หน้าเว็บ

นางสาวนงลักษณ์ พลจันทร์ การจัดการทั่วไป ปี4 5210125401056

ทฤษฏีการพัฒนาองค์การและทฤษฏีการบริหารจัดการโดยวัตถุประสงค์
Kurt Lewin เป็นนักจิตวิทยาสังคม ผู้สนับสนุนแนวคิดเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของกลุ่ม ได้อธิบาย ขั้นตอนในกระบวนการพัฒนาองค์การ (Steps in the organization development process) คือ 1. การใช้ผู้นำการเปลี่ยนแปลง 2. การรวบรวมข้อมูลและการวินิจฉัยปัญหา 3. ข้อมูลป้อนกลับและการประเมินผลลัพธ์ที่ได้อย่างเป็นทางการ ซึ่งขั้นตอนในกระบวนการพัฒนาองค์การจะสามารถแยกพิจารณาได้เป็น 7 ขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. การกำหนดปัญหา ต้องเริ่มที่ผู้บริหารระดับสูงและต้องคำนึงถึงว่าองค์การจะมีปัญหาและสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้ ซึ่งทุกคนในองค์การมีความยินดีที่จะให้ผู้บริหารดำเนินการเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลง และเริ่มกระบวนการในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
2. การเข้ามาของผู้นำการเปลี่ยนแปลง ผู้นำการเปลี่ยนแปลงนี้อาจได้มาจากบุคคลภายในหรือภายนอกองค์การ ที่มีความสารถในการช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆ ขององค์การได้
3. การรวบรวมข้อมูลและวินิจฉัยปัญหา เป็นการทำงานของสมาชิกภายในองค์การ ซึ่งทำงานร่วมกับผู้นำการเปลี่ยนแปลงในการตรวจสอบเอกสารขององค์การ การสัมภาษณ์ การตั้งคำถาม และการสังเกต เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับองค์การและปัญหาที่เกิดขึ้น ต่อไปผู้นำการเปลี่ยนแปลงจะทำการเลือกผู้บริการขึ้นมาเพื่อพิจารณาหรือตรวจสอบข้อมูลและพัฒนาการวินิจฉัยปัญหาต่างๆ ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ลักษณะของปัญหาและขอบเขตของปัญหา
4. การพัฒนาเพื่อการเปลี่ยนแปลง ผู้นำการเปลี่ยนแปลงนี้อาจทำงานร่วมกับผู้บริหารคนสำคัญขององค์การ เพื่อกำหนดเป้าหมายในการวางแผนเพื่อการเปลี่ยนแปลงขององค์การ
5. การปฏิบัติตามการเปลี่ยนแปลง เป็นการเลือกปฏิบัติงานซึ่งเป็นวิธีการที่จะทำให้การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น สามารถเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง บุคคล วัฒนธรรม หรือื่นๆ ซึ่งเทคนิคของการเปลี่ยนแปลงนี้สามารถทำได้หลายวิธีด้วยกัน
6. การสร้างเสถียรภาพและความเป็นสถาบัน เป็นการปฏิบัติอย่างต่อเนื่องและทำแบบจริงจังจนเกิดความเคยชิน โดยผู้บริหารระดับสูงจะต้องให้ความร่วมมือในการปฏิบัติงานอยู่สม่ำเสมอ และพิจารณาผลของการเปลี่ยนแปลงภายหลังที่ได้นำวิธีใหม่มาใช้ในการพัฒนาองค์การโดยพิจารณาจากกิจกรรมในแต่ละวัน
7. การป้อนกลับและการประเมินผล หลังจากได้มีกี่เปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์การแล้วผู้นำมีการเปลี่ยนแปลงจะรวบรวมข้อมูลเพื่อจัดเตรียมมาวิเคราะห์สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้น และหลังจากนั้นจะทำการประเมินผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นว่าเกิดอะไรบ้าง โดยในขั้นตอนนี้สามารถเปลี่ยนแปลงขั้นตอนกระบวนการเปลี่ยนแปลงอื่นๆ ได้ แม้ว่าสภาพแวดล้อมบ้างองค์การจะไม่สามารถควบคุมได้แต่องค์การสามารถที่จะเอาชนะได้ ซึ่งขั้นตอนสุดท้ายผู้บริหารระดับสูงเชื่อว่า สุขภาพและประสิทธิผลขององค์การจะได้รับการปรับปรุง ซึ่งเป็นผลลัพธ์จาการเปลี่ยนแปลงพัฒนาองค์การ
อ้างอิง : ศิริวรรณ เสรีรัตน์. ทฤษฏีองค์การ. กรุงเทพฯ. บริษัท ธรรมสาร จำกัด. 2545

ไม่มีความคิดเห็น: