หน้าเว็บ

นางสาวกอบทอง 5130125401224



สภาพแวดล้อมภายนอก

เนื่องจากสภาพแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงได้ และ มีอิทธิพลต่อการดำเนินธุรกิจ หากผู้บริหารทราบถึงความเปลี่ยนแปลง และ ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับองค์การ ก็จะสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงนั้นได้ดังนั้น องค์กรจึงควรมีการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมต่างๆที่มีผลกระทบต่อธุรกิจ เพื่อเป็นการประเมินหา จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และ อุปสรรค ขององค์การ ผลการวิเคราะห์มักถูกใช้เป็นรากฐานของการกำหนดกลยุทธ์ เพื่อที่จะทำให้บรรลุตาม วิสัยทัศน์ ภารกิจ เป้าหมาย หรือ นโยบายขององค์กร

การวิเคราะห์ SWOT (SWOT Analysis)

การประเมิน ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมภายนอกองค์กร เพื่อทำให้ทราบถึง โอกาส และ อุปสรรค และการประเมิน ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมภายในองค์กร เพื่อทำให้ทราบถึง จุดแข็ง และ จุดอ่อน ภายในองค์กรจะเรียกการวิเคราะห์นี้ว่า การวิเคราะห์ SWOT โดยที่

S = Strength คือ จุดแข็ง

W = Weakness คือ จุดอ่อน

O = Opportunity คือ โอกาส

T = Threats คือ อุปสรรค

S = Strength (จุดแข็ง) หมายถึง การดำเนินงานภายในองค์กรที่สามารถกระทำได้ดี องค์กรจะต้องวิเคราะห์ การดำเนินงานภายใน เช่น การบริหาร การเงิน การตลาด การผลิต และ การวิจัยพัฒนา เพื่อพิจาณาเป็นระยะ องค์กรที่บรรลุความสำเร็จจะกำหนดกลยุทธ์ขององค์กร โดยใช้ประโยชน์จาก จุดแข็ง ของการดำเนินงานภายในเสมอ

W= Weakness (จุดอ่อน) หมายถึง การดำเนินงานภายในองค์กรที่ทำได้ไม่ดี อาจเป็นเพราะการขาดแคลนทรัพยากรในองค์กรที่จะส่งเสริมให้การดำเนินงานลุล่วงด้วยดี ได้แก่ การบริหาร การเงิน การตลาด การผลิต การวิจัยพัฒนา ซึ่งเป็นข้อด้อยขององค์กร ที่ทำให้ไม่ประสบความสำเร็จ องค์กรจะต้องกำหนดกลยุทธ์ที่สามารถลบล้าง หรือ ปรับปรุง จุดอ่อน การดำเนินงานภายในเหล่านี้ให้ดีขึ้น

O = Opportunity (โอกาส) หมายถึง สภาพแวดล้อมภายนอก ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานขององค์กร องค์กรต้องคาดคะเนการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม เช่น เศรษฐกิจ การเมือง สังคม เทคโนโลยี และ การแข่งขัน อยู่เป็นระยะ เพื่อการแสวงหาประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายนอก ซึ่งความเปลี่ยนแปลงอาจส่งผลถึงความต้องการของผู้บริโภค ทัศนคติของพนักงาน ทำให้ต้องมีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ไปตามความเปลี่ยนแปลงด้วย

T = Threats (อุปสรรค) หมายถึง สภาพแวดล้อมภายนอกที่คุกคามต่อการดำเนินงานขององค์กร สภาพแวดล้อมภายนอกเหล่านี้ได้แก่ เศรษฐกิจ การเมือง สังคม เทคโนโลยี และ การแข่งขัน เป็นต้น ซึ่งส่งผลลบต่อการดำเนินงานขององค์กร เช่น ทำให้ความต้องการของผู้บริโภคลดลง ทัศนคติของพนักงานแย่ลง ทำให้ต้องมีการปรับกลยุทธ์เพื่อขจัด หลีกเลี่ยง สภาพแวดล้อมที่ส่งผลลบต่อองค์กรการเก็บรวบรวมข้อมูลสภาพแวดล้อม ในการวิเคราะห์ SWOT องค์กรควรได้ศึกษา เก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทั้งภายใน และ ภายนอกกิจการ เพื่อทำให้ทราบถึงความเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อม และ ผลกระทบที่เกิดขึ้น การเก็บรวบรวมข้อมูลอาจทำได้หลายวิธีร่วมกัน ดังนี้





1. จากข้อมูล จากหน่วยงานเก็บรวบรวมไว้แล้ว

2. ข้อมูลจากพนักงานในองค์การ

3. หนังสือพิมพ์ วารสารทางธุรกิจต่างๆ

4. หน่วยงานของรัฐ หรือ เอกชน

5. ฐานข้อมูลต่างๆ ทั้งภายใน ภายนอกองค์กร

6. ข้อมูลจากลูกค้า และ ผู้จัดส่งวัตถุดิบ

7. ข้อมูลจากการวิเคราะห์ของผู้เชี่ยวชาญการพยากรณ์การเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อม
นอกจากข้อมูลที่รวบรวมจากแหล่งข้อมูลต่างๆแล้ว ธุรกิจอาจต้องพยากรณ์ คาดการณ์ ถึงสภาพแวดล้อมในอนาคต เช่น การพยากรณ์ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง เทคโนโลยี เพื่อใช้ประกอบในการตัดสินใจ กำหนดกลยุทธ์ ที่เหมาะสม กับองค์กรต่อไป การพยากรณ์ ทำได้หลายวิธีด้วยกัน ทั้งใน เชิงคุณภาพ และ เชิงปริมาณ ดังนี้

1. การใช้ข้อมูลจากอดีตมาคาดการณ์อนาคต

2. ใช้ข้อวิจารณ์ หรือ ความคิดเห็นของบุคคลต่างๆ

3. ใช้ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ

4. ระดมสมอง

5. การคาดการณ์สถานการณ์ในอนาคต

6. จากนักพยากรณ์อนาคต

7. ใช้สถิติในการวิเคราะห์ การถัวเฉลี่ย การวิเคราะห์อนุกรมเวลา การวิเคราะห์ปัจจัย (Factor Analysis)

สภาพแวดล้อมของธุรกิจ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ สภาพแวดล้อมภายนอก และ สภาพแวดล้อมภายใน ซึ่งมีวิธีการวิเคราะห์ดังนี้การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก (External Analysis)สภาพแวดล้อมภายนอก เป็นปัจจัยที่อยู่เหนือการควบคุมขององค์กร มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เป็นไปไม่ได้ที่จะติดตามการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมได้ทุกอย่าง ผู้บริหารควรจะมุ่งเฉพาะปัจจัยทางสภาพแวดล้อมที่สำคัญเท่านั้น โดยทั่วไป สภาพแวดล้อมภายนอก จะมีอยู่ สองส่วน คือ

1. สภาพแวดล้อมการดำเนินงาน (Task Environment) เป็นปัจจัยที่มีผลกระทบโดยตรง ต่อการดำเนินงานของกิจการ ประกอบไปด้วย ผู้มีส่วนได้เสียกับองค์กร เช่น รัฐบาล ชุมชน คู่แข่งขัน ลูกค้า ผู้จำหน่ายวัตถุดิบ เจ้าหนี้ แรงงาน กลุ่มผลประโยชน์

2. สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป (General Environment)เป็นปัจจัยที่ไม่กระทบต่อการดำเนินงานระยะสั้นขององค์กร แต่มีผลต่อการตัดสินใจในระยะยาว ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การเมือง กฎหมาย เทคโนโลยี ภูมิศาสตร์ และ ปัจจัยระหว่างประเทศสภาพแวดล้อมการดำเนินงาน (Task Environment)
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมการดำเนินงานขององค์กร อาจะเรียกว่า การวิเคราะห์อุตสาหกรรม (Industrial Analysis) คือ กลุ่มขององค์กรที่มีผลิตผลและบริการคล้ายคลึงกัน หรือ กลุ่มธุรกิจที่มีลักษณะเดียวกัน สภาพแวดล้อมการดำเนินงานจะประกอบไปด้วยปัจจัยที่เฉพาะเจาะจง และ กระทบต่อการบริหารงานขององค์กรในทันที เช่น คู่แข่งขัน ลูกค้า แรงงาน และ ผู้จัดจำหน่าย ซึ่งรูปแบบการวิเคราะห์อุตสาหกรรมที่นิยมใช้กัน คือ รูปแบบการประเมินสภาพวะการแข่งขันภายในอุตสาหกรรม (5-F Model) ของ Michael E. Porter หรือ Five Force Model ประกอบไปด้วย 5 ปัจจัย คือ

1. การคุกคามของผู้เข้ามาใหม่ (New Entrants)

2. คู่แข่งขันในอุตสาหกรรม (Industry Compettitors)

3. การคุกคามของผลิตภัณฑ์ทดแทน (Substitutes)

4. อำนาจการเจรจาต่อรองของผู้ซื้อ (Bargaining Power OF Buyers)

5. อำนาจการต่อรองของผู้จำหน่ายวัตถุดิบ (Bargaining Power of Suppliers)

แหล่งที่มา:

http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=entrepreneur&month=02-08-2010&group=21&gblog=2

1 ความคิดเห็น:

Miss saichon Nakpansue กล่าวว่า...

น.ส.สายชน นาคปานเสือ รหัส 1055 การจัดการทั่วไป
www.eday.com เว็บไซต์ทางธุรกิจ อินเทอร์เน็ตเป็นลู่ทางใหม่ทางการค้าเพราะผู้ขายสามารถประกอบธุรกิจการค้าผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต ลูกค้าสามารถชมภาพ และรายละเอียดของสินค้าเพื่อใช้ในการตัดสินใจได้ทันที ณ เครื่องของลูกค้าเอง ผู้ขายเพียงแค่จัดเตรียมข้อมูลลงในคอมพิวเตอร์ของตน ก็สามารถบริการขายลูกค้าได้ทั่วโลกพร้อมๆ กัน โดยไม่ต้องสิ้นเปลืองงบประมาณในการประชาสัมพันธ์มาก เท่าวิธีอื่น อินเทอร์เน็ตได้โดยตรง เพียงแต่ลูกค้าจะต้องมีบัตรเครดิตโดยการสั่งซื้อสินค้าต่างๆ ได้โดยกรอกหมายเลขบัตร แล้วระบุสินค้าที่ต้องการและสินค้าจะถูกส่งมาทางไปรษณีย์ และเงินจะถูกหักจากบัญชีเครดิต
หนังสือ ระบบสารสนเทศเพื่อการประชาสัมพันธ์
ผู้เรียบเรียง ผศ.ดร.เสกสรร สายสีสด
ปีที่พิมพ์ พ.ศ.2549 สำนักพิมพ์ CA.bookจำกัด