หน้าเว็บ

นางสาวนฤมล คำแหงพล


การบริหารการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาอย่างยั้งยืน ดังนี้
การบริหารการเปลี่ยนแปลง โดยการนำหลักขององประกอบการบริหาร คือ 4’M ได้แก่ บุคลากร เงิน วัสดุอุปกรณ์ และการจัดการมาวิเคราะห์ จะพบว่า “การบริหารการเปลี่ยนแปลง” เป็นการรวมพลังของหลักการบริการทั้ง 4 หลัก คือ บุคลากร เงิน วัสดุอุปกรณ์ และการจัดการ เพื่อสร้างคุณค่าให้แก่การเปลี่ยนแปลง โดยมี “การจัดการ” เป็นแกนกลางในการดึงพลังจากบุคลากร ให้พร้อมต่อ การเปลี่ยนแปลง จัดสรรงบประมาณที่สามารถสนับสนุนให้บุคลากรมีความเต็มใจ ที่จะปฏิบัติตาม และสรรหาวัสดุอุปกรณ์ในการดำ เนินการอย่างเพียงพอ
การพัฒนาอย่างยั่งยืนไม่ใช่แค่เรื่องการผลิตโดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม หรือการสร้างระบบหรือโครงการบริการทางสังคมหลากประเภทแต่การพัฒนาอย่างยั่งยืนจะเกิดขึ้นได้ ต้องสร้างความเข้มแข็งของทุกภาคส่วนในสังคม โดยเฉพาะระดับชุมชน (ซึ่งจะช่วยส่งผลถึงระดับครอบครัว) และภูมิคุ้มกันสังคมที่อยู่บนฐานความรู้เท่าทันและการมีปัญญา การสร้างความเข้าใจ และความสามารถตลอดจนปรับกลไก และระบบการทำงานของภาครัฐ       เป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนสังคม สู่การพัฒนายั่งยืนอย่างมีประสิทธิภาพ


ที่มา : สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์, การปฏิรูปภาครัฐเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน, 30 มิถุนายน 2546
        รศ.ดร.ศุภชัย ยาวะประภาษ,การบริหารการเปลี่ยนแปลง

ไม่มีความคิดเห็น: