หน้าเว็บ

นางสาวนัฐภรณ์ อยู่ดี รหัส 5210125401068 การจัดการทั่วไปปี4



บทที่ 10 การแข่งขันในตลาดโลกและการปรับตัวเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
ตลาดในระบบเศรษฐกิจนับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากตลาดทำหน้าที่เชื่อมโยงระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภค ซึ่งจะช่วยทำให้สินค้าจากแหล่งผลิตไปสู่ผู้บริโภค และยังช่วยให้ผู้บริโภคมีสินค้าและบริการมาบำบัดความต้องการได้อย่างทั่วถึง ซึ่งในบทนี้ จะศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับตลาดในทางเศรษฐศาสตร์
ความหมายของตลาดในทางเศรษฐศาสตร์
ตลาด หมายถึง การซื้อขายสินค้าอย่างใดอย่างหนึ่งหรือภาวะการณ์ในการซื้อขายสินค้านั้นๆ ซึ่งก็หมายถึงว่า การซื้อขายไม่จำเป็นต้องมีตลาดเป็นตัวตน ผู้ซื้อและผู้ขายไม่จำเป็นต้องมาพบกัน เพียงแต่ใช้เครื่องมือสื่อสารตกลงกัน
หน้าที่ของการตลาด
การตลาด ซึ่งรวมถึงการรับเสี่ยงภัยและการขนส่ง ย่อมมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการผลิตในฐานะเป็นขั้นหนึ่งของกระบวนการผลิต ทั้งนี้ก็เพราะ การผลิต ในทางเศรษฐศาสตร์นั้นถือว่าจะมีผลผลิต ก็ต่อเมื่อสินค้าได้ถึงมือผู้บริโภคแล้ว เท่านั้น จึงพอสรุปหน้าที่ได้ ดังนี้
•  แสวงหาอุปสงค์และคาดการณ์ล่วงหน้าเกี่ยวกับอุปสงค์
•  เสริมสร้างให้เกิดอุปสงค์
•  สนองความต้องการอุปสงค์
ลักษณะตลาดในระบบเศรษฐกิจ
ถ้าแบ่งตลาดในทางเศรษฐกิจออกตามลักษณะของการแข่งขันอาจแบ่งได้ 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ ตลาดที่มีการแข่งขันสมบูรณ์ และตลาดที่มีการเข่งขันไม่สมบูรณ์
•  ตลาดที่มีการแข่งขันสมบูรณ์ ลักษณะเด่นของตลาดแบบนี้ คือ
1. ผู้ชื้อและผู้ขายมีจำนวนมาก
2. สินค้าที่ซื้อขายมีลักษณะคุณภาพมาตรฐานใกล้เคียงกันมาก
3. การติดต่อซื้อขายจะต้องกระทำได้โดยสะดวก
4. หน่วยธุรกิจสามารถเข้าหรือออกจากธุรกิจการค้าได้โดยง่าย
5. การเคลื่อนย้ายสินค้าและปัจจัยการผลิต จะต้องกระทำได้อย่างสมบูรณ์
•  ตลาดที่มีการแข่งขันไม่สมบูรณ์ การพิจารณาลักษณะตลาดแข่งขันที่ไม่สมบูรณ์เราอาจแยกเป็น 2 ลักษณะด้วยกัน คือ ด้านผู้ขายและด้านผู้ซื้อ ดังต่อไปนี้
ทางด้านผู้ขาย
1. ตลาดกึงแข่งขันกึงผูกขาด มีผู้ขายและสินค้าจำนวนมาก สินค้าที่ขายมีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก แต่ไม่สามารถทำให้แตกต่างกันได้
2. ตลาดที่มีผู้ขายน้อยราย โดยทั่วไปจะมีผู้ขายเพียง 3-5 รายในตลาดเท่านั้น ส่วนใหญ่มักเป็นพวกอุตสาหกรรมหนัก
3. ตลาดที่มีการผูกขาดด้านการขายที่แท้จริง คือตลาดที่มีผู้ขายเพียงรายเดียว ผู้ขายจะมีอิทธิพลเหนือราคา
ทางด้านผู้ซื้อ
1. ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด ตลาดประเภทนี้มีผู้ซื้อจำนวนมากแต่ผู้ขายพอใจขายให้แก่ผู้ซื้อบางคนเท่านั้น จึงมีทางควบคุมราคาได้บ้าง
2. ตลาดที่มีผู้ซื้อน้อยราคา คือ ตลาดที่มีผู้ซื้อน้อยมาก ถ้าผู้ซื้อคนใดเปลี่ยนแปลงปริมาณซ้อจะมีผลกระทบกระเทือนราคาตลาดและผู้ซื้อคนอื่น ๆ ด้วย
3. ตลาดผูกขาดที่แท้จริงทางด้านผู้ซื้อ เป็นตลาดที่มีผู้ซื้อเพียงคนเดียวผู้ซื้อจึงอยู่ในฐานะเกี่ยงราคาได้ และในที่สุดก็สามารถที่จะกำหนดราคาสินค้าเองได้
ที่มา : http://www.tpa.or.th

ไม่มีความคิดเห็น: