หน้าเว็บ

นางสาว กันตินันท์ บุญลิลา รหัส 235 รุ่นที่ 19



บทที่ 8 เทคนิคในการบริหารทรัพยากรมนุษย์และการจัดการที่เหมาะสมกับวัฒนธรรมไทย
จุดประสงค์ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์นั้นมีประเด็นที่น่าสนใจว่า  การที่จะเข้าใจในจุดประสงค์ของการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ได้  จะต้องเข้าใจถึงเป้าประสงค์ขององค์กรเสียก่อนหากกล่าวในเชิงปรัชญาก็อาจกล่าวได้ว่าการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ไม่ได้เป็นสิ่งที่ “สัมบูรณ์”( absolute )ในตัวมันเอง แต่ทว่าเป็นสิ่งที่จะต้อง “สัมพัทธ์”(relative) ไปกับปัจจัยควบคุมนั่นคือ นโยบายการบริหารจัดการองค์กรกล่าวง่ายๆ ก็คือ เป้าประสงค์ขององค์กรจะเป็นตัวกำหนดเป้าประสงค์ของการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์
ในทางธุรกิจองค์กรเอกชนแบบจารีตดั้งเดิมมักจะมีเป้าหมายใหญ่ๆสำคัญ 3 ประการ คือ
1.เป้าหมายของการที่จะต้องสร้างความมั่นใจว่าองค์กรจะอยู่รอดได้พร้อมไปกับความสามารถที่จะมีกำไรในการประกอบธุรกิจได้อย่างเพียงพอซึ่งจะเกี่ยวโยงไปถึฃนรรดาผู้ถือหุ้น หรือหุ้นส่วนทางธุรกิจที่จะรักษาความเป็นหุ้นส่วนไว้หรือไม่
2.องค์กรเอกชนอาจจะต้องแสวงหารูปแบบของการมีความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างยั่งยืน เพื่อที่จะทำให้องค์กรอยู่รอดและมีกำไรที่ต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามในโลกยุคสมัยใหม่ที่มนุษย์ และสังคมได้ผ่านวิวัฒนาการและการพัฒนาทางความคิดและวิถีการดำรงชีวิตมาถึงจุดหนึ่งทำให้ยังมีสิ่งที่องค์กรพึงต้องพิจารณาให้ความสำคัญเพิ่มเติม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเศรษฐกิจสังคมยุคปัจจุบัน ที่เกิดพลวัตผลักดันสังคมให้ก้าวสู่การเป็นระบบเศรษฐกิจสังคมบนฐานความรู้
3.การประกอบธุรกิจนั้นมิใช่จะมุ่งมองแต่เรื่องผลกำไร และความอยู่รอดทางธุรกิจ ตามแนวคิดแบบจารีตดั้งเดิมได้อีกต่อไป สำหรับกระแสนิยมในปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะเรียกร้องให้เกิดแนวคิดที่ว่า การดำรงอยู่ขององค์กรก็จะต้องให้ความใส่ใจกับผลกระทบที่ตนเองจะก่อให้เกิดขึ้นกับสังคมโดยรวมด้วย  ดังนี้นองค์กรธุรกิจเอกชนจะต้องมีเป้าหมายเรื่องคามชอบธรรมทางสังคมขององค์กรด้วย



บทที่ 9 การบริหารการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาที่ยั่งยืน
การพัฒนาที่ยั่งยืน หมายความถึง การพัฒนาที่ตอบสนองความต้องการของตนเองจาก World Commission On Environment and Development  การพัฒนาที่ยั่งยืน รวมความถึง การพัฒนา 3 ด้าน คือ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งเชื่อมโยง และสัมพันธ์กันทั้ง 3 มิติ โครงการพัฒนาใด ๆ ต้องคำนึงถึงองค์ประกอบทั้ง 3 ด้าน ในแง่ของศาสนา การพัฒนาหมายถึง การพัฒนา ตน ทั้งในด้านร่างกาย และจิตใจ โดยเน้นในด้านคุณภาพชีวิต และหลัก ของความถูกต้องพอดี ซึ่งให้ผลประโยชน์สูงสุด และความเกื้อกูลแก่สรรพชีวิต โดยไม่เบียดเบียน ทำลายธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม การพัฒนา ต้องเอาวัฒนธรรมเป็นแนวคิดที่ ศ.นพ. ประเวศ วะสี ได้แสดงปาฐกถา ในงานวันอนุมานราชธน ในหัวข้อ “ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมกับการพัฒนา”ไว้อย่างน่าฟังว่า “ สรรพ สิ่งล้วนเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน ถ้าเราพัฒนาอย่าง แยกส่วน ก็จะมีผลกระทบถึงส่วนอื่นอันนำไปสู่ภาวการณ์ขาดสมดุล และวิกฤตเสมอในประเทศไทย ทฤษฎีการพัฒนา เป็นการพัฒนาที่ต้องคำนึงถึง ความเป็นองค์รวมในทุกด้าน อย่างสมดุล บนพื้นฐานของการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ภูมิปัญญา และวัฒนธรรม ไทย ด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน ทุกกลุ่มด้วยความเอื้ออาทร เคารพซึ่งกันและกัน และสามารถที่จะพึ่งตนเองได้ จนในที่สุด มีคุณภาพที่ดี ขึ้นอย่างเท่าเทียม

ดอยน้ำทรัพย์ ได้นำเอาองค์ความรู้แหล่านี้มาเชื่อมต่อและ ร้อยเรียง เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์กันในการที่จะให้เกิดผลทางการปฏิบัติ โดยมีโครงการดอยน้ำทรัพย์ เป็นตัวแบบของการทำงาน ในการปลูก และแปรรูปสมุนไพร เพื่อนำมาพัฒนาเป็นสินค้าส่งออก

นอกจากนี้ ในการเผยแพร่ ภูมิปัญญาไทย เรามีโรงเรียนสอนการใช้ลูกประคบสมุนไพร ซึ่งเป็นหลักสูตรที่มีการขออนุมัติจากกระทรวงศึกษาธิการอย่างเป็นทางการ เป็นครั้งแรก และพัฒนาหลักสูตร ต่างๆ ที่ต้องใช้สมุนไพร เป็นหลักในการ สอน เพื่อให้เกิดการใช้สมุนไพร อย่างกว้างขวาง สิ่งที่จะขาดไม่ได้ ในการดำเนินการเผยแพร่ภูมิปัญญาไทยสู่สากล ซึ่งเราพยายามใส่เนื้อหาลงไปในหลักสูตรทุกเล่ม เพื่อเป็นการเผยแพร่ สิ่งที่ดีงามไปสู่สากล นั่นคือ หลักของพรหมวิหาร 4



ไม่มีความคิดเห็น: