาสที่จะดำเนินการได้
4. Threats - อุปสรรค หรือปัจจัยที่คุกคามการดำเนินงานขององค์การ
การวิเคราะห์ SWOT อาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เป็นการทำ Situation Analysis เป็นการวิเคราะห์สภาพ
องค์การ หรือหน่วยงานในปัจจุบัน เพื่อค้นหาจุดแข็ง จุดเด่น จุดด้อย หรือสิ่งที่อาจเป็นปัญหาสำคัญในการดำเนินงาน
สู่สภาพที่ต้องการในอนาคต การวิเคราะห์สภาพการณ์ (Situation Analysis) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน เพื่อให้รู้ตนเอง(รู้เรา) รู้จักสภาพแวดล้อม (รู้เขา) ชัดเจน และวิเคราะห์โอกาส-อุปสรรค เพื่อประโยชน์ในการกำหนดวิสัยทัศน์ หรือเลือกกลยุทธ์ระดับองค์กรที่เหมาะสมต่อไป ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการทำ Strategic Decision การทำ Strategic Decision
เป็นการตัดสินใจเลือกกลยุทธ์หรือวิธีดำเนินงานที่สำคัญ ที่เป็นหลักในการปฏิบัติไปสู่สภาพที่ต้องการในอนาคตขององค์การ เพื่อการบรรลุ Vision หรือสภาพในอนาคตตามที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งเป็นการเลือกโดยคำนึงถึงสภาพในอนาคตโดยคำนึงถึงจุดที่ต้องการ โดยรู้สถานการณ์ เห็นถึงโอกาสและรู้จุดดี จุดเด่นตลอดจนจุดอ่อนในการดำเนินงานไปสู่จุดหมายที่ต้องการขององค์การในอนาคต เป็นการค้นหากลยุทธ์โดยหลักการ มองกว้าง เห็นไกล รอบคอบ ตามหลักการกำหนดกลยุทธ์ในแบบต่าง ๆ เช่น กลยุทธ์ที่มุ่งหา S สูง – O สูง, S สูง – T ต่ำ, W ต่ำ – O สูง และ W ต่ำ – T ต่ำกลยุทธ์เชิงรุก กลยุทธ์เพื่อความเจริญก้าวหน้า (Growth Strategy) กลยุทธ์แบบคงที่ (Stability Strategy) กลยุทธ์แบบตัดทอนป้องกัน (Retrenchment and Defense Strategy) กลยุทธ์การตั้งราคา-การขาย กลยุทธ์การแข่งขัน กลยุทธ์การเป็นผู้นำ กลยุทธ์ในการสร้างความแตกต่างของผลิตภัณฑ์และบริการ กลยุทธ์การจำกัดขอบเขตปฏิบัติการ เป็นต้น
บทที่2 แนวคิดทถษฎีทางการบริหารจัดการที่สำคัญตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน
แนวความคิดทางการจัดการ แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท
แนวความคิดแบบเก่า (old concept)
ในสมัยก่อนการบังคับบัญชาถือเอาความคิดของหัวหน้างานเป็นหลัก การบริหารเป็นไปโดยปราศจากเหตุผล แต่ใช้หลักความรุนแรง เคร่งครัด ผู้ใต้บังคับบัญชาต้องปฏิบัติตามคำสั่งของหัวหน้างานอย่างเคร่งครัดโดยไม่คำนึงถึงความคิดเป็นส่วนตัวของแต่ละบุคคลจากการใช้หลักการของแนวความคิดแบบเก่านี้จะเป็นว่า ทุกอย่างขึ้นอยู่กับอำนาจ สายการบังคับบัญชาจะมาจากเบื้องบนเสมอ โดยนายจ้างเป็นผู้ออกคำสั่งแต่เพียงผู้เดียว ผู้ใต้บังคับบัญชาไม่มีสิทธิ์แสดงความคิดเป็นใด ๆ การตัดสินใจอยู่ที่ส่วนกลางไม่มีการกระจายอำนาจผู้บังคับบัญชาสมัยเก่ามักจะคิดว่าการจูงใจให้บุคคลทำงานนั้นขึ้นอยู่กับพื้นฐานทางเศรษฐกิจ คือ เงินเพียงอย่างเดียว จึงไม่ได้ให้ความสนใจในเรื่องสวัสดิการและความปลอดภัยในการดำเนินงานแต่อย่างใด
แนวความคิดแบบใหม่ (modern concept)
ทัศนะของนายจ้างต่อลูกจ้างเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม นายจ้างมองลูกจ้างในแง่ดีให้วามสำคัญต่อลูกจ้างและมีความไว้วางใจผู้ใต้บังคับบัญชานอกจากนี้ยังนำเอาทฤษฎีเกี่ยวกับการจูงใจมาใช้ประโยชน์ ในหลักการเกี่ยวกับแนวความคิดแบบใหม่ถือว่าบุคคลมีความรับผิดชอบ มีความคิดริเริ่ม มีความต้องการและเต็มใจจะทำงานร่วมกัน มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย เปิดโอกาสให้คนทำงานอย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้ระบบการควบคุมตนเองการจูงใจคนให้ทำงานไม่ได้ใช้เงินเป็นปัจจัยสำคัญแต่เพียงอย่างเดียว ต้องมีสิ่งจูงใจที่ไม่ใช่ตัวเงินเกี่ยวข้องด้วย
วิวัฒนาการทางการจัดการ
การจัดการ หรือ การบริหาร อาจจะกล่าวได้ว่าเป็นเรื่องที่แทบจะเกิดขึ้นพร้อมกับอารยธรรมมนุษย์ไม่ว่าเราจะสืบเรื่องราวที่เก่าแก่ในอดีตเพียงใด เราก็จะพบว่าเมื่อมีกลุ่มก็จะมีผู้นำ มีหัวหน้า หรือมีกษัตริย์ซึ่งจะต้องดำเนินบทบาทเป็นแกนนำของกลุ่ม เพื่อให้กลุ่มของตนดำรงค์อยู่ได้ด้วยความเป็นระเบียบ สามารถดำรงค์ฐานะความเป็นกลุ่มให้คงอยู่เอาไว้อย่างเหนียวแน่น แต่การศึกษาเป็นทฤษฎี และหลักเกณฑ์ทางการจัดการที่มีรูปแบบเพิ่งจะเริ่มขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ คือราวศตวรรษที่ 18 ภายหลังจากการปฏิบัติอุตสาหกรรม
การปฏิวัติอุตสาหกรรม (industrial revolution) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม โดยเปลี่ยนจากการผลิตในระบบช่างฝีมือมาเป็นการผลิตด้วยเครื่องจักรอันเป็นผลที่เกิดจากการที่มนุษย์สามารถคิดค้นพัฒนาเครื่องจักรต่าง ๆ ขึ้นใช้แทนแรงงานคนและแรงงานสัตว์ ทำให้สามรถเพิ่มประสิทธิภาพในการเพิ่มผลผลิตได้อย่างมหาศาล การปฏิวัติอุตสาหกรรมเกิดขึ้นในยุโรปตะวันตกประมาณ ค.ศ. 1760-1830 ได้มีการดัดแปลงเครื่องจักรมาใช้ในอุตสาหกรรมหลายประเภท เช่น อุตสาหกรรมทอผ้า โดยในปี ค.ศ. 1733 จอร์น เคย์ (John Kay) ได้ประดิษฐ์กระสวยบิน (flying shuttle) เป็นกระสวยที่ผูกติดใว้กับเชือกแล้วใช้วิธีกระตุกเชือกให้กระสวยพุ่งไปมาแทนการใช้คน ซึ่งทำให้การทอผ้ารวดเร็วขึ้นได้ผ้าหน้ากว้างขึ้น ต่อมาก็ได้มีการพัฒนาประดิษฐ์เครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการทอผ้า เช่น เลวิส พอล (Lewis Paul) และ จอห์น ยัทท์ (John Wyatt) ได้ประดิษฐ์เครื่องปั่นด้าย (roll spinning) ริชาร์ด อาร์คไรท์ (Richard Arkwright) ได้ประดิษฐ์เครื่องปั่นด้าย โดยใช้พลังงานน้ำตก (water frame) เอ็ดม้นต์ คาร์ทไรท์ (Edmund Cartwright) ประดิษฐ์เครื่องทอผ้าที่ใช้พลังงานไอน้ำ (power loom) โดยเป็นการนำเอาเครื่องจักรไอน้ำเข้ามาประกอบกับเครื่องทอผ้า จากการที่ได้มีการคิดค้นเครื่องจักร ไอน้ำได้ก่อนหน้านั้นราวในปี ค.ศ. 1765 โดย เจมส์ วัตต์ (James Watt) ชาวสก๊อตแลนด์ ซึ่งเครื่องจักรไอน้ำของเจมส์ วัตต์ ก็ได้ถูกนำมาดัดแปลงใช้ในอุตสาหกรรมอีกหลายด้านนอกจากอุตสาหกรรมทอผ้าแล้ว ได้แก่ อุตสาหกรรมถ่านหิน อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า อุตสาหกรรมยานยนต์ เป็นต้น
www.idis.ru.ac.th › ... › บริหารธุรกิจ › Organization
องค์กรที่ดีควรมีความเจริญก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง และความต่อเนื่อง อละการพัฒนาที่ขาดการต่อเนื่องย่อมไม่ดีแน่ ดังนั้นจึงขอแนะนำ การพัฒนาองค์การอย่างเป็นระบบ อย่าง่าย
ควรมีการสร้างแผนแม่แอบบในการเปลี่ยนแปลง จะต้องมีการประเมินสถานการณ์ขององค์การ เพื่อให้เห็นช่องว่างของความแตกต่างระหว่างองค์การในปัจจุบันกับองค์การที่ควรจะเป็นในอนาคต หลังจากนั้นจะต้องมีการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคขององค์การ เพื่อที่จะนำจุดแข็งขององค์การมาผลักดันการพัฒนาองค์การ โดยมีกลไกการควบคุมทิศทางที่แน่นอน การพัฒนาองค์การจะต้องพิจารณาว่าองค์การที่จะพัฒนาเป็นแบบเปิดหรือแบบปิด ถ้าเป็นองค์การแบบเปิด ทุกคนจะต้องมีส่วนร่วมแก้ปัญหาร่วมรับผิดชอบ
โดยเน้นที่เป้าหมายขององค์การเป็นหลัก ลักษณะโครงสร้างขององค์การจะเป็นแบบกว้าง อาศัยการให้คำแนะนำมากกว่าสั่งการ การบริหารงานลักษณะนี้ พนักงานจะมีความซื่อสัตย์และมีจิตสำนึกในความสำเร็จของงานมากกว่าตัวบุคคล แต่ถ้าหากองค์การเป็นแบบปิดหรือแบบระบบราชการ การพัฒนาองค์การจะทำได้ยากลำบาก
ทั้งนี้เนื่องมาจากมีการแบ่งงานตามหน้าที่ ลักษณะงาน ซ้ำๆ กัน มีความรับผิดชอบตามหน้าที่ของหน่วยงานที่สังกัดอยู่ มีสายการบังคับบัญชาในลักษณะแนวดิ่ง ยึดถือตัวบุคคลเป็นหลักไม่เน้นทีมงานและความสำคัญของงาน ลักษณะเช่นนี้พัฒนาได้ยาก เนื่องจากมีแรงต้านมากเห็นแก่ญาติพวกพ้องครอบครัว ผู้บริหารสูญเสียอำนาจมีความเกรงอก เกรงใจ ไม่สามารถบริหารงานให้บรรลุเป้าหมายได้
สาเหตุที่องค์การจะต้องมีการพัฒนาเพื่อช่วยให้หน่วยงานมีกฎระเบียบน้อยลง และให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาขจัดอุปสรรคในการติดต่อสื่อสาร มุ่งเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์การและสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของ สนับสนุนให้ทำงานร่วมกันระหว่างแผนกเพื่อเป้าหมายขององค์การที่สูงขึ้น
นอกจากนั้นยังเกิดจากแรงผลักดันภายในและแรงผลักดันภายนอกที่ทำให้องค์การต้องพัฒนา แรงผลักภายในหมายความถึงการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ การเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมองค์การ ค่านิยม วัฒนธรรม ความอึดอัดในการทำงาน ความขัดแย้งในกฎระเบียบ อัตราการเข้าออกของพนักงานสูง ส่วนแรงผลักดันภายนอก ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงในวงการธุรกิจ เช่น การเปลี่ยนแปลงของตลาด การเปลี่ยนแปลงกำลังคน
การขาดแคลนแรงงาน การหันมาใช้เครื่องจักร การไม่สามารถบริการลูกค้าได้ การเปลี่ยนผู้บริหาร และการนำเทคโนโลยีใหม่เข้ามาใช้ การพัฒนาองค์การจะต้องเปลี่ยนแปลงระบบทั้งหมดขององค์การ เช่น แรงงานคน โครงสร้างและระบบงาน งานและปัญหา เทคโนโลยี โดยมี สิ่งแวดล้อมเป็นตัวประกอบ เช่น สังคม การเมือง และเศรษฐกิจ โดยมีแรงผลักดันภายนอกและภายในเป็นตัวกระตุ้นให้มีการปรับโครงสร้างเดิมให้เป็นโครงสร้างใหม่ www.classifiedthai.com
ส่งการบ้านย้อนหลัง บทที่1-2
บทที่1 การวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นในการจัดการการประเมิน สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์กร (SWOT)
การวิเคราะห์ สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์กร (SWOT)
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์กรทางการศึกษา เพื่อศึกษาแนวโน้มการพัฒนาการศึกษาให้
มีความเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนท้องถิ่น โดยแนวโน้มการพัฒนาการศึกษาขององค์กรทา
การศึกษาต้องมีความเป็นไปได้ในการพัฒนาตามเงื่อนไขข้อจำกัดและองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการจัดการศึกษาซึ่งได้แก่ นโยบายในการจัดการศึกษาของหน่วยงานต้นสังกัด รูปแบบการบริหารงานขององค์กรทางการศึกษา และปัจจัยทีเกี่ยวข้องอื่นการศึกษาความต้องการของชุมชน เป็นการสำรวจความต้องการขององค์กรชุมชนที่องค์กรทางการศึกษาตั้งอยู่ความต้องการของผู้ปกครองนักเรียนและความต้องการของชาวบ้านในชุมชนสรุปมาเป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนการวิเคราะห์สภาพขององค์กรทางการศึกษาเพื่อกำหนดแนว
ทางในการพัฒนาการศึกษา จะต้องวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดจากปัจจัยต่าง ๆ ด้วย เรียกว่า SWOT Analysis ซึ่งได้แก่
1. Strengths - จุดแข็งหรือข้อได้เปรียบ
2. Weaknesses - จุดอ่อนหรือข้อเสียเปรียบ
3. Opportunities - โอกาสที่จะดำเนินการได้
4. Threats - อุปสรรค หรือปัจจัยที่คุกคามการดำเนินงานขององค์การ
การวิเคราะห์ SWOT อาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เป็นการทำ Situation Analysis เป็นการวิเคราะห์สภาพ
องค์การ หรือหน่วยงานในปัจจุบัน เพื่อค้นหาจุดแข็ง จุดเด่น จุดด้อย หรือสิ่งที่อาจเป็นปัญหาสำคัญในการดำเนินงาน
สู่สภาพที่ต้องการในอนาคต การวิเคราะห์สภาพการณ์ (Situation Analysis) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน เพื่อให้รู้ตนเอง(รู้เรา) รู้จักสภาพแวดล้อม (รู้เขา) ชัดเจน และวิเคราะห์โอกาส-อุปสรรค เพื่อประโยชน์ในการกำหนดวิสัยทัศน์ หรือเลือกกลยุทธ์ระดับองค์กรที่เหมาะสมต่อไป ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการทำ Strategic Decision การทำ Strategic Decision
เป็นการตัดสินใจเลือกกลยุทธ์หรือวิธีดำเนินงานที่สำคัญ ที่เป็นหลักในการปฏิบัติไปสู่สภาพที่ต้องการในอนาคตขององค์การ เพื่อการบรรลุ Vision หรือสภาพในอนาคตตามที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งเป็นการเลือกโดยคำนึงถึงสภาพในอนาคตโดยคำนึงถึงจุดที่ต้องการ โดยรู้สถานการณ์ เห็นถึงโอกาสและรู้จุดดี จุดเด่นตลอดจนจุดอ่อนในการดำเนินงานไปสู่จุดหมายที่ต้องการขององค์การในอนาคต เป็นการค้นหากลยุทธ์โดยหลักการ มองกว้าง เห็นไกล รอบคอบ ตามหลักการกำหนดกลยุทธ์ในแบบต่าง ๆ เช่น กลยุทธ์ที่มุ่งหา S สูง – O สูง, S สูง – T ต่ำ, W ต่ำ – O สูง และ W ต่ำ – T ต่ำกลยุทธ์เชิงรุก กลยุทธ์เพื่อความเจริญก้าวหน้า (Growth Strategy) กลยุทธ์แบบคงที่ (Stability Strategy) กลยุทธ์แบบตัดทอนป้องกัน (Retrenchment and Defense Strategy) กลยุทธ์การตั้งราคา-การขาย กลยุทธ์การแข่งขัน กลยุทธ์การเป็นผู้นำ กลยุทธ์ในการสร้างความแตกต่างของผลิตภัณฑ์และบริการ กลยุทธ์การจำกัดขอบเขตปฏิบัติการ เป็นต้น
บทที่2 แนวคิดทถษฎีทางการบริหารจัดการที่สำคัญตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน
แนวความคิดทางการจัดการ แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท
แนวความคิดแบบเก่า (old concept)
ในสมัยก่อนการบังคับบัญชาถือเอาความคิดของหัวหน้างานเป็นหลัก การบริหารเป็นไปโดยปราศจากเหตุผล แต่ใช้หลักความรุนแรง เคร่งครัด ผู้ใต้บังคับบัญชาต้องปฏิบัติตามคำสั่งของหัวหน้างานอย่างเคร่งครัดโดยไม่คำนึงถึงความคิดเป็นส่วนตัวของแต่ละบุคคลจากการใช้หลักการของแนวความคิดแบบเก่านี้จะเป็นว่า ทุกอย่างขึ้นอยู่กับอำนาจ สายการบังคับบัญชาจะมาจากเบื้องบนเสมอ โดยนายจ้างเป็นผู้ออกคำสั่งแต่เพียงผู้เดียว ผู้ใต้บังคับบัญชาไม่มีสิทธิ์แสดงความคิดเป็นใด ๆ การตัดสินใจอยู่ที่ส่วนกลางไม่มีการกระจายอำนาจผู้บังคับบัญชาสมัยเก่ามักจะคิดว่าการจูงใจให้บุคคลทำงานนั้นขึ้นอยู่กับพื้นฐานทางเศรษฐกิจ คือ เงินเพียงอย่างเดียว จึงไม่ได้ให้ความสนใจในเรื่องสวัสดิการและความปลอดภัยในการดำเนินงานแต่อย่างใด
แนวความคิดแบบใหม่ (modern concept)
ทัศนะของนายจ้างต่อลูกจ้างเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม นายจ้างมองลูกจ้างในแง่ดีให้วามสำคัญต่อลูกจ้างและมีความไว้วางใจผู้ใต้บังคับบัญชานอกจากนี้ยังนำเอาทฤษฎีเกี่ยวกับการจูงใจมาใช้ประโยชน์ ในหลักการเกี่ยวกับแนวความคิดแบบใหม่ถือว่าบุคคลมีความรับผิดชอบ มีความคิดริเริ่ม มีความต้องการและเต็มใจจะทำงานร่วมกัน มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย เปิดโอกาสให้คนทำงานอย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้ระบบการควบคุมตนเองการจูงใจคนให้ทำงานไม่ได้ใช้เงินเป็นปัจจัยสำคัญแต่เพียงอย่างเดียว ต้องมีสิ่งจูงใจที่ไม่ใช่ตัวเงินเกี่ยวข้องด้วย
วิวัฒนาการทางการจัดการ
การจัดการ หรือ การบริหาร อาจจะกล่าวได้ว่าเป็นเรื่องที่แทบจะเกิดขึ้นพร้อมกับอารยธรรมมนุษย์ไม่ว่าเราจะสืบเรื่องราวที่เก่าแก่ในอดีตเพียงใด เราก็จะพบว่าเมื่อมีกลุ่มก็จะมีผู้นำ มีหัวหน้า หรือมีกษัตริย์ซึ่งจะต้องดำเนินบทบาทเป็นแกนนำของกลุ่ม เพื่อให้กลุ่มของตนดำรงค์อยู่ได้ด้วยความเป็นระเบียบ สามารถดำรงค์ฐานะความเป็นกลุ่มให้คงอยู่เอาไว้อย่างเหนียวแน่น แต่การศึกษาเป็นทฤษฎี และหลักเกณฑ์ทางการจัดการที่มีรูปแบบเพิ่งจะเริ่มขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ คือราวศตวรรษที่ 18 ภายหลังจากการปฏิบัติอุตสาหกรรม
การปฏิวัติอุตสาหกรรม (industrial revolution) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม โดยเปลี่ยนจากการผลิตในระบบช่างฝีมือมาเป็นการผลิตด้วยเครื่องจักรอันเป็นผลที่เกิดจากการที่มนุษย์สามารถคิดค้นพัฒนาเครื่องจักรต่าง ๆ ขึ้นใช้แทนแรงงานคนและแรงงานสัตว์ ทำให้สามรถเพิ่มประสิทธิภาพในการเพิ่มผลผลิตได้อย่างมหาศาล การปฏิวัติอุตสาหกรรมเกิดขึ้นในยุโรปตะวันตกประมาณ ค.ศ. 1760-1830 ได้มีการดัดแปลงเครื่องจักรมาใช้ในอุตสาหกรรมหลายประเภท เช่น อุตสาหกรรมทอผ้า โดยในปี ค.ศ. 1733 จอร์น เคย์ (John Kay) ได้ประดิษฐ์กระสวยบิน (flying shuttle) เป็นกระสวยที่ผูกติดใว้กับเชือกแล้วใช้วิธีกระตุกเชือกให้กระสวยพุ่งไปมาแทนการใช้คน ซึ่งทำให้การทอผ้ารวดเร็วขึ้นได้ผ้าหน้ากว้างขึ้น ต่อมาก็ได้มีการพัฒนาประดิษฐ์เครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการทอผ้า เช่น เลวิส พอล (Lewis Paul) และ จอห์น ยัทท์ (John Wyatt) ได้ประดิษฐ์เครื่องปั่นด้าย (roll spinning) ริชาร์ด อาร์คไรท์ (Richard Arkwright) ได้ประดิษฐ์เครื่องปั่นด้าย โดยใช้พลังงานน้ำตก (water frame) เอ็ดม้นต์ คาร์ทไรท์ (Edmund Cartwright) ประดิษฐ์เครื่องทอผ้าที่ใช้พลังงานไอน้ำ (power loom) โดยเป็นการนำเอาเครื่องจักรไอน้ำเข้ามาประกอบกับเครื่องทอผ้า จากการที่ได้มีการคิดค้นเครื่องจักร ไอน้ำได้ก่อนหน้านั้นราวในปี ค.ศ. 1765 โดย เจมส์ วัตต์ (James Watt) ชาวสก๊อตแลนด์ ซึ่งเครื่องจักรไอน้ำของเจมส์ วัตต์ ก็ได้ถูกนำมาดัดแปลงใช้ในอุตสาหกรรมอีกหลายด้านนอกจากอุตสาหกรรมทอผ้าแล้ว ได้แก่ อุตสาหกรรมถ่านหิน อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า อุตสาหกรรมยานยนต์ เป็นต้น
www.idis.ru.ac.th › ... › บริหารธุรกิจ › Organization
นางสาว สุดา หวังสะมาแอล (นิว) 5231935401207 เรียนร่วม
บทที่ 9 การบริหารการเปลี่ยนแปลง และการพัฒนาอย่างยั่งยืน
การบริหารการเปลี่ยนแปลง เป็นการใช้เทคนิควิธีที่เป็นระบบ เพื่อประกันว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเป็นไปตามทิศทางที่ได้วางแผนไว้ และก่อให้เกิดความคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ ภายในระยะเวลาที่กำหนด
สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงจากทั้งปัจจัยภายนอกและภายใน องค์กรทำให้องค์กรดำเนินต่อไปได้ และมีความก้าวหน้าอย่างยั่งยืนผู้บริหารควรมีความรู้ความเข้าใจเรื่องแรง ผลักซึ่งจะต้องเอาชนะ แรงต้านที่เกิดจากตัวบุคลากร หน่วยงานและส่วนอื่นๆขององค์กร
การบริหารการเปลี่ยนแปลงอาจทำได้โดยคนในองค์กร หรือที่ปรึกษาจากภายนอกด้วยวิธีการและเทคนิคต่างๆ องค์กรจะต้องมีวัฒนธรรมที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและเป็นองค์กรแห่งการเรียน รู้เพราะการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ข้าราชการต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แม้จะได้รับผลกระทบไม่รุนแรงเท่ากับภาคเอกชน การได้เรียนรู้และพัฒนาตนให้ทันและสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงจะช่วยให้สังคม ไทยโดยรวมได้รับประโยชน์อย่างมาก
ประเภทของการเปลี่ยนแปลง แบ่งออกเป็น 4 ประเภท
1. การเปลี่ยนแปลงทางกลยุทธ์
2. การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี
3. การเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้าง
4. การเปลี่ยนแปลงทางบุคลากร
การสร้างวัฒนธรรมที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงทำได้ดังนี้
1. การกระตุ้นให้มีวัฒนธรรมส่งเสริมนวัตกรรมเช่น การใช้ Internet การใช้เครื่องแสกน คีย์การ์ด บาร์โค๊ด
2. การสร้างให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
2.1 Single Loop องค์กรที่พัฒนาศักยภาพอย่างสม่ำเสมอ พร้อมที่จะปรับตัวและเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้
2.2 Double Loop ความผิดพลาดจะได้รับการแก้ไขให้ถูกต้องโดยใช้วิธีปฏิบัติเดิมๆ ที่เคยใช้อยู่
ที่มา : http://www.snc.lib.su.ac.th/snclibblog/?p=1944
บทที่6การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนวิเคราะห์ผลกระทบต่อการบริหารจัดการ
การเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าไปสู่ AEC นั้น ประเทศไทยจำเป็นต้องเรียนรู้ถึงความแตกต่างทางวัฒนธรรมและรูปแบบหรือสไตล์ การทำงานของไทยกับคนในชาติอื่นๆ โดยการเรียนรู้จะนำไปสู่การยอมรับในความแตกต่าง การปรับตัวเข้าหากัน รวมถึงนำเอาจุดแข็งของประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆ มาเป็นแนวทางในการพัฒนาบุคลากรขององค์กรต่อไป ซึ่งนอกจากการเรียนรู้วัฒนธรรมที่แตกต่างของแต่ละประเทศแล้ว สิ่งหนึ่งที่สำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงนี้ คือ การพัฒนาศักยภาพของบุคลากร โยให้สามารถสื่อสารได้หลายภาษา และมีทักษะความสามารถที่ทัดเทียมกับคนชาติอื่นๆ อีกทั้ง การจ่ายค่าตอบแทนต้องไม่มีความเหมาะสม หรือไม่น้อยกว่าในประเทศอื่น ไม่เช่นนั้นแล้ว อาจทำให้คนที่มีความสามารถย้ายไปทำงานในประเทศที่มีค่าตอบแทนที่สูงกว่าได้ นอกจากนี้ การสร้างบรรยากาศในการที่ทำงานให้มีความเป็นกันเอง ไม่มีกฎเกณฑ์ที่เข้มงวดจนทำให้บุคลากรรู้สึกอึดอัดมากกินไป ก็ถือเป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะสาเหตุการลาออกของบุคลากรส่วนใหญ่ คือ บรรยากาศในการทำงานที่ไม่พึงปรารถนา ดังนั้น การสร้างบรรยากาศในการทำงานที่เป็นกันเองและอบอุ่นจึงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ สำคัญ
การเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ AEC ดังข้างต้นนั้นจะประสบความสำเร็จลงได้ ต้องอาศัยการยอมรับของผู้บริหารในทุกะดับและฝ่าย HR โดยกลุ่มคนเหล่านี้เป็นกลุ่มที่สามารถเอื้ออำนวยการดำเนินการต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ทั้งด้านงบประมาณ กำลังคนและเวลา ตลอดจนการวางนโยบายให้บุคลากรในองค์กรทุกระดับยอมรับ และพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงและปฏิบัติตามด้วยความเต็มใจ
ที่มา:งานสัมมนา Thailand HR Forum 2012
บทที่7การพัฒนาองค์การไปสู่องค์การแห่งการเรียนรู้และพัฒนาอย่างยั่งยืน
มีนักวิชาการ และท่านผู้รู้หลายท่านได้ให้คำนิยามไว้ ซึ่งผู้เขียนได้ศึกษา และทำความเข้าใจ และประมวลสรุปได้ดังนี้“องค์การที่มีลักษณะเปรียบเหมือนสถาบันการเรียนรู้ ซึ่งบุคลากรมีการเรียนรู้กันอย่างขว้างขวาง อย่างมีส่วนร่วม และต่อเนื่องเพื่อยกระดับศักยภาพ อันได้แก่ความรู้ ความสามารถ ความชำนาญของตน ทีมงาน และองค์การ และนำไปใช้ในการเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการทำงาน โดยมีการสนับสนุนจากองค์การด้วยการสนับสนุนเทคโนโลยี และเครื่องมือต่างๆเพื่อช่วยให้การเรียนรู้นั้นให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งนี้ก็เพื่อสร้างให้องค์การประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์อย่างยั่งยืน”
แรงผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ในการเปลี่ยนแปลงจากองค์การที่มีการดำรงอยู่ในสภาพปัจจุบันให้เป็นองค์การ แห่งการเรียนรู้นั้นมีปัจจัยที่เป็นแรงผลักดันหลายประการ แต่ที่สำคัญเป็นประเด็นหลักมี 3 ประการคือ
1. กระแสโลกาภิวัฒน์ (Globalization) OOOแรงผลักดันประการแรกนี้เป็นสิ่งที่เราสัมผัสใดในตลอดหลายปีที่ผ่านมา ตั้งแต่มีระบบการสื่อสารและ การขนส่งที่รวดเร็วทำให้โลกแคบลงและรับรู้สิ่งต่างๆในซีกโลกอื่นๆได้ ง่ายกว่าเดิมมากทำให้การรับรู้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางทั้งในระดับบุคคล สังคม และองค์การ
2. เทคโนโลยีสมัยใหม่ (New technology) เพื่อตอบสนองธรรมชาติของมนุษย์ในส่วนของความอยากรู้ในสิ่งใหม่ๆ จึงมีการพัฒนาเครื่องมืออัน ทันสมัยอย่เสมอทั้งนี้เพื่อยกระดับประสิทธิภาพในการเรียนรู้โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งคือระบบ Internet ที่มีบทบาทอย่างยิ่งต่อการแสวงหาความรู้ใหม่ๆ
3. อิทธิพลของลูกค้า(Customer influence)
อ้างอิง : โดย อำนาจ วัดจินดา
http://www.lionjob.com/
บทที่8 เทคนิคการบริหารทรัพยากรมนุษย์และการจัดการที่เหมาะสมกับวัฒนธรรมไทย
การบริหารคนในสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ
ในสถานการณ์จริง บริษัทต้องเกิดผลกระทบกับสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ผู้บริหารองค์กรต้องเตรียมวางแผนไว้ล่วงหน้า มีการซักซ้อมแผนอยู่เป็นประจำ ถ้ามีปัญหาเกิดขึ้น บริษัทจะต้องเตรียมด้านการบริหารคนอย่างไร เพื่อที่จะได้เตรียมรับมือกับปัญหาที่จะเกิดได้ตลอดเวลา โดยสิ่งที่ต้องทำคือ
1. ให้ผู้บังคับบัญชาชี้แจงให้พนักงานในสังกัดได้รับทราบถึงสถานการณ์อยู่ตลอดเวลา ซึ่งการสื่อสารอย่างเป็นประจำจะทำให้พนักงานเข้าใจสถานการณ์ และพยายามที่จะหาทางช่วยเหลือบริษัท ให้อยู่รอด จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ในทางกลับกัน มีหลายบริษัทที่พนักงานมีการประท้วง หยุดงาน มีการเผาโรงงาน เพราะว่าไม่ได้รับโบนัสเหมือนทุกๆปี ตามที่เขาได้ตั้งใจไว้ สิ่งที่ขาดก็คือ การสื่อสารให้พนักงานทราบเป็นระยะ ถึงสถานการณ์บริษัท ณ ปัจจุบัน
2. การบริหารอัตรากำลังพลอย่างเหมาะสมกับปริมาณงานในแต่ละหน่วยงาน เพราะในส่วนอัตรากำลังนี้เป็นสิ่งสำคัญ ถ้าหัวหน้าบริหารอัตรากำลังไม่เป็น นั่นคือ ค่าใช้จ่ายขององค์กรนั่นเอง ไม่ว่าจะเป็น เรื่อง เงินเดือน ค่าล่วงเวลา และสวัสดิการ
3. รณรงค์การปลูกจิตสำนึกให้พนักงานร่วมใจกันประหยัด ผู้บริหารระดับสูงขององค์กรต้องทำเป็นตัวอย่าง และสร้างเป็นวัฒนธรรมองค์กรให้พนักงานรุ่นใหม่ๆ ที่เข้ามาสู่องค์กรได้ ยึดถือปฏิบัติต่อๆกัน ก็จะเป็นส่วนหนึ่งของภูมิคุ้มกันองค์กรให้อยู่รอดปลอดภัย จากภัยต่างๆได้
4. การพิจารณาการปรับระดับพนักงานต้องทำอย่างพิถีพิถัน เพราะว่าในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ ผู้บริหารยังดำเนินการตามสิ่งที่เคยทำมาตลอด พนักงานก็จะเกิดความรู้สึกได้ว่าผู้บริหาร ยังทำตัวเหมือนเดิม ไม่รัดเข็มขัด พนักงานระดับล่างก็อาจจะทำตามได้ ต้องส่งสัญญาณให้พนักงานได้รับทราบว่า สถานการณ์เช่นนี้ พนักงานต้องช่วยกัน และการปรับระดับที่เคยนำมาพิจารณากันในช่วงเดือน มิถุนายน อาจจะขอเลื่อนไปก่อน และแจ้งเหตุผลให้พนักงานทราบ
5. ควรชะลอการปรับค่าจ้างกรณีพิเศษ(Special Adjustment) ในบางบริษัทจะมีการพิจารณาปรับเงินเดือนพิเศษ สำหรับพนักงานที่เป็น Talent ขององค์กร ในแต่ละปี เมื่อเกิดปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ เราก็ต้องชะลอการปรับออกไปก่อน โดยประกาศให้พนักงานทราบ
6. ชะลอการปรับสวัสดิการพนักงานไว้ก่อน เมื่อสถานการณ์เกิดขึ้น ผู้บริหารต้องพูดคุยกับพนักงานเป็นระยะ เพื่อให้เข้าใจตรงกันว่า เราต้องรักษาองค์กรให้อยู่รอดจากสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในครั้งนี้ ขอให้พนักงานช่วยองค์กรอย่างไรบ้าง เมื่อองค์กรอยู่รอด พนักงานก็อยู่ไปกับองค์กรทุกคนเช่นกัน
7. จัดให้มีการพัฒนาพนักงาน เพื่อเพิ่มทักษะในการปฏิบัติงาน เมื่อยามที่พนักงานไม่มีงาน เพราะว่าไม่มียอดการสั่งสินค้าเข้ามา ผู้บริหารต้องใช้เวลาที่ว่างนี้ เพิ่มทักษะในการปฏิบัติงานให้กับพนักงาน เพื่อเตรียมความพร้อมที่จะก้าวกระโดดในยามที่ ภาวะเศรษฐกิจฟื้นตัว พนักงานต้องเรียนรู้มากกว่าหนึ่งหน้าที่ เมื่อยามที่พนักงานที่รับผิดชอบงานหยุดไป พนักงานอีกคนหนึ่งสามารถปฏิบัติหน้าที่แทนกันได้ ก็จะทำให้องค์กรเกิดการประหยัด และ Lean ใช้คนน้อย
จากการบริหารคนในช่วงสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ถ้าทุกองค์กร มีความตระหนัก ตามหัวข้อที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ก็จะทำให้องค์กรที่ประสบภาวะเศรษฐกิจตกต่ำสามารถนำพาให้องค์กรอยู่รอดได้ และสามารถแข่งขันกับธุรกิจที่เป็นต่างชาติได้อย่างสบาย
อ้างอิง : www.krittin.net
บทที่ 1 การวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นในการจัดการ การประเมิน สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก(swot)
การวิเคราะห์สวอต (SWOT Analysis) เป็นเครื่องมือในการประเมินสถานการณ์ สำหรับองค์กรหรือโครงการซึ่งช่วย
ผู้บริหารกำหนดจุดแข็งและจุดอ่อนจากสภาพแวดล้อมภายใน โอกาและอุปสรรคจากสภาพแวดล้อมภายนอก ตลอดจนผลกระทบ
ที่มีศักยภาพจากปัจจัยเหล่านี้ต่อการทำงานด้านทรัพยากรบุคคลของกรุงเทพมหานคร
การวิเคราะห์ SWOT ใช้ในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การบริหารทรัพยากรบุคคลของกรุงเทพมหานคร
(พ.ศ.2552-2555) ซึ่งมีหน่วยงานที่มาร่วมวิเคราะห์ ดังนี้
1. สำนักงาน ก.ก.
2. สถาบันพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร
3. กองการเจ้าหน้าที่ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร
4. สำนักการศึกษา
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก (SWOT Analysis)
1. การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน
- จุดแข็ง
ด้านการบริหารจัดการเมืองตามหลักธรรมาภิบาล
1) มีองค์กรกลางบริหารงานบุคคลของตนเอง มีความเป็นอิสระในการบริหารงานบุคคล
2) มีการพัฒนาระบบการบริหารงานบุคคลให้มีประสิทธิภาพและเป็นไปตามหลักคุณธรรม
3) มีการปรับโครงสร้างอัตรากำลังของหน่วยงานกรุงเทพมหานครให้สอดคล้องกับภารกิจในปัจจุบันและอนาคต
4) มีการจัดปรับปรุงระบบงานลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน
ด้านการบริหารจัดการภายใน
1) สามารถเบิกจ่ายงบประมาณได้ตามแผนและลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นได้
2) การบริหารจัดการมีความโปร่งใส
3) โดยเฉลี่ยบุคลากรในสังกัดกรุงเทพมหานคร มีความรู้ความสามารถเฉพาะด้าน และมีการพัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่อง
4) มีระบบฐานข้อมูลและการจัดการความรู้สนับสนุน
- จุดอ่อน
ด้านการบริหารจัดการเมืองตามหลักธรรมาภิบาล
1) การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านการบริหารงานบุคคลยังไม่ทั่วถึง และล่าช้า ขาดการสื่อสาร ให้ความรู้ความเข้าใจ
ที่ถูกต้อง
2) มีกฎหมายเฉพาะของตนเองแต่ไม่สมบูรณ์ต้องนำกฎหมายการบริหารงานบุคคลภาครัฐมาใช้โดยอนุโลม
3) ยากในการเรียนรู้ ทำความเข้าใจ การนำมาใช้ การเชื่อมโยงตัวบทกฎหมาย ระเบียบ กฎเกณฑ์ที่ออกใช้บังคับของ
ภาครัฐให้สอดคล้องกับระเบียบกฎหมายโครงสร้างการบริหาร สภาพปัญหาของกรุงเทพมหานคร
4) มีสายงานจำนวนมากและหลากหลายถึง 162 สายงาน
5) ยุ่งยากซับซ้อนในการบริหาร การจัดการ การวางกฎเกณฑ์ ระเบีบบ ข้อบังคับให้เหมาะสมและสอดคล้อง
6) ข้าราชการจำนวนมากขาดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล
ด้านการบริหารจัดการภายใน
1) บุคลากรยังต้องการเพิ่มขวัญกำลังใจให้มากขึ้น
2) อุปกรณ์ เครื่องมือ และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศไม่เพียงพอ
2. การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก
- โอกาส
ด้านผลกระทบจากนโยบายรัฐบาล กฎหมาย การเมือง
1) มีการถ่ายโอนภารกิจจากภาครัฐให้แก่ กทม. ส่งผลให้มีการปรับโครงสร้างหน่วยงานกรุงเทพมหานคร
2) พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547
ร่าง พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร พ.ศ. .... และร่าง พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการ
กรุงเทพมหานคร พ.ศ. .... เปิดโอกาสให้ กทม. ปรับเปลี่ยนระบบการบริหารงานบุคคลของกรุงเทพมหานครให้เป็นไป
ตามความต้องการและความเหมาะสมของ กทม. ได้มากยิ่งขึ้น
3) พ.ร.ฎ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 มุ่งให้มีการปรับปรุงระบบงานลดขั้นตอน
การทำงาน จัดกลุ่มภารกิจและมีการประเมินผลการปฏิบัติราชการ เพื่อเพิ่มประิสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติราชการ
ของหน่วยงานภาครัฐ
ด้านการเปลี่ยนแปลงด้านสังคม ประชากรศาสตร์
ประชาชนให้ความสนใจและมีส่วนร่วมในการบริหารราชการของกรุงเทพมหานครและกิจกรรมต่าง ๆ และร่วมตรวจสอบ
การทำงานของข้าราชการ
ด้านการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีภายนอกที่เกี่ยวข้อง
Software ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการด้านบุคลากรในปัจจุบันมีจำนวนมากขึ้น
- อปุสรรค
ด้านการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจเชิงมหภาค
1) ค่าตอบแทนของข้าราชการไม่สอดคล้องกับค่าครองชีพปริมาณงาน คุณภาพงาน ควรกำหนดค่าตอบแทนหรือ
สิ่งจูงใจอื้น ๆ ให้มีความเหมาะสมเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจ
2) รายได้ของกรุงเทพมหานครไม่สามารถจัดเก็บได้ตามเป้าหมาย
ด้านการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีภายนอกที่เกี่ยวข้อง
ขาดการสนับสนุนนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริหารและการปฏิบัติราชการ
ที่มา: http://203.155.220.217/office/csc/popup_clinic/clinic_hr6_2_15.htm
บทที่2แนวคิดทฤษฎีทางการบริหารจัดการที่สำคัญตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
ทฤษฎีการจัดการและการบริหาร (Administrative Management Theory)
Fayol ได้เสนอหลักการบริหาร เป็นเรื่องของความยืดหยุ่น (flexibility) และสามารถนำไปปรับใชัได้กับทุกองค์การตามความต้องการ ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
1. หลักการแบ่งงานกันทำ
2. หลักอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ
3. หลักวินัย
4. หลักเอกภาพของการบังคับบัญชา
5. หลักเอกภาพของทิศทาง
6. หลักผลประโยชน์ส่วนตัวขึ้นกับผลประโยชน์ทั่วไป
7. หลักผลประโยชน์ตอบแทน
8. หลักการรวม
9. หลักสายการบังคับบัญชา
10. หลักการมีระเบียบแบบแผน
11. หลักความยุติธรรม
12. หลักเสกียรภาพของการทำงาน
13. หลักความคิดริเริ่มสรางสรรค์
14. หลักความจงรักภักดีต่อองค์การ
ที่มา: สมชัย ศรีสิทธิยากร. (2540). เอกสารประกอบคำบรรยาย ร. 240: ทฤษฎีองค์การ. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะรัฐศาสตร์
นายอัตถ์ฃัย ภู่วนิช รุ่น 19 เลขที่ 213
การบริหารการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาอย่างยั่งยืน
การพัฒนาที่ยั่งยืนคืออะไร
"การพัฒนาที่ยั่งยืน" ภาษาอังกฤษเรียกว่า Sustainable Development โดยสมัชชาโลกจาก World Commission on Environment (2526) ได้เสนอแนะไว้ว่า"การพัฒนาที่ยั่งยืน คือรูปแบบของการพัฒนาที่ตอบสนองต่อความต้องการของคนในรุ่นปัจจุบัน โดยไม่ทำให้คนรุ่นต่อไปในอนาคตต้องประนีประนอมยอมลดทอนความสามารถในการที่จะตอบสนองความต้องการของตนเอง"
ต่อมาได้มีนักวิชาการหลายท่านได้พยายามอธิบายแนวคิดของการพัฒนาที่ยั่งยืนให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น แนวคิดของพระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต, 2541) ได้อธิบายการพัฒนาที่ยั่งยืนว่า "การพัฒนาที่ยั่งยืนมีลักษณะที่เป็นบูรณาการ (Integrated) คือทำให้เกิดเป็นองค์รวม (Holistic) หมายความว่าองค์ประกอบทั้งหลายที่เกี่ยวข้องจะต้องมาประสานกันครบองค์ และมีลักษณะอีกอย่างหนึ่ง คือการมีดุลยภาพ (Balance) หรือพูดอีกนัยหนึ่งคือการทำ ให้กิจกรรมของมนุษย์สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ"
คณะอนุกรรมการกำกับการอนุวัตตามแผนปฏิบัติการ 21 และการพัฒนาที่ยั่งยืน ร่วมกับสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ได้หาข้อยุติด้านคำนิยามของการพัฒนาที่ยั่งยืนในการจัดทำข้อเสนอของประเทศไทยในการประชุมสุดยอดของโลกว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน ณ นครโจฮันเนสเบิร์กประเทศแอฟริกาใต้ เมื่อเดือนกันยายน2545 ว่า "การพัฒนาที่ยั่งยืนในบริบทไทยเป็นการพัฒนาที่ต้องคำนึงถึงความเป็นองค์รวมของทุกๆ ด้านอย่างสมดุล บนพื้นฐานของทรัพยากรธรรมชาติ ภูมิปัญญา และวัฒนธรรมไทยด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกกลุ่ม ด้วยความเอื้ออาทรเคารพซึ่งกันและกัน เพื่อสามารถในการพึ่งตนเอง และคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างเท่าเทียมกัน"
นอกจากนี้ นักวิชาการบางท่านได้พยายามอธิบายถึงความหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืนให้สอดคล้องกับบริบทของไทยไว้ว่า หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสังคมและของสถาบันต่างๆ ทางสังคม เช่น (สถาบันทางเศรษฐกิจ การเมือง การศึกษา สื่อมวลชนฯลฯ) ในหลายมิติตลอดจนทัศนคติ ค่านิยมและระบบคุณค่า เป็นการเปลี่ยนแปลงจากเชิงปริมาณไปสู่เชิงคุณภาพให้ดียิ่งขึ้นปลอดจากระบบผูกขาดทางเศรษฐกิจและผูกขาดอำนาจทางการเมือง เอื้ออำนวยต่อระบบเศรษฐกิจนั้น ให้สามารถเพิ่มผลผลิตอย่างมีดุลยภาพระหว่างคนกับสิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยี โดยมีการแบ่งปันผลประโยชน์จากการพัฒนาอย่างเป็นธรรมสร้างความเสมอภาคทางโอกาส ขจัดความยากจน (วิวัฒน์ชัย อัตถากร, 2546:7)
กล่าวโดยสรุปคือ การพัฒนาที่ยั่งยืน คือ “การพัฒนาและการเจริญเติบโตอย่างมีความสมดุลทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมโดยการพัฒนาเศรษฐกิจโดยไม่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสังคมและวัฒนธรรม รวมถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ และไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติและไม่ก่อเกิดความเสื่อมโทรมต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งดำรงไว้ซึ่งทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมที่ดีในปัจจุบันให้คงอยู่สำหรับคนรุ่นใหม่ในอนาคต”
กรอบแนวคิดของการพัฒนาที่ยั่งยืน
ในการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการพัฒนาเพื่อมุ่งไปสู่ความยั่งยืนของประเทศไทยนั้น ได้มีการกำหนดเป้าประสงค์ของการพัฒนา 4 ประการด้วยกัน ได้แก่
1) คุณภาพ: สังคมไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เป็นสังคมฐานความรู้ มีการพัฒนาศักยภาพและการศึกษาได้ด้วยตนเอง มีการผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณภาพตามศักยภาพการผลิตในประเทศ โดยเน้นความได้เปรียบเชิงแข่งขันควบคู่กับผลิตภาพ (productivity) เพิ่มผลผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และลดมลพิษในเชิงป้องกัน
2) เสถียรภาพและการปรับตัว: เศรษฐกิจเกิดการขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพทั้งระดับภายในและภายนอกประเทศ มีการสร้างภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจและสังคมจากปัจจัยสนับสนุนภายใน โดยคำนึงขีดจำกัดและความสามารถในการรองรับของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้วยการพัฒนาและการบริหารจัดการเศรษฐกิจระดับฐานรากอย่างครบวงจร โดยมีสินค้าภูมิปัญญาท้องถิ่นที่หลากหลาย มีการธำรงไว้ซึ่งศิลปวัฒนธรรมและเอกลักษณ์อันเป็นมรดกดีงามของชาติ
3) การกระจายการพัฒนาอย่างเป็นธรรม: ประชากรมีสร้างความเท่าเทียมทั้งด้านเพศ อาชีพ รายได้ การศึกษา ความต้องการพื้นฐานในการดำรงชีพ และบริการพื้นฐานทางสังคม มีโอกาสในการเข้าถึงตลาดและการจัดสรรฐานทรัพยากรอย่างเหมาะสมและเป็นธรรม โดยคำนึงถึงความต้องการของคนรุ่นปัจจุบันและสงวนรักษาทรัพยากรให้คนรุ่นอนาคต
4) การมีระบบบริหารจัดการที่ดี: ประชากรทุกภาคส่วนของสังคม มีโอกาส และสิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร กระบวนการตัดสินใจ และนโยบายสาธารณะแก่ประชาชน โดยผ่านการบริหารจัดการ การส่งเสริมและกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นและการสร้างความร่วมมือแบบบูรณาการของสถาบันการเมือง สังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง
อ้างอิง
กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร
สำนักงานจังหวัดปทุมธานี
เรวดี ศรีสุข รุ่น 19 เลขที่ 231
การบริหารการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาอย่างยั่วยืน
การพัฒนาระบบการบริหารองค์กรให้มีศักยภาพและขีดความสามารถในการรองรับการเปลี่ยนแปลงที่มีพลวัตรสูงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้รูปแบบการบริหารองค์กรเปลี่ยนแปลงไป ทัง้ ในมิติเชิงโครงสร้างเพื่อแบ่งขอบเขตอำนาจหน้าที่ขององค์กรให้มีความสามารถในการบูรณาการและรองรับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึน้
ความรุนแรงและความซับซ้อนของการแข่งขันและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึน้ ในสภาพแวดล้อมส่งผลให้องค์กรซึ่งเป็นระบบที่คล้ายกับสิ่งมีชีวิตต้องปรับโครงสร้างการดำเนินงานและรูปแบบการบริหาร เพื่อความอยู่รอดตาม “ทฤษฎีวิวัฒนาการ” ของ Charles Darwin ที่ ผู้เข้มแข็งและเหมาะสมเท่านัน้ ที่จะอยู่รอดได้ในอนาคต เช่นเดียวกับองค์กรในอนาคตที่ต้องปรับตัวใน 2 มิติ ได้แก่ โครงสร้างและวัฒนธรรมองค์กร
การจัดการเชิงกลยุทธ์ เป็นสิ่งสำคัญยิ่งสำหรับการบริหารองค์กรในปัจจุบัน เนื่องจากการจัดการเชิงกลยุทธ์มี
เป้ าหมายมุ่งเน้นให้องค์กรกำหนดทิศทาง ภารกิจ กลยุทธ์การดำเนินงานขององค์กรให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของ
สภาพแวดล้อม พัฒนาปรับปรุงทุกภาคส่วนขององค์กรให้นำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ ตลอดจนติดตาม กำกับ ควบคุม และ
ประเมินผลการดำเนินงานตามกลยุทธ์ที่กำหนด เพื่อเรียนรู้ผลความก้าวหน้า ปัญหาอุปสรรค นำไปสู่การปรับปรุงแก้ไข
ต่อไป โดยประโยชน์ของการจัดการเชิงกลยุทธ์คือ
1) องค์กรปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดียิ่งขึน้
2) การจัดสรรทรัพยากรในองค์กรสอดคล้องและสมเหตุสมผล
3) การปรับตัว การขยายตัวขององค์กรมีกรอบทิศทางที่ชัดเจน
4) กระตุ้นให้บุคลากรมองเห็นโอกาส ภัยคุกคาม จุดแข็ง จุดอ่อน และทิศทางการดำเนินงาน
5) เปิดโอกาสให้บุคลากรมีความคิดใช้ทรัพยากรร่วมกัน
ขัั้นตอนการจัดการเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management) ประกอบด้ว ย
(1) การวางแผนกลยุทธ์ (Strategic Plan) มีกระบวนการในการดำเนินการ ดังนี้
แผนกลยุทธ์ เป็นเอกสารที่ระบุวิสัยทัศน์ พันธกิจ และกลยุทธ์ จัดทำขึน้ จากการวิเคราะห์สภาพการณ์ภายนอกและภายในองค์กร เพื่อคาดคะเนแนวโน้มของสถานการณ์และกำหนดแนวทางการดำเนินงานขององค์กรให้สอดคล้องเหมาะสมกับแนวโน้มของสถานการณ์ดังกล่าว เป็นแผนระยะยาวที่บอกถึงทิศทางการดำเนินงานขององค์กรสำหรับใช้เป็นเครื่องมือในการประสาน และกำกับติดตามการดำเนินงานในส่วนงานต่าง ๆ ขององค์กรให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยมีขัน้ ตอนการจัดทำ ดังนี้
1.1 วิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกเพื่อหาโอกาสและอุปสรรค และสภาพแวดล้อมภายในเพื่อหาจุดอ่อนและจุดแข็ง
1.2 ทบทวนและกำหนดวิสัยทัศน์ขององค์กร
1.3 กำหนดภารกิจขององค์กรเพื่อให้แน่ชัดว่าองค์กรเรามีลักษณะเช่นใด มีหน้าที่ให้บริการอะไร แก่ใครบ้าง
1.4 กำหนดเป้าหมายขององค์กร
1.5 วิเคราะห์และเลือกกลยุทธ์แนวทางการพัฒนาองค์กร
1.6 กำหนดโครงการภายใต้กลยุทธ์และผู้รับผิดชอบเพื่อความชัดเจนในการนำไปปฏิบัติ
(2) การนำกลยุทธ์ไ ปปฏิบัติ
2.1 กำหนดเป้าหมายการดำเนินงาน
2.2 วางแผนปฏิบัติการ (Action Plan)
2.3 ปรับปรุงพัฒนาองค์กร ด้านโครงสร้าง ระบบงาน บุคคล การบริหาร ฯลฯ
(3) การควบคุมและประเมินผลเชิงกลยุทธ์ (Strategic Control & Evaluation)
3.1 ติดตามตรวจสอบผลการดำเนินงาน ปัญหา อุปสรรค
3.2 ติดตามสถานการณ์และเงื่อนไขต่าง ๆ เช่น ข่าวสารข้อมูล ปัจจัยชีวั้ดต่าง ๆ การสนับสนุนผู้ปฏิบัติงาน ฯลฯ เพื่อทำให้รู้ทิศทางในการปรับตัว
แม้ว่าการวางแผนยุทธศาสตร์ที่ดีจะเป็นเงื่อนไขประการหนึ่งของความสำเร็จของการบริหารงาน สมัยใหม่ แต่การนำยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติให้บรรลุผลเป็นเรื่องสำคัญและยุ่งยากซับซ้อนมากกว่า ต้องอาศัยปัจจัยแห่งความสำเร็จหลายประการ เช่น การเริ่มต้นการกำหนดกลยุทธ์ที่ดี การบริหารการเปลี่ยนแปลง การออกแบบโครงสร้างองค์กรที่เหมาะสมเอือ้ ต่อการประสานงานและแลกเปลี่ยนความรู้ การมอบหมายงานที่ชัดเจนและเกิดการรับผิดชอบ การวางระบบกำกับดูแลควบคุม และให้ข้อมูลป้อนกลับเพื่อการปรับตัว การสร้างแรงจูงใจที่เหมาะสม การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรการมอบอำนาจการตัดสินใจ การมีภาวะผู้นำ และความมุ่งมั่นจริงจัง รวมถึงการกระตุ้นให้ทุกฝ่ ายในองค์กรเข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ การบริหารกลยุทธ์จึงถือเป็นปัญหาสำคัญในการพัฒนาองค์กรเนื่องจากพบว่า องค์กรมิได้นำแผนกลยุทธ์ที่ทำไว้แปลงแผนไปสู่การปฏิบัติเพื่อกระตุ้นให้ทุกส่วนงานเข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เมื่อวิเคราะห์ในรายละเอียดพบว่า องค์กรมิได้มีหน่วยงาน “เจ้าภาพ” ในการเชื่อมโยงและขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ในระดับต่าง ๆ ไปสู่การปฏิบัติให้บังเกิดผลดังนัน้ เพื่อให้แผนกลยุทธ์ในองค์กรประสบผลสำเร็จตามวิสัยทัศน์และมีผลสัมฤทธิ์ตามที่องค์กรปรารถนาองค์กรที่มีความมุ่งมั่นบริหารงาน ตามแนวทางการจัดการเชิงกลยุทธ์และมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ จึงควรพิจารณาจัดตั้งหน่วยงาน เป็น “เจ้าภาพ” รับผิดชอบในการเชื่อมโยงแผนกลยุทธ์ขององค์กรพัฒนาระบบวัดผลการดำเนินงาน ทบทวนพัฒนา สื่อสาร รายงานผล และบูรณาการกลยุทธ์เข้ากับหน่วยงานย่อยในองค์กร ประสานการดำเนินงาน และช่วยผลักดันให้การดำเนินงานของหน่วยงานย่อยเป็นไปอย่างสอดคล้องและสนับสนุนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ขององค์กร โดยหน่วยงานดังกล่าวจะต้องมีบทบาทและภารกิจ ดังนี้
1) จัดการระบบการวัดผลการดำเนินงาน เพื่อให้การแปลงแผนกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติประสบผลสำเร็จ และ
เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน เพื่อให้มั่นใจว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึน้ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ที่กำหนด และสามารถ
ถ่ายทอดเป็นแผนที่ยุทธศาสตร์ รวมทัง้ มีตัวชีวั้ด และกำหนดค่าเป้ าหมายได้อย่างถูกต้อง
2) พัฒนาระบบการวัดผลการดำเนินงาน และถ่ายทอดกลยุทธ์สู่หน่วยงานย่อย และบุคคลทุกระดับใน
องค์กรให้มีความเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน และสามารถนำไปสู่ผลสำเร็จตามเป้ าหมายขององค์กรที่วางไว้
3) ทบทวนแผนกลยุทธ์ ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การดำเนินงานให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมที่
เกิดขึ้น
4) พัฒนาแผนกลยุทธ์ วางแผนงานในภาพรวม จัดประชุมวางแผนประจำปี ตลอดจนให้ความรู้เรื่องการวางแผนและโครงการแก่หน่วยงาน
5) สื่อสารแผนกลยุทธ์และรายงานผล เพื่อสร้างความเข้าใจแก่บุคลากรในองค์กรให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน พร้อมทัง้ รายงานผลต่อผู้บริหารระดับสูง
6) จัดการข้อเสนอแนะและความคิดริเริ่มใหม่ จัดลำดับความสำคัญและติดตามประเมินผลอย่างเป็นระบบ
7) บูรณาการแผนกลยุทธ์เข้ากับฝ่ายต่าง ๆ ในองค์กร ประสานการดำเนินงานและช่วยผลักดันให้การดำเนินงานของหน่วยงานเป็นไปอย่างสอดคล้องและสนับสนุนต่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ขององค์กรประโยชน์ของการมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่บริหารกลยุทธ์ขององค์กรคือ องค์กรมีหน่วยงานเจ้าภาพในการเชื่อมโยงและขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ในระดับต่าง ๆ ไปสู่การปฏิบัติให้บังเกิดผล ถ่ายทอดเป้ าหมายและการวัดผลระดับองค์กรสู่หน่วยงานย่อยและสู่ระดับบุคคล ปรับปรุงการสื่อสารกลยุทธ์และแลกเปลี่ยนความรู้จากประสบการณ์ของกันและกัน ตลอดจนช่วยให้ทุกคนในองค์กรรู้จักบทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบ และสามารถจัดลำดับความสำคัญของงานที่จะดำเนินการได้ตามยุทธศาสตร์ที่องค์กรมุ่งเน้น เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
อ้างอิง : ชำนาญ สุนทรวัฒน์. การจัดการเชิงกลยุทธ์. เอกสารประกอบการสอน. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย, 2542.
ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. ยอดกลยุทธ์การบริหารสำหรับองค์กรยุคใหม่. ม่านสุทธาการพิมพ์ จำกัด.
กรุงเทพมหานคร : 2544.
ปันรส มาลากุล ณ อยุธยา. การแปลงแผนสู่การปฏิบัติ. เอกสารประกอบการบรรยาย. กองแผนงาน
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. กรุงเทพมหานคร : 2545.
วรรณพร สุทธปรีดา. เอกสารเพื่อการพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการ หมายเลข 010.
สำนักงาน ก.พ.ร. . กรุงเทพมหานคร : 2549
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)