หน้าเว็บ

นางสาวสุกัญญา ปราณีดุดสี การจัดการทั่วไป ปี4 รหัส 5210125401006

ทฤษฎีการบริหารการจัดการเชิงระบบ
ทฤษฎีการบริหารการจัดการเชิงระบบ มีรากฐานมาจากทฤษฏีระบบโดยทั่วไปของ Ludwig von Bertalanffy ซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์ด้านฟิสิกส์และชีววิทยา รูปแบบของระบบvon Bertalanffy มี 2 แบบคือ
1.ระบบปิด ซึ่งไม่ได้รับอิทธิพลและไม่มีปฏิกิริยาโต้ตอบกับสิ่งแวดล้อมที่อยู่รายรอบระบบนั้นๆ โดยส่วนใหญ่แล้วระบบปิดเป็นเครื่องจักรกลที่มีการเคลื่อนไหวหรือกิจกรรมที่กำหนดไว้ตายตัวก่อนล่วงหน้าแล้ว โดยไม่ต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม
2.ระบบเปิด จะมีปฎิกิริยาโต้ตอบกับสิ่งแวดล้อมของระบบอย่างต่อเนื่อง พืชเป็นตัวอย่างหนึ่งของระบบเปิด การมีปฏิกิริยาโต้ตอบกับสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องจะมีผลกระทบต่อสภาพความเป็นอยู่และอนาคตของพืชนั้นๆ สิ่งแวดล้อมจะเป็นสิ่งบ่งชี้ว่าพืชนั้นจะมีชีวิตอยู่ได้หรือไม่
ระบบและองค์รวม แนวคิดขององค์รวมของระบบมีความสำคัญมากในการวิเคราะห์ระบบโดยทั่วไป
L.Thomas Hopkins ได้แนะแนวทางในการวิเคราะห์เชิงระบบ 6 ประการ ดังนี้
1.องค์รวมของระบบควรเป็นหลักสำคัญของการวิเคราะห์
2.การบูรณาการเป็นปัจจัยหลักในการวิเคราะห์องค์รวมของระบบ
3.การปรับเปลี่ยนแต่ละองค์ประกอบควรพิจารณาเปรียบเทียบถึงผลกระทบต่อองค์ประกอบอื่นๆ
4.แต่ละองค์ประกอบมีบทบาทที่ต้องปฏิบัติเพื่อองค์รวมสามารถบรรลุเป้าหมายของตนได้
5.ตำแหน่งขององค์ประกอบย่อยภาขยในองค์รวมจะบ่งบอกถึงคุณลักษณะและภาระหน้าที่ของ องค์ประกอบย่อยนั้นๆ
6.การวิเคราะห์ทั้งหมดจะเริ่มต้นที่องค์รวม องค์ประกอบย่อยอื่นๆ และความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่างๆ ควรพัฒนาให้เหมาะสมกับเป้าหมายขององค์รวมให้มากที่สุด

ทฤษฏีการบริหารจัดการเชิงระบบมีรากฐานบนทฤษฏีระบบ เราจึงควรให้ความสำคัญของการวิเคราะห์สถานการณ์ด้านการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ จากนั้นเราจึงจะมาศึกษาถึงองค์ประกอบต่างๆ ของระบบและข้อมูลที่สามารถประยุกต์ใช้กับการวิเคราะห็ระบบได้

อ้างอิง: ชื่อหนังสือ การจัดการสมัยใหม่ (Modern Management:9ed)
ผู้แต่ง Samuel C.Certo
สำนักพิมพ์ บริษัท เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า จำกัด
ปีที่พิมพ์ 2552

1 ความคิดเห็น:

Love Me Love My Cat.....!!! กล่าวว่า...

สัมมนาปัญหาการจัดการ: การส่งบทความเกี่ยวกับการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม
การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค ( SWOT Analysis )
การวิเคราะห์ดังกล่าวเพื่อเป็นตัวกรองข้อมูลต่างๆ ที่มีผลต่อการกำหนดกลยุทธ์ในแผนงาน ข้อแนะนำเพื่อให้การใช้ SWOT อย่างได้ผล จึงจำเป็นต้องทำความเข้าใจเงื่อนไขบางประการ กล่าวคือ
- Stayed Focused ให้เน้นเป็นจุดๆ
- Search Extensively for Competitors ค้นหาข้อมูลลักษณะการแข่งขันให้ลึกที่สุด
- Collaborate with other functional areas รวบรวมและแบ่งปันข้อมูลระหว่างแผนก
- Examine issues form the customers, Perspective ลูกค้ามีความหมายที่กว้างและครอบคลุมกลุ่มทุกประเภทรวมทั้งพนักงานของบริษัท
- Separate Internal issues from External issues แบ่งแยกปัจจัยภายในภายนอกให้ชัดเจน
ตัวอย่าง รายการที่มักจะพบในองค์กร ในเรื่องขอกการวิเคราะห์ SWOT Analysis
จุดแข็ง (S)
มีความเชี่ยวชาญพิเศษ
เป็นผู้นำทางการตลาด
มีลิขสิทธิ์ในเทคโนโลยี
มีสิทธิ์ในการผลิต
มีต้นทุนต่ำ
ภาพลักษณ์ในตลาดดี
จุดอ่อน (W)
ขาดกลยุทธ์ที่ชัดเจน
ขาดงบวิจัย
กลุ่มผลิตภัณฑ์แคบลง
ช่องทางจัดจำหน่ายแคบ
โอกาส( O )
ตลาดโดยรวมโตขึ้น
ฤติกรรมการบริโภคเปลี่ยน
คู่แข่งเปลี่ยนแปลงภายใน
มีโอกาสใหม่จากการใช้ผลิตภัณฑ์
เศรษฐกิจเติบโต
มีเทคโนโลยีใหม่
อุปสรรค ( T )
มีคู่แข่งจากต่างประเทศ
มีทางเลือกใหม่ทดแทน
วัฏจักรผลิตภัณฑ์ขาลง
คู่แข่งเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์


นักการตลาดจะต้องพยายามประสานความสัมพันธ์ระหว่างจุดแข็งกับโอกาสที่เปิดให้เพื่อเป็นทางเลือกใหม่ๆ และสร้างความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์ และขณะเดียวกัน ก็จะต้องพยายามเปลี่ยนจุดอ่อนและความเสี่ยงให้เป็นจุดแข็งและโอกาสในที่สุดและถ้าไม่สามารถปรับสภาพได้ก็ต้องพยายามหลีกเลี่ยงเพื่อผลสำเร็จต่อไป

อ้างอิง: ชื่อหนังสือ: ธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ
ชื่อผู้แต่ง: อุษณีย์ จิตตะปาโล
สำนักพิมพ์: ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ
ปีที่พิมพ์: 2549

นางสาวสุกัญญา ปราณีดุดสี การจัดการทั่วไป ปี4 รหัส 5210125401006