หน้าเว็บ

นางสาวธัญญลักษณ์ คำแพง รหัส 1383 (เรียนร่วม) การจัดการทั่วไป



ทฤษฎีการบริหารการเปลี่ยนแปลงในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่เด่นๆ และสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา ได้แก่
ทฤษฎีของเลวิน (Lewin, 1985 อ้างถึงใน เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์, 2539) ซึ่งอธิบายถึงกระบวนการเปลี่ยนแปลง ทฤษฎี E และทฤษฎี O ของ ลียุค (Leucke, 2003) ทฤษฎี E นั้นเป็นการเปลี่ยนแปลงเป้าหมายจากหน้ามือเป็นหลังมืออย่างรวดเร็วโดยเน้นที่ค่านิยมที่เปลี่ยนจากบนลงสู่ล่างมีการใช้ที่ปรึกษา จากภายนอกเป็นจำนวนมาก ส่วนทฤษฎี O เน้นการเปลี่ยนเป้าหมายเพื่อให้เป้าหมายมีผลการปฏิบัติงานที่สูงขึ้น เน้นวัฒนธรรมที่ทรงพลังและบุคลากรที่มีความสามารถและมีสมรรถนะสูง
 แนวคิดของทฤษฎี Hamlin (2001) ได้กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงส่วนใหญ่ครอบคลุม ในมิติที่เป็นการทำให้เกิดผลในส่วนต่างๆ ขององค์ประกอบในองค์การ อาจเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน ผสมผสานหรือเกิดขึ้นต่อเนื่องแต่ละประเภทก็ได้แล้วแต่บริบทของสถานศึกษาแต่ละแห่ง อย่างไรก็ตาม ทฤษฎีและแนวคิดทางการบริหารเป็นที่ทราบกันอยู่ว่า “ไม่มีวิธีการบริหารแบบใด แบบหนึ่งที่เป็นวิธีที่ดีที่สุด” (No one best way) ในทางปฏิบัติการเลือกใช้รูปแบบที่ดีที่สุด ที่เหมาะสมที่สุดกับสถานการณ์ที่เกิดในขณะนั้น และมักมีการคิดค้นพัฒนารูปแบบการบริหารใหม่ๆ ขึ้นมาใช้อยู่เสมอๆ ดังนั้น รูปแบบการบริหารที่ดีจะต้องแสดงถึงความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างระหว่างตัวแปร นำไปสู่การทำนายผลที่จะตามมา โดยสามารถตรวจสอบได้ด้วยข้อมูลเชิงประจักษ์ อธิบายถึงโครงสร้างหรือกลไกความสัมพันธ์เชิงเหตุผลของเรื่องที่กำลังทำอย่างชัดเจน นำไปสู่การสร้างแนวความคิดใหม่หรือความสัมพันธ์ใหม่ หรือขยายองค์ความรู้ สอดคล้องกับทฤษฎีของเรื่องที่จะใช้รูปแบบ
การบริหารการเปลี่ยนแปลงรูปแบบบูรณาการ 4 มุมมอง (Integrated four perspective Model)
มีองค์ประกอบย่อย 4 องค์ประกอบคือ
   1) การเปลี่ยนแปลงสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้แก่ โครงสร้าง เทคโนโลยี คนและวัฒนธรรม
      2) รูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลง 4 มุมมอง ได้แก่ คือ มุมมองจากบนลงล่าง (Top -Down) มุมมองจากล่างขึ้นบน (Bottom –Up) มุมมองจากภายนอกสู่ภายใน (Outside–In) และมุมมองภายในสู่ภายนอก (Inside–Out)
      3) กระบวนการร่วมคิดร่วมทำได้แก่ การกำหนดเป้าหมายและวิเคราะห์ปัญหาความต้องการ การกำหนดนโยบาย การวางแผน การกำหนดงบประมาณ การทำแผนไปปฏิบัติและการประเมินผล
      4) ระบบวงจรคุณภาพ (PDCA) โดยในแต่ละองค์ประกอบมีความสอดคล้องสัมพันธ์กันและขึ้นอยู่กับรูปแบบการขับเคลื่อน

ที่มา : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา  http://www.thaiedresearch.org/thaied/

ไม่มีความคิดเห็น: