หน้าเว็บ

เรวดี ศรีสุข รุ่น 19 เลขที่ 231


การบริหารการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาอย่างยั่วยืน
การพัฒนาระบบการบริหารองค์กรให้มีศักยภาพและขีดความสามารถในการรองรับการเปลี่ยนแปลงที่มีพลวัตรสูงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้รูปแบบการบริหารองค์กรเปลี่ยนแปลงไป ทัง้ ในมิติเชิงโครงสร้างเพื่อแบ่งขอบเขตอำนาจหน้าที่ขององค์กรให้มีความสามารถในการบูรณาการและรองรับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึน้
ความรุนแรงและความซับซ้อนของการแข่งขันและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึน้ ในสภาพแวดล้อมส่งผลให้องค์กรซึ่งเป็นระบบที่คล้ายกับสิ่งมีชีวิตต้องปรับโครงสร้างการดำเนินงานและรูปแบบการบริหาร เพื่อความอยู่รอดตาม “ทฤษฎีวิวัฒนาการ” ของ Charles Darwin ที่ ผู้เข้มแข็งและเหมาะสมเท่านัน้ ที่จะอยู่รอดได้ในอนาคต เช่นเดียวกับองค์กรในอนาคตที่ต้องปรับตัวใน 2 มิติ ได้แก่ โครงสร้างและวัฒนธรรมองค์กร
การจัดการเชิงกลยุทธ์ เป็นสิ่งสำคัญยิ่งสำหรับการบริหารองค์กรในปัจจุบัน เนื่องจากการจัดการเชิงกลยุทธ์มี
เป้ าหมายมุ่งเน้นให้องค์กรกำหนดทิศทาง ภารกิจ กลยุทธ์การดำเนินงานขององค์กรให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของ
สภาพแวดล้อม พัฒนาปรับปรุงทุกภาคส่วนขององค์กรให้นำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ ตลอดจนติดตาม กำกับ ควบคุม และ
ประเมินผลการดำเนินงานตามกลยุทธ์ที่กำหนด เพื่อเรียนรู้ผลความก้าวหน้า ปัญหาอุปสรรค นำไปสู่การปรับปรุงแก้ไข
ต่อไป โดยประโยชน์ของการจัดการเชิงกลยุทธ์คือ
1) องค์กรปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดียิ่งขึน้
2) การจัดสรรทรัพยากรในองค์กรสอดคล้องและสมเหตุสมผล
3) การปรับตัว การขยายตัวขององค์กรมีกรอบทิศทางที่ชัดเจน
4) กระตุ้นให้บุคลากรมองเห็นโอกาส ภัยคุกคาม จุดแข็ง จุดอ่อน และทิศทางการดำเนินงาน
5) เปิดโอกาสให้บุคลากรมีความคิดใช้ทรัพยากรร่วมกัน
ขัั้นตอนการจัดการเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management) ประกอบด้ว ย
(1) การวางแผนกลยุทธ์ (Strategic Plan) มีกระบวนการในการดำเนินการ ดังนี้
แผนกลยุทธ์ เป็นเอกสารที่ระบุวิสัยทัศน์ พันธกิจ และกลยุทธ์ จัดทำขึน้ จากการวิเคราะห์สภาพการณ์ภายนอกและภายในองค์กร เพื่อคาดคะเนแนวโน้มของสถานการณ์และกำหนดแนวทางการดำเนินงานขององค์กรให้สอดคล้องเหมาะสมกับแนวโน้มของสถานการณ์ดังกล่าว เป็นแผนระยะยาวที่บอกถึงทิศทางการดำเนินงานขององค์กรสำหรับใช้เป็นเครื่องมือในการประสาน และกำกับติดตามการดำเนินงานในส่วนงานต่าง ๆ ขององค์กรให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยมีขัน้ ตอนการจัดทำ ดังนี้
1.1 วิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกเพื่อหาโอกาสและอุปสรรค และสภาพแวดล้อมภายในเพื่อหาจุดอ่อนและจุดแข็ง
1.2 ทบทวนและกำหนดวิสัยทัศน์ขององค์กร
