นางสาวยุพาวรรณ ช่อมะลิ รหัส 5210125401078 การจัดการทั่วไป
การบริหารจัดการธุรกิจสีเขียวและการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิต
เอชเอสบีซีมีเครือข่ายสาขาประมาณ 7,200 แห่ง ใน 85 เริ่มจากทยอยปรับปรุงอาคารสำนักงานทั่วโลก ให้เป็น “อาคารสีเขียว” หัวใจของการเป็นองค์กรเพื่อสิ่งแวดล้อม เอชเอสบีซี เลือกที่จะดึงความร่วมมือจากพนักงาน มาร่วมนำเสนอไอเดียประหยัดพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในองค์กร เช่นเดียวกับประเทศไทย ไอเดียดีๆ มีพนักงานอยู่เบื้องหลัง เช่น วิธี “ลดขยะ” โดยการกำจัด “ถังขยะ” วิธีคิดง่ายๆ แต่สามารถลดขยะในสำนักงานลงไปได้มากอย่างไม่น่าเชื่อ หรือการประหยัดน้ำด้วยการเปลี่ยนหัวก๊อกให้เป็นระบบเซ็นเซอร์ เหล่านี้ เป็นต้น
“ในประเทศไทยเรามีโครงการที่จะจัดการแข่งขันในกับพนักงานของเรา ให้ช่วยกันเสนอไอเดียประหยัดพลังงาน ลดการใช้น้ำ กระดาษ และไฟฟ้าในอาคารของเราเอง เราพยายามที่จะทำให้เขามามีส่วนร่วม มีความภูมิใจที่จะเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมเพื่อสังคม เพื่อให้เกิดความรักองค์กรและมีความสุขกับการทำงานให้องค์กร” ซีอีโอธนาคารรักษ์โลก บอกกับเราถึงวิธีคิดในการดึงพนักงานมามีส่วนร่วม ซึ่งผลสุดท้ายไม่เพียงแต่โลกที่ได้รับ แม้องค์กรเองก็ได้ประโยชน์จากความร่วมมือนั้นด้วย
ภาพสะท้อนของการให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนกิจกรรมโดยพนักงาน คือการนำพนักงานกว่า 2,000 คน เข้าอบรมการเป็นผู้นำด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (climate champion) ร่วมกับนักวิทยาศาสตร์จากสถาบันเอิร์ทว็อช เพื่อให้เข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมที่จะส่งผลต่อทรัพยากรธรรมชาติและการอยู่ร่วมกัน แน่นอนว่าภายหลังการอบรม พนักงานเหล่านี้ ก็จะกลับมาริเริ่มโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมในสำนักงานของพวกเขาได้ การเป็นธนาคาร ที่มีธุรกิจอยู่ทั่วโลก ทำให้พวกเขา สามารถแบ่งปันประสบการณ์หรือความสำเร็จของประเทศต่างๆ มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เช่น การประหยัดการใช้ไฟฟ้าของเอชเอสบีซี ในอเมริกาเหนือ การประหยัดน้ำของเอชเอสบีซี ดูไบ โครงการ Project Green Angel เพื่อลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมของธนาคารเอชเอสบีซีไต้หวัน ที่สามารถลดต้นทุนการดำเนินงาน ปลูกสำนึกด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และส่งเสริมการใช้ E-statement ของพนักงานได้ แม้แต่โครงการห้องสมุดสีเขียวในประเทศไทย ก็กลายเป็นหนึ่งต้นแบบ ให้กับเอชเอสบีซี ทั่วโลก
ผู้บริหารเอชเอสบีซีประเทศไทย บอกวิธีคิด พร้อมยกตัวอย่าง “ห้องสมุดสีเขียว” ที่เกิดขึ้นได้จากพลังของความร่วมมือ ไม่ว่าจะกรุงเทพมหานครเจ้าของสถานที่ กับเหล่าพันธมิตรที่นำความเชี่ยวชาญทั้งงานออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม ความรู้ความเข้าใจในการออกแบบและก่อสร้างอาคารรักษ์โลกให้ได้มาตรฐานสากล กระทั่งบริจาคอุปกรณ์ที่ใช้ในห้องสมุดสีเขียว เพื่อที่พลังเล็กๆ จะขยายผลออกไปได้ใหญ่ขึ้น นำมาสู่โครงการที่สร้างประโยชน์ต่อสังคมได้มากขึ้น นี่คือสิ่งที่พวกเขาคิด แล้วลงมือทำ และหวังที่จะขยายโครงการน้ำดี ออกไปสู่สังคมอย่างต่อเนื่อง จากวิธีคิดเดียวกันนี้ เอชเอสบีซีเป็นธนาคารพาณิชย์ที่ให้บริการมาตั้งแต่ปี 2431 ปัจจุบันดูแลลูกค้าจำนวนกว่า 100 ล้านคนทั่วโลก มีสินทรัพย์รวม 2,556 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554) หนึ่งในความสำเร็จที่เกิดขึ้น มาจากนโยบายการให้ความสำคัญกับความยั่งยืน ควบคู่การเป็นธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
อ้างอิง: www.bangkokbiznews.com
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น