นายชัยวัฒน์ โฉมสุข รหัส 244 การจัดการทั่วไป รุ่น 19
ปัจจัยด้านบุคคล (Personal Factors) Mintzberg
ปัจจัยด้านสถานการณ์ที่สำคัญในสถานการณ์ของการจัดการ คือ การเปลี่ยนอำนาจหน้าที่ของผู้บริหาร สไตล์ของการจัดการ ที่ดำเนินการของผู้บริหารรายหนึ่งอาจไม่เกิดประสิทธิภาพสำหรับผู้บริหารรายอื่น ตัวอย่าง ผู้บริหารบางคนมีความรู้สึกอ่อนไหวและมุ่งเน้นคน(People-oriented) มากกว่าผู้บริหารคนอื่นถ้าเขากระทำ การรุนแรงกับผู้ใต้บังคับบัญชาในการแก้ปัญหาด้านการทำงานก็เป็นไปได้ที่เขาจะไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่งานได้สำเร็จ เมื่อบริษัทเจริญเติบโตขึ้น ผู้บริหารอาจพบว่าสไตล์ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ของการปฏิบัติหน้าที่งานได้สำเร็จ เมื่อบริษัทเจริญเติบโตขึ้น ผู้บริหารอาจพบว่าสไตล์ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (Interpersonal style) ของการปฏิบัติงานที่ดีในขณะที่บริษัทยังเล็ก อาจไม่เหมาะสม กับบริษัทเมื่อขยายเติบโตขึ้นสถานการณ์สำคัญ 2 อย่างที่อาจมีผลมาจากการตัดสินใจคือ ความขัดแย้งของผลประโยชน์ (Conflict of interest) และการเปลี่ยนอำนาจ (Power shifts) ตัวอย่าง ผู้บริหาร ระดับกลางมักอยู่ในตำแหน่งที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งของบทบาท (Role-conflict) เสมอ เนื่องจากพยายามสร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้บริหารระดับสูงและพยายามดำเนินการให้เป็นผลดีสำหรับการ รายงานของพนักงานที่ส่งมาถึงเขา นักวิเคราะห์ระบบต้องเผชิญความขัดแย้งของผลประโยชน์ของแผนก MIS ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ และผู้บริหารระดับสูงที่มีตำแหน่งในบทบาทของความขัดแย้ง ระบบ ข้อมูลข่าวสารทั้งหลายมีผลกระทบมาจากการเปลี่ยนอำนาจและการกระจายอำนาจใหม่ การนำการควบคุมที่จะสร้างหรือลดความขัดแย้งในผลประโยชน์ ตัวอย่าง ผู้บริหารการประมวลผลข้อมูล จำนวนมากพยายามทำลายไมโครคอมพิวเตอร์เมื่อไมโครคอมพิวเตอร์มุ่งเข้าสู่องค์กรเป็นครั้งแรก ซึ่งพิจารณาว่าไมโครคอมพิวเตอร์จะเป็นอุปสรรคกับฐานของคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (Mainframe-based) แต่นักวิชาการเชื่อว่าแผนกสารสนเทศเพื่อการจัดการ (MIS) จะสามารถผลักดันภาษาของโปรแกรมที่ซับซ้อนต่าง ๆ ได้อย่างประสบผลสำเร็จตามมาตรฐานของบริษัทได้โดย การขัดขวางอุปสรรคต่าง ๆ ของฐานอำนาจจากคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ด้วยไมโครคอมพิวเตอร์ จากการคำนวณของผู้ใช้คนสุดท้ายค่านิยมของผู้ตัดสินใจเป็นตัวอย่างของปัจจัยด้านสถานการณ์ ที่สำคัญ เช่นบุคคลที่กำลังเดือดร้อนบางครั้งอาจเป็นรายสุดท้ายที่จะถูกไล่ออกเพราะผู้บริหารอาจมีความรู้สึกอ่อนไหวกับพนักงานเป็นอย่างมากหรือผู้บริหารบางคนอาจถือว่าคุณภาพของชีวิต เป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้นผู้ตัดสินใจที่มีค่านิยมในการติดต่อสัมพันธ์กับบุคคลของธุรกิจขนาดเล็กอาจยกเลิกทางเลือกของการตัดสินใจทางอื่นการจะขยายของธุรกิจให้เพิ่มขึ้นเนื่องจากมีความเสี่ยง มากขึ้นบทบาทด้านการจัดการ Henry Mintzberg ได้กำหนดสิ่งที่ผู้บริหารจะต้องทำออกเป็นหน้าที่ย่อย 10 ข้อ จากหน้าที่หลัก 3 ประการคือ บทบาทด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล บทบาทด้าน ข้อมูลข่าวสาร และบทบาทด้านการตัดสินใจ
1.บทบาทด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (Interpersonal roles) หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลทั้งภายในและภายนอกองค์การ จะทำหน้าที่ 1 หัวหน้าแต่ในนา ซึ่งไม่มีอำนาจ (Figurehead) เป็นบทบาทระหว่างบุคคลซึ่งเกี่ยวข้องกับการจัดงานและกิจกรรมต่าง ๆ 2 ผู้นำ (Leadership) เป็นบทบาทซึ่งกำหนดโดยผู้บริหารระดับสูงขึ้นไป ให้มีหน้าที่กำกับดูแลสั่ง การต่อผู้ใต้บังคับบัญชาได้ตามอำนาจหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย 3 ผู้ประสานงาน (Liaison) เป็นบทบาทที่มีหน้าที่ในการประสานงานกับบุคคลของหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกองค์การในอดีต เทคโนโลยีสารสนเทศยังมีน้อยที่จะเข้ามาช่วยบทบาทของความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลแต่ปัจจุบันการรวมตัวของคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการสื่อสารทำให้ผู้บริโภคได้สัมผัสแนวทางใหม่ เช่น การใช้ Electronic mail, Voice mail และการสนทนาทางไกลที่เห็นภาพและเสียง (Video teleconferencing) สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในสถานการณ์ที่สำคัญเร่งด่วนได้ดี
2. บทบาทด้านข้อมูลข่าวสาร (Informational roles) คือบทบาทซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมการตรวจสอบการแพร่และการถ่ายทอดข้อมูล บทบาทด้านข้อมูลข่าวสาร เกี่ยวกับผู้บริหารในฐานะเป็นผู้รับ (Receiver) หรือผู้ส่ง (Sender) ข้อมูลข่าวสาร ซึ่งประกอบด้วย
1 บทบาทผู้ตักเตือน (Monitor role) เป็นบทบาทในการกำหนดมาตรฐานเพื่อให้มั่นใจในความ ถูกต้องและความน่าเชื่อถือข้อมูลข่าวสารที่ถูกเผยแพร่ออกสู่ภายนอกโดยการส่งข้อมูลไปสู่บุคคลภายนอกอย่างระมัดระวังด้วยผลผลิต (Output) จากกระดาษคุณภาพสูงและเลเซอร์พริ้นเตอร์ ซึ่งนำเสนอในรูปของกราฟหรือแฟ้มข้อมูลที่น่าสนใจ เมื่อข้อมูลข่าวสารได้เผยแพร่ภายในหน่วยงานผู้บริหารก็ประสบความสำเร็จ
2 ผู้เผยแพร่ (Disseminator role) และเมื่อกระจายออกสู่ภายนอก หน่วยงานผู้บริหารจะเป็น 3.ผู้แถลงข่าวสาร (Spokesperson role)
เทคโนโลยีสารสนเทศจำนวนมากสามารถช่วยผู้บริหารให้ประสบความสำเร็จในบทบาทด้านข้อมูลข่าวสารระบบรายงานด้านการจัดการ และระบบข้อมูลข่าวสารด้าน การบริหาร สามารถนำมาใช้ในการให้ได้มาตลอดจนสรุปผลข้อมูลข่าวสารที่ผู้บริหารต้องการ เทคโนโลยีต่าง ๆ จึงสัมพันธ์กับระบบสนับสนุนการตัดสินใจและระบบนข้อมูลข่าวสารของสำนักงาน อาจใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์และจัดระบบข้อมูลเพื่อการเผยแพร่และการนำเสนอ การสนับสนุนระบบข้อมูลข่าวสารให้สำเร็จต้องอาศัยรูปแบบด้านบทบาท
3.บทบาทด้านการตัดสินใจ (Decisional role) คือ การตัดสินใจเลือกระหว่างสองทางเลือกขึ้นไป ซึ่งเป็นการเลือกระหว่างทางเลือกที่คาดหวังว่าจะนำไปสู่ผลลัพท์ที่ พึงพอใจจากปัญหาใดปัญหาหนึ่ง ทฤษฎีระบบข้อมูลข่าวสารและการจัดการครอบคลุมด้านการวางแผนและการควบคุมหน้าที่การวางแผนและการควบคุมทางการจัดการนำผลมาสู่บทบาทด้าน การตัดสินใจ ซึ่งประกอบด้วยการเป็นผู้ประกอบ (Entrepreneurism)ผู้ควบคุมสิ่งรบกวน (Disturbance handling) ผู้จัดสรรทรัพยากร (Resource allocation) และผู้เจรจาต่อรอง (Negotiation)
3.1 บทบาทผู้ประกอบการ (Entrepreneurial role)เกี่ยวข้องกับวิสัยทัศน์ ของผู้บริหารในสิ่งที่จำเป็นต้องทำเพื่อให้งานบรรลุผลสำเร็จ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของกิจกรรมของการวางแผนและการควบคุมทั้งหมด
3.2 บทบาทผู้ควบคุมสิ่งรบกวน (disturbance - handler role)ของผู้บริหารเกี่ยวข้องกับการควบคุมผู้บริหารทั้งหลายต้องออกแบบระบบ สำหรับจำแนกและควบคุมสิ่งรบกวนที่เกิดขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหา
3.3 บทบาทผู้จัดสรรทรัพยากร (Resource allocation role) เกี่ยวข้องกับการวางแผนโดยการจัดการ เวลา บุคคล เงิน และกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อความสำเร็จของการปฏิบัติงาน
3.4 บทบาทผู้เจรจาต่อรอง (Negotiation role) จำเป็นที่ผู้บริหารต้องต่อสู้เพื่อวิสัยทัศน์ของเขาผู้บริหารการผลิตต้องการเพิ่มการผลิตขึ้น 30 เปอร์เซ็นต์ต้องเจรจาต่อรองกับผู้บังคับบัญชาที่เหนือกว่าเพื่อให้ได้เงินทุนในการซื้อโรงงานใหม่หรือสร้างระบบการผลิตใหม่ เป็นต้น
บทบาทระหว่างบุคคล (interpersonal roles) เป็นบทบาทด้านการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ประกอบด้วย บทบาทย่อย ได้แก่
1) บทบาทตามตําแหน่ง (figurehead): ทําหน้าที่ประจําวันต่างๆตามระเบียบที่เกี่ยวกับกฎหมาย หรือตามที่สังคมกําหนด เช่น การต้อนรับแขกขององค์กร ลงนามในเอกสารตามกฎหมาย เป็นต้น
2) บทบาทผู้นํา (leader): ต้องรับผิดชอบสร้างแรงจูงใจและกระตุนการทํางานของพนักงาน รับผิดชอบในการจัดหาคน ฝึกอบรม และงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ
3) บทบาทการสร้างสัมพันธภาพ (liaison): โดยสร้างเครือข่ายภายในและภายนอกเพื่อการ กระจายข้อมูลให้ทั่วถึง
บทบาทด้านข้อมูล (informational roles) เป็นบทบาทด้านการกระจายและส่งผ่านข้อมูล ประกอบด้วย บทบาทย่อย ดังนี้
4) เป็นผู้ติดตามประเมินผล (monitor): เป็นการติดตามเลือกรับข้อมูล (ซึ่งมักจะเป็นเหตุการณ์ปัจจุบัน) เพื่อเข้าใจความเคลื่อนไหวขององค์การและสิ่งแวดล้อม เป็นเสมือนศูนย์กลางของ ระบบ
5) เป็นผู้กระจายข้อมูล (disseminator): รับบทบาทส่งผ่านข้อมูลไปยังพนักงานในองค์การ บางข้อมูลก็เกี่ยวกับข้อเท็จจริง บางข้อมูลเกี่ยวกับการแปลผลและรวบรวมความแตกต่างกันที่เกิดขึ้นในองค์การ
6) เป็นโฆษก (spokesperson): ทําหน้าที่ประชาสัมพันธ์ ส่งต่อข้อมูลไปยังหน่วยงานภายนอก เกี่ยวกับ แผนงาน นโยบาย กิจกรรม และผลงานขององค์การ เช่น เป็นผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม
บทบาทด้านการตัดสินใจ (decisional roles) ทําหน้าที่ตัดสินใจในการดําเนินงานขององค์การ ประกอบด้วยบทบาทย่อย ดังนี้
7) เป็นผู้ประกอบการ (entrepreneur): หาโอกาสและริเริ่มสิ่งใหม่ๆ เช่น การปรับปรุงโครงการ เพื่อนําไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น ให้คำแนะนําเกี่ยวกับการออกแบบโครงการ โดยการจัดให้มีการทบทวนและกําหนดกลยุทธ์เพื่อพัฒนาโปรแกรมใหม่ๆ
8) เป็นผู้จัดการความสงบเรียบร้อย (disturbance hander): รับผิดชอบแก้ไขการดําเนินงานเมื่อองค์การเผชิญกับความไม่สงบเรียบร้อย โดยการทบทวนและกําหนดกลยุทธ์ที่เกี่ยวข้องกับความไม่สงบและวิกฤติการณ์ในองค์การ
9) เป็นผู้จัดสรรทรัพยากร (resource allocator): เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดสรรทรัพยากรต่างๆในองค์การ เช่น ทําการตัดสินใจและอนุมัติในประเด็นที่สําคัญต่างๆขององค์การ โดยจัดลําดับ และกระจายอํานาจ ดูแลกิจกรรมที่เกี่ยวกับเรื่องงบประมาณ และจัดการเกี่ยวกับการทํางานของพนักงาน
10) เป็นผู้ต่อรอง (negotiator): รับผิดชอบในการเป็นตัวแทนต่อรองในเรื่องสําคัญขององค์การ เช่น มีส่วนร่วมในการทําสัญญากับสหภาพแรงงานขององค์การ หรือการต่อรองกับผู้จัดหา (suppliers)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น