1.3 กำหนดภารกิจขององค์กรเพื่อให้แน่ชัดว่าองค์กรเรามีลักษณะเช่นใด มีหน้าที่ให้บริการอะไร แก่ใครบ้าง
1.4 กำหนดเป้าหมายขององค์กร
1.5 วิเคราะห์และเลือกกลยุทธ์แนวทางการพัฒนาองค์กร
1.6 กำหนดโครงการภายใต้กลยุทธ์และผู้รับผิดชอบเพื่อความชัดเจนในการนำไปปฏิบัติ
(2) การนำกลยุทธ์ไ ปปฏิบัติ
2.1 กำหนดเป้าหมายการดำเนินงาน
2.2 วางแผนปฏิบัติการ (Action Plan)
2.3 ปรับปรุงพัฒนาองค์กร ด้านโครงสร้าง ระบบงาน บุคคล การบริหาร ฯลฯ
(3) การควบคุมและประเมินผลเชิงกลยุทธ์ (Strategic Control & Evaluation)
3.1 ติดตามตรวจสอบผลการดำเนินงาน ปัญหา อุปสรรค
3.2 ติดตามสถานการณ์และเงื่อนไขต่าง ๆ เช่น ข่าวสารข้อมูล ปัจจัยชีวั้ดต่าง ๆ การสนับสนุนผู้ปฏิบัติงาน ฯลฯ เพื่อทำให้รู้ทิศทางในการปรับตัว
แม้ว่าการวางแผนยุทธศาสตร์ที่ดีจะเป็นเงื่อนไขประการหนึ่งของความสำเร็จของการบริหารงาน สมัยใหม่ แต่การนำยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติให้บรรลุผลเป็นเรื่องสำคัญและยุ่งยากซับซ้อนมากกว่า ต้องอาศัยปัจจัยแห่งความสำเร็จหลายประการ เช่น การเริ่มต้นการกำหนดกลยุทธ์ที่ดี การบริหารการเปลี่ยนแปลง การออกแบบโครงสร้างองค์กรที่เหมาะสมเอือ้ ต่อการประสานงานและแลกเปลี่ยนความรู้ การมอบหมายงานที่ชัดเจนและเกิดการรับผิดชอบ การวางระบบกำกับดูแลควบคุม และให้ข้อมูลป้อนกลับเพื่อการปรับตัว การสร้างแรงจูงใจที่เหมาะสม การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรการมอบอำนาจการตัดสินใจ การมีภาวะผู้นำ และความมุ่งมั่นจริงจัง รวมถึงการกระตุ้นให้ทุกฝ่ ายในองค์กรเข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ การบริหารกลยุทธ์จึงถือเป็นปัญหาสำคัญในการพัฒนาองค์กรเนื่องจากพบว่า องค์กรมิได้นำแผนกลยุทธ์ที่ทำไว้แปลงแผนไปสู่การปฏิบัติเพื่อกระตุ้นให้ทุกส่วนงานเข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เมื่อวิเคราะห์ในรายละเอียดพบว่า องค์กรมิได้มีหน่วยงาน “เจ้าภาพ” ในการเชื่อมโยงและขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ในระดับต่าง ๆ ไปสู่การปฏิบัติให้บังเกิดผลดังนัน้ เพื่อให้แผนกลยุทธ์ในองค์กรประสบผลสำเร็จตามวิสัยทัศน์และมีผลสัมฤทธิ์ตามที่องค์กรปรารถนาองค์กรที่มีความมุ่งมั่นบริหารงาน ตามแนวทางการจัดการเชิงกลยุทธ์และมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ จึงควรพิจารณาจัดตั้งหน่วยงาน เป็น “เจ้าภาพ” รับผิดชอบในการเชื่อมโยงแผนกลยุทธ์ขององค์กรพัฒนาระบบวัดผลการดำเนินงาน ทบทวนพัฒนา สื่อสาร รายงานผล และบูรณาการกลยุทธ์เข้ากับหน่วยงานย่อยในองค์กร ประสานการดำเนินงาน และช่วยผลักดันให้การดำเนินงานของหน่วยงานย่อยเป็นไปอย่างสอดคล้องและสนับสนุนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ขององค์กร โดยหน่วยงานดังกล่าวจะต้องมีบทบาทและภารกิจ ดังนี้
1) จัดการระบบการวัดผลการดำเนินงาน เพื่อให้การแปลงแผนกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติประสบผลสำเร็จ และ
เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน เพื่อให้มั่นใจว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึน้ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ที่กำหนด และสามารถ
ถ่ายทอดเป็นแผนที่ยุทธศาสตร์ รวมทัง้ มีตัวชีวั้ด และกำหนดค่าเป้ าหมายได้อย่างถูกต้อง
2) พัฒนาระบบการวัดผลการดำเนินงาน และถ่ายทอดกลยุทธ์สู่หน่วยงานย่อย และบุคคลทุกระดับใน
องค์กรให้มีความเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน และสามารถนำไปสู่ผลสำเร็จตามเป้ าหมายขององค์กรที่วางไว้
3) ทบทวนแผนกลยุทธ์ ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การดำเนินงานให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมที่
เกิดขึ้น
4) พัฒนาแผนกลยุทธ์ วางแผนงานในภาพรวม จัดประชุมวางแผนประจำปี ตลอดจนให้ความรู้เรื่องการวางแผนและโครงการแก่หน่วยงาน
5) สื่อสารแผนกลยุทธ์และรายงานผล เพื่อสร้างความเข้าใจแก่บุคลากรในองค์กรให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน พร้อมทัง้ รายงานผลต่อผู้บริหารระดับสูง
6) จัดการข้อเสนอแนะและความคิดริเริ่มใหม่ จัดลำดับความสำคัญและติดตามประเมินผลอย่างเป็นระบบ
7) บูรณาการแผนกลยุทธ์เข้ากับฝ่ายต่าง ๆ ในองค์กร ประสานการดำเนินงานและช่วยผลักดันให้การดำเนินงานของหน่วยงานเป็นไปอย่างสอดคล้องและสนับสนุนต่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ขององค์กรประโยชน์ของการมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่บริหารกลยุทธ์ขององค์กรคือ องค์กรมีหน่วยงานเจ้าภาพในการเชื่อมโยงและขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ในระดับต่าง ๆ ไปสู่การปฏิบัติให้บังเกิดผล ถ่ายทอดเป้ าหมายและการวัดผลระดับองค์กรสู่หน่วยงานย่อยและสู่ระดับบุคคล ปรับปรุงการสื่อสารกลยุทธ์และแลกเปลี่ยนความรู้จากประสบการณ์ของกันและกัน ตลอดจนช่วยให้ทุกคนในองค์กรรู้จักบทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบ และสามารถจัดลำดับความสำคัญของงานที่จะดำเนินการได้ตามยุทธศาสตร์ที่องค์กรมุ่งเน้น เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
อ้างอิง : ชำนาญ สุนทรวัฒน์. การจัดการเชิงกลยุทธ์. เอกสารประกอบการสอน. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย, 2542.
ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. ยอดกลยุทธ์การบริหารสำหรับองค์กรยุคใหม่. ม่านสุทธาการพิมพ์ จำกัด.
กรุงเทพมหานคร : 2544.
ปันรส มาลากุล ณ อยุธยา. การแปลงแผนสู่การปฏิบัติ. เอกสารประกอบการบรรยาย. กองแผนงาน
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. กรุงเทพมหานคร : 2545.
วรรณพร สุทธปรีดา. เอกสารเพื่อการพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการ หมายเลข 010.
สำนักงาน ก.พ.ร. . กรุงเทพมหานคร : 2549

ไม่มีความคิดเห็น: