หน้าเว็บ

นายนรินทร์ สรณานุภาพ รหัส 5130125401240 การจัดการทั่วไป รุ่น 19


การบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Management)
ภายใต้บริบทของการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของกระแสโลกาภิวัตน์ การปรับตัวให้องค์การ  และบุคลากรมีความพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งสำคัญ หน่วยงานทั้งภาคราชการและภาคเอกชนจึงได้พยายามปรับเปลี่ยนให้องค์การของตนเป็นองค์การสมัยใหม่ที่มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับและถูกขับ   เคลื่อนโดยยุทธศาสตร์ (strategy-focused organization)อันจะนำมาซึ่งการเพิ่มมูลค่า (value-added) และสร้างคุณค่า (value creation) ตามเป้าประสงค์หรือวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ถึงแม้ว่าการวางยุทธศาสตร์ที่ดีจะเป็นเรื่องไม่ง่ายนักและต้องมีการวิเคราะห์อย่างเป็น ระบบแต่การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติให้บังเกิดผลนั้นเป็นเรื่องที่มีความยากลำบากมากกว่าและจำเป็นต้องอาศัย “การบริหารการเปลี่ยนแปลง” อย่างเป็นระบบ
ในการนี้ยังได้มีความพยายามในการสร้างเครือข่ายของการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นในองค์การ เพื่อช่วยทำให้บุคคลที่ได้รับผลกระทบเข้ามามีส่วนร่วม ได้รับทราบถึงบทบาทหน้าที่ของตนและปรับตัวได้อย่างถูกต้อง เกิดความมุ่งมั่นต่อความสำเร็จของการเปลี่ยนแปลงและสนับสนุนให้การดำเนินการเป็นไปอย่างราบรื่นอนึ่ง เครือข่ายดังกล่าวประกอบขึ้นด้วยบุคคลหลายฝ่าย เช่น ผู้อุปถัมภ์/ผู้ส่งเสริมการ เปลี่ยนแปลง (Change Sponsor) ผู้ผลักดันการเปลี่ยนแปลง (Change Advocate) ผู้เป็นตัวแทนให้เกิดการเปลี่ยนแปลง (Change Agent) และผู้เป็นกลุ่มเป้าหมายของการเปลี่ยนแปลง (Change Target)
ในการบริหารการเปลี่ยนแปลงให้บรรลุผลสำเร็จนั้น แต่ละหน่วยงานจะต้องดำเนินกิจกรรมที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ ทั้งในระดับองค์การและระดับตัวบุคคล ซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญ ๆ ดังนี้
• การนำทาง (Navigation) ซึ่งเป็นเรื่องของ การวางแผนกำกับทิศทาง การบริหารจัดการ และการวัดผลแผนที่กำหนดไว้นี้จะช่วยทำให้มองเห็นภาพรวมทั้งหมดของแนวทางการเปลี่ยนแปลง ผลลัพธ์ที่สามารถวัดผลได้เป็นระยะๆ และแสดงให้เห็นว่ากำลังจะก้าวไปในทิศทางที่ถูกต้อง
• ภาวะผู้นำ (Leadership) คือ การสร้างผู้นำ ในการเปลี่ยนแปลงให้มีภาวะผู้นำที่มีประสิทธิภาพสามารถกำหนดทิศทางการเปลี่ยนแปลงได้อย่างชัดเจน
•.การปรับแต่งหรือเสริมสร้างพลัง (Enablement) คือ การสร้างความพร้อมทั้งในด้านศักยภาพและองค์ประกอบที่จำเป็นแก่บุคลากรและองค์การ เพื่อสนับสนุนให้การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนพฤติกรรมในการทำงาน การสร้างทักษะ/ความรู้ การสนับสนุนเครื่องมือใหม่ๆ ปรับปรุง กระบวนการต่างๆ เพื่อตอบสนองกับสภาพแวดล้อมการทำงานใหม่ๆ การใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการทำงาน การปรับเปลี่ยนขอบเขตหน้าที่ของงานต่างๆ ภายในโครงสร้างเพื่อให้เหมาะสมกับแนวทางใหม่ ๆ
• ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลง (Ownership) เป็นการสื่อสารทำความเข้าใจละสร้างความรู้สึกร่วมในการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นในทุกระดับขององค์การ

ที่มา : http://www.opdc.go.th
Young และคณะ (1989) ได้สรุปวิธีการในการเข้าสู่ตลาดต่างประเทศไว้ ดังนี้
การส่งออก (Exporting) Oman C. (1984) อธิบายว่าเป็นวิธีการพื้นฐานที่สุดในการดำเนินงานของธุรกิจระหว่างประเทศและเป็นวิธีการที่มีความเสี่ยงน้อย เพราะเพียงแต่จัดส่งสินค้าไปจำหน่ายในต่างประเทศแบ่งได้ 2 วิธี ได้แก่ การส่งออกทางอ้อม (Indirect Exporting) คือการที่กิจการจะมอบหมายให้ผู้อื่นทำ หน้าที่ในส่วนที่เป็นการส่งสินค้าออกแทนตนเอง และการส่งออกทางตรง (Direct Exporting) หมายถึงการที่กิจการทeหน้าที่ในการส่งสินค้าของตนไปสู่ลูกค้าในต่างประเทศโดยตรงไม่ผ่านคนกลางใดๆ
การทำสัญญาการผลิต (Contract Manufacturing) หมายถึง การที่กิจการหนึ่งว่าจ้างผู้ผลิตในต่างประเทศให้ทำการผลิตสินค้าให้ตนตามคุณภาพและมาตรฐานที่กำหนด และบริษัทจะเป็นผู้ทำการจำหน่ายสินค้าดังกล่าวเอง รวมทั้งเป็นผู้รับผิดชอบกระบวนการทางการตลาดไม่ว่าจะเป็นการโฆษณา และการส่งเสริมการจัดจำหน่ายด้วย
การให้ลิขสิทธิ์ (Licensing) หมายถึงการที่บริษัทเจ้าของเครื่องหมายการค้า (Licensor) ได้รับอนุญาตให้บริษัทอื่นในต่างประเทศทำการผลิตสินค้าหรือบริการ (Licensee) ภายใต้ เครื่องหมายการค้าและการควบคุมคุณภาพจากเจ้าของ โดยบริษัทในต่างประเทศผู้ได้รับอนุญาตให้ทำการผลิตจะต้องเสียค่าธรรมเนียมในการได้รับอนุญาต (Royalty) ให้บริษัทเจ้าของเครื่องหมายการค้า โดยทั่วไปแล้วมักคิดเป็นร้อยละจากยอดขาย
การให้สัมปทาน (Franchising) จัดเป็นวิธีการหนึ่งของการได้รับอนุมัติ (License) จากเจ้าของเครื่องหมายการค้า (Franchiser)โดยผู้ได้รับ (Franchisee) อาจเป็นธุรกิจหรือบุคคลที่จะใช้ระบบการทำงาน เครื่องหมายการค้าและสิทธิพิเศษอย่างอื่นเพื่อดำเนินธุรกิจตามข้อกำหนดที่ได้ตกลงกันไว้ และเจ้าของสัมปทานก็จะได้รับค่าธรรมเนียมเป็นการแลกเปลี่ยน (Franchise Fee)
การลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ (Foreign Direct Investment) Hill (1999) ได้อธิบายการลงทุนโดยตรงในต่างประเทศมีหลายรูปแบบดังนี้
- การลงทุนโดยบริษัทแม่ทั้งหมด (Wholly Own) หมายถึงการที่กิจการลงทุนโดยตรงในต่างประเทศด้วยเงินทุนของตนเอง
- การร่วมลงทุนระหว่างประเทศ (International Joint Venture) หมายถึง การร่วมลงทุนกับกิจการจากประเทศอื่นๆ ในการทำธุรกิจในประเทศใดประเทศหนึ่ง
อินเทอร์เน็ต (Internet) หมายถึงการขายสินค้าบนเว็บไซต์(Website) เริ่มแรกตลาดอินเทอร์เน็ต (Internet) จะเน้นการขายในประเทศอย่างไรก็ตามบริษัทจำนวนมากเริ่มรับการสั่งซื้อจากต่างประเทศ ทำให้เกิด Concept การตลาดอินเทอร์เน็ตนานาชาติInternational Internet Marketing (IIM) อิทธิพลของอินเทอร์เน็ตต่อการตลาดนานาชาติได้ขยายตัวไปอย่างรวดเร็ว
การควบรวมกิจการ (Merger and Acquisition) การควบรวมกิจการ (Merger) สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในลักษณะที่หน่วยธุรกิจหนึ่งผนวกกิจการเข้ากับธุรกิจที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกันหรือเกี่ยวพันกัน โดยคาดหวังว่าหลังจากมีการควบรวมกิจการจะทำให้สามารถเพิ่มส่วนแบ่งตลาด ผนวกทักษะเทคโนโลยี และความสามารถในการดำเนินงานเข้าด้วยกันจะทำให้ต้นทุนในการดำเนินงานลดลง ลดแรงกดดันทางการแข่งขัน รวมถึงได้ผลผลิตจากความสามารถของทั้งสองกิจการ ช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กิจการและเพิ่มอำนาจการต่อรองของกิจการได้เป็นอย่างดี
การเข้าซื้อกิจการ (Acquisition) นั้นเกิดขึ้นเพื่อให้ได้เป็นเจ้าของเหนือกิจการเดิมและนำกิจการนั้นเข้าเป็นกิจการในเครือของผู้ซื้อ ควบคุมการบริหารและกลยุทธ์การแข่งขันต่างๆ รวมถึงจะสามารถใช้ประโยชน์จากความสามารถหลักของกิจการทั้งในด้านทรัพย์สิน ทักษะ เทคโนโลยี การตลาด ความสัมพันธ์ทางธุรกิจสินค้าและบริการที่กิจการดังกล่าวครอบครองอยู่ ซึ่งผู้ที่เข้าซื้อกิจการยังสามารถนำความรู้และความสามารถของบริษัทตนเองมาใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของบริษัทใหม่ได้ด้วย
กลยุทธ์พันธมิตรนานาชาติ (Strategic International Alliance) เป็นความสัมพันธ์ทางธุรกิจที่เกิดขึ้นโดย 2 บริษัทหรือมากกว่ามาร่วมกันในการตอบสนองความต้องการเดียวกัน และร่วมรับความเสี่ยงในการไปถึงเป้าหมายเดียวกัน กลยุทธ์พันธมิตรนานาชาติ (Strategic International Alliance) เป็นกลยุทธ์การแข่งขันในการบริหารการตลาดระดับโลกเป็นวิธีการที่จะลบจุดอ่อนและเพิ่มจุดแข็งทางการแข่งขันโอกาสในการเจริญเติบโตรวดเร็วในตลาดใหม่ๆ เข้าถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ เพิ่มประสิทธิผลต้นทุนทางการผลิต และเป็นแหล่งทุนในการขับเคลื่อนการแข่งขันในกลยุทธ์พันธมิตรนานาชาติ
การพัฒนาโปรแกรมการตลาด (Marketing Program Development) ซึ่งประกอบด้วยการออกแบบกลยุทธ์ผลิตภัณฑ์หรือบริการ (Product / Service) การจัดจำหน่าย (Distribution)การกำหนดราคา (Price) และการส่งเสริมการตลาด (Promotion)และการนำไปปฏิบัติเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ซื้อที่เป็นเป้าหมาย

นายนรินทร์ สรณานุภาพ
รหัส 5130125401240
การตัดการทั่วไป รุ่น 19
หลักการของการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรือที่มักเรียกกันว่า EIA ย่อมาจากคาว่า Environmental Impact Assessment ซึ่งหมายถึง การใช้หลักวิชาการในการทำนายหรือคาดการณ์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมทั้งทางบวกและทางลบของการดาเนินโครงการพัฒนาที่จะมีต่อสิ่งแวดล้อมในทุกๆ ด้านทั้งทางทรัพยากรธรรมชาติ และทางเศรษฐกิจและสังคมเพื่อจะได้หาทางป้องกันผลกระทบในทางลบที่อาจเกิดขึ้นให้เกิดน้อยที่สุด ในขณะเดียวกันก็มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติซึ่งส่วนใหญ่ไม่สามารถฟื้นคืนกลับมาได้อย่างมีประโยชน์ มีประสิทธิภาพสูงสุด และคุ้มค่าที่สุด นอกจากนี้ รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมยังใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจของนักบริหารว่าสมควรดาเนินการหรือไม่ การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมจะเป็นประโยชน์อย่างมากหากได้รับการนามาในการวางแผนป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่ขั้นตอนการศึกษาความเหมาะสมของโครงการจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นภายหลังดาเนินโครงการไปแล้วได้มากและเป็นวิสัยทัศน์ของนักบริหารโครงการในยุคโลกาภิวัตน์ที่มุ่งเน้นการป้องกันมากกว่าการแก้ไข (สนธิ วรรณแสง และคณะ, 2541)

ขั้นตอนการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
ขั้นตอนของการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย
1) การกลั่นกรองโครงการที่ต้องจัดทารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
2) การจัดทารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
3) การพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
4) การติดตามตรวจสอบ





ไม่มีความคิดเห็น: