หน้าเว็บ

บทที่ 11 การบริหารจัดการธุรกิจสีเขียวและการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิต

น.ส.วรรณภา ปั้นนาค รหัส 5210125401038 เอกการจัดการทั่วไป ภาคปกติ


การออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม เพื่อชีวิตที่ยั่งยืน (Eco Design)
                นักวิชาการด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ต่างมีความเห็นพ้องกันว่า การลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดต้องเริ่มตั้งแต่กระบวนการออกแบบผลิตภัณฑ์ เพราะแม้ว่าต้นทุนของการออกแบบผลิตภัณฑ์ทางตรงจะมีเพียง 5-13% ของต้นทุนผลิตภัณฑ์รวม แต่ผลสืบเนื่องจากการออกแบบผลิตภัณฑ์จะเป็นตัวกำหนดโครงสร้างต้นทุนถึง 60-80%การออกแบบเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Eco Design) จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อกระบวนการผลิตสินค้า โดยเป็นกระบวนการที่ผนวกแนวคิดด้านเศรษฐกิจและด้านสิ่งแวดล้อมเข้าไปในขั้นตอนการออกแบบ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งรวมถึงการวิเคราะห์สมรรถนะทางด้านสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ การจัดการซากที่หมดอายุ การลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในทุกช่วงของวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ โดยควบคู่กับการวิเคราะห์ปัจจัยด้านอื่นๆ เช่น ต้นทุน กระบวนการผลิต การควบคุมคุณภาพ และการตลาด เป็นต้น
                หลักการพื้นฐานของการทำ Eco Design คือ การนำหลัก 4R ได้แก่ การลด (Reduce) การใช้ซ้ำ (Reuse) การนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) และการซ่อมบำรุง (Repair) มาประยุกต์ใช้ในทุกช่วงของวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ คือตั้งแต่การวางแผนผลิตภัณฑ์ การออกแบบ การผลิต การนำไปใช้ และการทำลายหลังการใช้เสร็จ 
                ความสำคัญของ Eco Design มิใช่เป็นเพียงแค่แนวทางในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเท่านั้น หากยังมีความสำคัญต่อการค้าและการส่งออกอีกด้วย เนื่องจากในปัจจุบันประเทศในกลุ่มพัฒนาแล้ว ไม่ว่าจะเป็น สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา หรือญี่ปุ่น ต่างให้ความสนใจด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ดังจะเห็นได้ว่ามีการออกข้อกำหนดและกฎระเบียบทางการค้าที่สัมพันธ์กับการรักษาสิ่งแวดล้อม เช่น ระเบียบว่าด้วยการจัดการเศษเหลือทิ้งจากผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (Waste Electrical and Electronic Equipment; WEEE) ระเบียบว่าด้วยการจำกัดการใช้สารอันตรายบางชนิดในผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (The Restriction of the use of certain Hazardous Substance in electrical and electronic equipment; RoHS) ของกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป หรือระเบียบเกี่ยวกับการจัดการซากของยานยนต์ (End of Life Vehicles; ELV) ซึ่งมาตรการเหล่านี้ส่งผลให้ผู้ประกอบการต้องเข้ามาเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรงต่อเศษซากวัสดุจากผลิตภัณฑ์ของตน ผู้ประกอบการจึงต้องปรับปรุงและพัฒนาสินค้าของตนเพื่อที่จะสามารถส่งออกสินค้าได้
                Eco Design เป็นแนวทางหนึ่งในการแสดงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม นอกเหนือจากแนวทางอื่นๆ ที่เป็นที่รู้จักกันดี ไม่ว่าจะเป็น เทคโนโลยีสะอาด (Cleaner Technology; CT) หรือวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (Life Cycle Assessment; LCA) ซึ่งในประเทศไทยพบว่า ปัจจุบันมีหน่วยงานของรัฐ องค์กรอิสระ และสถาบันการศึกษาหลายแห่งที่มีโครงการศึกษาและการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้าน EcoDesign มากขึ้น ตลอดจนการเผยแพร่ความรู้และสนับสนุนให้ภาคอุตสาหกรรมสามารถนำ EcoDesign มาผลิตผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม


ตัวอย่าง
กลยุทธ์ธุรกิจสีเขียว (Green Business Strategies) 8 ม.ค. 2555
ชื่อโครงการ โครงการจัดการสัมมนา กลยุทธ์ธุรกิจสีเขียว (Green Business Strategies) : อัจฉริยภาพทางวิศวกรรม สู่ประสิทธิภาพด้านพลังงานและการรับมือภัยภิบัติ ในการผลิตและระบบขนส่ง
ผู้รับผิดชอบโครงการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ร่วมกับสถาบันวิทยาการโซ่อุปทาน มหาวิทยาลัยศรีปทุม
หลักการและเหตุผล
                สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ได้ทำการจัดงานบีโอไอแฟร์ 2011” จัดแสดงนิทรรศการและศักยภาพของอุตสาหกรรมไทยเพื่อฟื้นฟูภาพลักษณ์และสร้างความเชื่อมั่นของไทยให้กับนักลงทุน ซึ่งกำหนดจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี และในปี 2011 นี้ ได้มีกำหนดจัดงานในวันที่ 5-20 มกราคม 2555 ณ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ในการนี้ทางสำนักฯ ได้เล็งเห็นถึงศักยภาพของมหาวิทยาลัยศรีปทุมที่จะเป็นประโยชน์ต่อภาคอุตสาหกรรมจึงเรียนเชิญเป็นผู้สนับสนุนทางด้านการจัดสัมนาเชิงวิชาการในงาน บีโอไอแฟร์ 2011” ครั้งนี้ ตามจดหมายที่แนบมา (แนบจดหมายเชิญจาก BOI ถึงท่านอธิการ)
คณะวิศวกรรมศาสตร์เล็งเห็นว่า งานบีโอไอแฟร์ เป็นงานใหญ่ที่สุดประจำปีงานหนึ่งของประเทศ และได้รับการยอมรับจากนักลงทุนจากภาคอุตสาหกรรมทั้งในและต่างประเทศ จึงได้ขอเสนอตัวเป็นตัวแทนของมหาวิทยาลัย ร่วมกับสถาบันวิทยาการโซ่อุปทาน ในการจัดการประชุม เสวนา และ นำเสนอหัวข้อทางวิชาการด้านวิศวกรรม ในหัวข้อ กลยุทธ์ธุรกิจสีเขียว (Green Business Strategies): อัจฉริยภาพทางวิศวกรรม สู่ประสิทธิภาพด้านพลังงานและการรับมือภัยภิบัติ ในการผลิตและระบบขนส่งให้กับผู้ประกอบการและนักลงทุนที่เข้าร่วมในงานดังกล่าว เพื่อการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน

ไม่มีความคิดเห็น: