การประเมินองค์การและสภาพแวดล้อม (Environment Scanning)
ในการประเมินสภาพแวดล้อมขององค์การนั้นจะประกอบไปด้วยการประเมินสภาพแวดล้อมภายนอก และการประเมินสภาพแวดล้อมภายใน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ทราบถึง จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค หรือโดยทั่วไปจะเรียกว่าการวิเคราะห์ตามตัวแบบสว็อท (SWOT Analysis) ได้แก่
การวิเคราะห์จุดแข็ง (Strength –S)
การวิเคราะห์จุดอ่อน (Weakness –W)
การวิเคราะห์โอกาส (Opportunity –O)
การวิเคราะห์ภาวะคุกคาม (Threat- T)
ที่มา อารีย์ แผ้วสกุลพันธ์.(2549)การจัดการเชิงกลยุทธ์.กรุงเทพฯ
นายธนกฤตอาชีวะประดิษฐ รหัส 5210125401053
เอกการจัดการทั่วไป ปี4
ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์.
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์ ซึ่งกำหนดโดยนักจิตวิทยา ชื่อ มาสโลว์ (Abraham Maslow) เป็นทฤษฎีการจูงใจที่มีการกล่าวขวัญอย่างแพร่หลาย มาสโลว์มองว่าความต้องการของมนุษย์มีลักษณะเป็นลำดับขั้น จากระดับต่ำสุดไปยังระดับสูงสุด เมื่อความต้องการในระดับหนึ่งได้รับการตอบสนองแล้ว มนุษย์ก็จะมีความต้องการอื่นในระดับที่สูงขึ้นต่อไป
1. ความต้องการทางร่างกาย (physiological needs) เป็นความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์เพื่อความอยู่รอด เช่น อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค อากาศ น้ำดื่ม การพักผ่อน เป็นต้น
2. ความต้องการความปลอดภัยและมั่นคง (security or safety needs) เมื่อมนุษย์สามารถตอบสนองความต้องการทางร่างกายได้แล้ว มนุษย์ก็จะเพิ่มความต้องการในระดับที่สูงขึ้นต่อไป เช่น ความต้องการความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ความต้องการความมั่นคงในชีวิตและหน้าที่การงาน
3. ความต้องการความผูกพันหรือการยอมรับ (ความต้องการทางสังคม) (affiliation or acceptance needs) เป็นความต้องการเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ซึ่งเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งของมนุษย์ เช่น ความต้องการให้และได้รับซึ่งความรัก ความต้องการเป็นส่วนหนึ่งของหมู่คณะ ความต้องการได้รับการยอมรับ การต้องการได้รับความชื่นชมจากผู้อื่น เป็นต้น
4. ความต้องการการยกย่อง (esteem needs) หรือ ความภาคภูมิใจในตนเอง เป็นความต้องการการได้รับการยกย่อง นับถือ และสถานะจากสังคม เช่น ความต้องการได้รับความเคารพนับถือ ความต้องการมีความรู้ความสามารถ เป็นต้น
5. ความต้องการความสำเร็จในชีวิต (self-actualization) เป็นความต้องการสูงสุดของแต่ละบุคคล เช่น ความต้องการที่จะทำทุกสิ่งทุกอย่างได้สำเร็จ ความต้องการทำทุกอย่างเพื่อตอบสนองความต้องการของตนเอง เป็นต้น
อ้างอิง : ทฤษฎีองค์การ Organization Theory ฉบับมาตรฐาน
ผู้เขียน ศิริวรรณ เสรีรัตน์, รศ., สมศักดิ์ วานิชยาภรณ์, สมชาย หิรัญกิตติ, รศ.
สำนักพิมพ์ : Diamond In Business World
เดือนปีที่พิมพ์ : 2545
ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์.
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์ ซึ่งกำหนดโดยนักจิตวิทยา ชื่อ มาสโลว์ (Abraham Maslow) เป็นทฤษฎีการจูงใจที่มีการกล่าวขวัญอย่างแพร่หลาย มาสโลว์มองว่าความต้องการของมนุษย์มีลักษณะเป็นลำดับขั้น จากระดับต่ำสุดไปยังระดับสูงสุด เมื่อความต้องการในระดับหนึ่งได้รับการตอบสนองแล้ว มนุษย์ก็จะมีความต้องการอื่นในระดับที่สูงขึ้นต่อไป
1. ความต้องการทางร่างกาย (physiological needs) เป็นความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์เพื่อความอยู่รอด เช่น อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค อากาศ น้ำดื่ม การพักผ่อน เป็นต้น
2. ความต้องการความปลอดภัยและมั่นคง (security or safety needs) เมื่อมนุษย์สามารถตอบสนองความต้องการทางร่างกายได้แล้ว มนุษย์ก็จะเพิ่มความต้องการในระดับที่สูงขึ้นต่อไป เช่น ความต้องการความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ความต้องการความมั่นคงในชีวิตและหน้าที่การงาน
3. ความต้องการความผูกพันหรือการยอมรับ (ความต้องการทางสังคม) (affiliation or acceptance needs) เป็นความต้องการเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ซึ่งเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งของมนุษย์ เช่น ความต้องการให้และได้รับซึ่งความรัก ความต้องการเป็นส่วนหนึ่งของหมู่คณะ ความต้องการได้รับการยอมรับ การต้องการได้รับความชื่นชมจากผู้อื่น เป็นต้น
4. ความต้องการการยกย่อง (esteem needs) หรือ ความภาคภูมิใจในตนเอง เป็นความต้องการการได้รับการยกย่อง นับถือ และสถานะจากสังคม เช่น ความต้องการได้รับความเคารพนับถือ ความต้องการมีความรู้ความสามารถ เป็นต้น
5. ความต้องการความสำเร็จในชีวิต (self-actualization) เป็นความต้องการสูงสุดของแต่ละบุคคล เช่น ความต้องการที่จะทำทุกสิ่งทุกอย่างได้สำเร็จ ความต้องการทำทุกอย่างเพื่อตอบสนองความต้องการของตนเอง เป็นต้น
อ้างอิง : ทฤษฎีองค์การ Organization Theory ฉบับมาตรฐาน
ผู้เขียน ศิริวรรณ เสรีรัตน์, รศ., สมศักดิ์ วานิชยาภรณ์, สมชาย หิรัญกิตติ, รศ.
สำนักพิมพ์ : Diamond In Business World
เดือนปีที่พิมพ์ : 2545
นางสาวสุกัญญา ปราณีดุดสี การจัดการทั่วไป ปี4 รหัส 5210125401006
ทฤษฎีการบริหารการจัดการเชิงระบบ
ทฤษฎีการบริหารการจัดการเชิงระบบ มีรากฐานมาจากทฤษฏีระบบโดยทั่วไปของ Ludwig von Bertalanffy ซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์ด้านฟิสิกส์และชีววิทยา รูปแบบของระบบvon Bertalanffy มี 2 แบบคือ
1.ระบบปิด ซึ่งไม่ได้รับอิทธิพลและไม่มีปฏิกิริยาโต้ตอบกับสิ่งแวดล้อมที่อยู่รายรอบระบบนั้นๆ โดยส่วนใหญ่แล้วระบบปิดเป็นเครื่องจักรกลที่มีการเคลื่อนไหวหรือกิจกรรมที่กำหนดไว้ตายตัวก่อนล่วงหน้าแล้ว โดยไม่ต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม
2.ระบบเปิด จะมีปฎิกิริยาโต้ตอบกับสิ่งแวดล้อมของระบบอย่างต่อเนื่อง พืชเป็นตัวอย่างหนึ่งของระบบเปิด การมีปฏิกิริยาโต้ตอบกับสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องจะมีผลกระทบต่อสภาพความเป็นอยู่และอนาคตของพืชนั้นๆ สิ่งแวดล้อมจะเป็นสิ่งบ่งชี้ว่าพืชนั้นจะมีชีวิตอยู่ได้หรือไม่
ระบบและองค์รวม แนวคิดขององค์รวมของระบบมีความสำคัญมากในการวิเคราะห์ระบบโดยทั่วไป
L.Thomas Hopkins ได้แนะแนวทางในการวิเคราะห์เชิงระบบ 6 ประการ ดังนี้
1.องค์รวมของระบบควรเป็นหลักสำคัญของการวิเคราะห์
2.การบูรณาการเป็นปัจจัยหลักในการวิเคราะห์องค์รวมของระบบ
3.การปรับเปลี่ยนแต่ละองค์ประกอบควรพิจารณาเปรียบเทียบถึงผลกระทบต่อองค์ประกอบอื่นๆ
4.แต่ละองค์ประกอบมีบทบาทที่ต้องปฏิบัติเพื่อองค์รวมสามารถบรรลุเป้าหมายของตนได้
5.ตำแหน่งขององค์ประกอบย่อยภาขยในองค์รวมจะบ่งบอกถึงคุณลักษณะและภาระหน้าที่ของ องค์ประกอบย่อยนั้นๆ
6.การวิเคราะห์ทั้งหมดจะเริ่มต้นที่องค์รวม องค์ประกอบย่อยอื่นๆ และความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่างๆ ควรพัฒนาให้เหมาะสมกับเป้าหมายขององค์รวมให้มากที่สุด
ทฤษฏีการบริหารจัดการเชิงระบบมีรากฐานบนทฤษฏีระบบ เราจึงควรให้ความสำคัญของการวิเคราะห์สถานการณ์ด้านการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ จากนั้นเราจึงจะมาศึกษาถึงองค์ประกอบต่างๆ ของระบบและข้อมูลที่สามารถประยุกต์ใช้กับการวิเคราะห็ระบบได้
อ้างอิง: ชื่อหนังสือ การจัดการสมัยใหม่ (Modern Management:9ed)
ผู้แต่ง Samuel C.Certo
สำนักพิมพ์ บริษัท เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า จำกัด
ปีที่พิมพ์ 2552
ทฤษฎีการบริหารการจัดการเชิงระบบ มีรากฐานมาจากทฤษฏีระบบโดยทั่วไปของ Ludwig von Bertalanffy ซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์ด้านฟิสิกส์และชีววิทยา รูปแบบของระบบvon Bertalanffy มี 2 แบบคือ
1.ระบบปิด ซึ่งไม่ได้รับอิทธิพลและไม่มีปฏิกิริยาโต้ตอบกับสิ่งแวดล้อมที่อยู่รายรอบระบบนั้นๆ โดยส่วนใหญ่แล้วระบบปิดเป็นเครื่องจักรกลที่มีการเคลื่อนไหวหรือกิจกรรมที่กำหนดไว้ตายตัวก่อนล่วงหน้าแล้ว โดยไม่ต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม
2.ระบบเปิด จะมีปฎิกิริยาโต้ตอบกับสิ่งแวดล้อมของระบบอย่างต่อเนื่อง พืชเป็นตัวอย่างหนึ่งของระบบเปิด การมีปฏิกิริยาโต้ตอบกับสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องจะมีผลกระทบต่อสภาพความเป็นอยู่และอนาคตของพืชนั้นๆ สิ่งแวดล้อมจะเป็นสิ่งบ่งชี้ว่าพืชนั้นจะมีชีวิตอยู่ได้หรือไม่
ระบบและองค์รวม แนวคิดขององค์รวมของระบบมีความสำคัญมากในการวิเคราะห์ระบบโดยทั่วไป
L.Thomas Hopkins ได้แนะแนวทางในการวิเคราะห์เชิงระบบ 6 ประการ ดังนี้
1.องค์รวมของระบบควรเป็นหลักสำคัญของการวิเคราะห์
2.การบูรณาการเป็นปัจจัยหลักในการวิเคราะห์องค์รวมของระบบ
3.การปรับเปลี่ยนแต่ละองค์ประกอบควรพิจารณาเปรียบเทียบถึงผลกระทบต่อองค์ประกอบอื่นๆ
4.แต่ละองค์ประกอบมีบทบาทที่ต้องปฏิบัติเพื่อองค์รวมสามารถบรรลุเป้าหมายของตนได้
5.ตำแหน่งขององค์ประกอบย่อยภาขยในองค์รวมจะบ่งบอกถึงคุณลักษณะและภาระหน้าที่ของ องค์ประกอบย่อยนั้นๆ
6.การวิเคราะห์ทั้งหมดจะเริ่มต้นที่องค์รวม องค์ประกอบย่อยอื่นๆ และความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่างๆ ควรพัฒนาให้เหมาะสมกับเป้าหมายขององค์รวมให้มากที่สุด
ทฤษฏีการบริหารจัดการเชิงระบบมีรากฐานบนทฤษฏีระบบ เราจึงควรให้ความสำคัญของการวิเคราะห์สถานการณ์ด้านการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ จากนั้นเราจึงจะมาศึกษาถึงองค์ประกอบต่างๆ ของระบบและข้อมูลที่สามารถประยุกต์ใช้กับการวิเคราะห็ระบบได้
อ้างอิง: ชื่อหนังสือ การจัดการสมัยใหม่ (Modern Management:9ed)
ผู้แต่ง Samuel C.Certo
สำนักพิมพ์ บริษัท เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า จำกัด
ปีที่พิมพ์ 2552
นางสาว ชนรตา เหล็กกล้า รหัส205 การจัดการทั่วไป
ประโยชน์และข้อ จำกัด ของการวิเคราะห์ SWOT
ประโยชน์ของการวิเคราะห์ SWOT
ข้อได้เปรียบหลักของการดำเนินการวิเคราะห์ SWOT คือว่ามันมีค่าใช้จ่ายน้อยหรือไม่มีเลย - ใครก็ตามที่เข้าใจธุรกิจของคุณสามารถดำเนินการวิเคราะห์ นอกจากนี้คุณยังสามารถใช้การวิเคราะห์ SWOT เมื่อคุณไม่ได้มีเวลามากที่จะอยู่ในสถานการณ์ที่ซับซ้อน ซึ่งหมายความว่าคุณสามารถใช้ขั้นตอนต่อการปรับปรุงธุรกิจของคุณไม่มีค่าใช้จ่ายของที่ปรึกษาภายนอกหรือ ที่ปรึกษาทางธุรกิจ .
ประโยชน์จากการวิเคราะห์ SWOT ก็คือว่ามันมุ่งเน้นที่ปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่มีผลต่อธุรกิจของคุณ การใช้จุดแข็งจุดอ่อนโอกาสคุณจะสามารถ:
เข้าใจธุรกิจของคุณดีขึ้น
จุดอ่อนอยู่
ยับยั้งภัยคุกคาม
ประโยชน์จากโอกาส
สามารถใช้ประโยชน์จากจุดแข็งของคุณ
การพัฒนาเป้าหมายทางธุรกิจและกลยุทธ์เพื่อให้บรรลุพวกเขา
ข้อ จำกัด ของการวิเคราะห์ SWOT
เมื่อคุณมีการดำเนินการวิเคราะห์ SWOT คุณควรเก็บไว้ในใจว่ามันเป็นเพียงหนึ่งในขั้นตอนของกระบวนการการวางแผนธุรกิจ สำหรับปัญหาที่ซับซ้อนคุณมักจะต้องดำเนินการเพิ่มเติมการวิจัยในเชิงลึกและการวิเคราะห์เพื่อการตัดสินใจ โปรดทราบว่าการวิเคราะห์ SWOT เพียงครอบคลุมประเด็นที่สามารถมั่นเหมาะได้รับการพิจารณาจุดแข็งจุดอ่อนโอกาสหรือภัยคุกคาม ด้วยเหตุนี้มันยากที่จะรับมือกับปัจจัยความไม่แน่นอนหรือสองด้านเช่นปัจจัย ที่อาจจะเป็นความแข็งแรงหรืออ่อนแอหรือทั้งสองที่มีการวิเคราะห์ SWOT (เช่นคุณอาจมีสถานที่ที่โดดเด่น แต่สัญญาเช่าอาจจะแพง) .
การวิเคราะห์ SWOT อาจถูก จำกัด เพราะ:
ไม่ได้จัดลำดับความสำคัญปัญหา
ไม่ได้ให้การแก้ปัญหาหรือเสนอทางเลือกในการตัดสินใจ
สามารถสร้างความคิดที่มากเกินไป แต่ไม่ช่วยให้คุณเลือกหนึ่งที่ดีที่สุด
สามารถผลิตข้อมูลจำนวนมาก แต่ไม่ได้ทั้งหมดของมันจะเป็นประโยชน์
แหล่งที่มาwww.business.qld.gov.au/.../swot.../benefits-limitations-swot-analysis
ส.อ.หญิง ณัฐธยาน์ ธนโชติวราพงศ์ รหัส 5130125401204
SWOT analysis คืออะไร มีประโยชน์อย่างไรต่อการจัดการเชิงกลยุทธ์
เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกเพื่อนำไปสู่การสร้างกลยุทธ์และสามารถเสนอแนะทางเลือกกลยุทธ์เพื่อเสริมสร้างจุดแข็งเพิ่มเติมการวิเคราะห์ปัจจัยแวดล้อมทั้งที่อยู่ภายนอกและภายในองค์กร เรียกรวม ๆ ว่า SWOT Analysis
โดยที่ S = Strength หรือ ความแข็งแรงขององค์กร
W = Weakness คือ ความไม่แข็งแรงขององค์กร
O = Opportunities คือ โอกาสที่เปิดกว้าง
T = Threats คือ ภัยคุกคามจากภายนอก
Strength & Weakness หมายถึง สิ่งที่มีอยู่ภายในองค์กร ในเทอมของ Skills , Resources Competencies
Opportunities & Threats หมายถึง การเปลี่ยนแปลงของปัจจัยแวดล้อมี่อยู่ภายนอกองค์กร ยังผลให้องค์กรมีโอกาสที่จะได้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงนั้น หรือมีภัยคุกคามต่อการบรรลุภารกิจนั้น
เครื่องมือที่ใช้วิเคราะห์สภาพแวดล้อมรวม คือ TOWS Matrix
SWOT หรือ TOWS Matrix S จุดแข็ง W จุดอ่อน
O โอกาส SO ใช้ประโยชน์จากจุดแข็งและโอกาส WO เอาชนะ(ลบล้าง)จุดอ่อน โดยอาศัยโอกาส
T ภัยคุกคาม (ข้อจำกัด) ST ใช้ประโยชน์จากจุดแข็งเพื่อหลีกเลี่ยงข้อจำกัด WT ลดจุดอ่อนและหลีกเลี่ยงข้อจำกัด
ประโยชน์
1. ใช้ประเมินสภาวะแวดล้อมและสถานภาพขององค์กร โดยเน้นศักยภาพและความพร้อมที่
องค์กรมีอยู่และพยายามหลีกเลี่ยงภัยคุกคาม หรือความเสี่ยงจากสภาพแวดล้อมภายนอก รวมทั้งแก้ไขจุดอ่อนขององค์กรด้วย เนื่องจากปัจจัยเหล่านี้มีโอกาสที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ได้เพิ่มมากขึ้น ดังนั้น SWOT จึงเป็นการนำเสนอกลยุทธ์จากการทำงานที่ทุกหน่วยงานควรจะมีเป็นประจำ
2. นำไปใช้ปรับปรุงแนวคิดและแนวปฏิบัติของการจัดทำแผนงานหรือโครงการของหน่วยงานให้
มีโอกาสสร้างความสำเร็จมากขึ้น
3. ทำให้ทราบถึงกลยุทธ์ในการปรับปรุงการทำงาน ความก้าวหน้าและขีดจำกัด ด้านบุคลากร
งบประมาณ และระบบงานเป็นการป้องกันการแทรกแซงการทำงานจากปัจจัยภายนอกได้มากขึ้น
แหล่งที่มา http://mbaru.blogspot.com/2009/11/3-swot-analysis.html
เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกเพื่อนำไปสู่การสร้างกลยุทธ์และสามารถเสนอแนะทางเลือกกลยุทธ์เพื่อเสริมสร้างจุดแข็งเพิ่มเติมการวิเคราะห์ปัจจัยแวดล้อมทั้งที่อยู่ภายนอกและภายในองค์กร เรียกรวม ๆ ว่า SWOT Analysis
โดยที่ S = Strength หรือ ความแข็งแรงขององค์กร
W = Weakness คือ ความไม่แข็งแรงขององค์กร
O = Opportunities คือ โอกาสที่เปิดกว้าง
T = Threats คือ ภัยคุกคามจากภายนอก
Strength & Weakness หมายถึง สิ่งที่มีอยู่ภายในองค์กร ในเทอมของ Skills , Resources Competencies
Opportunities & Threats หมายถึง การเปลี่ยนแปลงของปัจจัยแวดล้อมี่อยู่ภายนอกองค์กร ยังผลให้องค์กรมีโอกาสที่จะได้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงนั้น หรือมีภัยคุกคามต่อการบรรลุภารกิจนั้น
เครื่องมือที่ใช้วิเคราะห์สภาพแวดล้อมรวม คือ TOWS Matrix
SWOT หรือ TOWS Matrix S จุดแข็ง W จุดอ่อน
O โอกาส SO ใช้ประโยชน์จากจุดแข็งและโอกาส WO เอาชนะ(ลบล้าง)จุดอ่อน โดยอาศัยโอกาส
T ภัยคุกคาม (ข้อจำกัด) ST ใช้ประโยชน์จากจุดแข็งเพื่อหลีกเลี่ยงข้อจำกัด WT ลดจุดอ่อนและหลีกเลี่ยงข้อจำกัด
ประโยชน์
1. ใช้ประเมินสภาวะแวดล้อมและสถานภาพขององค์กร โดยเน้นศักยภาพและความพร้อมที่
องค์กรมีอยู่และพยายามหลีกเลี่ยงภัยคุกคาม หรือความเสี่ยงจากสภาพแวดล้อมภายนอก รวมทั้งแก้ไขจุดอ่อนขององค์กรด้วย เนื่องจากปัจจัยเหล่านี้มีโอกาสที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ได้เพิ่มมากขึ้น ดังนั้น SWOT จึงเป็นการนำเสนอกลยุทธ์จากการทำงานที่ทุกหน่วยงานควรจะมีเป็นประจำ
2. นำไปใช้ปรับปรุงแนวคิดและแนวปฏิบัติของการจัดทำแผนงานหรือโครงการของหน่วยงานให้
มีโอกาสสร้างความสำเร็จมากขึ้น
3. ทำให้ทราบถึงกลยุทธ์ในการปรับปรุงการทำงาน ความก้าวหน้าและขีดจำกัด ด้านบุคลากร
งบประมาณ และระบบงานเป็นการป้องกันการแทรกแซงการทำงานจากปัจจัยภายนอกได้มากขึ้น
แหล่งที่มา http://mbaru.blogspot.com/2009/11/3-swot-analysis.html
นายกระวี หิรัญวงศ์ รหัส253 การจัดการทั่วไป กศ.พบ.รุ่น19
การอบรมSWOT Analysis เพื่อการพัฒนาองค์กร
หากรู้เขาและรู้เรา ให้รบร้อยครั้งก็ชนะร้อยครั้ง” เป็นหนึ่งประเด็นกลยุทธ์ด้านการศึกของจีนในสมัยโบราณ กล่าวไว้เพื่อแสดงถึงการศึกษาวิเคราะห์เพื่อให้รู้จุดอ่อน จุดแข็งของตนเองและคู่แข่งขัน ที่จะนำมาซึ่งการกำหนดกลยุทธ์หรือแนวทางการสร้างความสำเร็จในการบริหารดำเนินงาน ใดๆได้ตามประสงค์
การศึกษาวิเคราะห์องค์กร หน่วยงานหรือของตัวบุคคล เพื่อทบทวนจุดอ่อน (Weakness) จุดแข็ง (Strengths) โอกาส (Opportunities) อุปสรรค (Threats) ในการทำงานหรือเรียกสั้นๆว่า SWOT Analysis เป็นหนึ่งในเครื่องมือของการศึกษาวิเคราะห์เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาขององค์กร หน่วยงาน หรือระดับบุคคล สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการบริหารองค์กรได้หลากหลาย เช่นการกำหนดกลยุทธ์ในการวางแผนธุรกิจ การวางแผนการตลาด แผนการดำเนินงาน เป็นเครื่องมือขั้นต้นในการทำ Five Force สำหรับการปรับปรุงองค์กร ใช้การบริหารทรัพยากรบุคคล หรือกระทั่งการศึกษาวิเคราะห์เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงพฤติกรรมของแต่ละบุคคล เพื่อการพัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงานให้ดียิ่งขึ้น เป็นการศึกษาเพื่อทำให้เรารู้ว่าอะไรเป็นปัญหาหรือโอกาสที่เราต้องแก้ไขปรับปรุง ทั้งนี้ SWOT Analysis เป็นการระดมความคิดของคนที่เกี่ยวข้อง มีส่วนร่วมในการทำงานร่วมกัน ในหลายๆ มุมมอง ที่จะช่วยในการกำหนดปัญหา กำหนดวิสัยทัศน์ ประเด็นกลยุทธ์ และวางแนวทางแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง
วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้เข้าใจเกี่ยวกับหลักการวิเคราะห์SWOT Analysisและวิธีการนำไปใช้ประโยชน์
2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้ฝึกปฎิบัติงานการศึกษาวิเคราะห์ SWOT Analysis จากประเด็นที่เป็นอยู่ขององค์การ หน่วยงานและบุคคล
ผู้เข้ารับการฝึกอบรมกลุ่มเป้าหมาย
ผู้บริหารหรือระดับหัวหน้างาน สำหรับจัดทำ SWOT ขององค์การหรือ หน่วยงาน หรือระดับพนักงานทั่วไป (หากเป็นการสัมมนาเกี่ยวกับทำ SWOT เพื่อปรับปรุงตนเอง)
หัวข้อการฝึกอบรมหลักสูตรการศึกษาวิเคราะห์SWOT Analysisเพื่อการพัฒนาองค์กร
1.ความหมายและความสำคัญของSWOT Analysis
2.การนำไป SWOT Analysisใช้ประโยชน์สำหรับการพัฒนาองค์กรและบุคคล
3.ประเด็นในการพิจารณาในการศึกษาวิเคราะห์และพิจารณาด้าน
4.กรณีศึกษาการทำSWOT Analysisขององค์กรต่างๆ
5.เทคนิคการระดมสมองและข้อพิจารณาในการจัดทำSWOT Analysis
6.การประชุมเชิงปฎิบัติการSWOT Analysisจากประเด็นที่เป็นอยู่ในปัจจุบันขององค์การหน่วยงาหรือบุคคล
7. หลักการกำหนดกลยุทธ์หรือวางแนวการแก้ไขหรือจัดการกับปัญหาต่างๆ จากผลการศึกษาของ SWOT Analysis
วิธีการฝึกอบรม
1.การบรรยาย
2.กรณีศึกษา
3.แบบฝึกหัดทดสอบการวิเคราะห์
4.การประชุมเชิงปฏิบัติจัดทำSWOTขององค์การหน่วยงานหรือบุคคลและนำเสนอผลการศึกษา
5. การวิจารณ์และให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการปรับปรุง ศึกษาเพิ่มเติมในผลการวิเคราะห์
การประเมินผลที่ได้รับจากการฝึกอบรม
1. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความเข้าใจและสามารถดำเนินการจัดทำSWOT Analysisได้
2. มีเอกสารผลการจัดทำ SWOT Analysis หลังจากการสัมมนาเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป
แหล่งที่มา www.chiangraicity.go.th/news_text_detail.php?news_text_id.
นายเมธัส ศรีสบาย รหัส251 การจัดการทั่วไป กศ.พบ รุ่น19
ความสำคัญในการประเมินสภาพแวดล้อมภายในองค์กร
การประเมินสภาพแวดล้อมภายในองค์กร จะเป็นการประเมินปัจจัยต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้
การควบคุมขององค์กร เช่น ทรัพยากรทางการเงิน เครื่องจักร อาคาร สถานที่ บุคลากร และการดำเนินการต่าง ๆ ภายในองค์กร ทุก ๆ ด้าน เพื่อที่จะระบุ จุดแข็งและจุดอ่อนขององค์กร ซึ่ง กล่าวว่า แหล่งที่มาเบื้องต้นของข้อมูลเพื่อการประเมินสภาพแวดล้อมภายใน มาจากระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System : MIS) ที่มีอยู่ในองค์กร ได้แก่ ระบบข้อมูลเพื่อการบริหารที่ครอบคลุมทุกด้าน ทั้งในด้านโครงสร้าง ระบบ ระเบียบ วิธีปฏิบัติงาน บรรยากาศในการทำงานและทรัพยากรในการบริหาร (คน เงิน วัสดุ การจัดการ รวมถึงการพิจารณาผลการดำเนินงานที่ผ่านมาขององค์กร) เพื่อที่จะเข้าใจสถานการณ์และผลกลยุทธ์ก่อนหน้านี้ ด้วยจุดแข็งขององค์กร (S-Strengths) เป็นการวิเคราะห์ปัจจัยภายในจากมุมมองของผู้ที่อยู่ภายในองค์กรนั้นเองว่าปัจจัยใดภายในองค์กรที่เป็นข้อได้เปรียบหรือจุดเด่นขององค์กรที่องค์กรควรนำมาใช้ในการพัฒนาองค์กรได้ และควรดำรงไว้เพื่อการ เสริมสร้างความเข็มแข็งขององค์กร จุดอ่อนขององค์กร (Weaknesses) เป็นการวิเคราะห์ ปัจจัยภายในจากมุมมองของผู้ที่อยู่ภายในจากมุมมองของผู้ที่อยู่ภายในองค์กร
นั้น ๆ เองว่าปัจจัยภายในองค์กรที่เป็นจุดด้อย ข้อเสียเปรียบขององค์กรที่ควรปรับปรุงให้ดีขึ้นหรือขจัดให้หมดไป ได้ให้
ทรรศนะว่า การประเมินสภาพแวดล้อมภายในจะช่วยให้เกิดการใช้ทรัพยากรที่คุ้มค่า สร้างความได้เปรียบในการดำเนินกิจกรรม/โครงการ และเป็นปัจจัยที่สำคัญในการสร้างคุณค่าให้เกิดขึ้นกับลูกค้า ดังนั้นผู้บริหารจึงควรให้ความสำคัญกับการพิจารณาปัจจัยและทรัพยากรต่าง ๆ ขององค์กร ซึ่งจะเป็นข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญในการกำหนดทิศทางและกลยุทธ์ขององค์กรที่มีประสิทธิภาพ
แหล่งที่มา www.cifs.moj.go.th/main/images/.../plan1.xls
การประเมินสภาพแวดล้อมภายในองค์กร จะเป็นการประเมินปัจจัยต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้
การควบคุมขององค์กร เช่น ทรัพยากรทางการเงิน เครื่องจักร อาคาร สถานที่ บุคลากร และการดำเนินการต่าง ๆ ภายในองค์กร ทุก ๆ ด้าน เพื่อที่จะระบุ จุดแข็งและจุดอ่อนขององค์กร ซึ่ง กล่าวว่า แหล่งที่มาเบื้องต้นของข้อมูลเพื่อการประเมินสภาพแวดล้อมภายใน มาจากระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System : MIS) ที่มีอยู่ในองค์กร ได้แก่ ระบบข้อมูลเพื่อการบริหารที่ครอบคลุมทุกด้าน ทั้งในด้านโครงสร้าง ระบบ ระเบียบ วิธีปฏิบัติงาน บรรยากาศในการทำงานและทรัพยากรในการบริหาร (คน เงิน วัสดุ การจัดการ รวมถึงการพิจารณาผลการดำเนินงานที่ผ่านมาขององค์กร) เพื่อที่จะเข้าใจสถานการณ์และผลกลยุทธ์ก่อนหน้านี้ ด้วยจุดแข็งขององค์กร (S-Strengths) เป็นการวิเคราะห์ปัจจัยภายในจากมุมมองของผู้ที่อยู่ภายในองค์กรนั้นเองว่าปัจจัยใดภายในองค์กรที่เป็นข้อได้เปรียบหรือจุดเด่นขององค์กรที่องค์กรควรนำมาใช้ในการพัฒนาองค์กรได้ และควรดำรงไว้เพื่อการ เสริมสร้างความเข็มแข็งขององค์กร จุดอ่อนขององค์กร (Weaknesses) เป็นการวิเคราะห์ ปัจจัยภายในจากมุมมองของผู้ที่อยู่ภายในจากมุมมองของผู้ที่อยู่ภายในองค์กร
นั้น ๆ เองว่าปัจจัยภายในองค์กรที่เป็นจุดด้อย ข้อเสียเปรียบขององค์กรที่ควรปรับปรุงให้ดีขึ้นหรือขจัดให้หมดไป ได้ให้
ทรรศนะว่า การประเมินสภาพแวดล้อมภายในจะช่วยให้เกิดการใช้ทรัพยากรที่คุ้มค่า สร้างความได้เปรียบในการดำเนินกิจกรรม/โครงการ และเป็นปัจจัยที่สำคัญในการสร้างคุณค่าให้เกิดขึ้นกับลูกค้า ดังนั้นผู้บริหารจึงควรให้ความสำคัญกับการพิจารณาปัจจัยและทรัพยากรต่าง ๆ ขององค์กร ซึ่งจะเป็นข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญในการกำหนดทิศทางและกลยุทธ์ขององค์กรที่มีประสิทธิภาพ
แหล่งที่มา www.cifs.moj.go.th/main/images/.../plan1.xls
นางสาวสุชาดา สุขวงษ์ รหัส 5210125401002 การจัดการทั่วไป
การวิเคราะห์ สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์กร (SWOT)
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์กรทางการศึกษา เพื่อศึกษา
แนวโน้มการพัฒนาการศึกษาให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนท้องถิ่น โดยแนวโน้มการพัฒนาการศึกษาขององค์กรทางการศึกษาต้องมีความเป็นไปได้ในการพัฒนาตามเงื่อนไขข้อจำกัดและองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการจัดการศึกษา ซึ่งได้แก่ นโยบายในการจัดการศึกษาของหน่วยงานต้นสังกัด รูปแบบการบริหารงานขององค์กรทางการศึกษา และปัจจัยทีเกี่ยวข้องอื่น
การศึกษาความต้องการของชุมชน เป็นการสำรวจความต้องการขององค์กรชุมชนที่องค์กรทางการศึกษาตั้งอยู่ความต้องการของผู้ปกครองนักเรียน
และความต้องการของชาวบ้านในชุมชนสรุปมาเป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนการวิเคราะห์สภาพขององค์กรทางการศึกษาเพื่อกำหนด
แนวทางในการพัฒนาการศึกษา จะต้องวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดจากปัจจัยต่าง ๆ ด้วย เรียกว่า SWOT Analysis ซึ่งได้แก่
Strengths - จุดแข็งหรือข้อได้เปรียบ
Weaknesses - จุดอ่อนหรือข้อเสียเปรียบ
Opportunities - โอกาสที่จะดำเนินการได้
Threats - อุปสรรค หรือปัจจัยที่คุกคามการดำเนินงานขององค์การ
การวิเคราะห์ SWOT อาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เป็นการทำ Situation Analysis
เป็นการวิเคราะห์สภาพองค์การ หรือหน่วยงานในปัจจุบัน เพื่อค้นหาจุดแข็ง จุดเด่น จุดด้อย หรือสิ่งที่อาจเป็นปัญหาสำคัญในการดำเนินงานสู่สภาพที่ต้องการในอนาคต การวิเคราะห์สภาพการณ์
(Situation Analysis) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน เพื่อให้รู้ตนเอง (รู้เรา) รู้จักสภาพแวดล้อม (รู้เขา) ชัดเจน และวิเคราะห์โอกาส-อุปสรรค เพื่อประโยชน์ในการกำหนดวิสัยทัศน์ หรือเลือกกลยุทธ์ระดับองค์กรที่เหมาะสมต่อไป ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการทำ Strategic Decision การทำ Strategic Decision เป็นการตัดสินใจเลือกกลยุทธ์หรือวิธีดำเนินงานที่สำคัญ ที่เป็นหลักในการปฏิบัติไปสู่สภาพที่ต้องการในอนาคตขององค์การ เพื่อการบรรลุ Vision หรือสภาพในอนาคตตามที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งเป็นการเลือกโดยคำนึงถึงสภาพในอนาคต โดยคำนึงถึงจุดที่ต้องการ โดยรู้สถานการณ์ เห็นถึงโอกาสและรู้จุดดี จุดเด่นตลอดจนจุดอ่อนในการดำเนินงานไปสู่จุดหมายที่ต้องการขององค์การในอนาคต เป็นการค้นหากลยุทธ์โดยหลักการ มองกว้าง เห็นไกล รอบคอบ ตามหลักการกำหนดกลยุทธ์ในแบบต่าง ๆ เช่น กลยุทธ์ที่มุ่งหา S สูง – O สูง, S สูง – T ต่ำ,
W ต่ำ – O สูง และ W ต่ำ – T ต่ำ กลยุทธ์เชิงรุก กลยุทธ์เพื่อความเจริญก้าวหน้า (Growth Strategy) กลยุทธ์แบบคงที่ (Stability Strategy) กลยุทธ์แบบตัดทอนป้องกัน (Retrenchment and Defense Strategy) กลยุทธ์การตั้งราคา-การขาย กลยุทธ์การแข่งขัน กลยุทธ์การเป็นผู้นำ กลยุทธ์ในการสร้างความแตกต่างของผลิตภัณฑ์และบริการ กลยุทธ์การจำกัดขอบเขตปฏิบัติการ เป็นต้น
อ้างอิง
http://www.vcharkarn.com/vcafe/133036
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์กรทางการศึกษา เพื่อศึกษา
แนวโน้มการพัฒนาการศึกษาให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนท้องถิ่น โดยแนวโน้มการพัฒนาการศึกษาขององค์กรทางการศึกษาต้องมีความเป็นไปได้ในการพัฒนาตามเงื่อนไขข้อจำกัดและองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการจัดการศึกษา ซึ่งได้แก่ นโยบายในการจัดการศึกษาของหน่วยงานต้นสังกัด รูปแบบการบริหารงานขององค์กรทางการศึกษา และปัจจัยทีเกี่ยวข้องอื่น
การศึกษาความต้องการของชุมชน เป็นการสำรวจความต้องการขององค์กรชุมชนที่องค์กรทางการศึกษาตั้งอยู่ความต้องการของผู้ปกครองนักเรียน
และความต้องการของชาวบ้านในชุมชนสรุปมาเป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนการวิเคราะห์สภาพขององค์กรทางการศึกษาเพื่อกำหนด
แนวทางในการพัฒนาการศึกษา จะต้องวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดจากปัจจัยต่าง ๆ ด้วย เรียกว่า SWOT Analysis ซึ่งได้แก่
Strengths - จุดแข็งหรือข้อได้เปรียบ
Weaknesses - จุดอ่อนหรือข้อเสียเปรียบ
Opportunities - โอกาสที่จะดำเนินการได้
Threats - อุปสรรค หรือปัจจัยที่คุกคามการดำเนินงานขององค์การ
การวิเคราะห์ SWOT อาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เป็นการทำ Situation Analysis
เป็นการวิเคราะห์สภาพองค์การ หรือหน่วยงานในปัจจุบัน เพื่อค้นหาจุดแข็ง จุดเด่น จุดด้อย หรือสิ่งที่อาจเป็นปัญหาสำคัญในการดำเนินงานสู่สภาพที่ต้องการในอนาคต การวิเคราะห์สภาพการณ์
(Situation Analysis) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน เพื่อให้รู้ตนเอง (รู้เรา) รู้จักสภาพแวดล้อม (รู้เขา) ชัดเจน และวิเคราะห์โอกาส-อุปสรรค เพื่อประโยชน์ในการกำหนดวิสัยทัศน์ หรือเลือกกลยุทธ์ระดับองค์กรที่เหมาะสมต่อไป ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการทำ Strategic Decision การทำ Strategic Decision เป็นการตัดสินใจเลือกกลยุทธ์หรือวิธีดำเนินงานที่สำคัญ ที่เป็นหลักในการปฏิบัติไปสู่สภาพที่ต้องการในอนาคตขององค์การ เพื่อการบรรลุ Vision หรือสภาพในอนาคตตามที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งเป็นการเลือกโดยคำนึงถึงสภาพในอนาคต โดยคำนึงถึงจุดที่ต้องการ โดยรู้สถานการณ์ เห็นถึงโอกาสและรู้จุดดี จุดเด่นตลอดจนจุดอ่อนในการดำเนินงานไปสู่จุดหมายที่ต้องการขององค์การในอนาคต เป็นการค้นหากลยุทธ์โดยหลักการ มองกว้าง เห็นไกล รอบคอบ ตามหลักการกำหนดกลยุทธ์ในแบบต่าง ๆ เช่น กลยุทธ์ที่มุ่งหา S สูง – O สูง, S สูง – T ต่ำ,
W ต่ำ – O สูง และ W ต่ำ – T ต่ำ กลยุทธ์เชิงรุก กลยุทธ์เพื่อความเจริญก้าวหน้า (Growth Strategy) กลยุทธ์แบบคงที่ (Stability Strategy) กลยุทธ์แบบตัดทอนป้องกัน (Retrenchment and Defense Strategy) กลยุทธ์การตั้งราคา-การขาย กลยุทธ์การแข่งขัน กลยุทธ์การเป็นผู้นำ กลยุทธ์ในการสร้างความแตกต่างของผลิตภัณฑ์และบริการ กลยุทธ์การจำกัดขอบเขตปฏิบัติการ เป็นต้น
อ้างอิง
http://www.vcharkarn.com/vcafe/133036
นางสาวทุเรียน ยศเหลา รหัส 5130125401220
บทความเกี่ยวกับวิเคราะห์สภาพแวดล้อม
สภาพแวดล้อมขององค์การอาจแบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ
1. สภาพแวดล้อมภายในองค์การ (Internal Factors) จะเป็นปัจจัยต่างๆที่อยู่ภายใต้การควบคุมขององค์การเช่น ทรัพยากรทางการเงิน เครื่องจักร อาคารสถานที่ บุคลากรและการดำเนินงานต่างๆขององค์การสภาพแวดล้อมภายในองค์การจะทำให้ทราบว่าสามารถทำอะไรได้บ้าง
2. สภาพแวดล้อมภายนอก (External Factors)จะเป็นปัจจัยที่อยู่นอกเหนือการควบคุมขององค์การเช่น คู่แข่งขัน ลูกค้า ชัพพลายเออร์ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ การเมืองและสังคม
สุพานี สฤษฎ์วานิช (2544 หน้า 43,77)
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)