หน้าเว็บ

น.ส ปวราพร หาญบุญศรี รหัส 227 เอกการจัดการทั่วไป รุ่น 19



แนวความคิดการจัดการตามแนวมนุษย์สัมพันธ์ (Human Relation)



เจ้าของแนวความคิดหรือทฤษฎี ได้แก่ Elton Mayo นักจิตวิทยาชาวสหรัฐอเมริกาเรียกว่าวิจัยที่เป็นผลงานเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีว่า "Hawthorne study" หรือ "Hawthorne experiment" ซึ่งจากการศึกษาของ Mayo สรุปได้โดยธรรมชาติของมนุษย์จะมีพฤติกรรม 2 แบบคือ


1. พฤติกรรมที่เป็นไปตามเหตุผล
2. พฤติกรรมที่เป็นไปตามอารมณ์ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นอย่างไม่มีเหตุผล

ดังนั้น ในการที่ให้ปัจจัยผลตอบแทนหรือค่าจ้างสูง เพื่อให้คนงานเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานสูงซึ่งถือว่าเป็นพฤติกรรมที่เป็นไปตามเหตุผลอาจจะเป็นความเข้าในที่ไม่ถูกต้องทั้งหมดเนื่องมาจากมนุษย์ไม่ใช่เครื่องจักรมนุษย์มีจิตใจและความรู้สึก มีความแปรปรวนทางด้านอารมณ์ ดังนั้น ปัจจัยจูงใจที่เป็นตัวเงินเพียงอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอต่อการใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน หรือเพิ่มผลผลิต ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่เป็นปัจจัยที่ใช้ตอนสนองเรื่องราวทางด้านจิตใจ และความสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างกัน

นอกจากนี้ Mayo ยังได้ศึกษาในลำดับต่อมาเกี่ยวกับเรื่อง ลักษณะของผู้นำ (leadership) การพัฒนาพนักงาน (employee development) และการติดต่อสื่อสาร (communication)

แนวความคิดการจัดการแบบพฤติกรรมศาสตร์ (Behavior Approach)

จากการค้นพบแนวความคิดเกี่ยวกับมนุษย์สัมพันธ์ จึงทำให้มีการตื่นตัว และมีการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับมนุษย์เพิ่มมากขึ้น โดยได้มีนักวิชาการหลาย ๆ ท่านในยุคนี้ได้ทำการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับมนุษย์เพิ่มมากขึ้น โดยได้มีนักวิชาการหลาย ๆ ท่านในยุคนี้ได้ทำการศึกษา และกำหนดเป็นทฤษฎีต่าง ๆ เช่น
- Abraham Maslow ได้ศึกษาทฤษฎีความต้องการ
- Frederick Herzberg ได้ศึกษารูปแบบการจูงใจ
- Ralph M. Stogdill ได้ศึกษาผู้นำในองค์การ
- Kurt Lewin และเพื่อน ได้ศึกษาเรื่องการเคลื่อนไหวของกลุ่ม
- Chester Barnard ได้ศึกษาทฤษฎีอำนาจหน้าที่ที่เกิดจากการยอมรับ

และยังมีนักวิชาการใหม่ ๆ อีกหลายท่าน ที่ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับมนุษย์อย่างลึกซึ้งในแง่มุมต่าง ๆ เช่น Chris Argyris, Rensis Likert, David C. McClelland เป็นต้น

กล่าวโดยสรุป การจัดการตามทฤษฎี Human Relation ได้มุ่งเน้นถึงความสำคัญของคน และ มีความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติที่แท้จริงของมนุษย์ ซึงเป็นการที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้นนั้น ปัจจัยที่เป็นตัวเงินนั้นยังไม่เพียงพอ แนวความคิดในยุคนี้จะมุ่งเน้นโดยให้ความสำคัญไปที่คน มากว่างาน ถือว่าคน เป็นหัวใจของการบริการที่จะต้องคำนึกถึงเป็นอันดับแรก จะต้องพยายามปรับวิธีการทำงานที่ให้คนพึงพอใจมีอิสระที่จะคิดริเริ่มเพื่อสร้างสรรค์ในทางต่าง ๆ

เปรียบเทียบแนวคิดการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ กับ การจัดการตามแนวมนุษย์สัมพันธ์

กล่าวโดยสรุป การจัดการที่มีหลักเกณฑ์ (scientific management) เป็นแนวความคิดที่เป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาอย่างจริงจังเกี่ยวกับวิชาการจัดการ โดยมีการใช้หลักของการคำนวณเข้ามาเกี่ยวข้องเพื่อหาวิธีการที่ดีที่สุด แต่แนวความคิด scientific management มีจุดอ่อนที่ไม่สามารถนำไปใช้ได้ในองค์การโดยทั่วไป ดังนั้น แนวความคิดการจัดการตามหลักการจัดการทั่วไป หรือ general priciple of management จึงมีการพัฒนาให้เกิดขึ้น เป็นหลักการจัดการที่เป็นสากลสามารถนำไปประยุกต์ และปรับใช้กับองค์การได้โดยทั่วไป ซึ่งแนวความคิดที่เกิดขึ้นในยุคแรกนี้เป็นแนวความคิดที่มุ่งเพิ่มผลผลิตและวิธีการที่ดีที่สุดที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานโดยให้ความสำคัญกับงาน และมองเห็นคน เป็นปัจจัยในการผลิตที่จะต้องปรับตัวให้เข้ากับงานโดยให้ความสำคัญกับงาน และมองเป็นคน เปํนปัจจัยในการผลิตที่จะต้องปรับตัวให้เข้ากับงานหรือวิธีการที่ได้กำหนดไว้ โดยใช้ปัจจัยจูงใจคือ เงิน เป็นสิ่งที่ใช้จูงใจคนให้เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน



อ้างอิง : มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น. 2547. วิวัฒนาการของแนวคิดทางการจัดการ. [Online]./Available: URL:http://www.fareastern.ac.th/acad/mk/sirinapha/management/chapter3.htm

ไม่มีความคิดเห็น: