บทที่ 1
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในองค์กรธุรกิจ
สภาพแวดล้อมภายในองค์กรธุรกิจ เป็นปัจจัยที่เกิดขึ้นหรือมีอยู่ภายในองค์กรเอง ซึ่งปัจจัยต่างๆเหล่านี้องค์กรสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางหรือรูปแบบที่ต้องการได้ตามความประสงค์หรืออาจเรียกได้ว่า "เป็นปัจจัยที่สามารถควบคุมได้" ปัจจัยของสภาพแวดล้อมภายในองค์กรที่สำคัญ คือ
กระบวนการห่วงโซ่คุณค่า คือกระบวนการที่องค์กรธุรกิจใช้ในการผลิตหรือดำเนินงานเพื่อส่งมอบสินค้าหรือบริการที่มีคุณค่าให้แก่ลูกค้า โดยอาศัยกิจกรรมต่างๆในกระบวนการหลัก เป็นกลไกสำคัญในการผลิตหรือดำเนินงาน และอาศัยกิจกรรมต่างๆในกระบวนการสนับสนุนเป็นกลไกในการเกื้อหนุน
การวิเคราะห์ความสามารถหลักขององค์กรมีประเด็นที่ควรพิจารณา คือ
-มีคุณค่าเพียงพอต่อการนำมาพัฒนาเป็นสินค้าหรือบริการที่สำคัญขององค์กรหรือช่วยสนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรให้มีศักยภาพที่สูงขึ้น
-เป็นความสามารถขององค์กรที่ผู้อื่นไม่มี หรือไม่เท่าเทียม
-เป็นความสามารถที่คู่แข่งมิอาจลอกเลียนแบบได้ง่าย
-เป็นความสามารถที่หาสิ่งอื่นใดทดแทนได้ยาก
การวิเคราะห์ปัจจัยสร้างความสำเร็จของธุรกิจมีประเด็นที่ควร พิจารณา คือ
-ระดับคุณสมบัติและคุณภาพของสินค้าหรือบริการ
-การศึกษาและสำรวจระดับความพึงพอใจและความต้องการของลูกค้า
-การพัฒนาสินค้าหรือบริการตามให้ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า
ประโยชน์ของการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในคือ จะทำให้องค์กรรับทราบถึงแนวทางต่างๆที่จะต้องทำการปรับปรุงแก้ไขหรือพัฒนาทรัพยากรภายในองค์กร ให้มีความสอดคล้องต่อสถานการณ์ภายนอกที่เป็นอยู่
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกองค์กรธุรกิจ
สภาพแวดล้อมภายนอกองค์กรธุรกิจ อาจหมายถึง ปัจจัยต่างๆที่เกิดขึ้นภายนอกองค์กร แล้วส่งผลกระทบต่อองค์กรทั้งในด้านที่เป็นคุณประโยชน์ และด้านที่เป็นโทษ ด้วยเหตุผลที่เป็นปัจจัยที่เกิดขึ้นภายนอกองค์กรจึงมีโอกาสที่ปัจจัยต่างๆเหล่านี้จะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาหรือที่เรียกว่า "ปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้"
ผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จมักจะกล่าวว่า "สภาพแวดล้อมภายนอกทางธุรกิจ เป็นปัจจัยสำคัญต่อการรักษาสภาพทางธุรกิจและมีความจำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจถึงสิ่งแวดล้อมนั้นๆเพื่อที่จะเอาชนะ ควบคุม กระทำอย่างใดอย่างหนึ่งหรือแสวงหาความเหมาะสมเพื่อความอยู่รอดทางธุรกิจอย่างยั่งยืน"
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกทั่วไป
สภาพแวดล้อมภายนอกทั่วไปจะไม่มีความสัมพันธ์กับองค์กรโดยตรงเป็นปัจจัยต่างๆที่ไม่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับการดำเนินงานขององค์กรแต่สามารถมีอิทธิพลหรือผลกระทบทางอ้อมต่อองค์กร เช่นสภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง เทคโนโลยี
อ้างอิงจาก สุวัฒน์ ศิรินิรันดร์. (2551). คู่มือการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ : หจก. ซี แอนด์ เอ็น.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น