นางสาวนพมาศ พิณทมร รหัส 5210125401067 เอกการจัดการทั่วไป ปี 4
บทที่ 9 แรงผลักดันและเป้าหมายในการเปลี่ยนแปลง (Forces and targets for change)
จากการเปลี่ยนแปลงเชิงปฏิรูปและการเปลี่ยนแปลงที่มากขึ้นนั้น ในองค์การจะต้องมีการพัฒนาและการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม ได้แก่
1. อิทธิพลจากสภาพแวดล้อมภายนอก (External forces) ประกอบด้วย ความเป็นโลกาภิวัตน์ ความเป็นสากลระดับโลก การแข่งขันของตลาด สภาพเศรษฐกิจ ท้องถิ่น อิทธิพลและค่านิยมของสังคม กฎหมายและข้อกำหนดของรัฐบาล การพัฒนาเทคโนโลยี เป็นต้น
2. อิทธิพลจากสภาพแวดล้อมภายใน (Internal forces) ซึ่งจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงความคิดริเริ่มเพื่อตอบสนองต่ออิทธิพลจากสภาพแวดล้อมภายนอก โดยการสร้างความจำเป็นเพื่อการเปลี่ยนแปลงในส่วนต่างๆของระบบ
เป้าหมายองค์การสำหรับการเปลี่ยนแปลง (Organizational targets for change)
1. งาน (Tasks) เป็นลักษณะของงานที่เกี่ยวข้องกับภารกิจ วัตถุประสงค์ กลยุทธ์และการออกแบบงานสำหรับบุคคลและกลุ่ม
2. บุคคล (People) ประกอบด้วยทัศนคติขีดความสามารถของพนักงานและระบบทรัพยากรมนุษย์ที่ให้การสนับสนุน
3. วัฒนธรรม (Culture) เป็นระบบค่านิยมขององค์การโดยรวมตลอดจนบรรทัดฐานที่ใช้ชักนำพฤติกรรมบุคคลและกลุ่ม
4. เทคโนโลยี (Technology) เป็นเทคโนโลยีข้อมูลสารสนเทศและการปฏิบัติการที่ใช้เพื่อสนับสนุนให้ออกแบบงาน การจดเส้นทางเคลื่อนย้ายของงาน การบูรณาการบุคคลและเครื่องจักรกลในระบบ
5. โครงสร้าง (Structure) ประกอบด้วยโครงร่างขององค์การในระบบที่สลับซับซ้อนประกอบด้วยลักษณะที่มีการออกแบบโครงสร้างสายการบังคับบัญชาตามหน้าที่และการสื่อสาร
อ้างอิง : หนังสือเรื่อง การจัดการสมัยใหม่ (Modern Management) ของ รศ.ดร.รังสรรค์ ประเสริฐศรี ปี พ.ศ. 2549
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น