บทที่ 6
การเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน
ปัจจุบัน ประชาชนโดยทั่วไปของประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งรวมถึงคนไทยยังไม่ได้มีความรู้สึกถึงความเป็น "พลเมืองอาเซียน" จากรายงานผลการสำรวจข้อคิดเห็นเกี่ยวกับทัศนคติเกี่ยวกับการรับรู้เรื่องอาเซียน พบว่าประชาชนส่วนใหญ่มีความรู้สึกว่าตนเองเป็น "พลเมืองอาเซียน" ไม่ถึงร้อยละ 65
ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นหนึ่งในสมาชิกก่อตั้งอาเซียน รัฐบาลไทยได้ให้ความสำคัญในการเตรียมความพร้อมของประเทศเพื่อร่วมผลักดันให้เกิดการสร้างประชาคมอาเซียนภายในปี 2558 ที่เน้นการปฏิบัติและเชื่อมโยงยิ่งขึ้น เพื่อผลประโยชน์ของประชาชนในภูมิภาค ตามที่ปรากฏในปฏิญญาชะอำ หัวหิน ว่าด้วยแผนงานสำหรับประชาคมอาเซียน พ.ศ. 2552-2558 ซึ่งประเทศไทยมีข้อผูกพันร่วมกับสมาชิกอาเซียนที่จะส่งเสริมให้ประชาชนอาเซียนมีส่วนร่วมและได้รับประโยชน์จากการรวมตัวของอาเซียน และกระบวนการเป็นประชาคมอาเซียน นอกจากนี้ ในวาระที่ไทยดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนเมื่อปี 2522 รัฐบาลไทยได้ผลักดันให้เกิดการบรรลุเป้าหมายกฎบัตรอาเซียน (Realizing the ASEAN Chater) การเสริมสร้างประชาคมอาเซียนที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง (Revitalizing a people-centred ASEAN Community) และการเน้นย้ำความมั่นคงของประชาชนในภูมิภาค (Reinforcing human security for all) เป็นต้น อันจะทำให้ประชาชนสามารถก้าวสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ได้อย่างบรรลุผลได้ภายในปี 2558
รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อนำประเทศไทยไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนที่สมบรูณ์ โดยสร้างความพร้อมและความเข้มแข็งทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม และการเมืองและความมั่นคง โดยที่ประชาคมอาเซียนทั้งสามเสาหลักมีความสำคัญเท่าเทียมกัน ควรมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องไปพร้อมๆ กัน การกำหนดการก้าวไปสู่ประชาคมเป็นวาระแห่งชาติ จึงควรครอบคลุมทั้งสามเสา เพื่อประกอบกันเป็นประชาคมอาเซียนที่ครบถ้วนสมบรูณ์ โดยมีคณะกรรมการอาเซียนแห่งชาติเป็นกลไกระดับประเทศในการประสานการดำเนินงาน และติดตามความคืบหน้าในภาพรวมทุกเสา และมีหน้าที่สำคัญในการผลักดันและสนับสนุนหน่วยงานราชการต่างๆ ในการดำเนินการเพื่อก้าวไปสู่ประชาคมอาเซียน และได้มีการจัดทำแผนงานแห่งชาติสำหรับการก้าวไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนด้วย
บทที่7
องค์ประกอบขององค์การแห่งการเรียนรู้
องค์การแห่งการเรียนรู้ คือ การพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถของคนทำงานบนพื้นฐานของการเรียนรู้ โดยมีกระบวนการดังนี้
กำหนดกลยุทธ์ที่เหมาะสมในเชิงปฏิบัติการ คือ
กลยุทธ์ชี้นำ โดยคณะผู้บริหารระดับสูงร่วมรับผิดชอบและสนับสนุน
กลยุทธ์ปลูกผัง โดยให้คณะทำงานในสายงานด้านทรัพยากรบุคคลเป็นผู้รับผิดชอบ
กลยุทธ์ปฏิรูป โดยคณะทำงานพิเศษจากทุกๆหน่วยงานในองค์การมาร่วมกันรับผิดชอบดำเนินการ
กำหนดแผนงานให้ชัดเจน
เปิดอาโอกาสให้ทุกคนรับรู้กลไกของการพัฒนาและผลกระทบทุกๆด้านที่จะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลง
พัฒนาพื้นฐานสำคัญขององค์การเรียนรู้
พัฒนาพนักงานในระดับผู้นำองค์การ ไม่ว่าจะเป็นหัวหน้าโครงการ หรือหัวหน้าทีมงาน ให้มีความเข้าใจบทบาทของผู้นำในองค์การเรียนรู้จะได้มีการปฏิบัติให้มีคุณลักษณะเป็นผู้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ และเป็นผู้ให้การสนับสนุนผู้อื่นในการปฏิบัติงานให้ราบรื่น
มอบหมายพันธกิจ และกระบวนงานต่างๆแก่ทีมงานเพื่อให้สามารถบริหารและรับผิดชอบด้วยตัวเองได้ เพื่อเป็นการให้อำนาจแก่พนักงาน จะได้เกิดความคล่องตัว
สร้างวัฒนธรรมองค์การด้านการพัฒนา และปรับปรุงงานให้ดีขึ้นตลอดเวลา
ทำการประเมินผล เพื่อปรับปรุงผลงานอยู่เสมอ
บทที่ 8
ทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์
การบริหารทรัพยากรมนุษย์มีจุดเริ่มต้นจากการที่ผู้บริหารให้ความสำคัญกับคนว่าเป็นปัจจัยสำคัญในการผลิต นับตั้งแต่มีการปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นต้นมา โรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่นำเครื่องจักรและเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการผลิต ทำให้ต้องใช้แรงงานคนที่มีทักษะฝีมือเข้ามาทำงานเป็นผู้ควบคุมเครื่องจักเหล่านั้น ส่งผลให้มีการศึกษาค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับการบริหารคนอย่างไรให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานมากที่สุด แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการบริหารทรัพย์มนุษย์อีกหนึ่งแนวคิดคือ แนวคิดการบริหารแบบวิทยาศาสตร์ (scientific management) ผู้ที่ทำการศึกษาแนวคิดนี้คือ เฟรเดอริค ดับเบิลยู เทเลอร์ ในปี 1856 – 1915 เทเลอร์เป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับให้เป็นบิดาการบริหารแบบวิทยาศาสตร์ จากการที่เขาทำงานอยู่บริษัท Midvale Steel เขาพบว่าคนทำงานได้ไม่เต็มกำลังความสามารถ เทเลอร์จึงศึกษาหาวิธีการทำงานที่ดีที่สุด โดยศึกษาหาวิธีการทำงานที่ดีที่สุดสำหรับงานแต่ละงาน มีการคัดเลือกคนเข้าทำงาน โดยใช้กระบวนการคัดเลือกที่เป็นวิธีทางวิทยาศาสตร์เพื่อให้ได้คนที่มีความรู้ความสามารถเหมาะสมที่สุดเข้ามาทำงาน นอกจากนั้นเทเลอร์ยังใช้วิธีการจูงใจคนงานให้เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานด้วยการจ่ายค่าจ้างแบบรายชิ้น จูงใจให้คนงานทำงานให้เกินกว่ามาตรฐานที่กำหนด จากแนวคิดที่เทเลอร์ได้ทำการศึกษาไว้ สามารถนำมาเป็นแนวทางในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ได้ ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบงาน การคัดเลือก รวมถึงการกำหนดรูปแบบการจ่ายค่าตอบแทนให้แก่บุคคล
อ้างอิงจาก หนังสือ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ ของ อ.ชลลดา พึงรำพรรณ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น