การจัดการทั่วไป
สุภัททา ปัณฑะแพทย์ (2542, หน้า 144) ได้กล่าวถึงแรงจูงใจในการศึกษาว่า ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ดังนี้
1. แรงจูงใจเกิดจากความต้องการความสุขส่วนตัว มนุษย์มีความต้องการหา ความสุขให้กับตนเอง หลีกหนีความไม่พึงพอใจ ดังนั้นแรงจูงใจจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ให้ มนุษย์แสดงพฤติกรรมเพื่อแสวงหาความสมดุล ไม่ว่าจะเป็นในด้านความสุขหรือความเจ็บปวด ซึ่งขึ้นอยู่กับความพอใจแห่งตน
2. แรงจูงใจเกิดจากการตอบสนองสัญชาตญาณ โดยไม่ต้องมีการเรียนรู้ เช่น การตอบสนองต่ออาหารตอบสนองต่อสิ่งเร้าทางเพศและความเจ็บปวดต่างๆ
3. แรงจูงใจเกิดขึ้นตามเหตุและผล คนเรามีอิสระที่จะกระทำหรือตัดสินสิ่งต่าง ๆ โดยมีเหตุผลและรู้ว่าตนต้องการอะไร ทำให้การตัดสินใจเลือกเป็นแรงจูงใจตามหลักเหตุและผล
4. แรงจูงใจเกิดจากแรงขับ การกระทำที่มนุษย์เลือกกระทำขึ้นอยู่กับความมากน้อยของแรงขับที่จะตัดสินให้เกิดแรงกระทำนั้น ๆ
5. แรงจูงใจเกิดจากการกระตุ้นของอารมณ์ในบางครั้งบุคคลก็จะแสดงพฤติกรรมตามพลังของอารมณ์
สรุปได้ว่า แรงจูงใจในการเลือกศึกษาจะประกอบด้วยความต้องการและ เป้าประสงค์ที่มีลักษณะผสมผสานกันหลายประการ ทั้งด้านเหตุผลส่วนตัว ด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ ด้านบุคคลที่เกี่ยวข้อง และด้านสถาบัน
สุภัททา ปิณฑะแพทย์. (2542). พฤติกรรมมนุษย์และการพัฒนาตน. กรุงเทพมหานคร: สถาบันราชภัฎสวนสุนันทา, ภาควิชาจิตวิทยาและการแนะแนว.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น