หน้าเว็บ

วรางคณา ศิลรักษ์


บทที่ 10  การแข่งขันในตลาดโลกและการปรับตัวเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
องค์การจะจะรักษาความสามารถในการแข่งขันได้อย่างต่อเนื่องได้อย่างไร"  โดยเฉพาะสำหรับผู้นำในตลาดที่ต้องการรักษาความเป็นที่หนึ่งอย่างต่อเนื่อง Clemson และ Weber (1991) แนะนำแนวทางในการธำรงรักษาความได้เปรียบในการแข่งขัน 4 วิธี ดังต่อไปนี้
1. ดำเนินการก่อน (First Mover) ธุรกิจสามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันจากการผลิตสินค้า หรือให้บริการใหม่ แก่ลูกค้าก่อนคู่แข่ง ตามแนวคิดที่ว่า "การเป็นหนึ่งในตลาดย่อมดีกว่าเป็นที่สอง ที่ดีกว่า" ถึงธุรกิจคู่แข่งจะ สามารถเข้ามา ในตลาดหรือ สร้างผลิตภัณฑ์และบริการที่คล้ายคลึงกับเราได้ แต่ธุรกิจสามารถ สร้างอิทธิพลในการกำหนดโครงสร้างของตลาดและการแข่งขัน สามารถทำกำไรที่สูง และถ้าธุรกิจสามารถสร้าง ความซื่อสัตย์และบริการขององค์การ ขึ้นในกลุ่ม ลูกค้าก็จะทำให้การ ดำเนินงานของ ธุรกิจมีความมั่นคง
2. ผู้นำด้านเทคโนโลยี (Technological Leadership) ปัจจุบันเทคโนโลยีสมัย ใหม่โดยเฉพาะ เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ เราจะพบว่าเทคโนโลยีสารสนเทศเริ่มมีบทบาท ในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันธุรกิจ จนได้รับการยอมรับว่าเป็นทรัพยากรที่สำคัญฯเชิงกลยุทธ์ขององค์การ ถ้าธุรกิจสามารถเป็นผู้นำในการ นำเทคโนโลยีที่ทัน สมัยมา ประยุกต์ในการทำงานแล้ว นอกจากการพัฒนาผลิตภาพแล้วธุรกิจยังสามารถสร้างภาพลักษณ์ที่ดีในความรู้สึกของผู้บริโภค เช่น ธนาคารไทยพาณิชย์ที่พยายามเป็นผู้นำในการนำเทคโนโลยีมาใช้บริการลูกค้า เป็นต้น
3. เสริมสร้างนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง (Continuous Innovation) การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในปัจจุบัน ส่งผลให้ธุรกิจมี นวัตกรรมของ ผลิตภัณฑ์และ บริการที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่าง ต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้ลูกค้าเกิดความพอใจ นอกจากนี้พัฒนาการที่ต่อเนื่องยังทำให้คู่แข่งไม่สามารถลอกเลียนแบบได้ทัน แต่การพัฒนาที่รวดเร็วจะมีค่าใช้จ่ายด้านการ วิจัยและพัฒนา (Research and Development) หรือ R&D สูง ซึ่งผู้บริหารต้องพิจารณาอย่าง รอบคอบ กับผลได้ ผลเสียของการเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมก่อนตัดสินใจกำหนดตำแหน่งขององค์การ
4. สร้างต้นทุนที่สูงในการเปลี่ยนแปลง (Create High Switching Cost) บางครั้งธุรกิจอาจพยายามสร้างความ ไม่สะดวก สบายหรือค่าใช้จ่าย ที่สูงแก่ลูกค่า ทั้งโดยทาง ตรงหรือทางอ้อม ถ้าเขา ต้องการจะเปลี่ยนไปใช้ผลิตภัณฑ์หรือบริการของคู่แข่ง ซึ่งจะทำให้ลูกค้าต้องคิดอย่างรอบคอบ ก่อนตัดสินใจใช้ผลิตภัณฑ์ หรือบริการ ของคู่แข่ง
อ้างอิงจาก www.pirun.kps.ku.ac.th

บทที่ 11 การบริหารจัดการธุรกิจสีเขียวและการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิต
เครือธนาคารกสิกรไทยมีปณิธานในการเป็นองค์กรที่มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม จึงได้มีนโยบายสนับสนุนและพัฒนาผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีของธนาคารเพื่อให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมกระตุ้นให้เกิดจิตสำ นึกในการรักษ์โลกและร่วมดูแลโลกให้เกิดขึ้นในทุกกลุ่มเป้าหมาย อาทิ
K-ATM ร่วมลดภาวะโลกร้อน
โครงการ “K-ATM ร่วมลดภาวะโลกร้อน” เป็นโครงการต่อเนื่องของเครือธนาคารกสิกรไทย ในการรณรงค์ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการรักษาสิ่งแวดล้อมของโลก ผ่านนวัตกรรมการให้บริการที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าควบคู่ไปกับปณิธานสีเขียวเพื่อโลกสวยสะอาดสดใสอย่างยั่งยืน โดยธนาคารดำเนินการปรับปรุงเครื่องเอทีเอ็มของธนาคาร ด้วยการใช้กระแสไฟฟ้า และลดขนาดแบบพิมพ์ใบบันทึกรายการ เพื่อลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและช่วยลดภาวะโลกร้อน โดยได้ผลเป็นรูปธรรม
ได้แก่
• ลดการใช้กระแสไฟฟ้าของเครื่องเอทีเอ็มบางส่วนโดยปรับเวลาเปิด-ปิดระบบไฟฟ้าแสงสว่างของ K-Lobbyจำนวน 872 แห่ง และเครื่องเอทีเอ็มแบบป้อมจำนวน 299 แห่ง จากเดิมที่เปิด 12 ชั่วโมงต่อวันเหลือ 4 ชั่วโมงต่อวัน
• ลดการเปิด-ปิดระบบปรับอากาศของเครื่องเอทีเอ็มจาก 18 ชั่วโมงต่อวัน เหลือ 10 ชั่วโมงต่อวัน ทำให้สามารถลดการใช้กระแสไฟฟ้าและเครื่องปรับอากาศลง ร้อยละ 61ซึ่งสามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากกระบวนการผลิตไฟฟ้า ที่เป็นสาเหตุหลักของการเกิดก๊าซเรือนกระจกลงได้ถึงจำ นวน 6,669 ตันต่อปี
• ลดขนาดกระดาษแบบพิมพ์ใบบันทึกรายการเครื่องเอทีเอ็มลงจากเดิมขนาด 8.0 x 11.2 เซนติเมตร เป็นขนาดใหม่เหลือเพียง 8.0 x 8.5 เซนติเมตร เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานและย่อยสลายได้ง่ายไม่เป็นภาระให้กับโลกโดยยังคงข้อมูลหลักฐานการทำ ธุรกรรมทางการเงินสำหรับลูกค้าไว้อย่างครบถ้วน ทำ ให้ลดการใช้กระดาษลงได้ประมาณร้อยละ 30 นอกจากนี้ ลูกค้ายังสามารถเลือกรับหรือไม่รับใบบันทึกรายการจากเครื่องเอทีเอ็มของธนาคารทำให้ช่วยลดการใช้กระดาษลงได้อีกทางหนึ่ง
อ้างอิงจาก www.kasikornbank.com


ไม่มีความคิดเห็น: