หน้าเว็บ

สุชาดา มณีโชติ การจัดการทั่วไป รุ่น 19 217


บทที่ 9 การบริหารการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาอย่างยั่งยืน
      การเปลี่ยนแปลงการบริหาร management change คือ วิวัฒนาการของแนวคิดทางการบริหารตามภาวการณ์ต่าง ๆ อาทิ การบริหารแนววิทยาศาสตร์ มนุษยสัมพันธ์ เชิงระบบและตามสถานการณ์ ภาวการณ์ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามบริบท (context) ของสังคม ทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยี ฯลฯ เป็นการเปลี่ยนแปลงซึ่งต้องบริหารแบบรู้เท่าทัน ทันการณ์ มีวิสัยทัศน์ โดยใช้พื้นฐานความรู้เดิมเป็นตัวตั้ง แล้วนำมาวิเคราะห์เรียบเรียง เพื่อศึกษาและทำความเข้าใจ แล้วจัดการกำจัดจุดอ่อน และเพิ่มจุดแข็ง ให้เกิดประโยชน์สูงสุดด้วย "การบริหารการเปลี่ยนแปลง (change management)"

รูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลง ในการบริหารการเปลี่ยนแปลง ต้องมีการพัฒนาองค์กร ซึ่งมีรูปแบบวิธีการที่ดีอย่างน้อย 3 รูปแบบ ดังนี้
          1. รูปแบบ 3 ขั้นตอน ตามแนวคิดของ Kurt Lewin ประกอบด้วย การคลายตัว (unfreezing) เนื่องจากเกิดปัญหาจึงต้องเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง (changing) คือ การเปลี่ยนจากพฤติกรรมเก่า ไปสู่พฤติกรรมใหม่ และการกลับคงตัวอย่างเดิม (refreezing) เพื่อหล่อหลอมพฤติกรรมใหม่ให้มั่นคงถาวร
          2. รูปแบบ 2 ปัจจัย ตามแนวคิดของ Larry Greiner ที่เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงเกิดจากแรงบีบภายนอก กับการกระตุ้นผลักดันภายใน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงมีอยู่ตลอดเวลา ปัจจัยทั้งสองเกิดขึ้นตลอดเวลา จึงต้องดำเนินการเปลี่ยนแปลงโดย ศึกษาการเปลี่ยนแปลง ค้นหาวิธีการที่ดีกว่า ทดลองวิธีใหม่ หล่อหลอมข้อดีเข้าด้วยกัน เพื่อบริหารการเปลี่ยนแปลงอย่างมีประสิทธิภาพ
          3. รูปแบบผลกระทบของปัจจัย ตามแนวคิดของ Harold J. Leavitt ที่เชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงเกิดจากผลกระทบที่เกิดขึ้นตลอดเวลาของ งาน โครงสร้าง เทคนิควิทยาการ และคน ทั้ง 4 ประการนี้เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงก็จะส่งผลกระทบเกี่ยวพันกัน และการเปลี่ยนแปลงบางเรื่องอยู่เหนือการควบคุม ดังนั้นผู้บริหารจึงต้องสนใจสิ่งที่เปลี่ยนแปลง สิ่งที่จะเปลี่ยนแปลง และผลกระทบที่เกิด หรือจะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของแต่ละปัจจัย

แนวโน้มของกระแสการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับองค์การ
          1. ด้านโครงสร้าง (structure)
          2. องค์ประกอบของประชากร (demographic)
          3. เกิดจริยธรรมใหม่ของการทำงาน (new work ethic)
          4. การเรียนรู้และองค์ความรู้ (learning and knowledge)
          5. เทคโนโลยีและการเข้าถึงสารสนเทศ (technology and access to information)
          6. เน้นเรื่องความยืดหยุ่น (emphasis on flexibility)
          7. ต้องพร้อมเผชิญต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว (fast-paced change)

สิ่งที่ต้องพิจารณาเปลี่ยนแปลงในองค์การ
          1. เป้าหมายและกลยุทธ์
          2. เทคโนโลยี (technology)
          3. การออกแบบงานใหม่ (job redesign)
          4. โครงสร้าง (structure)
          5. กระบวนการ (process)
          6. คน (people)

ผู้บริหารที่เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงสู่คุณภาพ
          1. เป็นผู้นำวิสัยทัศน์ (visionary Leadership) และสามารถกระจายวิสัยทัศน์ไปยังบุคคล ต่าง ๆ ได้
          2. ใช้หลักการกระจายอำนาจ (empowerment) และการมีส่วนร่วม (participation)
          3. เป็นผู้มีความสัมพันธ์กับบุคลากร ทั้งภายในและนอกองค์กร
          4. มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
          5. ผู้นำคุณภาพจะต้องมีความรู้ความสามารถในการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีและใช้ข้อมูลสถิติ ในการวิเคราะห์และตัดสินใจ
          6. ให้การสนับสนุนและช่วยเหลือลูกน้อง
          7. ความสามารถในการสื่อสาร
          8. ความสามารถในการใช้แรงจูงใจ
          9. เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (chang leadership)
http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=1426.0


ไม่มีความคิดเห็น: