ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC)
แต่เดิมนั้น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
(ASEAN Economic Community: AEC) ยังเป็นเพียงกรอบความตกลงทางการค้า
จากเวทีการเจรจาของกลุ่มประเทศอาเซียน ซึ่งมุ่งเน้นเพียงความร่วมมือทางการค้า
เพื่อชะลอการเปิดเสรีฯ ซึ่งสหรัฐอเมริกา และกลุ่มประเทศยุโรป
พยายามจะรุกเข้ามาในตลาดของภูมิภาคนี้
การรวมกลุ่มกันเพื่อความเข้มแข็งจึงไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
แต่ด้วยการทำงานร่วมกันอย่างยาวนาน ของอาเซียน มีการส่งเสริมความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดในหลายระดับ
จึงได้พัฒนาต่อยอดเป็นมากกว่าเรื่องทางการค้า หรือเศรษฐกิจเท่านั้น
แต่ยังวางรากฐานที่จะเปิดประตูไปสู่ความร่วมมือทางด้านศิลปวัฒนธรรม
การแลกเปลี่ยนช่วยเหลือกันในมิติทางสังคม การเดินทางไปมาหาสู่กันได้อย่างสะดวก
และกระบวนการต่างๆ ก็เดินหน้าไปทุกขณะ แม้จะไม่เร่งรีบ แต่ก็มียุทธศาสตร์และ Road
map วางไว้อย่างชัดเจน จนถึงปัจจุบันนี้ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
หรือ AEC มีผลในทางปฏิบัติมากขึ้นๆ
และส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจที่ไม่ได้เตรียมความพร้อมไว้ล่วงหน้า
ซึ่งจะต้องปรับตัวอย่างเหมาะสม และคอยติดตามข้อมูลข่าวสารอย่างใกล้ชิด
ไม่เพียงแค่ข้อมูลจากส่วนราชการเท่านั้น แต่ยังต้องแสวงหาโอกาส
ความร่วมมือกันของกลุ่มองค์กรภาคเอกชน และภาคประชาสังคมอีกด้วย
ความเป็นมาพอสังเขป (คัดย่อจากข้อมูลของทางกระทรวงพาณิชย์)
ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 9 ที่เกาะบาหลี
สาธารณรัฐอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2546 ได้ให้การรับรองและลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือในอาเซียน (Declaration
of ASEAN Concord II หรือ Bali Concord II) ซึ่งรวมเรื่องการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
(ASEAN Economic Community - AEC) ซึ่งเป็นหนึ่งในเสาหลัก 3
เสาของการจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) โดยอีก 2 เสาหลัก
คือเสาหลักด้านการเมืองและความมั่นคง (Political and Security Pillar) และเสาหลักด้านสังคมและวัฒนธรรม (Socio-Cultural Pillar)
โดยที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 9 ยังเห็นชอบให้มีการรวมตัวเป็น
AEC ภายในปี ค.ศ. 2020 โดยอาเซียนจะเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว รวมทั้งมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ
การลงทุนและแรงงานมีฝีมือโดยเสรีและการเคลื่อนย้ายเงินทุนที่เสรีขึ้น ในการนี้
ผู้นำอาเซียนได้เห็นชอบให้ เร่งรัดการรวมกลุ่มสินค้าและบริการสำคัญ
11 สาขา เป็นสาขานำร่อง
โดยมีประเทศสมาชิกรับผิดชอบในการจัดทำ Road map ในแต่ละสาขา ได้แก่
·
ไทย
: การท่องเที่ยวและการบิน
·
พม่า
: สินค้าเกษตรและสินค้าประมง
·
อินโดนีเซีย : ยานยนต์และผลิตภัณฑ์ไม้
·
มาเลเซีย
: ยางและสิ่งทอ
·
ฟิลิปปินส์
: อิเล็กทรอนิกส์
·
สิงคโปร์
: เทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
และการบริการด้านสุขภาพ
ในส่วนของไทยนั้น ฯพณฯ
นายกรัฐมนตรี ได้เสนอให้เร่งรัดการจัดตั้ง AEC ให้เร็วขึ้นภายในปี ค.ศ. 2012 และเสนอว่าในการเร่งรัดการรวมตัวอาเซียนน่าจะใช้หลักการ Two Plus โดย 2-3 ประเทศที่พร้อมสามารถที่จะเปิดเสรีในภาคที่ตนมีความพร้อมไปก่อน
และประเทศอื่นๆ สามารถเข้าร่วมเมื่อมีความพร้อมแล้ว ซึ่งในประเด็นนี้ นายกรัฐมนตรี
สิงคโปร์
ได้กล่าวสนับสนุนข้อเสนอของไทยที่ให้เลื่อนระยะเวลาในการบรรลุประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนให้เร็วขึ้น
โดยเห็นว่าน่าจะเป็นปี ค.ศ. 2015
จากที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (Informal
AEM) เมื่อวันที่ 19-20 มกราคม 2547 ที่ยอกยาการ์ตา มอบหมายให้ SEOM เป็นผู้เจรจาเรื่องการจัดทำ
Road map สำหรับสินค้าและบริการ 11 สาขาดังกล่าว
ที่ประชุม AEM Retreat ครั้งที่ 10
เมื่อวันที่ 20-21 เมษายน 2547 ที่ประเทศสิงคโปร์ ได้ตกลงให้จัดทำ Framework Agreement สำหรับเรื่องการรวมตัวของสินค้าและบริการ 11 สาขา
เพื่อเสนอให้ผู้นำอาเซียนลงนาม และ
พิธีสารสำหรับแต่ละสาขาสำหรับให้รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ลงนาม ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 10 ณ เมืองเวียงจันทน์
ในเดือนพฤศจิกายน 2547 นอกจากนี้ ยังเห็นชอบให้กำหนดให้ปี
ค.ศ. 2010 เป็น deadline สำหรับการรวมตัวของสินค้าและบริการ
11 สาขา โดยให้มีการผ่อนปรนสำหรับประเทศกัมพูชา ลาว พม่า
และเวียดนาม (CLMV) ได้
ที่ประชุม AEM ครั้งที่ 36 ณ กรุงจาการ์ตา (3 กันยายน 2547) รับรองร่าง Road map สำหรับสินค้าและบริการ 11
สาขา ร่าง Framework Agreement for the Integration of the
Priority Sectors และร่างพิธีสาร ASEAN Sectoral Integration
Protocol สำหรับ Road map ทั้ง 11 สาขา ไว้ชั้นหนึ่งแล้ว และรับทราบว่าจะมีการประชุม SEOM อีกครั้งเพื่อพิจารณาสรุปผลการเจรจา Road map ในทุกสาขา
นอกจากนี้ ที่ประชุมเห็นชอบกับข้อเสนอที่ให้เร่งลดภาษีสินค้าใน Priority
Sectors เร็วขึ้นจากกรอบ AFTA เดิม 3 ปี คือ จาก ค.ศ. 2010 เป็นปี 2007 สำหรับสมาชิกอาเซียนเดิม 6 ประเทศ และ ปี 2015
เป็น 2012 สำหรับประเทศ CLMV โดยได้กำหนดเพดานสำหรับสินค้าทั้งหมดใน Priority Sectors ที่ไม่ต้องการเร่งลดภาษี (Negative List) ไว้ที่ 15%
ที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจอาเซียนเมื่อวันที่ 21-22
กันยายน 2547 ที่กรุงเทพฯ
สามารถหาข้อสรุปในสาระสำคัญของทุก Road map ได้ ทั้งนี้
กรอบความตกลงว่าด้วยการรวมกลุ่มสาขาสำคัญของอาเซียนกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับมาตรการร่วมที่จะใช้กับการรวมกลุ่มสินค้าและบริการสำคัญทุกสาขาและมีสาระสำคัญ
ได้แก่ การเปิดเสรีการค้าสินค้า การค้าบริการ การลงทุน
การอำนวยความสะดวกด้านการค้า และการลงทุนและการส่งเสริมการค้าและการลงทุน
และความร่วมมือในด้านอื่นๆ ดังนี้
(1) การค้าสินค้า - จะเร่งลดภาษีสินค้าใน
Priority Sectors (เกษตร/ประมง/ผลิตภัณฑ์ไม้/ผลิตภัณฑ์ยาง/สิ่งทอ/ยานยนต์/อิเล็กทรอนิกส์/เทคโนโลยีสารสนเทศ/สาขาสุขภาพ)
เป็น 0% เร็วขึ้นจากกรอบ AFTA เดิม 3
ปี คือ จาก 2010 เป็นปี 2007 สำหรับสมาชิกอาเซียนเดิม 6 ประเทศ และ ปี 2015 เป็น 2012 สำหรับประเทศ
CLMV โดยได้กำหนดเพดานสำหรับสินค้าทั้งหมดใน Priority
Sectors ไม่ต้องการเร่งลดภาษี (Negative List) ไว้ที่ 15%
(2) การค้าบริการ - จะเร่งเปิดเสรีสาขาบริการใน
Priority Sectors (สาขาสุขภาพ, e-ASEAN, ท่องเที่ยวและการขนส่งทางอากาศ) ภายในปี ค.ศ. 2010
ทั้งนี้ ให้ใช้ ASEAN-X formula ได้
(3) การลงทุน - จะเร่งเปิดการลงทุนในรายการสงวน
(Sensitive List) ภายในปี 2010 สำหรับอาเซียนเดิม
6 ประเทศ ปี ค.ศ. 2013 สำหรับเวียดนามและ
2015 สำหรับกัมพูชา ลาว และพม่า ทั้งนี้ ให้ใช้ ASEAN-X
formula ได้ และส่งเสริมการผลิตในอาเซียนโดยการจัดตั้งเครือข่าย ASEAN
free trade zones เพื่อส่งเสริมการซื้อวัตถุดิบและชิ้นส่วนที่ผลิตในอาเซียน
(outsourcing) และดำเนินมาตรการร่วมเพื่อดึงดูด FDI
(4) การอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการลงทุน -
ซึ่งประกอบด้วยเรื่องต่างๆ คือ กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า พิธีการศุลกากร มาตรฐาน (standard and conformance) การอำนวยความสะดวกด้านการขนส่ง
และ logistics service สำหรับการขนส่ง
การอำนวยความสะดวกด้านการท่องเที่ยวในอาเซียน และ การเคลื่อนย้ายของนักธุรกิจ
ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ประกอบวิชาชีพ และ แรงงานมีฝีมือ
(5) การส่งเสริมการค้าและการลงทุน
และความร่วมมือในด้านอื่นๆ เช่น ทรัพย์สินทางปัญญา
ความร่วมมือด้านอุตสาหกรรม และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ พิธีสารว่าด้วยการรวมกลุ่มรายสาขาของอาเซียน
11 สาขากำหนดมาตรการร่วม
ซึ่งคาบเกี่ยวกับทุกสาขาเช่นเดียวกับในกรอบความตกลงฯ
และมาตรการเฉพาะสำหรับการรวมกลุ่มแต่ละสาขานั้นๆ โดยรวมอยู่ในแผนการรวมกลุ่ม (Road
map) ซึ่งผนวกอยู่กับพิธีสารฯ
ผู้นำอาเซียนได้ลงนามในกรอบความตกลงว่าด้วยการรวมกลุ่มสาขาสำคัญของอาเซียน
(Framework Agreement for the Integration of the Priority Sectors) ในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2547 และรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนได้ลงนามในพิธีสารว่าด้วยการรวมกลุ่มรายสาขาของอาเซียน
11 ฉบับ (ASEAN Sectoral Integration Protocol) ในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2547 ในช่วงการประชุมสุดยอดอาเซียน
ครั้งที่ 10 ที่เวียงจันทน์ ระหว่างวันที่ 29-30
พฤศจิกายน 2547 ทั้งนี้
ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 10 ทุกประเทศย้ำความสำคัญของการดำเนินการต่างๆ
เพื่อนำไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนภายในปี 2563 (ค.ศ. 2020)
ซึ่ง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ได้ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องเร่งรัดการรวมตัวของอาเซียนให้เร็วขึ้น โดยอาจให้สำเร็จภายในปี 2555 (ค.ศ. 2012) และได้เสนอแนวทางต่างๆ เพื่อช่วยเร่งรัดการรวมตัว เช่น การใช้วิธีการ Two
plus X ซึ่ง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีได้เคยเสนอความจำเป็น
และแนวทางนี้มาแล้วเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2546 ระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 9 ที่บาหลี
สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ ก็ได้สนับสนุนข้อเสนอแนะของ
ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีของไทย ที่ให้เร่งรัดการจัดตั้ง AEC ด้วย
ทั้งนี้
สามารถติดตามหาข้อมูลเพิ่มเติมได้โดยตรงจากกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
กระทรวงพาณิชย์ http://www.dtn.moc.go.th/dtn/index.php และ http://www.thaifta.com/ThaiFTA/ รวมถึงแหล่งข้อมูลอื่นๆ อีกมากมาย
อาทิเช่น http://en.wikipedia.org/wiki/ASEAN_Community เป็นต้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น