หน้าเว็บ

นางสาวสายพิณ สิงห์ใจ 5130125401248

บทที่ 11 การบริหารจัดการธุรกิจสีเขียวและการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิต
เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) กลายเป็นกระแสความตื่นตัวที่หลายองค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชนขานรับและนำไปปฏิบัติ ได้เริ่มจัดกิจกรรมหลากหลายรูปแบบเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานภายใต้ชื่อเศรษฐกิจสีเขียว เช่น อุตสาหกรรมสีเขียว ธุรกิจสีเขียว การลงทุนสีเขียว การพัฒนาสู่เศรษฐกิจสีเขียว ฯลฯ เป็นกระแสที่เกิดขึ้นทั้งในประเทศไทยและอีกหลายประเทศทั่วโลก ปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดความตื่นตัวอย่างกว้างขวางนี้ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการผลักดันขององค์การสหประชาชาติซึ่งได้กำหนดเรื่องเศรษฐกิจสีเขียวภายใต้ในบริบทการพัฒนาที่ยั่งยืนและการขจัดความยากจน" เป็นวาระหลักเรื่องหนึ่งในการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน (การประชุม Rio+20) ที่จะจัดขึ้นในเดือนมิถุนายน ค.ศ.2012 ในช่วงปีที่ผ่านมาจึงมีการประชุมเกี่ยวกับเรื่องเศรษฐกิจสีเขียวจำนวนมากทั้งในระดับประเทศ ระดับกลุ่มภูมิภาค และระดับระหว่างประเทศ โดยจะมีการประชุมเป็นระยะต่อเนื่องอีกไปจนถึงกลางปีหน้า
แนวคิดเรื่องเศรษฐกิจสีเขียว ถูกนำเสนอจากโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) เพื่อปรับแก้ไขให้ระบบเศรษฐกิจ (เสรีนิยมใหม่) ที่เป็นอยู่ ให้เป็นไปในทิศทางที่มุ่งสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนมากขึ้น อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจสีเขียวยังเป็นแนวคิดที่มีข้อถกเถียงโต้แย้งอีกมากระหว่างนักเศรษฐศาสตร์และนักสิ่งแวดล้อม ยังไม่มีข้อสรุปเกี่ยวกับความหมายและคุณลักษณะซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากล โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติได้นิยามความหมายอย่างกว้างของเศรษฐกิจสีเขียวไว้ว่าหมายถึงระบบเศรษฐกิจที่นำไปสู่การยกระดับคุณภาพความเป็นอยู่ของมนุษย์ เพิ่มความเป็นธรรมทางสังคม และในขณะเดียวกันก็สามารถลดความเสี่ยงทางด้านสิ่งแวดล้อม และปัญหาความขาดแคลนของทรัพยากรลงได้ในด้านบวก กระแสเศรษฐกิจสีเขียวที่เกิดขึ้นนับเป็นโอกาสอันดีสำหรับการที่ประเทศไทยจะได้ทบทวนทิศทางและแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศที่เป็นอยู่ และปรับไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็เป็นโอกาสสำหรับการผลักดันแก้ไขระบบเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ไม่เป็นเพียงเป้าหมายการค้าเสรีดังที่เป็นอยู่ อย่างไรก็ดี ในการนำแนวคิดเศรษฐกิจสีเขียวไปสู่การปฏิบัติ ประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศได้แสดงความเห็นในเชิงข้อห่วงกังวลและข้อควรระวังต่อการใช้แนวคิดเศรษฐกิจสีเขียวในทางที่ผิด (Misuse) หรือใช้ผิดบริบท โดยมีประเด็นหลายประการที่น่าสนใจ ตัวอย่างเช่น
1. การใช้เศรษฐกิจสีเขียวในมิติเดียว และแยกออกจากกรอบ การพัฒนาที่ยั่งยืนมุ่งเน้นเฉพาะมิติด้านสิ่งแวดล้อมเท่านั้น โดยขาดการพิจารณาผลกระทบด้านลบต่อประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาความไม่สมดุลระหว่างสามเสาหลักที่เป็นองค์ประกอบของการพัฒนาที่ยั่งยืน คือ ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคม
2. การใช้เศรษฐกิจสีเขียวในลักษณะรูปแบบเดียวกันกับทุกประเทศ (One size fits all) โดยขาดการพิจารณาถึงสถานะและระดับการพัฒนาของแต่ละประเทศ ซึ่งจะนำไปสู่ความล้มเหลวด้านสิ่งแวดล้อม ด้านการพัฒนา หรือความล้มเหลวทั้งสองด้าน
3. การใช้ประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมและนัยสำคัญเกี่ยวโยงจากแนวคิดเศรษฐกิจสีเขียวเป็นเครื่องมือเพื่อเป้าหมายกีดกันทางการค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่พัฒนาแล้วอาจนำไปใช้เป็นหลักการหรือแนวคิดเพื่อสร้างความชอบธรรมในการกำหนดมาตรการฝ่ายเดียวด้านการค้าเพื่อกีดกันสินค้าจากประเทศกำลังพัฒนา
4. การใช้ประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นเครื่องมือเรียกร้องให้ประเทศกำลังพัฒนาเปิดเสรีการค้าสินค้าด้านสิ่งแวดล้อม และการเปิดเสรีบริการด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยอ้างว่าจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาและปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อมในประเทศกำลังพัฒนาให้ดีขึ้น
5. การใช้เศรษฐกิจสีเขียวเป็นเหตุผลสนับสนุนการอุดหนุน (Subsidy) ด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะทำให้ประเทศกำลังพัฒนาเสียเปรียบด้านการแข่งข้นต่อประเทศที่พัฒนาแล้วเนื่องจากมีเงินทุนอุดหนุนน้อยกว่า
6. ปัญหาจากการยกระดับมาตรฐานสิ่งแวดล้อมสำหรับสินค้าให้มีความเข้มงวดหรือมีมาตรฐานสูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าของประเทศกำลังพัฒนาที่ไม่สามารถผลิตสินค้าได้ตามมาตรฐานใหม่
7. การใช้เศรษฐกิจสีเขียวเป็นเงื่อนไขใหม่ต่อประเทศกำลังพัฒนาสำหรับการให้ความช่วยเหลือ การกู้เงิน หรือการปรับโครงสร้าง/ปรับลดหนี้ ซึ่งจะส่งผลกดดันต่อประเทศกำลังพัฒนาให้ดำเนินนโยบายที่มุ่งเน้นมิติด้านสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก มากกว่าการใช้นโยบายการพัฒนาที่ยั่งยืนซึ่งครอบคลุมด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และความเป็นธรรม
กระแสเศรษฐกิจสีเขียวจึงเป็นทั้งโอกาสที่จะช่วยแก้ไขปัญหาความไม่เป็นธรรมของระบบการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศที่เกิดขึ้น ช่วยยกระดับการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมหรือความยากจนในประเทศ ซึ่งการที่จะได้ประโยชน์ดังกล่าวจะต้องผลักดันออกแรงในเวทีเจรจาและต้องทำการบ้านภายในประเทศอีกมาก ในขณะเดียวกัน กระแสเศรษฐกิจสีเขียวก็อาจสร้างผลกระทบและความเสี่ยงในหลายด้าน ซึ่งก็เป็นการบ้านในอีกด้านหนึ่งของประเทศไทยสำหรับการเจรจาในเวทีระหว่างประเทศที่กำลังเกิดขึ้นเพื่อกำหนดกติกาและกลไกป้องกันมิให้เกิดปัญหาการใช้เศรษฐกิจสีเขียวเป็นเครื่องมือในทางที่ผิดและเบี่ยงเบน
ที่มาของข้อมูล : โครงการพัฒนาความรู้และยุทธศาสตร์ความตกลงพหุภาคีด้านสิ่งแวดล้อม (MEAs Think Tank)

นางสาวสายพิณ สิงห์ใจ 5130125401248

บทที่ 10การแข่งขันในตลาดโลกและการปรับตัวเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
การแข่งขันทางเทคโนโลยีของบริษัทจะเป็นตัวนำของการได้เปรียบในการแข่งขันแต่จะไดเปรียบมากหรือน้อยย่อมขึ้นอยู่กับการจะทำให้ราคาผลผลิตต่ำลงหรือไม่ และจะป้องกันการลอกเลียนแบบสินค้าได้อย่างไร การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีเป็นกิจกรรมที่มีคุณค่า เพราะเทคโนโลยีทำให้โครงสร้างของอุตสาหกรรมทั้งหมดดีขึ้น ในขณะเดียวกัน จอร์ด สทอค และโฮมาส เอ็ม เฮ้า เขียนหนังสือการแข่งขันกันด้วยเวลาในปี 1990 นั้น จะต้องมีพื้นฐาน 3 ประการคือ
1. ต้องสร้างคุณค่าให้การส่งเสริม ให้มีความยืดหยุ่น 2-3 เท่า แล้วสร้างความเร็วให้เร็วกว่าคู่แข่ง
2. ให้ความสนใจต่อการตอบสนองลูกค้าอย่างไร โดยให้ความสนใจต่อลูกค้าอย่างพิเศษ
3. มียุทธศาสตร์แปลกๆ ที่ทำให้ฝ่ายตรงกันข้ามแปลกใจเพื่อการได้เปรียบในการใช้เวลา
       การใช้เวลาเป็นเพียงการใช้ผลผลิตและทำให้การส่งสินค้าได้เร็ว ค่าใช้จ่ายย่อมลดลงลดเวลาลงได้มากกว่าครึ่งหนึ่ง ลดคนงานลงได้ ลดค่าใช้จ่ายลงได้ ผลผลิตย่อมเพิ่มขึ้น 2 เท่า เวลาเป็นเครื่องมือที่มีค่ามากกว่าราคา สิ่งที่เวลาได้เปรียบมากที่สุดคือได้มีเวลาวิเคราะห์จนสามารถนำสิ่งที่วิเคราะห์นั้นมาอยู่ในระดับกำหนดเป็นแผนรองรับ เช่น กำหนดแผนภูมิ, ชาร์ท และเป็นกระบวนการของเน็ทเวิร์ค ที่สามารถตามดูกิจกรรมของเวลาว่าช้า เร็ว ด่วนตรงไหน
อ้างอิง : ศ.ดร. บุญทัน ดอกไธสง. การแข่งขันสู่ความเป็นเลิศ. กรุงเทพฯ : เอกสารและตำรา คณะรัฐประศาสนศาสตร์, 2545