หน้าเว็บ

น.ส. ปาริฉัตร หยุ่นเฮง รหัส 216 การจัดการทั่วไปรุ่นที่ 19 ภาค กศ.พบ.


บทที่ 6 การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
การเตรียมความพร้อมของภาคการเกษตร
ความมั่นคงด้านอาหาร
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
          ภารกิจหลักของ สศก. ที่เกี่ยวข้องกับอาเซียน ได้แก่ เรื่องการค้า การเจราจา FTA ต่าง ๆ (เน้นมาตรการทางภาษี) โดยมีความตกลงลดภาษีสินค้าส่วนใหญ่เป็นศูนย์ตั้งแต่ปี 2553 และขณะนี้มีมาตรการบริหารการนำเข้าสำหรับสินค้าบางชนิด มาตรการบริหารการลงทุน ซึ่งอยู่ในระหว่างหาข้อมูลและรวบรวมความเห็นเกี่ยวกับท่าที่การลงทุนและการเตรียมการของประเทศไทยต่อการเปิดเสรีการลงทุน และการเป็นประชาคมอาเซียน เป็นต้น
         ในด้านความมั่นคงอาหาร (Food Security) มีการดำเนินการตามแผนนโยบายบูรณาการความมั่นคงด้านอาหารของอาเซียน (ASEAN Integrated Food Security (AIFS) Framework) ซึ่งประกอบด้วย 4 ส่วนได้แก่
1) ความมั่นคงทางด้านอาหาร ผ่านองค์การสำรองข้าวฉุกเฉินอาเซียนบวกสาม (APTERR) ซึ่งอยู่ระหว่างรอให้ประเทศสมาชิกอาเซียน 6 ใน 10 ประเทศ และประเทศคู่เจรจา 1 ใน 3 ประเทศ ให้สัตยาบันเพื่อให้ความตกลงมีผลบังคับใช้ โดยล่าสุดประเทศไทยและประเทศมาเลเซีย ยื่นสัตยาบันสารแล้ว
2) การพัฒนาการค้าอย่างยั่งยืนส่งเสริมตลาดการค้า ซึ่งมีกระทรวงพาณิชย์เป็นหน่วยงานหลัก
3) ระบบข้อมูลด้านความมั่นคงอาหาร สศก. ดำเนินการอยู่ภายใต้โครงการ AFSIS 4) นวัตกรรม หรือ innovation เป็นส่วนที่หน่วยงาน Sectoral Working Group ต่าง ๆ อาทิ Livestock, Fisheries, Crops รับผิดชอบ และมีเรื่องความมั่นคงทางพลังงานซึ่งเป็นเรื่องที่สอดคล้องกับความมั่นคงทางอาหาร และเป็นผลจากการประชุมสุดยอดผู้นำ โดย FAO อยู่ระหว่างหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
          Global Warming ดำเนินการตาม ASEAN Multi – Sectoral Framework on Climate Change (AFCC): Agriculture and Forestry towards Food Security ซึ่งมีอินโดนีเซียเป็น Lead Country
          นอกจากนี้ มีการศึกษาวิจัย อาทิ การศึกษาผลกระทบการเปิดเสรีอาเซียนต่อสินค้าหลักด้านการเกษตรการจัดสัมมนาเตรียมความพร้อมภายในประเทศ เป็นต้น

การดูแลรักษาอาหาร
สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.)
          ภารกิจหลัก ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอาเซียนของ มอกช. ได้แก่ ภารกิจด้านมาตรฐาน การรับรอง และการจัดทำ ASEAN Single Window ร่วมกับศุลกากร ทั้งหมดนี้ สอดคล้องกับ Blueprint และการอำนวยความสะดวก ทางด้านการค้า ด้านมาตรฐาน ได้มีการเข้าร่วม ASEAN Working Group on Crops ได้ปรับมาตรฐานพืชผักผลไม้ให้สอดคล้องกับมาตรฐานอาเซียน 24 ราบการ และในอนาคตจะทำเพิ่มอีก 5 รายการ การจัดทำ ASEAN GAP, ASEAN Shrimp และเข้าร่วมคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านมาตรฐานและคุณภาพของอาเซียน (ACCSQ) ซึ่งอยู่ระหว่างรอการอนุมัติกรอบการเจรจา เพื่อจัดทำ ASEAN MAR on Prepared Foodstuff ต่อไป
          การปรับค่า MRLs ได้ดำเนินการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยดำเนินการแล้ว 826 ค่า pesticide 73 ค่าและมีแผนการร่วมกันกำหนดค่า MRLs อาเซียน เพิ่มอีก 7 ตัวได้แก่ มะเขือยาว ถั่วฝักยาว ถั่วเหลือง ส้ม โหระพา กะเพา และมะม่วง
          เรื่องระบบการรับรอง มกอช. เข้าร่วมคณะทำงาน Accreditation and Conformity Assessment ซึ่ง สมอ. เป็นเจ้าภาพหลัก
          การจัดทำ ASEAN Single Window เชื่อมระบบกฎระเบียบเพื่อการตรวจสอบกักกันสินค้าร่วมกับกรมศุลกากร
          นอกจากนี้ มกอช. มีแผนที่จะแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (ระดับกรม) เพื่อติดตาม เร่งรัด การดำเนินงานให้เป็นไปตาม Blueprint ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และการเสริมสร้างศักยภาพบุคคลากรโดยการฝึกอบรมต่าง ๆ

กรมปศุสัตว์
          กรมปศุสัตว์ได้ดำเนินการภายใต้กรอบ ASEAN Sectoral Working Group on Livestock (ASWGL) และการดำเนินการ่วมกับสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ ได้แก่ การจัดทำวัคซียนโรคสัตว์ การตรวจรับรองสถานที่ผลิตวัคซีนสำหรับปศุสัตว์ในอาเซียน ซึ่งขณะนี้มีประเทศไทยและประเทศอินโดนีเซียที่ได้รับการรับรอง การจัดทำมาตรฐาน กฏระเบียบต่าง ๆ เกี่ยวกับสินค้าปศุสัตว์ อาทิ มาตรฐานฟาร์มเลี้ยง มาตรฐานโรงฆ่า มาตรฐานโรงงานแปรรูป ความร่วมมือในการควบคุมโรคระบาดสัตว์และโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคนในอาเซียน โดยการจัดตั้งกองทุนสุขภาพสัตว์อาเซียน ซึ่งมีงบประมาณประมาณ 1 ล้านเหรียญสหรัฐ ระบบข้อมูลโรคระบาดสัตว์ในอาเซียน การจัดตั้งห้องปฏิบัติการอ้างอิงของอาเซียนสำหรับโรคระบาดท่ำคัญ เช่น โรค FMD โรคไข้หวัดนก เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีความร่วมมือในภูมิภาคที่จะกำจัดโรคพิษสุนัขบ้า ซึ่งเป็นโรคระบาดสัตว์สู่คนที่สำคัญ ให้หมดไปในปี 2020 ร่วมมือกับกรมควบคุมโรค (กระทรวงสาธารณสุข) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช (กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) ในการกำจัดควบคุมโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน และการฝึกอบรมภาษาอังกฤษให้แก่บุคลากรกรมปศุสัตว์เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ฯลฯ

ความปลอดภัยด้านอาหาร
          สำนักงานมาตราฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ

แหล่งที่มา http://moac2aec.moac.go.th/ewt_news.php?nid=63


























บทที่ 7 การพัฒนาองค์การไปสู่องค์การแห่งการเรียนรู้และการพัฒนาอย่างยั่งยืน
          Peter Senge เชื่อว่าหัวใจของการสร้าง Learning Organization อยู่ที่การสร้างวินัย 5 ประการในรูปของการนำไปปฏิบัติของบุคคล ทีม และองค์การอย่างต่อเนื่อง วินัย 5 ประการที่เป็นแนวทางสนการปฏิบัติเพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ทั้งองค์การมีดังนี้
          1. Personnal Mastery : มุ่งสู่ความเป็นเลิศ และรอบรู้ โดยมุ่งมั่นที่จะพัฒนาตนเองให้ไปถึงเป้าหมายด้วย การสร้างวิสัยทัศน์ส่วนตน (Personal Vission) เมื่อลงมือกรทำและต้องมุ่งมั่นสร้างสรรค์จึงจำเป็นต้องมี แรงมุ่งมั่นใฝ่ดี (Creative Tention) มีการใช้ข้อมูลข้อเท็จจริงเพื่อคิดวิเคราะห์และตัดสินใจ (Commitment to the Truth) ที่ทำให้มีระบบการคิดตัดสินใจที่ดี รวมทั้งใช้การฝึกจิตใต้สำนึกในการทำงาน (Using Subconciousness) ทำงานด้วยการดำเนินไปอย่างอัตโนมัติ
          2. MentalModel มีรูปแบบวิธีการคิดและมุมมองที่เปิดกว้าง ผลลัพธ์ที่จะเกิดจากรูปแบบแนวคิดนี้จะออกมาในรูปของผลลัพธ์ 3 ลักษณะคือ เจตคติ หมายถึง ท่าที หรือความรู้สึกของบุคคลต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เหตุการณ์ หรือเรื่องราวใด ๆ ทัศนคติแนวความคิดเห็นและกระบวนทัศน์ กรอบความคิด แนวปฏิบัติที่เราปฏิบัติตาม ๆ กันไป จนกระทั่งกลายเป็นวัฒนธรรมขององค์การ
          3. Shared Vission การสร้างและสานวิสัยทัศน์ วิสัยทัศน์องค์การ เป็นความมุ่งหวังขององค์การที่ทุกคนต้องร่วมกันบูรณาการให้เกิดเป็นรูปธรรมในอนาคต ลักษณะวิสัยทัศน์องค์การที่ดี คือ กลุ่มผู้นำต้องเป็นฝ่ายเริ่มต้นเข้าสู่กระบวนการพัฒนาวิสัยทัศน์อย่างจริงจัง วิสัยทัศน์นั้นจะต้องมีรายละเอียดชัดเจน เพียงพอที่จะนำไปเป็นแนวทางปฏิบัติได้ วิสัยทัศน์องค์การต้องเป็นภพบวกต่อองค์การ
          4. Team Learn การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม องค์การความมุ่งเน้นให้ทุกคนในทีมมีสำนึกร่วมกันว่า เรากำลังทำอะไรและจะทำอะไรต่อไป ทำอย่างไร จะช่วยเพิ่มคุณค่าแก่ลูกค้า การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทึมขึ้นกับ 2 ปัจจัย คือ IQ และ EQ ประสานกับการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทึม และการสร้างภาวะผู้นำแก่ผู้นำองค์การทุกระดับ
          5. System thinking มีความคิดความเข้าใจเชิงระบบ ทุกคนควรมีความสามารถในการเข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบนอกจากมองภาพรวมแล้ว ต้องมองรายละเอียดของส่วนประกอบย่อยในภาพนั้นให้ออกด้วย วินัยข้อนี้สามารถแก้ไขปัญหาที่สลับซับซ้อนต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี
ที่มา http://km.ru.ac.th/oasc/index.php?option=com_content&view=article&id=4&Itemid=5



บทที่ 8 เทคนิคการบริหารทรัพยากรมนุษย์และการจัดการที่เหมาะสมกับวัฒนธรรมไทย
ความสำคัญของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรสามารถจำแนกได้ดังนี้
1. ช่วยให้กระบวนการกำหนดภารกิจหน้าที่ภายในองค์กรมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์หลักขององค์การ หน้าที่สำคัญของนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ คือ การวิเคราะห์งาน เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะการปฏิบัติงาน กระบวนการและขั้นตอนในการปฏิบัติงาน รวมถึงอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้และสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน เมื่อกำหนดภาระงานของแต่ละฝ่ายได้ก็จะสามารถกำหนดคำบรรยายลักษณะงาน(job description) แต่ละตำแหน่ง เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานในตำแหน่งนั้นๆทราบหน้าที่ความรับผิดชอบของตนเอง นอกจากนั้นยังเป็นการเก็บข้อมูลเพื่อนำมากำหนดคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง(job specification) เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการกำหนดคุณสมบัติของบุคคลที่จะรับเข้ามาทำงานได้ตรงตามคุณสมบัติที่องค์กรต้องการ
2. ช่วยให้องค์การสามารถดำเนินกิจการต่างทางด้านทรัพยากรมนุษย์ได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ  การบริหารทรัพยากรมนุษย์นั้นเกี่ยวข้องกับบุคลากรตั้งแต่เริ่มเข้ามาทำงานกับองค์การ  จนกระทั่งออกจากองค์กรไป ดังนั้นงานการบริหารทรัพยากรมนุษย์จึงมีความสัมพันธ์กับชีวิตการทำงานของบุคลากรตั้งแต่การเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบการรับสมัครงงงาน เมื่อบุคคลผ่านกระบวนการคัดเลือก ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์จะทำการบรรจุแต่งตั้งลงในตำแหน่งที่เหมาะสมกับความรู้ความสามารถของบุคคลนั้น  เมื่อทำงานไปได้สักระยะหนึ่งบุคคลจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาทักษะในการทำงานเพิ่มเติม  ซึ่งฝ่ายทรัพยากรมนุษย์จะเป็นหน่วยงานรับผิดชอบโดยตรงในการจัดทำหลักสูตรการฝึกอบรมหรือจัดรูปแบบการพัฒนาอื่นๆให้กับบุคลากร อีกทั้งจะต้องจัดทำมาตรฐานในการทำงานเพื่อใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติงานกับบุคลากรทุกคน  ประโยชน์จากการประเมินผลประจำปีนี้นำไปใช้ในการพิจารณาความดีความชอบและมีการเลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่งของบุคคล  ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีผลต่อการกำหนดค่าตอบแทนของบุคคลอีกด้วย

แหล่งที่มา การบริหารทรัพยากรมนุษย์  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชลลดา พึงรำพรรณ  หน้า 4-5








บทที่ 9 การบริหารการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาอย่างยั่งยืน
แนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนรุดหน้า ไปอย่างรวดเร็วตั้งแต่ทศวรรษ 1980 ในปี 1992 ผู้นำนานาชาติที่มาพบกันในการประชุมสุดยอดแห่งโลก (Earth Summit) ในกรุงริโอ เดอ จาเนโรในบราซิล นำเค้าโครงของรายงานบรุนด์ท์แลนด์ไปสร้างสนธิสัญญาและแถลงการณ์เกี่ยวกับประเด็นหลักๆ ด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ การตัดไม้ทำลายป่า และความหลากหลายทางชีวภาพ นอกจากนี้ผู้เข้าประชุมยังได้ร่วมกันร่างแผนกลยุทธ์กว้างๆ เรียกว่า "Agenda 21" เพื่อใช้เป็นแผนที่สำหรับงานด้าน สิ่งแวดล้อมและการพัฒนาในอนาคต หลังจากการประชุมสุดยอดครั้งประวัติศาสตร์ดังกล่าว ก็มีกลุ่มต่างๆ ตั้งแต่ธุรกิจ รัฐบาลท้องถิ่น ไปจนถึงองค์กรโลกบาลอย่างธนาคารโลก ที่นำแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนไปตีความ ต่อยอด และปรับใช้ในบริบทของตัวเอง จวบจนปัจจุบัน และยังดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง
ถึงแม้ว่าการพัฒนาอย่างยั่งยืนจะเป็นแนวคิดลื่นไหลที่วิวัฒนาการไปเรื่อยๆ ก็มีลักษณะสำคัญบางประการที่อยู่ภายใต้ เส้นความคิดหลายกระแส ได้แก่
1) ความเท่าเทียมกัน (equity) และความยุติธรรม (fairness) เป็นประเด็นสำคัญ การพัฒนาอย่างยั่งยืน อยากตอบสนองความต้องการของคนจนและประชากรผู้ด้อยโอกาส ไอเดียเรื่องความเท่าเทียมกัน และความยุติธรรมเป็นส่วนประกอบสำคัญในนิยามของ "การพัฒนาอย่างยั่งยืน" เพราะตั้งอยู่บนข้อเท็จจริงที่ว่า ถ้าเราละเลยผลกระทบจากการกระทำ ของเราต่อคนอื่นในโลกที่เกี่ยวโยงซึ่งกันและกัน เราก็ต้องยอมรับความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายขึ้นกับตัวเองในอนาคตด้วย
เนื่องจากระบบเศรษฐกิจและนโยบายสาธารณะของเราส่งผลให้เกิดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงทรัพยากร เราจึงต้องเปลี่ยนแปลงระบบเหล่านี้ ความยุติธรรมหมายความว่า ประเทศแต่ละประเทศ ควรมีโอกาสในการพัฒนาตัวเองบนพื้นฐานของคุณค่าทางวัฒนธรรมและสังคมของตัวเอง โดยไม่ปฏิเสธว่าประเทศอื่นๆ ก็ล้วนมีสิทธิดังกล่าวเช่นเดียวกัน หนึ่งในความท้าทาย ที่ใหญ่ที่สุดในปัจจุบันคือ เราจะปกป้องสิทธิของคนที่ไม่มีสิทธิออกเสียงได้อย่างไร คนรุ่นหลังที่ยังไม่เกิดไม่สามารถออกความเห็น หรือปกป้องผลประโยชน์ของพวกเขา ในกระบวนการตัดสินใจต่างๆ ของคนรุ่นปัจจุบัน ถ้าการพัฒนาจะยั่งยืนได้จริง เราจะต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของพวกเขาด้วย
2) มีมุมมองระยะยาว (long-term view) ภายใต้หลักความรอบคอบ (precautionary principle) "ระยะยาว" ยาวแค่ไหน ? ในสังคมตะวันตกยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 การวางแผนของภาครัฐมองระยะเวลาเพียง 3-5 ปีเท่านั้น ปัจจุบัน "ระยะยาว" ในความหมายของ นักค้าหุ้นและนักค้าเงินคือระยะเวลาเพียงไม่กี่สัปดาห์ ในขณะที่ชาวอินเดียนแดงในอเมริกาวางแผนสำหรับ "คนรุ่นที่ 7 นับจากนี้" พวกเขาวางแผนเป้าหมายและกิจกรรมต่างๆ โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อคนรุ่นหลังอีกเจ็ดชั่วคน เท่ากับว่าวางแผนล่วงหน้าถึง 150 ปีทีเดียว สำหรับแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ผู้เชี่ยวชาญบางคนเสนอว่า ตราบใดที่คนรุ่นหนึ่งคิดถึงคนรุ่นต่อไป (ประมาณ 50 ปี) ก็แปลว่าคนทุกรุ่นจะได้รับการดูแล แน่นอนถ้าเรามองเห็นว่าเรื่องใดก็ตาม จะส่งผลกระทบที่เกิดขึ้นในอนาคตที่ไกลกว่านั้น เราก็ควรจะวางแผนให้ยาวขึ้น ไม่มีคนรุ่นไหนสามารถการันตีผลลัพธ์ในอนาคตที่พยากรณ์ไม่ได้ แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่มีคนรุ่นไหน ที่ควรทำเป็นมองไม่เห็นผลลัพธ์ที่พยากรณ์ได้
ในโลกที่เรารู้แล้วว่าทุกมิติมีความเกี่ยวโยงและส่งผลกระทบซึ่งกันและกันเพียงใด ปฏิสัมพันธ์ที่สลับซับซ้อนกำลังเร่งอัตราการเปลี่ยนแปลงและการก่อเกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ในสถานการณ์เช่นนี้ หลักความรอบคอบช่วยแนะแนวให้เราได้ หลักการ ชุดนี้บอกว่า เมื่อกิจกรรมใดๆ ก็ตามเพิ่มขีดอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม หรือสุขภาพมนุษย์ เราควรต้องใช้มาตรการป้องกันและบรรเทาผลกระทบ ถึงแม้ว่านักวิทยาศาสตร์อาจจะยังไม่สามารถพิสูจน์ความสัมพันธ์ที่เป็นเหตุและผลได้ทั้งหมด
3) การคิดแบบเป็นระบบ (systems thinking) ซึ่งต้องอาศัยความเข้าใจในความเชื่อมโยงระหว่างสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม เป็นเวลานานกว่า 2 ศตวรรษแล้วที่เรารู้ว่า โลกนี้เป็นระบบปิดที่มีทรัพยากรจำกัด เมื่อนักสำรวจทำงานสำรวจผิวดิน และพื้นน้ำสำเร็จลง คนก็ค่อยๆ เข้าใจว่าโลกนี้ไม่มีทรัพยากร "ใหม่" เรามีโลกเพียงใบเดียว กิจกรรมทั้งหมดของเราเป็นเพียงส่วนเสี้ยวเดียวของระบบธรรมชาติที่ใหญ่ยิ่งกว่า เราต้องมองเห็นว่าระบบที่เดินด้วยน้ำมือมนุษย์ทั้งหมดนั้นอยู่ภายในระบบนิเวศที่ใหญ่กว่า ก่อนที่จะสามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ยั่งยืน กับสิ่งแวดล้อม และทำให้เรามั่นใจได้ว่าเผ่าพันธุ์มนุษย์ จะอยู่รอดต่อไปในอนาคต
ทรัพยากรธรรมชาติทั้งหมดที่มนุษย์ใช้ ไม่ว่าจะเป็นอาหาร น้ำ ไม้ เหล็ก ฟอสฟอรัส น้ำมัน และทรัพยากรอื่นๆ อีกหลายร้อยชนิด ล้วนมีขีดจำกัดทั้งในแง่ของแหล่งที่มาและแหล่งที่ไป (sink) แนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนบอกเราว่า เราไม่ควรนำทรัพยากรธรรมชาติออกมาใช้ในอัตราที่เร็วกว่าความสามารถของเราในการผลิตทรัพยากรทดแทน และเราก็ไม่ควรทิ้งทรัพยากรธรรมชาติในอัตราที่เร็วกว่าอัตราที่ธรรมชาติจะสามารถดูดซับมันกลับเข้าไปในระบบ ถึงแม้ว่าปัญหาทรัพยากรร่อยหรอจะเป็นประเด็นกังวลหลักของนักสิ่งแวด ล้อมในอดีต วันนี้นักสิ่งแวดล้อมส่วนใหญ่ เป็นกังวลเรื่องที่เราจะไม่เหลือแหล่งทิ้งทรัพยากรแล้วมากกว่า ปัญหาโลกร้อน รูในชั้นโอโซน และความขัดแย้งเรื่องการ ส่งออกขยะอันตราย ล้วนเป็นปัญหาที่เกิดจากการที่เราพยายามทิ้งทรัพยากร เร็วกว่าอัตราที่ธรรมชาติจะสามารถรองรับได้
การคิดแบบเป็นระบบผลักดันให้เราเข้าใจว่า ถึงแม้โลกจะมีเพียงใบเดียว มันก็เป็นโลกที่ประกอบด้วยระบบย่อย (sub systems) มากมายที่มีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกัน และกัน ปัจจุบันการพัฒนาโมเดลต่างๆ เพื่ออธิบายระบบย่อยเหล่านี้ได้รุดหน้าไปอย่างไม่หยุดยั้ง โมเดลเหล่านี้เป็นกรอบคิดที่เป็นประโยชน์สำหรับการเลือกดัชนีชี้วัดความคืบหน้าของการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ระบบย่อยต่างๆ ในโลกล้วนเชื่อมโยงกันผ่านกระบวนการที่ภาษาวิทยาศาสตร์เรียกว่า "ห่วงโซ่ตอบกลับ" (feedback loop) อันสลับซับซ้อน วิทยาศาสตร์แขนงใหม่ที่ศึกษาความซับซ้อนของระบบต่างๆ บอกเราว่า ในระบบบางระบบ เหตุการณ์เล็กมากๆ อาจก่อให้เกิดผลลัพธ์ขนาดใหญ่ที่รุนแรงและพยากรณ์ไม่ได้ล่วงหน้า ด้วยการ จุดชนวนซีรีส์เหตุการณ์ที่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ยกตัวอย่างเช่น ตอนนี้เรารู้แล้วว่าการปล่อยมลพิษในซีกโลกเหนือส่งผลให้ชั้นโอโซนเหนือทวีปแอนตาร์กติกาบางลง และเร่งอัตราการเกิดมะเร็งผิวหนังในซีกโลกใต้ วิกฤตการเงินในเอเชียส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลก และสงครามระหว่างชาติพันธุ์ในทวีปแอฟริกากลางก่อให้เกิดการอพยพขนานใหญ่ของประชากรไปยังบริเวณใกล้เคียง สร้างแรงตึงเครียดต่อระบบในประเทศเหล่านั้นจนถึงจุดแตกหัก เป็นชนวนให้เกิดวิกฤตและการอพยพต่อไปเป็นทอดๆ
ตั้งแต่ผู้นำโลกที่ร่วมประชุม Earth Summit ประจำปี 1992 ตกลงกันว่าจะร่วมมือกันผลักดันการพัฒนาอย่างยั่งยืน ให้เกิดเป็นรูปธรรม ท่านผู้อ่านอาจสงสัยว่าในระยะเวลา 15 ปีที่ผ่านมา แนวคิดนี้คืบหน้าไปมากน้อยเพียงใด มีกรณีใดบ้างเป็นความสำเร็จที่เป็นรูปธรรมชัดเจน และมีกรณีใดบ้างที่ต้องนับว่าเป็นความล้มเหลว

แหล่งที่มา  http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2008q1/2008march27p4.htm















ไม่มีความคิดเห็น: