หน้าเว็บ

การวิเคราะห์ สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก


1.      การตรวจสอบสภาพแวดล้อม (Environmental Scanning) สามารถแบ่งได้เป็น 2 ส่วนคือ
1   การตรวจสอบสภาพแวดล้อมภายนอก (External Environmental Scanning) ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับ สภาพแวดล้อมของอุตสาหกรรม (Task Environment or Industry Environment) และสภาพแวดล้อมของสังคม (Societal Environment)
2. การตรวจสอบสภาพแวดล้อมภายใน (Internal Environmental Scanning) ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ โครงสร้าง (Structure) วัฒนธรรมองค์การ (Culture) และ ทรัพยากร (Resources) ของบริษัท

การตรวจสอบสภาพแวดล้อมภายนอก
(Environmental Scanning and Industry Analysis)
สภาพแวดล้อมภายนอกมีความสำคัญต่อความสำเร็จของกิจการ การที่กิจการจะประสบความสำเร็จได้นั้น ผู้บริหารจะต้องมีความสามารถที่จะปรับตัวให้อยู่รอดได้ในสภาพแวดล้อมภายนอกที่เปลี่ยนแปลงไป  ผู้บริหารจะต้องมองหากลยุทธ์ที่เหมาะสมที่จะแข่งขันได้ในสถานการณ์ต่างๆ และต้องมีความสามารถที่จะปรับตัวให้เหมาะสมกับกลยุทธ์เหล่านั้น กลยุทธ์ที่เหมาะสมทั้งต่อสถานการณ์ภายนอก และสอดคล้องกับการปฏิบัติงานของบริษัทจะถือว่าเป็นกลยุทธ์ที่ดีที่สุด ในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันและการอยู่รอดในระยะยาว
อย่างไรก็ตาม สภาพแวดล้อมเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา รวมถึงมีความซับซ้อนยากที่จะเข้าใจได้ ต้องอาศัยการวิเคราะห์จากผู้ที่มีประสบการณ์และมีการตรวจสอบจากปัจจัยแวดล้อมหลายๆ ตัวประกอบกัน เพื่อที่จะทำความเข้าใจได้อย่างลึกซึ้งและถูกต้องถึงระดับของการเปลี่ยนแปลงหรือแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดเวลา การที่สภาพแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ถือได้ว่าเป็นอุปสรรคที่สำคัญประการหนึ่งของผู้บริหารในการวางแผนกลยุทธ์ เพราะว่าการคาดการณ์ถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตจะทำได้ยากขึ้น และถ้าผู้บริหารไม่เข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมก็มีแนวโน้มว่า แผนกลยุทธ์ที่วางไว้จะไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่ควรจะเป็น

การตรวจสอบสภาพแวดล้อม (Environmental Scanning)
เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า ผลประกอบการที่ดี และกำไรของกิจการมักจะเกิดจากการวางแผนที่มีประสิทธิภาพ และการวางแผนที่ดีนั้น ต้องมีการตรวจสอบสภาพแวดล้อมที่ถูกต้อง ดังนั้น จึงมีความจำเป็นและเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้บริหารกิจการทุกแห่งจะต้องให้ความสนใจกับการประเมิน หรือ ตรวจสอบสภาพแวดล้อมที่จะมีผลกระทบต่อบริษัททั้งทางตรงและทางอ้อม เพื่อมองหาโอกาส หรืออุปสรรคที่จะต้องเผชิญและแก้ไขต่อไปในอนาคต
สภาพแวดล้อมภายนอก คืออะไร (Environmental Variables)
คือสิ่งแวดล้อมภายนอกที่จะมีผลกระทบต่อบริษัทและสามารถทำให้บริษัทได้โอกาส หรือเกิดอุปสรรคในการบริหารกิจการได้ สำหรับสภาพแวดล้อมภายนอกที่จะนำมาวิเคราะห์ในการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ หรือ นำมาใช้ในเรื่องของยุทธศาสตร์การบริหารนั้นจะมี 2 ประเภทคือ
1.       สภาพแวดล้อมทางสังคม (Societal Environment)
2.       สภาพแวดล้อมของอุตสาหกรรม (Task Environment or Industry Environment)
ในการประเมินสภาพแวดล้อมภายนอกตัวแรก หรือ สภาพแวดล้อมทางสังคม (Societal Environment)   มีตัวแปรหลายตัวที่กิจการจะต้องให้ความสำคัญ และตัวแปรเหล่านี้จะมีผลต่อการดำเนินงานในระยะยาว ซึ่งประกอบไปด้วย ตัวแปรที่สำคัญ 4 ตัวคือ
1.       สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ (Economic Forces) เป็นตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของการแลกเปลี่ยนวัตถุดิบ เงิน พลังงาน และ ข้อมูลข่าวสาร
2.       สภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี (Technological Forces) เป็นตัวแปรที่จะช่วยนำเสนอสิ่งใหม่ๆ มาใช้ในการแก้ปัญหาของกิจการ
3.       สภาพแวดล้อมทางด้านการเมืองและกฏหมาย (Political – legal Forces) เป็นตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจทางการเมือง การออกกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ ที่จะเป็นประโยชน์หรือเป็นอุปสรรคต่อการบริหารกิจการ
4.       สภาพแวดล้อมทางด้านสังคมและวัฒนธรรม (Sociocultural Forces) เป็นตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับค่านิยมของคนในสังคม ความเชื่อ บรรทัดฐาน ประเพณี และแนวทางในการดำเนินชีวิต



สำหรับการประเมินสภาพแวดล้อมของอุตสาหกรรม (Task Environment or Industry Environment) จะเป็นการวิเคราะห์ถึงกลุ่มที่มีผลกระทบโดยตรงต่อการดำเนินกิจการของบริษัท ซึ่งกลุ่มที่ว่านี้ จะหมายรวมถึง รัฐบาล (governments) ชุมชนท้องถิ่น (local communities)  ผู้จัดจำหน่ายวัตถุดิบ (suppliers) คู่แข่งขัน (competitors)  ลูกค้า (customers) ผู้ให้สินเชื่อ (creditors) ลูกจ้างหรือพนักงาน (employee/labor unions) กลุ่มที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องอื่นๆ (special – interest groups) และสมาคมการค้าที่เกี่ยวข้อง (trade associations) ผู้บริหารกิจการจะต้องให้ความสำคัญกับสภาพแวดล้อมภายนอกทั้งสองประเภท คือ ทั้งสภาพแวดล้อมทางสังคม และสภาพแวดล้อมของอุตสาหกรรม เพราะว่าสภาพแวดล้อมทั้งสองประเภทนี้จะมีส่วนสำคัญที่จะทำให้กิจการประสบความสำเร็จได้ในอนาคต
ตัวอย่างของตัวแปรที่จะต้องวิเคราะห์ในการตรวจสอบสภาพแวดล้อมทางสังคม
(Some Important Variables in the Societal Environment)
1.       สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ (Economic)
1.1   แนวโน้มของค่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (Gross National Product; GNP trends)
1.2   อัตราดอกเบี้ย (Interest rates)
1.3   ปริมาณเงินในประเทศ (Money supply)
1.4   อัตราเงินเฟ้อ (Inflation rates)
1.5   ระดับการว่างงานภายในประเทศ (Unemployment levels)
1.6   อัตราค่าแรงขั้นต่ำ (Wage/price controls)
1.7   การปรับลดอัตราแลกเปลี่ยนหรือมูลค่าของเงินบาท (Devaluation) หรือ การเพิ่มค่าของอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท (Revaluation)
1.8   ปริมาณพลังงานและต้นทุนของพลังงาน (Energy availability and cost)
1.9   รายได้ที่ใช้จ่ายได้จริง (Disposable and discretionary income) เป็นรายได้หลังหักภาษีและรายได้ตัวนี้จะแสดงถึงอำนาจซื้อที่แท้จริงของประชาชนและการออมด้วย
2.       สภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี (Technology)
2.1   การใช้จ่ายของภาครัฐเพื่อการวิจัยและพัฒนา (Total federal spending for R&D)
2.2   การใช้จ่ายของภาคเอกชนเพื่อการวิจัยและพัฒนา (Total industry spending for R&D)
2.3   การให้ความสำคัญต่อการพัฒนาเทคโนโลยี (Focus of technological efforts)
2.4   การให้ความคุ้มครองด้านลิขสิทธิ์ (Patent protection)
2.5   การคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ (New products)
2.6   การพัฒนาเทคโนโลยีจากห้องทดลองสู่ตลาด (New developments in technology transfer from lab to market place)
2.7   การปรับปรุงผลผลิตผ่านระบบอัตโนมัติ (Productivity improvements through automation)
3.       สภาพแวดล้อมทางด้านการเมืองและกฎหมาย (Political – legal )
3.1   กฎหมายป้องกันการผูกขาด (Antitrust regulations)
3.2   กฎหมายคุ้มครองสิ่งแวดล้อม (Environmental protection laws)
3.3   กฎหมายเกี่ยวกับการเสียภาษี (Tax laws)
3.4   สิทธิพิเศษทางกฎหมายอื่นๆ (Special incentives)
3.5   กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ (Foreign trade regulations)
3.6   ทัศนคติต่อบริษัทต่างชาติ (Attitudes toward foreign companies)
3.7   กฎหมายการจ้างงานและการเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง (Laws on hiring and promotion)
3.8   ความมีเสถียรภาพของรัฐบาล (Stability of government)
4.       สภาพแวดล้อมทางด้านสังคมและวัฒนธรรม
4.1   การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ชีวิต (Life – style changes)
4.2   ความคาดหวังหรือโอกาสก้าวหน้าในอาชีพ (Career expectations)
4.3   บทบาทของผู้บริโภค (Customer activism)
4.4   อัตราการตั้งครอบครัวใหม่ (Rate of family formation)
4.5   อัตราการเพิ่มของประชากร (Growth rate of population)
4.6   การกระจายของอายุของประชากร (Age distribution of population)
4.7   การกระจายของถิ่นที่อยู่ของประชากร (Regional shifts in population)
4.8   อายุเฉลี่ยของประชากร (Life expectancies)
4.9   อัตราการเกิด (Birth rates)






214 ความคิดเห็น:

«เก่าที่สุด   ‹เก่ากว่า   201 – 214 จาก 214
ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

การวิเคราะห์สวอต (อังกฤษ: SWOT Analysis) หรือในชื่อไทยชื่ออื่นเช่น การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและศักยภาพ หรือ การวิเคราะห์สภาวะแวดล้อม เป็นเครื่องมือในการประเมินสถานการณ์ สำหรับองค์กร หรือโครงการ ซึ่งช่วยผู้บริหารกำหนดจุดแข็งและจุดอ่อนจากสภาพแวดล้อมภายใน โอกาสและอุปสรรคจากสภาพแวดล้อมภายนอก ตลอดจนผลกระทบที่มีศักยภาพจากปัจจัยเหล่านี้ต่อการทำงานขององค์กร

เทคนิคนี้ อัลเบิร์ต ฮัมฟรี (Albert Humphrey) ได้ชื่อว่าเป็นผู้เริ่มแนวคิดนี้โดยนำเทคนิคนี้มาแสดงในงานสัมมนาที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด

ความหมาย SWOTคำว่า "สวอต" หรือ "SWOT" นั้นมาจากตัวย่อภาษาอังกฤษ 4 ตัว ได้แก่

S มาจาก Strengths หมายถึง จุดเด่นหรือจุดแข็ง ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยภายใน เป็นข้อดีที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายในบริษัท เช่น จุดแข็งด้านส่วนประสม จุดแข็งด้านการเงิน จุดแข็งด้านการผลิต จุดแข็งด้านทรัพยากรบุคคล บริษัทจะต้องใช้ประโยชน์จากจุดแข็งในการกำหนดกลยุทธ์การตลาด
W มาจาก Weaknesses หมายถึง จุดด้อยหรือจุดอ่อน ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยภายใน เป็นปัญหาหรือข้อบกพร่องที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายในต่างๆ ของบริษัท ซึ่งบริษัทจะต้องหาวิธีในการแก้ปัญหานั้น
O มาจาก Opportunities หมายถึง โอกาส ซึ่งเกิดจากปัจจัยภายนอก เป็นผลจากการที่สภาพแวดล้อมภายนอกของบริษัทเอื้อประโยชน์หรือส่งเสริมการดำเนินงานขององค์กร โอกาสแตกต่างจากจุดแข็งตรงที่โอกาสนั้นเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมภายนอก แต่จุดแข็งนั้นเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมภายใน นักการตลาดที่ดีจะต้องเสาะแสวงหาโอกาสอยู่เสมอ และใช้ประโยชน์จากโอกาสนั้น
T มาจาก Threats หมายถึง อุปสรรค ซึ่งเกิดจากปัจจัยภายนอก เป็นข้อจำกัดที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายนอก ซึ่งธุรกิจจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์การตลาดให้สอดคล้องและพยายามขจัดอุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นให้ได้จริง
อ้างอิง Armstrong.M Management Processes and Functions, 1996, London CIPD
น.ส.นันทรัชต์ นาคมอญ 5210125401081 การจัดการทั่วไป

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

การวิเคราะห์สวอต
การวิเคราะห์สวอต (อังกฤษ: SWOT Analysis) หรือในชื่อไทยชื่ออื่นเช่น การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและศักยภาพ หรือ การวิเคราะห์สภาวะแวดล้อม เป็นเครื่องมือในการประเมินสถานการณ์ สำหรับองค์กร หรือโครงการ ซึ่งช่วยผู้บริหารกำหนดจุดแข็งและจุดอ่อนจากสภาพแวดล้อมภายใน โอกาสและอุปสรรคจากสภาพแวดล้อมภายนอก ตลอดจนผลกระทบที่มีศักยภาพจากปัจจัยเหล่านี้ต่อการทำงานขององค์กร

เทคนิคนี้ อัลเบิร์ต ฮัมฟรี (Albert Humphrey) ได้ชื่อว่าเป็นผู้เริ่มแนวคิดนี้โดยนำเทคนิคนี้มาแสดงในงานสัมมนาที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด
ความหมาย SWOTคำว่า "สวอต" หรือ "SWOT" นั้นมาจากตัวย่อภาษาอังกฤษ 4 ตัว ได้แก่

S มาจาก Strengths หมายถึง จุดเด่นหรือจุดแข็ง ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยภายใน เป็นข้อดีที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายในบริษัท เช่น จุดแข็งด้านส่วนประสม จุดแข็งด้านการเงิน จุดแข็งด้านการผลิต จุดแข็งด้านทรัพยากรบุคคล บริษัทจะต้องใช้ประโยชน์จากจุดแข็งในการกำหนดกลยุทธ์การตลาด
W มาจาก Weaknesses หมายถึง จุดด้อยหรือจุดอ่อน ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยภายใน เป็นปัญหาหรือข้อบกพร่องที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายในต่างๆ ของบริษัท ซึ่งบริษัทจะต้องหาวิธีในการแก้ปัญหานั้น
O มาจาก Opportunities หมายถึง โอกาส ซึ่งเกิดจากปัจจัยภายนอก เป็นผลจากการที่สภาพแวดล้อมภายนอกของบริษัทเอื้อประโยชน์หรือส่งเสริมการดำเนินงานขององค์กร โอกาสแตกต่างจากจุดแข็งตรงที่โอกาสนั้นเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมภายนอก แต่จุดแข็งนั้นเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมภายใน นักการตลาดที่ดีจะต้องเสาะแสวงหาโอกาสอยู่เสมอ และใช้ประโยชน์จากโอกาสนั้น
T มาจาก Threats หมายถึง อุปสรรค ซึ่งเกิดจากปัจจัยภายนอก เป็นข้อจำกัดที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายนอก ซึ่งธุรกิจจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์การตลาดให้สอดคล้องและพยายามขจัดอุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นให้ได้จริง
อ้างอิงArmstrong.M Management Processes and Functions, 1996, London CIPD
น.ส.นันทรัชต์ นาคมอญ 5210125401081 การจัดการทั่วไป

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

น.ส.นันทรัชต์ นาคมอญ 5210125401081 การจัดการทั่วไป
การวิเคราะห์สวอต (อังกฤษ: SWOT Analysis) หรือในชื่อไทยชื่ออื่นเช่น การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและศักยภาพ หรือ การวิเคราะห์สภาวะแวดล้อม เป็นเครื่องมือในการประเมินสถานการณ์ สำหรับองค์กร หรือโครงการ ซึ่งช่วยผู้บริหารกำหนดจุดแข็งและจุดอ่อนจากสภาพแวดล้อมภายใน โอกาสและอุปสรรคจากสภาพแวดล้อมภายนอก ตลอดจนผลกระทบที่มีศักยภาพจากปัจจัยเหล่านี้ต่อการทำงานขององค์กร

เทคนิคนี้ อัลเบิร์ต ฮัมฟรี (Albert Humphrey) ได้ชื่อว่าเป็นผู้เริ่มแนวคิดนี้โดยนำเทคนิคนี้มาแสดงในงานสัมมนาที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด

ความหมาย SWOTคำว่า "สวอต" หรือ "SWOT" นั้นมาจากตัวย่อภาษาอังกฤษ 4 ตัว ได้แก่

S มาจาก Strengths หมายถึง จุดเด่นหรือจุดแข็ง ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยภายใน เป็นข้อดีที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายในบริษัท เช่น จุดแข็งด้านส่วนประสม จุดแข็งด้านการเงิน จุดแข็งด้านการผลิต จุดแข็งด้านทรัพยากรบุคคล บริษัทจะต้องใช้ประโยชน์จากจุดแข็งในการกำหนดกลยุทธ์การตลาด
W มาจาก Weaknesses หมายถึง จุดด้อยหรือจุดอ่อน ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยภายใน เป็นปัญหาหรือข้อบกพร่องที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายในต่างๆ ของบริษัท ซึ่งบริษัทจะต้องหาวิธีในการแก้ปัญหานั้น
O มาจาก Opportunities หมายถึง โอกาส ซึ่งเกิดจากปัจจัยภายนอก เป็นผลจากการที่สภาพแวดล้อมภายนอกของบริษัทเอื้อประโยชน์หรือส่งเสริมการดำเนินงานขององค์กร โอกาสแตกต่างจากจุดแข็งตรงที่โอกาสนั้นเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมภายนอก แต่จุดแข็งนั้นเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมภายใน นักการตลาดที่ดีจะต้องเสาะแสวงหาโอกาสอยู่เสมอ และใช้ประโยชน์จากโอกาสนั้น
T มาจาก Threats หมายถึง อุปสรรค ซึ่งเกิดจากปัจจัยภายนอก เป็นข้อจำกัดที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายนอก ซึ่งธุรกิจจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์การตลาดให้สอดคล้องและพยายามขจัดอุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นให้ได้จริง
อ้างอิงArmstrong.M Management Processes and Functions, 1996, London CIPD

Kantong กล่าวว่า...

การบริหารงานจะต้องมีปัจจัยพื้นฐาน 4 ประการ หรือเรียกว่า ทรัพยากร การบริหาร (Administration resources) คือ คน (man) เงิน (money) วัสดุอุปกรณ์ (material) และการจัดการ (management) หรือเรียกสั้นว่า 4 M ปัจจัยทั้ง 4 ประการ นับว่าเป็นปัจจัย พื้นฐาน ทั้งนี้เพราะว่าการบริหารทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นของรัฐหรือเอกชนก็ตามจำเป็น ต้องอาศัย เงิน วัสดุ และการจัดการองค์การเป็นองค์ประกอบที่ขาดเสียมิได้
แต่ปัจจุบันได้มีพิจารณาขยายขอบเขตของปัจจัยการบริการกว้างขวางออกไปอีก เช่น Greenwood (อ้างถึงใน มัฆวาฬ สุวรรณเรือง,2536, หน้า 52) ได้เสนอความเห็นว่า ปัจจัยในการบริหารไม่ได้มีเพียง 4 อย่างเทานั้น แต่อย่างน้อยควรมี 7 อย่าง คือ คน เงิน พัสดุ อุปกรณ์ อำนาจหน้าที่ เวลา กำลังใจในการทำงานและความสะดวกต่าง ๆ
เป็นการแน่นอนว่า การบริหารงานจะต้องมีปัจจัยทั้ง 4 M เป็นส่วนประกอบ สำคัญ เพราะการที่จะดำเนินการให้สำเร็จตามนโยบายตามแผนหรือโครงการก็ต้องอาศัย กำลังคน เงิน วัสดุอุปกรณ์และวิธีการจัดการที่ดี โดยนำปัจจัยเหล่านี้มาผสมผสานกัน อย่างเหมาะสม เพราะจะเห็นได้ว่า แม้องค์การหรือบริษัทหรือส่วนราชการต่าง ๆ จะมีขนาดและปัจจัยต่าง ๆ เท่า ๆ กัน แต่ผลงานที่ได้ออกมาไม่เท่ากัน ปัญหาจึงมีว่า หัวใจ ของการบริหารมิได้อยู่ที่ปริมาณมากน้อยของปัจจัยการบริหารเพียงอย่างเดียว แต่ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของการจัดการ ภาวะความเป็นผู้นำ สภาพแวดล้อมอื่น ๆ ที่จะทำให้ เกิดผลงานที่ดีทั้งปริมาณและคุณภาพ
ดังนั้น การบริหารงานใด ๆ ก็ตาม การที่จะได้ผลงานออกมา (output) ก็จำเป็น จะต้องปัจจัย 3 อย่าง ที่ใส่เข้าไปในงานก่อน (input) คือ คน เงิน และวัสดุ และมี กระบวนการในการจัดการให้ input factors ต่าง ๆ ผสมกลมกลืนกันเป็นอย่างดี ผลงาน จะออกมาดีมีประสิทธิภาพ (อมร รักษาสัตย์ และขัตติยา กรรณสูต, 2515, หน้า 289)


อ้างอิง อมร รักษาสัตย์และขัตติยา กรรณสูต. (2515). ทฤษฎีและแนวความคิดในการพัฒนาประเทศ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
มัฆวาฬ สุวรรณเรือง. (2536). ประสิทธิผลของการนำนโยบายป้องปรามทุจริฅเลึอกตั้ง ของโครงการ ท.ม.ก. ไปปฏิบัติ: กรณีวิจัยปฏิบัติการเขตเลือกตั้ง ค. จังหวัด นครราชสีมา. วิทยานิพนธ์พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.


*นางสาวนรินทร กนกศรีขริน รหัส 5210125401069 เอกการจัดการทั่วไป

Kantong กล่าวว่า...

การบริหารงานจะต้องมีปัจจัยพื้นฐาน 4 ประการ หรือเรียกว่า ทรัพยากร การบริหาร (Administration resources) คือ คน (man) เงิน (money) วัสดุอุปกรณ์ (material) และการจัดการ (management) หรือเรียกสั้นว่า 4 M ปัจจัยทั้ง 4 ประการ นับว่าเป็นปัจจัย พื้นฐาน ทั้งนี้เพราะว่าการบริหารทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นของรัฐหรือเอกชนก็ตามจำเป็น ต้องอาศัย เงิน วัสดุ และการจัดการองค์การเป็นองค์ประกอบที่ขาดเสียมิได้
แต่ปัจจุบันได้มีพิจารณาขยายขอบเขตของปัจจัยการบริการกว้างขวางออกไปอีก เช่น Greenwood (อ้างถึงใน มัฆวาฬ สุวรรณเรือง,2536, หน้า 52) ได้เสนอความเห็นว่า ปัจจัยในการบริหารไม่ได้มีเพียง 4 อย่างเทานั้น แต่อย่างน้อยควรมี 7 อย่าง คือ คน เงิน พัสดุ อุปกรณ์ อำนาจหน้าที่ เวลา กำลังใจในการทำงานและความสะดวกต่าง ๆ
เป็นการแน่นอนว่า การบริหารงานจะต้องมีปัจจัยทั้ง 4 M เป็นส่วนประกอบ สำคัญ เพราะการที่จะดำเนินการให้สำเร็จตามนโยบายตามแผนหรือโครงการก็ต้องอาศัย กำลังคน เงิน วัสดุอุปกรณ์และวิธีการจัดการที่ดี โดยนำปัจจัยเหล่านี้มาผสมผสานกัน อย่างเหมาะสม เพราะจะเห็นได้ว่า แม้องค์การหรือบริษัทหรือส่วนราชการต่าง ๆ จะมีขนาดและปัจจัยต่าง ๆ เท่า ๆ กัน แต่ผลงานที่ได้ออกมาไม่เท่ากัน ปัญหาจึงมีว่า หัวใจ ของการบริหารมิได้อยู่ที่ปริมาณมากน้อยของปัจจัยการบริหารเพียงอย่างเดียว แต่ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของการจัดการ ภาวะความเป็นผู้นำ สภาพแวดล้อมอื่น ๆ ที่จะทำให้ เกิดผลงานที่ดีทั้งปริมาณและคุณภาพ
ดังนั้น การบริหารงานใด ๆ ก็ตาม การที่จะได้ผลงานออกมา (output) ก็จำเป็น จะต้องปัจจัย 3 อย่าง ที่ใส่เข้าไปในงานก่อน (input) คือ คน เงิน และวัสดุ และมี กระบวนการในการจัดการให้ input factors ต่าง ๆ ผสมกลมกลืนกันเป็นอย่างดี ผลงาน จะออกมาดีมีประสิทธิภาพ (อมร รักษาสัตย์ และขัตติยา กรรณสูต, 2515, หน้า 289)


อ้างอิง อมร รักษาสัตย์และขัตติยา กรรณสูต. (2515). ทฤษฎีและแนวความคิดในการพัฒนาประเทศ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
มัฆวาฬ สุวรรณเรือง. (2536). ประสิทธิผลของการนำนโยบายป้องปรามทุจริฅเลึอกตั้ง ของโครงการ ท.ม.ก. ไปปฏิบัติ: กรณีวิจัยปฏิบัติการเขตเลือกตั้ง ค. จังหวัด นครราชสีมา. วิทยานิพนธ์พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.


*นางสาวนรินทร กนกศรีขริน รหัส 5210125401069 เอกการจัดการทั่วไป

Kantong กล่าวว่า...

การบริหารงานจะต้องมีปัจจัยพื้นฐาน 4 ประการ หรือเรียกว่า ทรัพยากร การบริหาร (Administration resources) คือ คน (man) เงิน (money) วัสดุอุปกรณ์ (material) และการจัดการ (management) หรือเรียกสั้นว่า 4 M ปัจจัยทั้ง 4 ประการ นับว่าเป็นปัจจัย พื้นฐาน ทั้งนี้เพราะว่าการบริหารทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นของรัฐหรือเอกชนก็ตามจำเป็น ต้องอาศัย เงิน วัสดุ และการจัดการองค์การเป็นองค์ประกอบที่ขาดเสียมิได้
แต่ปัจจุบันได้มีพิจารณาขยายขอบเขตของปัจจัยการบริการกว้างขวางออกไปอีก เช่น Greenwood (อ้างถึงใน มัฆวาฬ สุวรรณเรือง,2536, หน้า 52) ได้เสนอความเห็นว่า ปัจจัยในการบริหารไม่ได้มีเพียง 4 อย่างเทานั้น แต่อย่างน้อยควรมี 7 อย่าง คือ คน เงิน พัสดุ อุปกรณ์ อำนาจหน้าที่ เวลา กำลังใจในการทำงานและความสะดวกต่าง ๆ
เป็นการแน่นอนว่า การบริหารงานจะต้องมีปัจจัยทั้ง 4 M เป็นส่วนประกอบ สำคัญ เพราะการที่จะดำเนินการให้สำเร็จตามนโยบายตามแผนหรือโครงการก็ต้องอาศัย กำลังคน เงิน วัสดุอุปกรณ์และวิธีการจัดการที่ดี โดยนำปัจจัยเหล่านี้มาผสมผสานกัน อย่างเหมาะสม เพราะจะเห็นได้ว่า แม้องค์การหรือบริษัทหรือส่วนราชการต่าง ๆ จะมีขนาดและปัจจัยต่าง ๆ เท่า ๆ กัน แต่ผลงานที่ได้ออกมาไม่เท่ากัน ปัญหาจึงมีว่า หัวใจ ของการบริหารมิได้อยู่ที่ปริมาณมากน้อยของปัจจัยการบริหารเพียงอย่างเดียว แต่ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของการจัดการ ภาวะความเป็นผู้นำ สภาพแวดล้อมอื่น ๆ ที่จะทำให้ เกิดผลงานที่ดีทั้งปริมาณและคุณภาพ
ดังนั้น การบริหารงานใด ๆ ก็ตาม การที่จะได้ผลงานออกมา (output) ก็จำเป็น จะต้องปัจจัย 3 อย่าง ที่ใส่เข้าไปในงานก่อน (input) คือ คน เงิน และวัสดุ และมี กระบวนการในการจัดการให้ input factors ต่าง ๆ ผสมกลมกลืนกันเป็นอย่างดี ผลงาน จะออกมาดีมีประสิทธิภาพ (อมร รักษาสัตย์ และขัตติยา กรรณสูต, 2515, หน้า 289)


อ้างอิง อมร รักษาสัตย์และขัตติยา กรรณสูต. (2515). ทฤษฎีและแนวความคิดในการพัฒนาประเทศ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
มัฆวาฬ สุวรรณเรือง. (2536). ประสิทธิผลของการนำนโยบายป้องปรามทุจริฅเลึอกตั้ง ของโครงการ ท.ม.ก. ไปปฏิบัติ: กรณีวิจัยปฏิบัติการเขตเลือกตั้ง ค. จังหวัด นครราชสีมา. วิทยานิพนธ์พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.


*นางสาวนรินทร กนกศรีขริน รหัส 5210125401069 เอกการจัดการทั่วไป

Kantong กล่าวว่า...
ความคิดเห็นนี้ถูกลบโดยผู้ดูแลระบบของบล็อก
Kantong กล่าวว่า...
ความคิดเห็นนี้ถูกลบโดยผู้ดูแลระบบของบล็อก
Kantong กล่าวว่า...

Unknown กล่าวว่า...

Unknown กล่าวว่า...

Unknown กล่าวว่า...

นางสาวศิรินทรา เรืองรอง การจัดการทั่วไป 5210125401026
ความหมายของ SWOT Analysis
SWOT Analysis เป็นการวิเคราะห์สภาพองค์การ หรือหน่วยงานในปัจจุบัน เพื่อค้นหาจุดแข็ง จุดเด่น จุดด้อย หรือสิ่งที่อาจเป็นปัญหาสำคัญในการดำเนินงานสู่สภาพที่ต้องการในอนาคต

SWOT เป็นตัวย่อที่มีความหมายดังนี้
Strengths - จุดแข็งหรือข้อได้เปรียบ
Weaknesses - จุดอ่อนหรือข้อเสียเปรียบ
Opportunities - โอกาสที่จะดำเนินการได้
Threats - อุปสรรค ข้อจำกัด หรือปัจจัยที่คุกคามการดำเนินงานขององค์การ

หลักการสำคัญของ SWOT ก็คือการวิเคราะห์โดยการสำรวจจากสภาพการณ์ 2 ด้าน คือ สภาพการณ์ภายในและสภาพการณ์ภายนอก ดังนั้นการวิเคราะห์ SWOT จึงเรียกได้ว่าเป็นการวิเคราะห์สภาพการณ์ (situation analysis) ซึ่งเป็นการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน เพื่อให้รู้ตนเอง (รู้เรา) รู้จักสภาพแวดล้อม (รู้เขา) ชัดเจน และวิเคราะห์โอกาส-อุปสรรค การวิเคราะห์ปัจจัยต่าง ๆ ทั้งภายนอกและภายในองค์กร ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริหารขององค์กรทราบถึงการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายนอกองค์กร ทั้งสิ่งที่ได้เกิดขึ้นแล้วและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในอนาคต รวมทั้งผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ที่มีต่อองค์กรธุรกิจ และจุดแข็ง จุดอ่อน และความสามารถด้านต่าง ๆ ที่องค์กรมีอยู่ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการกำหนดวิสัยทัศน์ การกำหนดกลยุทธ์และการดำเนินตามกลยุทธ์ขององค์กรระดับองค์กรที่เหมาะสมต่อไป

ประโยชน์ของการวิเคราะห์ SWOT
วิเคราะห์ SWOT เป็นการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมต่าง ๆ ทั้งภายนอกและภายในองค์กร ซึ่งปัจจัยเหล่านี้แต่ละอย่างจะช่วยให้เข้าใจได้ว่ามีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานขององค์กรอย่างไร จุดแข็งขององค์กรจะเป็นความสามารถภายในที่ถูกใช้ประโยชน์เพื่อการบรรลุเป้าหมายในขณะที่จุดอ่อนขององค์กรจะเป็นคุณลักษณะภายใน ที่อาจจะทำลายผลการดำเนินงาน โอกาสทางสภาพแวดล้อมจะเป็นสถานการณ์ที่ให้โอกาสเพื่อการบรรลุเป้าหมายองค์กรในทางกลับกันอุปสรรคทางสภาพแวดล้อมจะเป็นสถานการณ์ที่ขัดขวางการบรรลุเป้าหมายขององค์กร ผลจากการวิเคราะห์ SWOT นี้จะใช้เป็นแนวทางในการกำหนดวิสัยทัศน์ การกำหนดกลยุทธ์ เพื่อให้องค์กรเกิดการพัฒนาไปในทางที่เหมาะสม

ขั้นตอน / วิธีการดำเนินการทำ SWOT Analysis
การวิเคราะห์ SWOT จะครอบคลุมขอบเขตของปัจจัยที่กว้างด้วยการระบุจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรคขององค์กร ทำให้มีข้อมูล ในการกำหนดทิศทางหรือเป้าหมายที่จะถูกสร้างขึ้นมาบนจุดแข็งขององค์กร และแสวงหาประโยชน์จากโอกาสทางสภาพแวดล้อม และสามารถ กำหนดกลยุทธ์ที่มุ่งเอาชนะอุปสรรคทางสภาพแวดล้อมหรือลดจุดอ่อนขององค์กรให้มีน้อยที่สุดได้ ภายใต้การวิเคราะห์ SWOT นั้น จะต้องวิเคราะห์ทั้งสภาพแวดล้อมภายในและภายนอก องค์กร โดยมีขั้นตอนดังนี้
1. การประเมินสภาพแวดล้อมภายในองค์กร
- จุดแข็งขององค์กร (S-Strengths) เป็นการวิเคราะห์ปัจจัยภายในจากมุมมองของผู้ที่อยู่ภายในองค์กรนั้นเองว่า ปัจจัยใดภายในองค์กรที่เป็นข้อได้เปรียบหรือจุดเด่นขององค์กรที่องค์กรควรนำมาใช้ในการพัฒนาองค์กรได้ และควรดำรงไว้เพื่อการ เสริมสร้างความเข็มแข็งขององค์กร
- จุดอ่อนขององค์กร (W-Weanesses) เป็นการวิเคราะห์ ปัจจัยภายในจากมุมมองของผู้ที่อยู่ภายในจากมุมมอง ของผู้ที่อยู่ภายในองค์กรนั้น ๆ เองว่าปัจจัยภายในองค์กรที่เป็นจุดด้อย ข้อเสียเปรียบขององค์กรที่ควรปรับปรุงให้ดีขึ้นหรือขจัดให้หมดไป อันจะเป็นประโยชน์ต่อองค์กร
2. การประเมินสภาพแวดล้อมภายนอก
- โอกาสทางสภาพแวดล้อม (O-Opportunities) เป็นการวิเคราะห์ว่าปัจจัยภายนอกองค์กร ปัจจัยใดที่สามารถส่งผลกระทบประโยชน์ ทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการดำเนินการขององค์กรในระดับมหาภาค และองค์กรสามารถฉกฉวยข้อดีเหล่านี้มาเสริมสร้างให้ หน่วยงานเข็มแข็งขึ้นได้
- อุปสรรคทางสภาพแวดล้อม (T-Threats) เป็นการวิเคราะห์ว่าปัจจัยภายนอกองค์กรปัจจัยใดที่สามารถส่งผลกระทบในระดับมหภาคในทางที่จะก่อให้เกิดความเสียหายทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งองค์กรจำต้องหลีกเลี่ยง หรือปรับสภาพองค์กรให้มี ความแข็งแกร่งพร้อมที่จะเผชิญแรงกระทบดังกล่าวได้
http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=483.0

Unknown กล่าวว่า...

น.ส.ภาณีนุช ปิยภานีกุล 5210125401014 การจัดการทั่วไป ปี4
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม
ความรู้ทางด้านเศรษฐศาสตร์อยู่รอบตัวเราทุกหนทุกแห่ง ไม่มีบริษัทใดที่หลีกเลี่ยงปัจจัย
จากสภาพแวดล้อมที่ก่อให้เกิดอุปสรรคคุกคามและโอกาสได้
นักวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของ IC&M จะมุ่งเป้าไปที่ประเด็นจากสภาพแวดล้อมที่มีนัยสำคัญต่อองค์กรของคุณ IC&M จะช่วยคุณในเรื่องการเก็บรวบรวมข้อมูล และติดตามดูแลองค์กรของคุณ และประเมินผลกระทบของปัจจัยจากสภาพแวดล้อม และเพื่อรวมกันเข้าเป็นกลยุทธ์
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกของ IC&M จะวิเคราะห์ปัญหาที่ส่งผลกระทบกับกลยุทธ์ทางด้านการตลาดขององค์กร เช่น ปัจจัยทางด้านสังคมวัฒนธรรม ประเด็นทางด้านกฎหมาย และการแข่งขันกันในตลาด การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกเป็นการวิเคราะห์ที่เกี่ยวข้องกันระหว่างองค์กรของคุณและสภาพแวดล้อมภายนอก เพื่อกำหนดและทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากภายนอก เราจะแยกการเปลี่ยนแปลงออกเป็นโอกาส และ อุปสรรคคุกคาม โอกาสคือช่องทางในการสร้างความเติบโตให้ธุรกิจ ขณะที่อุปสรรคคุกคาม คือภัยท้าทายต่อการทำงาน ผู้จัดการจึงมีภาระที่จะต้องทำความเข้าใจและหากำไรจากโอกาสภายนอก และต้องระวังในอุปสรรคคุกคามที่อาจจะทำให้ประสบผลสำเร็จหรือล้มเหลวได้
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในของ IC&M เป็นการวิเคราะห์ในด้านทรัพยากร ความสามารถในการแข่งขัน และความสามารถในด้านอื่นๆ ขององค์กร ผู้เชี่ยวชาญของ IC&M จะเฝ้าดูปัจจัยเหล่านี้ภายในองค์กรของคุณ และจะทำการวิเคราะห์เชิงลึกในเรื่อง การดำเนินงานภายใน วัฒนธรรม โครงสร้าง บุคคลากร ทรัพยากรทางกายภาพ และเทคโนโลยี
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในนั้นตรงกันข้ามกับการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก มันทำให้เราทราบถึงตำแหน่งของการแข่งขัน รวมทั้งจุดแข็งและจุดอ่อนที่เกี่ยวพันกันขององค์กร จุดแข็งทำให้คุณกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญในแวดวงธุรกิจของคุณ ขณะที่จุดอ่อนทำให้คุณขาดความชำนาญการ ทั้งจุดแข็งและจุดอ่อนทำให้คุณเข้าใจถึงผลดีและผลเสียจากการแข่งขัน การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในของ IC&M จะช่วยให้คุณเพิ่มประโยชน์จากจุดแข็งและพิชิตจุดอ่อน


อ้างอิงจาก www.idealconsultancy.com

Unknown กล่าวว่า...

น.ส.ภาณีนุช ปิยภานีกุล 5210125401014 การจัดการทั่วไป ปี4
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม
ความรู้ทางด้านเศรษฐศาสตร์อยู่รอบตัวเราทุกหนทุกแห่ง ไม่มีบริษัทใดที่หลีกเลี่ยงปัจจัย
จากสภาพแวดล้อมที่ก่อให้เกิดอุปสรรคคุกคามและโอกาสได้
นักวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของ IC&M จะมุ่งเป้าไปที่ประเด็นจากสภาพแวดล้อมที่มีนัยสำคัญต่อองค์กรของคุณ IC&M จะช่วยคุณในเรื่องการเก็บรวบรวมข้อมูล และติดตามดูแลองค์กรของคุณ และประเมินผลกระทบของปัจจัยจากสภาพแวดล้อม และเพื่อรวมกันเข้าเป็นกลยุทธ์
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกของ IC&M จะวิเคราะห์ปัญหาที่ส่งผลกระทบกับกลยุทธ์ทางด้านการตลาดขององค์กร เช่น ปัจจัยทางด้านสังคมวัฒนธรรม ประเด็นทางด้านกฎหมาย และการแข่งขันกันในตลาด การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกเป็นการวิเคราะห์ที่เกี่ยวข้องกันระหว่างองค์กรของคุณและสภาพแวดล้อมภายนอก เพื่อกำหนดและทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากภายนอก เราจะแยกการเปลี่ยนแปลงออกเป็นโอกาส และ อุปสรรคคุกคาม โอกาสคือช่องทางในการสร้างความเติบโตให้ธุรกิจ ขณะที่อุปสรรคคุกคาม คือภัยท้าทายต่อการทำงาน ผู้จัดการจึงมีภาระที่จะต้องทำความเข้าใจและหากำไรจากโอกาสภายนอก และต้องระวังในอุปสรรคคุกคามที่อาจจะทำให้ประสบผลสำเร็จหรือล้มเหลวได้
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในของ IC&M เป็นการวิเคราะห์ในด้านทรัพยากร ความสามารถในการแข่งขัน และความสามารถในด้านอื่นๆ ขององค์กร ผู้เชี่ยวชาญของ IC&M จะเฝ้าดูปัจจัยเหล่านี้ภายในองค์กรของคุณ และจะทำการวิเคราะห์เชิงลึกในเรื่อง การดำเนินงานภายใน วัฒนธรรม โครงสร้าง บุคคลากร ทรัพยากรทางกายภาพ และเทคโนโลยี
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในนั้นตรงกันข้ามกับการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก มันทำให้เราทราบถึงตำแหน่งของการแข่งขัน รวมทั้งจุดแข็งและจุดอ่อนที่เกี่ยวพันกันขององค์กร จุดแข็งทำให้คุณกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญในแวดวงธุรกิจของคุณ ขณะที่จุดอ่อนทำให้คุณขาดความชำนาญการ ทั้งจุดแข็งและจุดอ่อนทำให้คุณเข้าใจถึงผลดีและผลเสียจากการแข่งขัน การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในของ IC&M จะช่วยให้คุณเพิ่มประโยชน์จากจุดแข็งและพิชิตจุดอ่อน


อ้างอิงจาก www.idealconsultancy.com

«เก่าที่สุด ‹เก่ากว่า   201 – 214 จาก 214   ใหม่กว่า› ใหม่ที่สุด»