หน้าเว็บ

นางสาวกอบทอง 5130125401224



แนวความคิดทางการจัดการ แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท

แนวความคิดแบบเก่า (old concept)

ในสมัยก่อนการบังคับบัญชาถือเอาความคิดของหัวหน้างานเป็นหลัก การบริหารเป็นไปโดยปราศจากเหตุผล แต่ใช้หลักความรุนแรง เคร่งครัด ผู้ใต้บังคับบัญชาต้องปฏิบัติตามคำสั่งของหัวหน้างานอย่างเคร่งครัดโดยไม่คำนึงถึงความคิดเป็นส่วนตัวของแต่ละบุคคลจากการใช้หลักการของแนวความคิดแบบเก่านี้จะเป็นว่า ทุกอย่างขึ้นอยู่กับอำนาจ สายการบังคับบัญชาจะมาจากเบื้องบนเสมอ โดยนายจ้างเป็นผู้ออกคำสั่งแต่เพียงผู้เดียว ผู้ใต้บังคับบัญชาไม่มีสิทธิ์แสดงความคิดเป็นใด ๆ การตัดสินใจอยู่ที่ส่วนกลางไม่มีการกระจายอำนาจผู้บังคับบัญชาสมัยเก่ามักจะคิดว่าการจูงใจให้บุคคลทำงานนั้นขึ้นอยู่กับพื้นฐานทางเศรษฐกิจ คือ เงินเพียงอย่างเดียว จึงไม่ได้ให้ความสนใจในเรื่องสวัสดิการและความปลอดภัยในการดำเนินงานแต่อย่างใด
แนวความคิดแบบใหม่ (modern concept)

ทัศนะของนายจ้างต่อลูกจ้างเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม นายจ้างมองลูกจ้างในแง่ดีให้วามสำคัญต่อลูกจ้างและมีความไว้วางใจผู้ใต้บังคับบัญชานอกจากนี้ยังนำเอาทฤษฎีเกี่ยวกับการจูงใจมาใช้ประโยชน์ ในหลักการเกี่ยวกับแนวความคิดแบบใหม่ถือว่าบุคคลมีความรับผิดชอบ มีความคิดริเริ่ม มีความต้องการและเต็มใจจะทำงานร่วมกัน มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย เปิดโอกาสให้คนทำงานอย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้ระบบการควบคุมตนเองการจูงใจคนให้ทำงานไม่ได้ใช้เงินเป็นปัจจัยสำคัญแต่เพียงอย่างเดียว ต้องมีสิ่งจูงใจที่ไม่ใช่ตัวเงินเกี่ยวข้องด้วย

วิวัฒนาการทางการจัดการ

การจัดการ หรือ การบริหาร อาจจะกล่าวได้ว่าเป็นเรื่องที่แทบจะเกิดขึ้นพร้อมกับอารยธรรมมนุษย์ไม่ว่าเราจะสืบเรื่องราวที่เก่าแก่ในอดีตเพียงใด เราก็จะพบว่าเมื่อมีกลุ่มก็จะมีผู้นำ มีหัวหน้า หรือมีกษัตริย์ซึ่งจะต้องดำเนินบทบาทเป็นแกนนำของกลุ่ม เพื่อให้กลุ่มของตนดำรงค์อยู่ได้ด้วยความเป็นระเบียบ สามารถดำรงค์ฐานะความเป็นกลุ่มให้คงอยู่เอาไว้อย่างเหนียวแน่น แต่การศึกษาเป็นทฤษฎี และหลักเกณฑ์ทางการจัดการที่มีรูปแบบเพิ่งจะเริ่มขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ คือราวศตวรรษที่ 18 ภายหลังจากการปฏิบัติอุตสาหกรรมการปฏิวัติอุตสาหกรรม (industrial revolution) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม โดยเปลี่ยนจากการผลิตในระบบช่างฝีมือมาเป็นการผลิตด้วยเครื่องจักรอันเป็นผลที่เกิดจากการที่มนุษย์สามารถคิดค้นพัฒนาเครื่องจักรต่าง ๆ ขึ้นใช้แทนแรงงานคนและแรงงานสัตว์ ทำให้สามรถเพิ่มประสิทธิภาพในการเพิ่มผลผลิตได้อย่างมหาศาล การปฏิวัติอุตสาหกรรมเกิดขึ้นในยุโรปตะวันตกประมาณ ค.ศ. 1760-1830 ได้มีการดัดแปลงเครื่องจักรมาใช้ในอุตสาหกรรมหลายประเภท เช่น อุตสาหกรรมทอผ้า โดยในปี ค.ศ. 1733 จอร์น เคย์ (John Kay) ได้ประดิษฐ์กระสวยบิน (flying shuttle) เป็นกระสวยที่ผูกติดใว้กับเชือกแล้วใช้วิธีกระตุกเชือกให้กระสวยพุ่งไปมาแทนการใช้คน ซึ่งทำให้การทอผ้ารวดเร็วขึ้นได้ผ้าหน้ากว้างขึ้น ผลของการปฏิวัติอุตสาหกรรมประการหนึ่งก็คือ ระบบอุตสาหกรรมครัวเรือน (domestic system) ได้สลายตัวไปและเกิดระบบโรงงาน (factory system) เข้าแทนที่ เนื่องจากการผลิตแบบใหม่โดยใช้เครื่องจักรที่มีการลงทุนมหาศาล การผลิตได้ทีละมาก ๆ (mass production) เพื่อให้สามารถรองรับกับปริมาณการบริโภคที่เพิ่มขึ้น เกิดความต้องการแรงงานมากขึ้น เพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรม สมาชิกครัวเรือนต่างเคลื่อนเข้าสู่การจ้างงานในโรงงาน โดยได้รับค่าจ้างเป็นผลตอบแทนจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ธุรกิจจึงมีการทำงานที่ซับซ้อนยุ่งยากมากขึ้น และต้องเผชิญกับสภาวะการแข่งขันที่รุนแรงเพิ่มขึ้น ดังนั้นการบริหารจัดการองค์การอย่างมีรูปแบบ จึงมีความจำเป็นและได้ถูกพัฒนาขึ้นมาเป็นแนวความคิดการจัดการและได้มีการปรับปรุงเพื่อให้สามารถใช้ในการบริหารจัดการองค์การได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นลำดับWilliam G. Scott ได้แบ่งวิวัฒนาการทางการจัดการ ตั้งแต่เริ่มแรกหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรมจนถึงปัจจุบันอาจจะแบ่งออกได้เป็น 3 ยุค คือ

ยุคที่ 1 ยุคการจัดการสมัยเดิม (classic) (ค.ศ. 1880 – 1930)

1.1 แนวความคิดการจัดการที่มีหลักเกณฑ์ (Scientific Management)เจ้าของทฤษฎีคือ Frederick W.Taylor (1880-1915) โดยมุ่งศึกษาและวิเคราะห์เกี่ยวกับเรื่อง เวลา และการเคลื่อนไหว หรือ "time and motion study" และได้ชื่อว่าเป็นบิดาของการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ ในทัศนะของ Taylor เห็นว่าการปรับปรุงประสิทธิภาพของการทำงานให้ดีขึ้น ถ้าได้มีการกำหนดวิธีการทำงานให้ดีขึ้น ถ้าได้มีการกำหนดวิธีการทำงานที่ดีที่สุดวิธีเดียว และทั้งนายจ้างและลูกจ้างจะได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน

ยุคที่ 2 ยุคการจัดการสมัยใหม่ (Neo-classic) (ค.ศ. 1930-1950)

แนวความคิดการจัดการตามแนวมนุษย์สัมพันธ์ (Human Relation)

เจ้าของแนวความคิดหรือทฤษฎี ได้แก่ Elton Mayo นักจิตวิทยาชาวสหรัฐอเมริกาเรียกว่าวิจัยที่เป็นผลงานเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีว่า "Hawthorne study" หรือ "Hawthorne experiment" ซึ่งจากการศึกษาของ Mayo สรุปได้โดยธรรมชาติของมนุษย์จะมีพฤติกรรม 2 แบบคือ

1. พฤติกรรมที่เป็นไปตามเหตุผล

2. พฤติกรรมที่เป็นไปตามอารมณ์ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นอย่างไม่มีเหตุผล

ดังนั้น ในการที่ให้ปัจจัยผลตอบแทนหรือค่าจ้างสูง เพื่อให้คนงานเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานสูงซึ่งถือว่าเป็นพฤติกรรมที่เป็นไปตามเหตุผลอาจจะเป็นความเข้าในที่ไม่ถูกต้องทั้งหมดเนื่องมาจากมนุษย์ไม่ใช่เครื่องจักรมนุษย์มีจิตใจและความรู้สึก มีความแปรปรวนทางด้านอารมณ์ ดังนั้น ปัจจัยจูงใจที่เป็นตัวเงินเพียงอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอต่อการใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน หรือเพิ่มผลผลิต ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่เป็นปัจจัยที่ใช้ตอนสนองเรื่องราวทางด้านจิตใจ และความสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างกันนอกจากนี้ Mayo ยังได้ศึกษาในลำดับต่อมาเกี่ยวกับเรื่อง ลักษณะของผู้นำ (leadership) การพัฒนาพนักงาน (employee development) และการติดต่อสื่อสาร (communication)

ยุคที่ 3 ยุคการจัดการสมัยปัจจุบัน (Modern) (ค.ศ. 1950-ปัจจุบัน

1. แนวความคิดการจัดการโดยใช้คณิตศาสตร์เพื่อช่วยในการตัดสินใจ เป็นแนวความคิดที่ใช้ตัวเลขเป็นเครื่องมือในการบริหารและการตัดสินใจ โดยมีการพยายามปรับข้อมูลต่าง ๆ ให้เป็นตัวเลข และนำตัวเลขเหล่านั้นผ่านกระบวนการคำนวณทางคณิตศาสตร์และตัวเลขที่เป็นผลลัพธ์จะนำไปสู่การวิเคราะห์ ตีความ และแปรความหมาย และจะนำไปใช้ประกอบในการตัดสินใจของผู้บริหาร อย่างไรก็ตามการใช้ตัวเลขหรือสูตรคำนวณต่าง ๆ ที่เป็นกระบวนการทางคณิตศาสตร์นั้น มีข้อจำกัดและมีข้อยกเว้นมากซึ่งข้อจำกันที่เป็นข้อยกเว้นเหล่านี้แท้จริงแล้วเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้อง และมีอิทธิพลที่สำคัญในการที่จะต้องพิจารณาประกอบในการบริหารงานและการตัดสินใจ
แต่อย่างไรก็ตาม ตัวเลขที่ผ่านการประมวลทางคณิตศาสตร์ออกมาเป็นผลลัพธ์จะใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงใดนั้น ก็ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้วิเคราะห์ที่จะต้องคำนึงถึงปัจจัยแวดล้อมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและจะต้องนำมาพิจารณาประกอบกับผลลัพธที่เป็นตัวเบบอย่างสมเหตุสมผล

2. แนวความคิดการจัดการเชิงระบบแนวความคิดการจัดการเชิงระบบ โดย Norbert Wiener (ค.ศ. 1958) เป็นการนำเอาแนวคิดเกี่ยวกับระบบ (system) มาประยุกต์ใช้ ซึ่งการที่จะเข้าใจแนวความคิดนี้ได้ดีนั้นจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับระบบในอันดับแรกก่อนระบบ (system) คือ ส่วนต่าง ๆ จำนวนหนึ่ง ซึ่งสัมพันธ์และขึ้นอยู่ต่อกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเพื่อกระทำงานสิ่งบางอย่างให้สำเร็จผลตามต้องการ

อ้างอิง : มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น. 2547. วิวัฒนาการของแนวคิดทางการจัดการ.

[Online]./Available:URL:http://www.fareastern.ac.th/acad/mk/sirinapha/management/chapter3.htm

ไม่มีความคิดเห็น: