หน้าเว็บ

น.ส ปวราพร หาญบุญศรี รหัส 5130125401227 การจัดการทั่วไปรุ่น 19




บทที่ 11 การบริหารจัดการธุรกิจสีเขียวและการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิต
          ครบรอบ 54 ปี ไปหมาดๆ กับการดำเนินการของการไฟฟ้านครหลวง(กฟน.) ที่รับผิดชอบในการจ่ายไฟฟ้าในพื้นที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการมีลูกค้าอยู่3.15ล้านรายตลอดระยะเวลาที่ผ่านมานอกเหนือจากภารกิจหลักในการจำหน่ายไฟฟ้าแล้ว กฟน.ยังได้ให้ความสำคัญในเรื่องสังคมและสิ่งแวดล้อมหรือซีเอสอาร์ควบคู่ไปด้วย ผ่านโครงการต่างๆไม่ว่าจะเป็นโครงการคืนโลกสดใสลดใช้พลังงานที่เน้นให้เยาวชนตระหนักในเรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อมและประหยัดพลังงานการอนุรักษ์ป่าชายเลนซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศ โครงการ Young MEA ที่เน้นการสนับสนุนให้เยาวชนทำกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมรวมถึงกิจกรรมประหยัดพลังงานโครงการเสริมสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนและสังคมในการออกหน่วยให้บริการประชาชนตามชุมชนต่างๆโครงการบำรุงรักษาระบบสายดินตู้น้ำดื่มในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นต้น
          ล่าสุดกฟน.ได้จัดทำโครงการสาธิตเทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้าและสถานีชาร์จไฟซึ่งได้เปิดตัวสถานีชาร์จไฟฟ้ารถยนต์แห่งแรกในประเทศไทยไปแล้ว เมื่อวันที่ 1สิงหาคมที่ผ่านมา โดยนายอาทร สินสวัสดิ์ ผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง(กฟน.) ชี้ให้เห็นว่า การดำเนินงานไม่ใช่เพียงการแสวงหาผลกำไรจากการดำเนินงานเท่านั้นแต่จะต้องดูว่าจะตอบแทนสังคมและประเทศอย่างไรเพื่อให้ธุรกิจเกิดความยั่งยืนและควบคู่ไปกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมการดำเนินงานดังกล่าวเนื่องจากเห็นว่าประเทศไทยต้องพึ่งการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะน้ำมันที่มีราคาแพงจะทำอย่างไรช่วยประเทศประหยัดการใช้น้ำมันลงได้
          ประกอบกับการเติบโตของตลาดรถยนต์ไฟฟ้ากำลังเป็นกระแสที่ทั่วโลกให้ความสนใจ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทำให้แนวโน้มการใช้รถยนต์ประหยัดพลังงานมีมากขึ้น กฟน.จึงเห็นความสำคัญในส่วนนี้ที่จะต้องเตรียมพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าไว้รองรับที่สำคัญหากกฟน.ไม่ริเริ่มดำเนินการมองว่ารถยนต์ไฟฟ้าจะเกิดขึ้นได้ยากเหมือนกับไข่กับไก่ใครเกิดก่อนกันทำให้กฟน.ตระหนักถึงจุดนี้ที่จะต้องพัฒนาสถานีชาร์จไฟฟ้าขึ้นมาก่อนเพื่อให้ประชาชนเห็นว่าหน่วยงานรัฐพยายามจะผลักดันให้มีการใช้รถยนต์ไฟฟ้าอย่างแพร่หลาย
          อย่างไรก็ตามก่อนที่จะมีการตั้งสถานีชาร์จไฟฟ้าไม่ใช่ว่ามีสถานที่แล้วดำเนินการได้เลยจะต้องมีการศึกษาให้รอบด้านซึ่งทางกฟน.ได้มีการจัดทำโครงการวิจัยและศึกษาแนวโน้มการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในอนาคต มาตั้งแต่ปี2553 โดยศึกษาในด้านเทคโนโลยีของแบตเตอรี่ เทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้าโครงสร้างพื้นฐานสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า นโยบายด้านรถยนต์ไฟฟ้าในต่างประเทศและผลกระทบต่อกฟน. ซึ่งจากผลการศึกษาพบว่า แนวโน้มการใช้งานของเทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้าที่เพิ่มมากขึ้นในหลายประเทศ การผลิตรถยนต์ไฟฟ้าของค่ายรถยนต์ต่างๆที่มีจำนวนมากขึ้น รวมถึงเทคโนโลยีของแบตเตอรี่ที่มีการพัฒนาให้สามารถเก็บประจุได้มากขึ้น ในราคาต้นทุนที่ต่ำลง
          ต่อมาในปี 2554 กฟน.ได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลง "Feasibility Study of Electric Vehicle" ร่วมกับ บริษัทมิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด และได้มอบรถยนต์Mitsubishi i-MiEVจำนวน 1คันเพื่อใช้ในการศึกษาและทดสอบรถยนต์ไฟฟ้าในการใช้งานในเขต กทม. เป็นระยะเวลา 9 เดือน โดยมีผลการศึกษาหลักประกอบด้วยการประเมินผลการขับขี่รถยนต์พลังงานไฟฟ้าi-MiEV ในสภาพการจราจรปกติของกรุงเทพมหานคร, การประเมินประสิทธิภาพและการใช้พลังงานของรถยนต์ iMiEV ในสถานการณ์ต่างๆกัน, การตรวจวัดผลกระทบของการชาร์จไฟของรถยนต์i-MiEV ต่อระบบไฟฟ้าของ กฟน.
          และได้มีการจัดทำโครงการสาธิตเทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้าและสถานีชาร์จไฟร่วมกับศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งแล้วเสร็จช่วงปลายปี2555โดยผลจากการศึกษานี้ กฟน. จะนำไปใช้เพื่อเป็น Roadmap สำหรับโครงการต่อเนื่องของ กฟน. ต่อไป
          สำหรับสถานีชาร์จไฟฟ้าสำหรับรถยนต์แห่งแรกในประเทศไทยนี้ ตั้งอยู่ในพื้นที่สำนักงานใหญ่ กฟน. ถนนเพลินจิต ซึ่งได้เปิดให้บริการฟรีตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2555 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2556 เพื่อนำร่องให้เกิดการใช้จริงในอนาคตโดยปัจจุบัน กฟน.มีรถยนต์ไฟฟ้าทดลอง 1 คัน และในอนาคตเตรียมสั่งซื้อเพิ่มอีก20 คันภายในปี 2559 หรือปีละ 5 คัน ในราคาประมาณคันละกว่า 2  ล้านบาท เพื่อนำมาใช้ในกิจการของ กฟน.เอง รวมทั้งขยายสถานีบริการเพิ่มอีก10 แห่งในกรุงเทพฯภายในปี 2556 ใช้เงินลงทุนก่อสร้างสถานีละ 6 แสนบาทต่อแห่ง ซึ่งถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของสังคมการใช้รถยนต์ไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยเวลานี้
          โดยสถานีชาร์จไฟฟ้าในรถยนต์แห่งนี้มีกำลังไฟฟ้า 350 โวลต์ สามารถชาร์จเร่งด่วนภายใน 20 นาที หรือประมาณ 80% ของความจุ และขึ้นอยู่กับขนาดความจุของแบตเตอรี่ สามารถวิ่งได้ 100-140 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หากชาร์จตามบ้านเรือนกำลังไฟฟ้า220 โวลต์จะใช้เวลาชาร์จ8-10 ชั่วโมง ซึ่งปัจจุบันในประเทศไทยมีรถชาร์จไฟฟ้าอยู่เพียง 3 คัน
          จากจุดเริ่มต้นดังกล่าวนี้เอง แม้ว่ากฟน.จะต้องแบกรับภาระในการดำเนินงานดังกล่าวก็ตามแต่ด้วยการตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมแล้วถือเป็นบทบาทของกฟน.ที่ต้องดำเนินการและจะเป็นแหล่งข้อมูลการเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในสภาพจริงให้กับทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐ เอกชนหรือแม้กระทั่งประชาชนทั่วไปซึ่งกฟน.ยินดีที่จะเผยแพร่ข้อมูลต่างๆ เพื่อให้ประเทศได้ก้าวไปสู่สังคมรถยนต์ไฟฟ้าเพื่อสภาพแวดล้อมที่ดีของคนไทยต่อไปในอนาคตที่สำคัญหากมีการใช้รถยนต์ไฟฟ้าแพร่หลายในอนาคตการตั้งสถานีชาร์จไฟฟ้าก็จะเป็นอีกโอกาสหนึ่งในการทำธุรกิจสีเขียวสร้างรายได้ให้กับกฟน.ทางหนึ่งด้วยตามวิสัยทัศน์กฟน.ที่มุ่งสู่องค์กรสมรรถนะสูง เป็นผู้นำด้านระบบจำหน่ายไฟฟ้าและบริษัทที่เป็นเลิศ สร้างความเข้มแข็งในธุรกิจเกี่ยวเนื่อง รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
          "เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทำให้แนวโน้มการใช้รถยนต์ประหยัดพลังงานมีมากขึ้นกฟน.จึงเห็นความสำคัญในส่วนนี้ที่จะต้องเตรียมพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าไว้รองรับ"

       

          ที่มา: หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 23 - 25 ส.ค. 2555--
http://www.its.in.th

ไม่มีความคิดเห็น: