หน้าเว็บ

น.ส. มาลินี นิยมไทย รหัส 5210125401057


บทที่ 1 การวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นในการจัดการการประเมินสภาพแวดล้อมภายนอกและภายใน
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม
การวิเคราะห์สวอต (SWOT Analysis)
การนำเทคนิคที่เรียกว่า TOWS Matrix มาใช้ในการวิเคราะห์เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์และ
กลยุทธ์ จะมีขั้นตอนการดำเนินการที่สำคัญ 2 ขั้นตอน ดังนี้
1. หลังจากที่มีการประเมินสภาพแวดล้อมโดยการวิเคราะห์ให้เห็นถึงจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส
และอุปสรรค ก็จะนำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์ในรูปแบบความสัมพันธ์แบบแมตริกซ์โดยใช้
ตารางที่เรียกว่า TOWS Matrix
2. การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างจุดแข็ง จุดอ่อน   โอกาส และ อุปสรรค ซึ่งผลของการ
วิเคราะห์ความสัมพันธ์ให้เกิดยุทธ์ศาสตร์หรือกลยุทธ์สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท คือ
1) SO ได้มาจากการนำข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็นจุดแข็งและโอกาส
มาพิจารณาร่วมกัน เพื่อที่จะนำมากำหนดเป็นยุทธ์ศาสตร์หรือกลยุทธ์เชิงรุก
2) ST  ได้มาจากการนำข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็นจุดแข็งและอุปสรรค
มาพิจารณาร่วมกัน เพื่อที่จะนำมากำหนดเป็นยุทธ์ศาสตร์หรือกลยุทธ์เชิงป้องกัน
3) WO  ได้มาจากการนำข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็นจุดอ่อนและโอกาส
มาพิจารณาร่วมกัน เพื่อที่จะนำมากำหนดเป็นยุทธ์ศาสตร์หรือกลยุทธ์เชิงแก้ไข
4) WT ได้มาจากการนำข้อมูลการประเมินสภาพแวดล้อมที่เป็นจุดอ่อนและอุปสรรค
มาพิจารณาร่วมกัน เพื่อที่จะนำมากำหนดเป็นยุทธ์ศาสตร์หรือกลยุทธ์เชิงรับ

บทที่ 2 แนวคิด ทฤษฏีทางการบริหารจัดการที่สำคัญตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน
ทฤษฎีองค์การสมัยปัจจุบันได้รับการพัฒนาโดยนำแนวความติดของสมัยดั้งเดิมและสมัยใหม่มาปรับปรุง ใช้ศาสตร์ เศรษฐศาสตร์  ทฤษฏีสมัยปัจจุบันได้รับการพัฒนาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1950 เป็นต้นมา
นักทฤษฏีองค์การสมัยปัจจุบันที่มีชื่อเสียบ ได้แก่ เชลเตอร์ บาร์นาร์ค นอเบิร์ต วีเนอร์ และลุคริก ฟอน เบอร์ทัลแลนฟ์ไฟ
ลักษณะของทฤษฎีองค์การสมัยปรับปรุง
1.องค์การเป็นระบบหนึ่งที่ประกอบด้วยปัจจัยที่เป็นพื้นฐาน 5 ส่วนคือ ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิต ข้อมูลย้อนกลับ และสภาพแวดล้อม สำหรับองค์การธุรกิจนั้นจัดเป็นองค์การระบบเปิด
2.องค์การเปลี่ยนแปลงได้ โครงสร้างขององค์การหรือกระบวนการ ความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นภายในองค์การสามารถเปลี่ยนแปลได้เพื่อนประสิทธิภาพขององค์การ
3.องค์การมีหลายระดับและหลายด้าน นั่นคือ พิจารณาองค์การทุก ๆ ระดับ ธุรกิจหนึ่ง ๆ อาจถูกพิจารณาทั้งในด้านจุลภาคและมหภาค ในด้านมหภาคองค์การเป็นส่วนเล็ก ๆ ส่วนหนึ่งในระบบอุตสาหกรรมของประเทศ ส่วนในแง่จุลภาคจะพิจารณาส่วนย่อย ๆ ในองค์การนั้น ๆ
4.องค์การต้องใช้แรงจูงใจหลาย ๆ ด้านเพื่อให้คนงานทำงานให้บรรลุเป้าหมาย ทฤษฏีสมัยปัจจุบันเชื่อว่าสมาชิกรขององค์การคาดหมายที่จะตอบสนองวัตถุประสงค์บางอย่างโดยใช้องค์การเป็นทางผ่าน
5.การบริหารองค์การไม่มีความแน่นอนว่าจะต้องสำเร็จเสมอไป เพราะมีปัจจัยต่าง ๆ จำนวนมากและสภานการณ์สิ่งแวดล้อมที่เป็นตัวแปรสำคัญ
6.ทฤษฎีองค์การสมัยปัจจุบันเป็นืฤษฎีผสมคือนำแนวความคิดของทฤษฎีในสาขาวิชาต่าง ๆ หลายสาขามาผสมผสานกัน ได้แก่ จิตวิทยา สังคมวิทยา เศรษฐศาสตร์ พฤติกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์
7.ทฤษฏีองค์การสมัยปัจจุบันมีลักษณะเป็นการพรรณนาคือเป็นการอธิบายคุณลักษณะขององค์การและการบริหาร ไม่ได้กำหนดสิ่งต่าง ๆ ไว้แน่นอน แต่จะเปิดโอกาศให้เลือกวัตถุประสงค์และวิธีการต่าง ๆ ตามความเหมาะสม
8.เหตุการณ์หนึ่ง ๆ ที่เกิดขึ้นในองค์การจะมีสาเหตุมาจากปัจจัยต่าง ๆ หลายปัจจัย ปัจจัยเหล่านี้โดยตัวของมันเองจะมีความสัมพันธ์กัน และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นอาจจะย้อนกลับไปกระทบปัจจัยที่เป็นสาเหตุ และอาจทำให้เปลี่ยนแปลงปัจจัยที่เป็นสาเหตุนั้นได้ด้วย
9.องค์การเป็นระบบที่ปรับตัวได้ ลักษณะข้อนี้นับว่าสำคัญที่สุด หากองค์การต้องการจะคงอยู่ตลอดไปในสภาพแวดล้อมใด ๆ องค์การจะต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
ทฤษฎีองค์การสมัยปัจจุบันมุ่งถึงระบบและผลผลิตที่มีคุณค่าขององค์การเป็นสำคัญ เพราะระบบและผลผลิตจะเป็นสิ่งที่ทำให้องค์การคงอยู่ตลอดไป ส่วนทฤษฎีองค์การสมัยดั้งเดิมนั้นมักเน้นที่ฝโครงสร้างเป็นสำคัญ สิ่งหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงแนวความคิดที่ต่างออกไปจากสมัยเดิมคือ ทฤษฎีองค์การสมัยปัจจุบันจะเน้นถึงการบริหารตามวัตถุประสงค์ ใน ขณะที่การบริหารสมัยเก่าเน้นถึงการบริหารในรายละเอียดของงาน
อ้างอิง รองศาสตราจารย์ สมคิด บางโม หนังสือ องค์การและการจัดการ พิมพ์ครั้งแรก 2538 ปรับปรุง 2541






บทที่ 3 การค้นหาข้อมูลโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
www.data-sheet.net
เว็บไซต์นี้มีหน้าตาเรียบๆ ไม่ต่างไปจาก "Google" แต่จะแสดงผลการค้นหาเป็นไฟล์เอกสารนามสกุล PDF เท่านั้น คุณสามารถพิมพ์คำค้นหาทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษได้ เมื่อเจอผลการค้นหาใดที่ต้องการดาวน์โหลด ให้คลิกขวา และเลือก Save Link As ได้ทันที ก็จะได้ไฟล์เอกสารมาเก็บไว้ในฮาร์ดดิสก์ทันทีเท่านั้นยังไม่พอเว็บไซต์นี้ยังมีผลการค้นหาในรูปแบบของภาพแถมเพิ่มมาที่ด้านล่างสุดของหน้าเพจแต่ละหน้าด้วยนอกจากนี้แล้วก็ยังมีเว็บไซต์ที่เปิดให้ใครก็ได้เข้าไปอัปโหลดไฟล์ เอกสารของตนเองที่ต้องการเผยแพร่สู่สาธารณะชนได้นำไปใช้ประโยชน์ นั่นคือ Scribd

บทที่ 4 แนวคิดเกี่ยวกับภาวะผู้นำ และการบริหารจัดการสมัยใหม่
องค์ประกอบสำคัญของทฤษฎีองค์การสมัยใหม่
บุคคล
ทฤษฏีสมัยดั้งเดิมมีความเชื่อว่าคนงานจะถูกจูงใจด้วยปัจจัยทางเศรษฐกิจแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้นแต่ผลวิจัยพบว่าคนงานมีความแตกต่างกันออกไป ดังนั้นการจูงในย่อมต้องพิจารณาความแตกต่างระหว่าบุคคลเป็นสำคัญ
กลุ่มงาน
ในองค์การที่เป็นทางการจะต้องมีองค์การนอกแบบหรือกลุ่มคนงานแอบแฝงอยู่เสมอ สถานภาพทางด้านสังคมของคนในกลุ่มคนงานจะมีความสำคัญลำดับแรกและถืองานเป็นสิ่งปกติธรรมดา คนงานไม่ต้องการจะอยู่ตามลำพังแต่ต้องการจะมีความสัมพันธ์หรือรวมกลุ่มกับเพื่อน ๆ เสมอ
การบริหารโดยการให้เข้ามามีส่วนร่วม
เป็นการเปิดโอกาสให้คนงานเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจหรือการบริหารด้วยการแสดงความคิดเห็นต่าง ๆ ทฤษฎีนี้เชื่อว่าจะเป็นสิ่งจูงใจให้ทุกคนปรับปรุงงานของตนให้ดีขึ้น ซึ่งเป็นการให้ความสำคัญต่อบุคคลและกลุ่มคนงาน การบริหารแบบมีส่วนร่วมจึงเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปของผู้บริหารในปัจจุบัน
ขวัญกำลังใจ
จากการวิจัยที่โรงงานฮอว์ทอร์นชี้ให้เห็นว่าคนงานมีความพอใจมากเท่าใดก็จะยิ่งเพิ่มผลผลิตมากขึ้นเท่านั้น ดังนั้นกลยุทธ์ในการปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงานจึงอยู่ที่การสร้างขวัญหรือกำลังใจให้เกิดขึ้นแก่คนงานทุกๆ คน ขวัญจึงเป็นสิ่งหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จขององค์การ


บทที่ 5 ทฤษฎีผู้นำที่เหมาะสมกับสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน
ทฤษฎีภาวะผู้นำตามสถานการณ์ (situation leadership theory)
Hersey & Blanchard เป็นผู้พัฒนาทฤษฎีนี้ขึ้น ในระยะแรกเรียกว่า ทฤษฎีวงจรชีวิตของภาวะผู้นำ (life-cycle theory of leadership) โดยได้แบ่งพฤติกรรมออกเป็นสองมิติ เช่นเดียวกับผลการศึกษาวิจัยที่รัฐโอไฮโอ คือ พฤติกรรมมุ่งงาน (task behavior) ซึ่งผู้นำจะให้บุคคลหรือกลุ่ม ทำหน้าที่และมีความรับผิดชอบในงานว่า จะทำอะไร ทำอย่างไร ทำเมื่อไร และทำที่ไหน เป็นต้น และ พฤติกรรมมุ่งสัมพันธ์ (relationship behavior) ซึ่งผู้นำจะใช้การติดต่อสื่อสารแบบสองทางหรือมากกว่า พฤติกรรมใดจะเหมาะสมกับสถานการณ์ใดพิจารณาจากความพร้อม (readiness) ของผู้ใต้บังคับบัญชา (Hersey & Blanchard 1988 อ้างใน Bartol & others 1998) ใน 2 ด้านคือ ด้านความสามารถ (ability) ดูจากความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ที่จำเป็นสำหรับงาน และ ด้านความเต็มใจ (willingness) ที่จะทำให้งานสำเร็จ ดูจากความเชื่อมั่น ความมีพันธะผูกพัน และแรงจูงใจที่จะทำงานนั้น ความพร้อมเหล่านี้จะแบ่งได้ 4ระดับที่ต่อเนื่องกัน คือ
ระดับต่ำ (R1)
ระดับต่ำถึงปานกลาง (R2)
ระดับปานกลางถึงสูง (R3) และ
ระดับสูง (R4)
ในแต่ละระดับมีเส้นโค้งตัดผ่านซึ่งจะชี้ให้เห็นว่า พฤติกรรมใดจะเหมาะสมกับความพร้อมระดับใด เป็นภาวะผู้นำ 4 รูปแบบดังนี้ แบบกำกับ(telling) ต้องกำหนดสิ่งที่จะทำและวิธีการดำเนินงานให้ กำกับและควบคุมอย่างใกล้ชิด ใช้ในสถานการณ์ที่ผู้ใต้บังคับบัญชามีความพร้อมต่ำ ไม่มีความสามารถและไม่เต็มใจ หรือจะมีความเสี่ยงเกินไปถ้าให้รับผิดชอบงานนั้น แบบขายความคิด (selling) อธิบายถึงสิ่งที่จะทำและให้โอกาสในการทำความเข้าใจในงานที่จะทำนั้น ใช้ในสถานการณ์ที่ผู้ใต้บังคับบัญชาไม่มีความสามารถแต่มีความเต็มใจหรือมีความมั่นใจที่จะทำงานนั้น แบบมีส่วนร่วม (participating) เน้นการติดต่อสื่อสารสองทางและความร่วมมือ ใช้ในสถานการณ์ที่ผู้ใต้บังคับบัญชามีความสามารถที่จะรับผิดชอบงานแต่ไม่มีความเต็มใจหรือมีความเสี่ยงเกินไปที่จะให้ทำงานนั้น แบบมอบอำนาจ (delegating) ให้ความเป็นอิสระในการทำงานมาก ใช้กับสถานการณ์ที่ผู้ใต้บังคับบัญชามีความสามารถ และมีความเต็มใจหรือความมั่นใจที่จะทำงานนั้น
การบริหารตามสถานการณ์เป็นทฤษฎีการบริหารที่ผู้บริหารนำมาใช้จัดการกับสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในองค์การ การที่จะนำทฤษฎีต่าง ๆ มาใช้นั้น เราควรพิจารณาถึงข้อดีและข้อเสียของทฤษฎีนั้น ๆ เสียก่อนจะทำให้การบริหารจัดการของเราประสบกับความสำเร็จได้
ข้อดีของทฤษฎีการบริหารเชิงสถานการณ์
Sergiovanni (1980 อ้างในณัฐนิภา คุปรัตน์และประกอบ คุปรัตน์, 2525, หน้า 64)ได้สรุปข้อดีของการบริหารเชิงสถานการณ์ไว้ดังนี้
1. ให้แง่คิดในรูปธรรมที่ว่า “ไม่มีวิธีการแบบใดดีที่สุด” นั่นคือ แนวคิดที่ว่าการบริหารงานนั้นเหมือนตำรากับข้าว สามารถให้แนวคิดแนวปฏิบัติแบบหนึ่งต้องทำอะไรบ้าง สอง…และสาม…ดังนี้ คำตอบทางการศึกษาที่ได้ตามมาก็คือคงไม่มีวิธีใดที่จะดำเนินการได้ดีที่สุดเกี่ยวกับการบริหารหลักสูตรหรือการต่อรองค่าจ้างเงินเดือน
2. ให้แนวคิดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง เพราะว่าการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ไปเล็กน้อยเกี่ยวกับองค์ประกอบหนึ่งย่อมมีผลกระทบต่อระบบโดยทั่วไป เช่นในชุมชนที่เปลี่ยนจากเกษตรกรรมเป็นอุตสาหกรรม เป้าหมายการให้บริการของโรงเรียนก็ต้องเปลี่ยนตามความรู้ทักษะ แม้แต่ลักษณะผู้สอนผู้ให้บริการก็ต้องเปลี่ยนตาม ผู้บริหารตามแนวทางนี้จะต้องตื่นตัวต่อสภาพความเปลี่ยนแปลงในสังคมอยู่เสมอ
3. ให้การสะท้อนภาพที่แท้จริงต่อผู้บริหารว่า งานของการบริหารนั้นมันซับซ้อน การจะหาคำตอบใด ๆ แบบให้ง่าย ๆ คงจะเป็นไปไม่ได้ ผู้บริหารจึงต้องเป็นผู้รู้รอบใฝ่รู้มีข้อมูลอยู่เสมอ และให้คำตอบในคำถามที่ว่าทำไมงานผู้บริหารจึงไม่มีวันสิ้นสุด ทำไมศาสตร์การบริหารจึงต้องศึกษาอยู่เสมอ

ข้อเสียของทฤษฎีการบริหารเชิงสถานการณ์
Sergiovanni (1980 อ้างในณัฐนิภา คุปรัตน์และประกอบ คุปรัตน์, 2525, หน้า 64) ได้สรุปข้อเสียของการบริหารเชิงสถานการณ์ ไว้ดังนี้
1. การให้ผู้บริหารตื่นตัวต่อสถานการณ์ต่าง ๆ อยู่เสมอ และตัดสินในปัญหาต่างๆ ตามสถานการณ์อาจทำให้มีคนคิดว่า การที่จะตัดสินใจในปัญหาต่าง ๆ เล็ก ๆ น้อย ๆ เป็นอย่างดีแล้วจะทำให้การบริหารงานทั้งหมดดีไปเอง ข้อเสนอแนะก็คือ ในกรณีที่การตัดสินใจปัญหาปลีกย่อยจำนวนมาก ๆ ให้ถูกต้องนั้นก็สำคัญอยู่ แต่การที่จะต้องตัดสินใจในปัญหาใหญ่ ๆ หลัก ๆ ก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน ผู้บริหารจำเป็นต้องมีภาพรวมของบทบาทตนเอง องค์การและสภาพแวดล้อม ภาพรวมเหล่านี้จำเป็นและเป็นแนวทางในการตัดสินในปัญหาปลีกย่อยรอง ๆ ลงมาทั้งหลาย

2. ทฤษฎีสถานการณ์ทำให้มองดูเหมือนว่า เป็นเรื่องไม่มีคุณค่ามาเกี่ยวข้อง องค์ประกอบอันเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม องค์การและตัวอื่น ๆ นับเป็นเหมือนสิ่งที่เราต้องตระหนักและแสดงปฏิกิริยาตอบ ถ้าเป็นเช่นนั้นผู้บริหารก็จะไม่ต่างอะไรไปจากบาโรมิเตอร์วัดความเปลี่ยนแปลงของบรรยากาศ ผู้บริหารอาจกลายเป็นเพียงผู้บริหารเพื่อการบริหาร คอยยืนอยู่บนยอดของคลื่นความเปลี่ยนแปลงและสถานการณ์อยู่ตลอดเวลา
อ้างอิง บล็อกของ นายยาเบ็น เรืองจรูญศรี

บทที่ 6 การเตรียมความพร้อมเข้าสู้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และวิเคราะห์ถึงผลกระทบต่อการบริหารจัดการ

เป็นสถานที่ท่องเที่ยวประจำนชาติอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ

พระมหาธาตุเจดีย์ชเวดากอง
เจดีย์ชเวดากองพระมหาธาตุเจดีย์ชเวดากอง ตั้งอยู่บริเวณเนินเขาเชียงกุตระ เมืองย่างกุ้ง ประเทศพม่า เชื่อกันว่าเป็นมหาเจดีย์ที่บรรจุพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้าจำนวน 8 เส้น

มะละกาเป็นศูนย์กลางการค้าขายและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างโลกตะวันออกและตะวันตกมานานกว่า 500 ปี ทำให้ดินแดนแถบนี้เป็นมรดกตกทอดที่สะท้อนวัฒนธรรมที่หลากหลาย อันจะเห็นได้จากสถาปัตยกรรมแบบผสมผสานของสถานที่ราชการ โบสถ์ และป้อมปราการต่าง ๆ ในเมือง ซึ่งทางองค์กรการศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ประกาศให้เมืองมะละกา และเมืองจอร์จทาวน์บนเกาะปีนัง เป็นเมืองมรดกโลก เมื่อปี 2008

นาขั้นบันไดแห่งเทือกเขาฟิลิปปินส์ของชาวอิฟูเกา( Ifugao) ตั้งอยู่ที่เกาะลูซอนตอนเหนือของฟิลิปปินส์ ชาวพิ้นเมืองได้รังสรรค์นาขั้นบันไดแห่งนี้มากว่า 2,000 แล้ว ด้วยเครื่งมือที่เรียบง่ายและแรงงานคน นาขั้นบันไดเหล่านี้ตั้งอยู่วูง 1,500 เหนือระดับน้ำทะเล และครอบคลุมพื้นที่กว่า 10,000 ตารางกิโลเมตร

มหาสถูปบุโรพุทโธ หรือ บรมพุทโธ (ภาษาอินโดนีเซีย: Chandi Borobudur) เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของประเทศอินโดนีเซีย ตั้งอยู่ในภาคกลางของเกาะชวา โดยบุโรพุทโธเป็นศาสนสถานของศาสนาพุทธนิกายมหายาน ถ้าไม่นับนครวัดของกัมพูชาซึ่งเป็นทั้งศาสนสถานของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูและศาสนาพุทธ บุโรพุทโธจะเป็นศาสนสถานของศาสนาพุทธที่ใหญ่ที่สุดในโลก

อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ปางสีดา ทับลาน ตาพระยา และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงรัก ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกภายใต้ชื่อ "ผืนป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่"จากการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ ๒๙ เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๔๘ ที่เมืองเดอร์บัน ประเทศแอฟริกาใต้ โดยมีคุณสมบัติการเป็นมรดกโลกตรงตามหลักเกณฑ์ ข้อที่ ๑๐

พื้นที่บริเวณ Marina Bay, ปากแม่น้ำสิงคโปร์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของเมอร์ไลออน (Merlion) , อาคารโรงละคร Esplanade ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมสมัยใหม่, สถานที่ท่องเที่ยวยามค่ำ บริเวณพื้นที่ริมน้ำ ได้แก่ Clarke Quay, Boat Quay, ย่านไชน่าทาวน์ (China Town) , ย่าน Little India, ย่านชอปปิ้ง บนถนน Orchard

หลวงพระบางได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกโลกด้วยเหตุผล คือ มีวัดวาอารามเก่าแก่มากมาย มีบ้านเรือนอันเป็นเอกลักษณ์โคโลเนียลสไตล์ ตัวเมืองตั้งอยู่ริมน้ำโขงและน้ำคาน ซึ่งไหลบรรจบกันท่ามกลางธรรมชาติอันงดงาม และชาวหลวงพระบางมีบุคลิกที่ยิ้มแย้มแจ่มใส เป็นมิตร และมีขนบธรรมเนียมประเพณีที่งดงาม

พิพิธภัณฑ์ที่น่าชมที่สุดในอาเซียน “โรยัลเรกกาเลีย” (พิพิธภัณฑ์ทองคำ) ของขวัญล้ำค่าจากผู้นำทั่วโลก – บรูไนมิวเซียม “คัมภีร์อัลกุรอ่านขนาดเล็กที่สุดในโลก”- Islamic Arts Gallery

เมืองพระนครได้รับลงทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ. 2535 ซึ่งตั้งแต่ปีที่ลงทะเบียนเรื่อยมาจนถึงปี พ.ศ. 2547 เมืองพระนครได้ถูกจัดให้เป็นแหล่งมรดกโลกที่ตกอยู่ในภาวะอันตราย

อ่าวฮาลอง หรือ ฮาลอง ถือเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญที่ไม่ควรพลาด เมื่อมีโอกาสไปเยือนเวียดนาม เพราะนอกจากจะได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ จากองค์กรยูเนสโกแล้ว ที่นี่ยังมีความมหัศจรรย์อันงดงามของธรรมชาติอยู่อีกมากมาย
บทที่ 7 การพัฒนาองค์การไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้และการพัฒนาอย่างยังยืน
แนวคิดเกี่ยวกับความรู้ และองค์กรแห่งการเรียนรู้
            แนวคิดเกี่ยวกับความรู้ในโลกปัจจุบัน คุณค่าของความรู้ถูกวัดจากประโยชน์ใช้สอย เนื่องจากความรู้ได้กลายเป็นทรัพยากรสำคัญ หากมีทรัพยากรอื่น ๆ ก็อาจจะไม่สามารถสร้างทรัพยากรที่สำคัญนี้ แต่ถ้ามีความรู้ก็สามารถดำรงสรรพกำลังทรัพยากรอื่น ๆ มาได้ และด้วยเหตุที่ความรู้กลายมาเป็นทรัพยากรนี้เอง ได้เปลี่ยนโครงสร้างทางสังคม พลวัตทางเศรษฐกิจสังคมและรูปแบบการเมืองใหม่ขึ้นมา (อสมา มังกรชัย, 2547)
            ชัชวาลย์ วงษ์ประเสริฐ (2548, หน้า 17) กล่าวว่า สังคมแห่งความรู้ ความรู้ถือเป็นทรัพยากรหลัก ซึ่งแตกต่างจากปัจจัยการผลิตอื่น ๆ เพราะความรู้ไม่ได้ยึดติดกับประเทศใดประเทศหนึ่ง หรือที่ใดที่หนึ่ง สามารถสร้างขึ้นใหม่ได้ ความรู้เป็นสิ่งที่ต้องเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
            Wikstrom and Normann (1994, pp. 13-15) ได้อธิบายกระบวนการความรู้ที่สามารถเชื่อมโยงนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กร ดังนี้
            1. กระบวนการในการสร้างความรู้ใหม่ (generative process) หมายถึง การสร้างความรู้ใหม่ด้วยกิจกรรมที่มีความมุ่งหมายต่อการแก้ปัญหาต่าง ๆ ขององค์กร
            2. กระบวนการในการทำให้เกิดผลผลิต (productive process) หมายถึง เมื่อความรู้ใหม่ถูกนำไปใช้ในกระบวนการทำให้เกิดผลผลิตที่ก่อให้เกิดพื้นฐานในการทุ่มเท และการมีพันธะผูกพันที่บริษัทนำไปปฏิบัติต่อลูกค้า ซึ่งกระบวนการในขั้นนี้ ช่วยสร้างความรู้ในลักษณะที่มีความชัดเจน มีการนำไปใช้ เช่น สว่าน คือ ความรู้ที่ชัดเจนอันเกิดจากกระบวนการทางความรู้ของบริษัทผู้ผลิต ซึ่งส่วนใหญ่ลักษณะกระบวนการเช่นนี้ จะเป็นการผลิตซ้ำกล่าวคือ บริษัทผลิตสว่านก็จะผลิตสว่านเป็นจำนวนมาก เป็นต้น
            3. กระบวนการที่เกี่ยวกับการเป็นตัวแทน (representative process) เป็นการส่งมอบความรู้ที่ชัดเจนแล้วไปยังลูกค้า ซึ่งเป็นผลมาจากกระบวนการทางความรู้ทั้งสองข้างต้นความรู้ในขั้นนี้ จะเกิดจากการที่ลูกค้าเป็นเจ้าของกระบวนการในการสร้างคุณค่าให้กับสินค้า
            ด้านของแนวคิดเกี่ยวกับความรู้ ทั้งในสิ่งที่เป็นส่วนของธรรมชาติทั่วไป หรือความรู้ที่เกิดขึ้นในองค์กรใดก็ตาม จะเป็นที่มาในการกล่าวถึงของนักคิด นักปรัชญา หรือนักวิชาการทางด้านองค์ความรู้หลายท่าน ที่ได้ทำการศึกษา และทำความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติของความรู้ หรือความหมายของความรู้ ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน และแตกต่างกันออกไปแล้วแต่ตามบริบทต่าง ๆ แต่ทั้งนี้ ไม่ว่าความรู้จะถูกตีความไปในรูปแบบใด หรือแง่มุมใดก็ตาม ล้วนแล้วแต่มีนัยยะสำคัญที่มองว่าความรู้ถือเป็นสิ่งที่สำคัญ โดยมุมมองขององค์กรจะถือเป็นทรัพย์สินที่มีคุณค่าสูงสุด ที่จะช่วยนำพาองค์กรไปสู่การมีระบบที่สามารถพัฒนาได้มากยิ่งขึ้น และจะสามารถทำให้องค์กรบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ได้ตั้งเป้าหมายเอาไว้
บรรณานุกรม
ณภัทร วรเจริญศรี. (2553). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการความรู้ของบุคลากรในบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน). ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์), มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

บทที่ 8 เทคนิคในการบริหารทรัพยากรมนุษย์และการจัดการทีเหมาะสมกับวัฒนธรรมไทย
     ความคิดเกี่ยวกับการบริหารงานที่เข้าใจยากที่สุด เห็นจะหนีไม่พ้น" การบริหารทรัพยากรมนุษย์"ซึ่งความสัมพันธ์ที่เกี่ยวเนื่องกันนั้นไม่ค่อยจะมีความยืดหยุ่น และในบางครั้งอาจจะเข้าใจไม่ตรงกันระหว่างแนวความคิดและการนำไปปฏิบัติ การศึกษาเรื่อง ทรัพยากรมนุษย์ ที่ผ่านมาจะเป็นการแสดงบทบาทที่ตัวบุคคล โดยเฉพาะการบริหารที่แตกต่างกันออกไป จนผู้ปฏิบัติเกิดความชำนาญในด้านนั้นๆ อีกทั้งความรู้มากกว่าลักษณะงานปกติที่ไม่ได้เกี่ยวกัน
ทั้งนี้ ทั้งนั้นก็เพื่อตอบสนองให้การทำงานลุล่วงไปได้ด้วยดี
          การบริหารทรัพยากรมนุษย์ คือ ภารกิจหน้าที่สำคัญประการหนึ่งของผู้บริหาร ที่ใช้ทั้งศาสตร์และศิลปะ ในการจัดการวางแผนกำลังคน การสรรหา คัดเลือก และการบรรจุ บุคลากร ที่มีความรู้ ความสามารถเหมาะสมกับตำแหน่งงาน พร้อมทั้งสามารถใช้ประโยชน์ให้เกิดผลสูงสุด ธำรงรักษา และพัฒนาบุคลากรเหล่านั้น เพื่อผลสำเร็จขององค์กร หลายท่านคงทราบข่าวการสูญเสียบุคลากรขององค์กรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นของเอกชน หรือของรัฐ ตลอดจนการ โยกย้าย เปลี่ยนงานของพนักงาน ทั้งระดับปฏิบัติการ และระดับบริหาร การโยกย้ายเปลี่ยนงาน ถ้าอยู่ในอัตราที่สูง จะส่งผลกระทบต่อการเติบโตขององค์กรเป็นการสูญเสียค่าใช้จ่ายมิใช่น้อย ทั้งนี้เพราะพนักงานที่ลาออกจากองค์กรนั้นๆส่วนใหญ่อายุงานจะอยู่ระหว่าง 1-3 ปี ในทางการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ถือว่าพนักงานที่มีอายุงานระหว่าง 1-3 ปียังไม่ได้ปฏิบัติงานเต็มกำลังความสามารถ อยู่ระหว่างช่วงแห่งการเรียนรู้งาน การเรียนรู้องค์กร และการปรับตัวเข้ากับเพื่อนร่วมงาน แต่เมื่อเรียนรู้หลัก และวิธีการทำงานได้พอสมควรแล้ว ก็จะใช้ประสบการณ์นี้เป็นพื้นฐาน เพื่อหางานใหม่ไปอยู่กับองค์กรอื่นที่ให้ค่าตอบแทนทั้งในรูปตัวเงิน และสวัสดิการที่ดีกว่า
          ในองค์กรต่างประเทศให้ความสำคัญกับอัตราการเข้า-ออก (Turn Over Rate) มากเพราะถือว่าเป็นตัวทำลายประสิทธิภาพการบริหาร องค์กรต้องเสียค่าใช้จ่ายต่อคน เมื่อคำนวณต่อปีแล้ว เป็นเงินจำนวนมาก นอกจากนี้แล้ว ยังเกิดความเสียหายที่ยากแก่การประเมินเป็นตัวเงิน ซึ่งมีคุณค่าต่อองค์กรมาก กล่าวคือ พนักงานที่ลาออกไปส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีความสามารถสูง เป็นผู้ที่มีศักยภาพในการทำงานสูง เป็นที่ต้องการของบริษัทคู่แข่งที่อยากได้บุคคลเหล่านี้ไปทำงาน
นอกจากนี้ยังเป็นการทำลายขวัญ และกำลังใจพนักงานที่ยังอยู่กับหน่วยงานเดิม เพราะเขาจะมีความรู้สึกว่าตัวเขาเองเป็นผู้ที่ไม่มีความสามารถ และยิ่งทำให้เสียขวัญ และกำลังใจมากขึ้นอีก เมื่อหน่วยงานนั้นนำบุคคลภายนอกมาเป็นผู้บังคับบัญชาโดยไม่ยอมจะให้โอกาสคนภายใน ก่อนคนภายนอก เมื่อมีพนักงานออกก็ต้องมีการสรรหา และคัดเลือกพนักงานใหม่มาทดแทน ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่าย และต้นทุนค่าเสียโอกาส เช่น เสียค่าโฆษณาให้กับสื่อสิ่งพิมพ์เป็นเงินมิใช่น้อยและก็มิได้ประกันว่าจะได้คนดีมีความสามารถเข้ามาร่วมงาน ซึ่งบางครั้งก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายลงโฆษณาซ้ำ นอกจากนี้
ผู้บริหารยังเสียเวลาในการสัมภาษณ์ เมื่อรับเข้ามาทำงานผู้บังคับบัญชา หัวหน้างาน ยังต้องเสียเวลาในการชี้แนะ กำกับดูแลอย่างน้อยก็ตลอดระยะเวลาทดลองงาน รวมทั้งต้องเสียค่าใช้จ่ายส่งพนักงานเข้ารับการฝึกอบรม ไม่ว่าจะเป็นการปฐมนิเทศ หรือการอบรมสัมนา เพื่อเพิ่มความรู้ในงาน
          ที่สำคัญ ถ้าพิจารณาภาพรวมจะเห็นว่า เพราะบริษัทฯ ที่มีอัตราเข้า-ออก สูงจะทำให้การปฏิบัติงานของบริษัทช่วงนั้นชงักงัน งานขาดความต่อเนื่อง ทำให้สูญเสียโอกาสที่จะแข่งขันธุรกิจ ได้เช่นกัน
          สรุป การบริหารทรัพยากรมนุษย์เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งต่อองค์กร การดำเนินกิจกรรมต่างๆให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายขององค์กรได้นั้น ต้องอาศัยปัจจัยทางด้านกำลังคนเป็นสำคัญ ดังนั้นการบริหารเพื่อให้ได้บุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถเหมาะสมเข้ามาปฏิบัติงานในองค์กรก็จะส่งผลต่อความเจริญเติบโตขององค์กร สร้างความพึงพอใจให้กับผู้ปฏิบัติงานในองค์กร และก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อส่วนรวม การที่องค์กรใดจะบริหารทรัพยากรมนุษย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น จะต้องปฏิบัติภารกิจ หน้าที่ของการบริหารงานให้ครอบคลุมทุกขั้นตอน ตั้งแต่ก่อนการจัดคนเข้าทำงาน ขณะปฏิบัติงาน พัฒนาบุคลากร และที่สำคัญองค์กรต้องบำรุงรักษาบุคลากร ซึ่งจะต้องกระทำเป็นกระบวนการต่อเนื่องสัมพันธ์กัน

บทที่ 9 การบริหารการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาอย่างยั่งยืน
การเปลี่ยนแปลงการบริหาร
          การเปลี่ยนแปลงการบริหาร management change คือ วิวัฒนาการของแนวคิดทางการบริหารตามภาวการณ์ต่าง ๆ อาทิ การบริหารแนววิทยาศาสตร์ มนุษยสัมพันธ์ เชิงระบบและตามถานการณ์ ภาวการณ์ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามบริบท (context) ของสังคม ทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยี ฯลฯ เป็นการเปลี่ยนแปลงซึ่งต้องบริหารแบบรู้เท่าทัน ทันการณ์ มีวิสัยทัศน์ โดยใช้พื้นฐานความรู้เดิมเป็นตัวตั้ง แล้วนำมาวิเคราะห์เรียบเรียง เพื่อศึกษาและทำความเข้าใจ แล้วจัดการกำจัดจุดอ่อน และเพิ่มจุดแข็ง ให้เกิดประโยชน์สูงสุดด้วย "การบริหารการเปลี่ยนแปลง (change management)"
รูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลง ในการบริหารการเปลี่ยนแปลง ต้องมีการพัฒนาองค์กร ซึ่งมีรูปแบบวิธีการที่ดีอย่างน้อย 3 รูปแบบ ดังนี้
          1. รูปแบบ 3 ขั้นตอน ตามแนวคิดของ Kurt Lewin ประกอบด้วย การคลายตัว (unfreezing) เนื่องจากเกิดปัญหาจึงต้องเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง (changing) คือ การเปลี่ยนจากพฤติกรรมเก่า ไปสู่พฤติกรรมใหม่ และการกลับคงตัวอย่างเดิม (refreezing) เพื่อหล่อหลอมพฤติกรรมใหม่ให้มั่นคงถาวร
          2. รูปแบบ 2 ปัจจัย ตามแนวคิดของ Larry Greiner ที่เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงเกิดจากแรงบีบภายนอก กับการกระตุ้นผลักดันภายใน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงมีอยู่ตลอดเวลา ปัจจัยทั้งสองเกิดขึ้นตลอดเวลา จึงต้องดำเนินการเปลี่ยนแปลงโดย ศึกษาการเปลี่ยนแปลง ค้นหาวิธีการที่ดีกว่า ทดลองวิธีใหม่ หล่อหลอมข้อดีเข้าด้วยกัน เพื่อบริหารการเปลี่ยนแปลงอย่างมีประสิทธิภาพ
          3. รูปแบบผลกระทบของปัจจัย ตามแนวคิดของ Harold J. Leavitt ที่เชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงเกิดจากผลกระทบที่เกิดขึ้นตลอดเวลาของ งาน โครงสร้าง เทคนิควิทยาการ และคน ทั้ง 4 ประการนี้เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงก็จะส่งผลกระทบเกี่ยวพันกัน และการเปลี่ยนแปลงบางเรื่องอยู่เหนือการควบคุม ดังนั้นผู้บริหารจึงต้องสนใจสิ่งที่เปลี่ยนแปลง สิ่งที่จะเปลี่ยนแปลง และผลกระทบที่เกิด หรือจะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของแต่ละปัจจัย

บทที่ 10 การแข่งขันในตลาดโลกและการปรับตัวเพื่อสร้างความได้เปลียนในการแข่งขัน
ความได้เปรียบในการสร้างห่วงโซ่คุณค่าหรือระบบธุรกิจ (Business system/value chain advantage) การบริหารกิจกรรมทางธุรกิจเพื่อให้บรรลุเป้าหมายองค์กร เรียกว่าการบริหารห่วงโซ่คุณค่าหรือระบบธุรกิจ   กิจกรรมทางธุรกิจจะเริ่มต้นจากการวิจัยและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การผลิตการขาย  การตลาด  การจัดจำหน่าย  และการบริการหลังการขาย  หากองค์กรธุรกิจมีความโดดเด่นในกิจกรรมทางธุรกิจ   กิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งก็จะส่งผลให้องค์กรนั้นมีความได้เปรียบทางการแข่งขันในเรื่องนั้น ๆ หลายองค์กรพยายามสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันโดยมุ่งเฉพาะกิจกรรมทางธุรกิจที่องค์กรถนัดและมุ่งการการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง  ส่งผลให้องค์กรนั้นมีกลยุทธ์ที่เหนือกว่าคู่แข่งขัน  และกลายเป็นจุดแข็งหรือเอกลักษณ์ขององค์กรในที่สุด เช่น  บริษัท พรอกเตอร์แอนด์แกมบิล (P&G) จำกัด   มีความเชี่ยวชาญทางการตลาด  บริษัท โซนี่ จำกัด  บริษัทที่เน้นนวัตกรรมในการออกแบบผลิตภัณฑ์ได้ตรงตามความต้องของลูกค้า  บริษัท  โตโยต้า  จำกัด  เน้นประสิทธิภาพในการผลิต  และ American Express บริษัทที่ให้การบริการลูกค้าได้อย่างประทับใจ  เป็นต้น
แนวทางที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารห่วงโซ่คุณค่า  ก็คือการติดต่อประสานงานระหว่างหน่วยงานในองค์กรเพื่อให้กิจกรรมต่าง ๆ ดำเนินไปได้ด้วยดีในบางครั้งองค์กรจำเป็นจะต้องมีการออกแบบโครงสร้างกรใหม่  เพื่อปรับรูปแบบ  และระบบการดำเนินธุรกิจให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น  ตัวอย่างขององค์กรธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนระบบการดำเนินธุรกิจ  ก็คือสายการบิน  Southwest สายการบิน Southwest มีกำไรเพิ่มขึ้นจาการปรับระบบธุรกิจให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องขั้นตอนการเลือกที่นั่งของลูกค้าหรือการให้บริการลูกค้าสรุปแล้วจะเห็นได้ว่าห่วงโซ่คุณค่านั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อองค์กรธุรกิจที่
จำหน่ายผลิตภัณฑ์และธุรกิจขายบริหารจำไว้ว่าการจะทำให้ห่วงโซ่คุณค่าขององค์กรมีความโดดเด่นและเหนือกว่าคู่แข่งขันนั้น  องค์กรจำเป็นจะต้องกำหนดวัตถุประสงค์ของกิจกรรมทุก ๆ กิจกรรมไว้อย่างชัดเจน  และให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

บทที่ 11 การบริหารจัดการธุรกิจสีเขียวและการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิต
"อุตสาหกรรมนิเวศ" (Industrial Ecology) เป็นแนวคิดของการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมที่ทางการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) นำเสนอและผลักดัน โดยกำหนดให้มีการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมสู่เมืองอุตสาหกรรมนิเวศปีละ 3 แห่ง
และภายในปี 2562 ได้ตั้งเป้าหมายว่าทุกนิคมอุตสาหกรรมจะพัฒนาสู่ความเป็นเมืองอุตสาหกรรมนิเวศ  หลักของการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมนิเวศ จะเน้นการใช้พื้นที่เป็นศูนย์กลางการรวมกิจกรรมของทุกภาคส่วน โดยมีหลักการพัฒนาในแต่ละพื้นที่ 3 ประการสำคัญ คือ
(หนึ่ง) การมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ เป็นการปรับกระบวนการผลิตทั้งภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม และบริการ เพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
(สอง) การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน โดยภาครัฐจะต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนและผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนรับรู้ ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ สร้างความโปร่งใสและเป็นที่ยอมรับร่วมกันของทุกฝ่าย
(สาม) การใช้หลักการพัฒนาคลัสเตอร์อุตสาหกรรมนิเวศ เป็นการปรับแนวคิดในการจัดการภาคธุรกิจการผลิต จากการบำบัดมาเป็นการป้องกันมลพิษ โดยการเชื่อมโยงกิจกรรมในภาคการผลิตและบริการย่อย สู่การผลิตนิเวศและบริการนิเวศด้วยระบบจัดการวัสดุ วัตถุดิบ และพลังงานเพื่อการผลิตแบบ 3Rs ทำให้กากของเสียมีมูลค่าและสร้างรายได้ให้กับธุรกิจ
  แนวคิดอุตสาหกรรมนิเวศเป็นส่วนหนึ่งบนเส้นทางการพัฒนาสู่ "สังคมสีเขียว" ซึ่งเป็น 1 ใน 3 ของสังคมที่เป็นจุดมุ่งหมายของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11  (อีกสองด้าน คือ สังคมมั่นคง และสังคมวัฒนธรรม) สังคมสีเขียวที่กำหนดไว้ในแผนฯ 11 เน้นการปรับโครงสร้างการผลิตสู่สังคมคาร์บอนต่ำ มีการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และสิ่งแวดล้อมได้รับการฟื้นฟู อนุรักษ์และจัดการอย่างยั่งยืน ควบคู่กับการสร้างความเป็นธรรมและการเกื้อกูลในสังคมไทย


ไม่มีความคิดเห็น: