บทที่ 9 การบริหารการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาอย่างยั่งยืน
องค์กร กับการพัฒนาอย่างยั่งยืน
องค์กรที่ดีควรมีความเจริญก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง และความต่อเนื่อง อละการพัฒนาที่ขาดการต่อเนื่องย่อมไม่ดีแน่ ดังนั้นจึงขอแนะนำ การพัฒนาองค์การอย่างเป็นระบบ อย่าง่าย ควรมีการสร้างแผนแม่แบบในการเปลี่ยนแปลง จะต้องมีการประเมินสถานการณ์ขององค์การ เพื่อให้เห็นช่องว่างของความแตกต่างระหว่างองค์การในปัจจุบันกับองค์การที่ควรจะเป็นในอนาคต หลังจากนั้นจะต้องมีการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคขององค์การ เพื่อที่จะนำจุดแข็งขององค์การมาผลักดันการพัฒนาองค์การ โดยมีกลไกการควบคุมทิศทางที่แน่นอน การพัฒนาองค์การจะต้องพิจารณาว่าองค์การที่จะพัฒนาเป็นแบบเปิดหรือแบบปิด ถ้าเป็นองค์การแบบเปิด ทุกคนจะต้องมีส่วนร่วมแก้ปัญหาร่วมรับผิดชอบ โดยเน้นที่เป้าหมายขององค์การเป็นหลัก ลักษณะโครงสร้างขององค์การจะเป็นแบบกว้าง อาศัยการให้คำแนะนำมากกว่าสั่งการ การบริหารงานลักษณะนี้ พนักงานจะมีความซื่อสัตย์และมีจิตสำนึกในความสำเร็จของงานมากกว่าตัวบุคคล แต่ถ้าหากองค์การเป็นแบบปิดหรือแบบระบบราชการ การพัฒนาองค์การจะทำได้ยากลำบาก ทั้งนี้เนื่องมาจากมีการแบ่งงานตามหน้าที่ ลักษณะงาน ซ้ำๆ กัน มีความรับผิดชอบตามหน้าที่ของหน่วยงานที่สังกัดอยู่ มีสายการบังคับบัญชาในลักษณะแนวดิ่ง ยึดถือตัวบุคคลเป็นหลักไม่เน้นทีมงานและความสำคัญของงาน ลักษณะเช่นนี้พัฒนาได้ยาก เนื่องจากมีแรงต้านมากเห็นแก่ญาติพวกพ้องครอบครัว ผู้บริหารสูญเสียอำนาจมีความเกรงอก เกรงใจ ไม่สามารถบริหารงานให้บรรลุเป้าหมายได้ สาเหตุที่องค์การจะต้องมีการพัฒนาเพื่อช่วยให้หน่วยงานมีกฎระเบียบน้อยลง และให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาขจัดอุปสรรคในการติดต่อสื่อสาร มุ่งเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์การและสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของ สนับสนุนให้ทำงานร่วมกันระหว่างแผนกเพื่อเป้าหมายขององค์การที่สูงขึ้น นอกจากนั้นยังเกิดจากแรงผลักดันภายในและแรงผลักดันภายนอกที่ทำให้องค์การต้องพัฒนา แรงผลักภายในหมายความถึงการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ การเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมองค์การ ค่านิยม วัฒนธรรม ความอึดอัดในการทำงาน ความขัดแย้งในกฎระเบียบ อัตราการเข้าออกของพนักงานสูง ส่วนแรงผลักดันภายนอก ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงในวงการธุรกิจ เช่น การเปลี่ยนแปลงของตลาด การเปลี่ยนแปลงกำลังคน การขาดแคลนแรงงาน การหันมาใช้เครื่องจักร การไม่สามารถบริการลูกค้าได้ การเปลี่ยนผู้บริหาร และการนำเทคโนโลยีใหม่เข้ามาใช้ การพัฒนาองค์การจะต้องเปลี่ยนแปลงระบบทั้งหมดขององค์การ เช่น แรงงานคน โครงสร้างและระบบงาน งานและปัญหา เทคโนโลยี โดยมีสิ่งแวดล้อมเป็นตัวประกอบ เช่น สังคม การเมือง และเศรษฐกิจ โดยมีแรงผลักดันภายนอกและภายในเป็นตัวกระตุ้นให้มีการปรับโครงสร้างเดิมให้เป็นโครงสร้างใหม่
อ้างอิง: http://www.classifiedthai.com/content.php?article=16029
บทที่ 10 การแข่งขันในตลาดโลกและการปรับตัวเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
การแข่งขันในตลาดโลก
บริษัท ฮอนด้า มอเตอร์ จำกัด ประเทศญี่ปุ่น ประกาศว่าฮอนด้าจะเดินหน้านำเสนอคุณค่าใหม่ๆ สู่สังคมโลก และให้ความสำคัญกับความพึงพอใจของลูกค้าเป็นหลัก โดยจะมุ่งพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม ส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่ดี มี Co2 ต่ำ ในราคาย่อมเยาให้กับลูกค้าอย่างรวดเร็ว ฮอนด้าได้กำหนดเป็นกลยุทธ์การดำเนินงานของบริษัทไว้ 3 ประการด้วยกันคือ มุ่งพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม ยกระดับความเข้มแข็งด้านการผลิต และเสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจในตลาดใหม่ๆ โดยภูมิภาคเอเชียยังคงมีบทบาทในการเป็นฐานการผลิตและส่งออกที่สำคัญของฮอนด้า
นายทาคาโนบุ อิโต้ ประธานกรรมการบริหารและซีอีโอ บริษัท ฮอนด้า มอเตอร์ จำกัด ได้กล่าวในงานแถลงข่าวกลางปีที่สำนักงานวาโกะ ประเทศญี่ปุ่นว่า ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาตลาดรถนั่งขนาดเล็กทั่วโลกมีอัตราการขยายตัวเพิ่มมากขึ้น เนื่องมาจากความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อมและวิกฤตการณ์การเงินโลก ตลอดจนโครงสร้างของเศรษฐกิจโลกที่เปลี่ยนแปลงไป ฮอนด้าต้องตอบสนองอย่างรวดเร็วต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เพื่อให้องค์กรสามารถเติบโตและแข่งขันได้
“ในสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่มีความเข้มงวดมากขึ้น ฮอนด้าจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องย้อนกลับไปที่หลักการดำเนินงานพื้นฐานของบริษัท ที่ให้ความสำคัญกับมุมมองของลูกค้า เราได้กำหนดทิศทางการดำเนินงานในอีก 10 ปีข้างหน้าไว้ว่า เราจะส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่ดี มี Co2 ต่ำในราคาที่ย่อมเยาให้กับลูกค้าอย่างรวดเร็ว ผลิตภัณฑ์ที่ดีนั้นหมายถึงผลิตภัณฑ์ซึ่งมีความดึงดูดใจที่ลูกค้าต้องการ และสร้างสรรค์ขึ้นจากเทคโนโลยีที่ฮอนด้าพัฒนาขึ้นเอง ผลิตภัณฑ์ที่ดีนั้นจะต้องส่งมอบได้เร็ว และต้องมีราคาที่ย่อมเยาซึ่งจะทำให้ลูกค้ามีความสุขที่ได้ซื้อผลิตภัณฑ์นั้น
คำว่า ‘มี CO2 ต่ำ’ ได้สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของฮอนด้า ที่ต้องการจัดการกับปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง ”
แล้วกล่าวเสริมอีกว่า ฮอนด้าได้ให้ความสำคัญในการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมมาโดยตลอด เห็นได้จากการแนะนำผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง เช่น รถไฮบริดรุ่นอินไซท์ และซีอาร์-ซี จากนี้ต่อไป
ฮอนด้าจะมุ่งพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นอีก โดยจะเพิ่มจำนวนรุ่นรถที่ใช้ระบบไฮบริดให้มากขึ้น เริ่มจากฟิต ไฮบริด ซึ่งจะจำหน่ายในประเทศญี่ปุ่นช่วงฤดูใบไม้ร่วงปีนี้ และจะพัฒนาระบบไฮบริดในรถขนาดกลางและขนาดใหญ่ รวมถึงรถที่ใช้ระบบไฮบริดแบบปลั๊ก-อินด้วย ทั้งนี้เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของลูกค้าให้ได้มากที่สุด นอกจากนี้ฮอนด้าจะเดินหน้าพัฒนารถไฟฟ้าที่ใช้แบตเตอรี่ โดยมีเป้าหมายที่จะนำมาใช้จริงให้เร็วที่สุด โดยจะเริ่มจำหน่ายในประเทศญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกาในปี 2012 อย่างไรก็ตาม ฮอนด้ายังให้ความสำคัญกับการพัฒนารถที่ใช้เชื้อเพลิงเบนซินโดยในปี 2012 ฮอนด้าจะพัฒนาเครื่องยนต์และระบบเกียร์เพื่อให้มีอัตราการประหยัดน้ำมันที่เพิ่มมากขึ้น
นอกจากนี้ฮอนด้ามีแผนจะเปิดให้เช่าใช้ จักรยานยนต์ไฟฟ้ารุ่น อีวี นีโอ แก่องค์กรธุรกิจในประเทศญี่ปุ่นในเดือนธันวาคมปีนี้ และจะแนะนำจักรยานยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่ในประเทศจีนในปีหน้า ฮอนด้าจะทำตลาดจักรยานยนต์ไฟฟ้าทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้ว และประเทศที่กำลังเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยจะพัฒนาสมรรถนะของตัวรถให้ดียิ่งขึ้น และทำราคาให้สามารถแข่งขันได้เพื่อที่จะก้าวสู่การเป็นผู้นำในตลาดจักรยานยนต์ไฟฟ้า เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการสร้างความพึงพอใจสูงสุดแก่ลูกค้า ด้วยการแนะนำผลิตภัณฑ์ที่มี CO2 ต่ำออกสู่ตลาดอย่างรวดเร็ว
ฮอนด้าจะยกระดับความเข้มแข็งด้านการผลิต โดยสร้างองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีการผลิต โรงงานต้นแบบในประเทศญี่ปุ่นจะมุ่งเน้นเทคโนโลยีในการผลิตรถยนต์ขนาดเล็กและรถยนต์เพื่อสิ่งแวดล้อม โดยจะขยายองค์ความรู้และเทคโนโลยีดังกล่าวออกไปสู่โรงงานฮอนด้าในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ภายใต้นโยบาย “ผลิตในที่ที่มีความต้องการ” ฮอนด้าจะเสริมสร้างเครือข่ายการผลิตระหว่างโรงงาน และระหว่างประเทศเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นด้านการผลิต ด้วยวิธีนี้ ฮอนด้าจะสามารถ สร้างระบบการผลิตที่แข็งแกร่ง และทำให้ฮอนด้ามีศักยภาพในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงในตลาดได้ดียิ่งขึ้น
ด้านการเสริมสร้างการเติบโตทางธุรกิจในตลาดใหม่ๆ นั้น ในประเทศที่กำลังเติบโตทางเศรษฐกิจ จักรยานยนต์นับเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้คน ประชากรจำนวนมากและตลาดขนาดใหญ่ที่มีศักยภาพในประเทศเหล่านั้น กำลังจะกลายมาเป็นกลุ่มลูกค้าหลักของฮอนด้า โดยมีคู่แข่งสำคัญได้แก่ ผู้ผลิตจากจีน และอินเดีย หากฮอนด้าต้องการที่จะรักษาความเป็นผู้นำตลาด ฮอนด้าต้องไม่เพียงแค่รักษาคุณภาพที่ดีของผลิตภัณฑ์ไว้เท่านั้น แต่ต้องทำราคาให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดนั้นด้วย และเพื่อสร้างความดึงดูดใจในตัวผลิตภัณฑ์ ฮอนด้าจะเพิ่มความสามารถในการแข่งขันด้านราคา โดยจะพยายามใช้ชิ้นส่วนและวัตถุดิบภายในประเทศที่ผลิตให้มากที่สุด ตามที่เคยทำในประเทศไทยมากว่า 40 ปี ปัจจุบันโรงงานผลิตรถจักรยานยนต์ในประเทศไทยได้เติบโตขึ้นเป็นฐานการผลิตรถจักรยานยนต์ที่จำหน่ายออกไป
ทั่วโลก (Global Model) เช่น สกู๊ตเตอร์รุ่น PCX ที่ผลิตและเปิดตัวครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อปีที่ผ่านมา และส่งออกไปยังประเทศต่างๆทั่วโลก โดยในปลายปีนี้ฮอนด้ามีแผนจะเปิดตัวจักรยานยนต์สปอร์ตรุ่นใหม่ในประเทศไทย และจะส่งออกไปจำหน่ายทั่วโลกเช่นกัน
ภูมิภาคเอเชียยังเป็นฐานการผลิตที่สำคัญของฮอนด้า โดยในปีหน้าฮอนด้าจะเปิดโรงงานแห่งใหม่ในประเทศอินโดนีเซีย เพื่อขยายกำลังการผลิตจักรยานยนต์ ซึ่งภายหลังจากการเริ่มเดินสายพานการผลิตในช่วงปลายปีหน้า กำลังการผลิตจักรยานยนต์ฮอนด้าในภูมิภาคเอเชีย(ไม่รวมญี่ปุ่น) จะเพิ่มขึ้นจากปัจุบัน 16 ล้านคันต่อปีเป็น 18 ล้านคันต่อปี จากจำนวนการผลิตที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ฮอนด้าสามารถรวมทุกขั้นตอนมาไว้ในภูมิภาคเดียวกัน ตั้งแต่การวิจัยและพัฒนา การจัดซื้อชิ้นส่วน และการผลิต ซึ่งจะทำให้ฮอนด้ามีศักยภาพในการแข่งขันที่สูงขึ้น และสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น
สำหรับธุรกิจรถยนต์ ฮอนด้าจะพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันในประเทศที่กำลังเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งตลาดรถนั่งขนาดเล็กกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยจะเร่งให้เกิดการพัฒนาฐานการผลิตรถในภูมิภาคโดยใช้แม่พิมพ์ วัตถุดิบ ตลอดจนชิ้นส่วนที่ผลิตขึ้นเองภายในภูมิภาค ในปีหน้านี้ฮอนด้าจะเปิดตัวอีโคคาร์ในประเทศไทย ซึ่งเป็นรถที่มีอัตราการประหยัดน้ำมันเป็นเลิศ โดยจะผลิตและส่งออกไปจำหน่ายยังกลุ่มประเทศอาเซียน นอกจากนั้นยังมีแผนที่จะเปิดตัวรถขนาดเล็กในประเทศอินเดีย ซึ่งจะใช้โครงสร้างตัวถังเดียวกันกับอีโคคาร์อีกด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น