นาย.นัตพล ใบเรือ 233 การจัดการทั่วไป รุ่น19
บทที่8 เทคนิคการบริหารทรัพยากรมนุษย์
การบริหารทรัพยากรมนุษย์ประกอบด้วย 6กลุ่มใหญ่คือ
1.แนวความคิดด้านการจัดการแบบวิทยาศาสตร์(Scientific management school)Taylorเป็นบิดาของแนวความคิดนี้ ซึ่งรู้จักกันดีว่าเป็นทฤษฎีการจัดการแบบคลาสสิก เขาเป็นผู้เริ่มองค์การที่มีรูปแบบเป็นผู้ที่นำวิธีการทางวิทยาศาสตร์มาแก้ไขปัญหาที่พบในโรงงานที่เขาทำอยู่ เป็นการนำหลักการที่มีกฎเกณฑ์เข้ามาแทนที่วิธีการลองผิดลองถูกที่เคยใช้กัน โดยทำงานมากได้เงินมากทั้งนี้เพราะ Taylorจะยึดหลักการทำงานมากได้มากทำงาน้อยได้น้อย ระบบที่ Ganttพัฒนานี้เป็นการประกันค่าจ้างต่ำสุดที่คนงานพึงได้รับไม่ว่าเขาจะทำงานถึงมาตรฐานหรือไม่ก็ตามแต่ชื่อเสียงที่ Ganttเป็นที่รู้จักกันดีคือการพัฒนาวิธีการทางด้านกราฟที่แสดงให้เห็นแผนงานที่จะเป็นตัวควบคุมการจัดการได้เป็นอย่างดีเขาเน้นความสำคัญของเวลาและปัจจัยทางด้านทุนในการวางแผนและควบคุม
2.แนวความคิดด้านการจัดการเป็นกระบวนการ (management process school)Fayolเขาเน้นการสอนและการเรียนรู้โดยได้ศึกษาการจัดการจากคณะผู้บริหารระดับล่างโดยให้ทัศนะว่าการจัดการเป็นทฤษฎีที่สามารถสอนและเรียนรู้ได้ ซึ่งเกี่ยวข้องกับกระบวนต่างๆคือการวางแผน(planning)การจัดการองค์การ(organizing)การบังคับบัญชา (commanding)การประสางาน(coordinating)และการควบคุม(controlling)
3.แนวความคิดด้านมนุษยสัมพันธ์ (Human relationsschool)GanttและMunsterbergทั้งนี้เนื่องจากเหตุผลที่ว่าการจัดการเป็นการใช้บุคคลอื่น ทำงานให้แก่องค์การ ดังนั้นการศึกษาด้านการจัดการจำเป็นต้องศึกษาเรื่องราวของคนและปฏิกิริยาของความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เป็นจุดสำคัญหัวข้อที่กลุ่มนี้ให้ความสนใจได้แก่ การจูงใจ (motivations)แรงขับของเอกัตบุคคล (individual drives)กลุ่มสัมพันธ์ (group relations)การเป็นผู้นำ (leaderships)และกลุ่มพลวัต (group dynamics)เป็นต้น
4.แนวความคิดด้านระบบสังคม (Social system school)มีความสัมพันธ์กับแนวความคิดด้านมนุษยสัมพันธ์หรือด้านพฤติกรรมศาสตร์ Chester I. Barnard เป็นบิดาของการจัดการที่ยึดหลักระบบสังคม โดยเริ่มศึกษาตัวบุคคลก่อนถัดมาจึงสนใจระบบความร่วมแรงร่วมใจของบุคคลกับองค์การและมาสิ้นสุดระบบที่หน้าที่ในการดำเนินการจัดการของBarnardแนวความคิดด้านระบบสังคม
1. มนุษย์แต่ละคนมีขีดจำกัดด้านกายภาพและชีวภาพ จึงทำให้เกิดความร่วมแรงร่วมใจกันทำงานเป็นกลุ่ม
2. การดำเนินการร่วมแรงร่วมใจกันทำให้เกิดเป็นระบบความร่วมแรงร่วมใจ ในการทำงานให้องค์การเกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพ
3. ระบบการร่วมแรงร่วมใจกันสามารถแบ่งได้เป็น 2ส่วนคือ องค์การและส่วนอื่นๆ
4. องค์การแบ่งเป็น 2ประเภทคือ องค์การที่มีรูปแบบ(formal organization)และองค์การไร้รูปแบบ(informal organization)
5. องค์การที่มีรูปแบบจะต้องประกอบด้วย การติดต่อสื่อสารงานซึ่งกันและกันความตั้งใจในการทำงานเป็นกลุ่มและการมีจุดมุ่งหมายร่วมกันอย่างมีจิตสำนึก
5.แนวความคิดด้านคณิตศาสตร์ (Mathematical school)แนวความคิดนี้มุ่งใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์มาศึกษาข้อมูลทางปริมาณต่างๆเพื่อตัดสินใจในการจัดการ ความเชื่อของนักคิดกลุ่มนี้คือ ถ้าการจัดการเป็นกระบวนการทางตรรก(มีเหตุผล) แล้ว ต้องสามารถแสดงออกมาในรูปของสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ได้ เช่นy=f(x)เป็นต้นพื้นฐานของแนวความคิดนี้เป็นการสร้างรูปแบบขึ้น โดยผ่านกระบวนการวิเคราะห์ปัญหาและแสดงออกมาในรูปของความสัมพันธ์และในรูปของวัตถุประสงค์ที่เลือกสรรแล้ว ผู้ใช้รูปแบบทางคณิตศาสตร์นี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า นักวิจัยเชิงปฏิบัติการ หรือนักวิทยาศาสตร์การจัดการ แต่อย่างไรก็ตามวิธีนี้ใช้ประโยชน์ในการแก้ปัญหาด้านกายภาพของการจัดการ เช่น รายการต่างๆ และการการควบคุมการผลิต เป็นต้น แต่ไม่สามารถใช้แทนการการได้ซึ่งความรู้ ประสบการณ์ และการฝึกหัดทำ ความเข้าใจในพฤติกรรมมนุษย์ได้
6.แนวความคิดด้านระบบ (Systems school)แนวความคิดด้านระบบเป็นการจัดการที่เน้นกลยุทธ์ ศึกษาส่วนต่างๆ ของระบบภายใน ระบบจะมีธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกันและกัน มีความสัมพันธ์กัน การวิเคราะห์เชิงระบบเป็นความพยายามที่จะกำหนดธรรมชาติของความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่างๆ ที่อยู่ในระบบทฤษฎีระบบได้ให้แนวความคิดพื้นฐาน หลักการต่างๆและแนวทางในการสร้างระบบที่มีประสิทธิภาพที่ดีกว่าเพื่อประโยชน์ในด้านการวางแผนการควบคุมและการตัดสินใจดำเนินการเป็นตัวนำ ให้ฝ่ายจัดการพิจารณาองค์การทางธุรกิจในรูปข่ายปฏิบัติงานของข้อสนเทศ ทิศทางของข้อสนเทศจะให้แนวทางการตัดสินใจในการจัดการระดับที่แตกต่างกัน ผลของระบบข้อสนเทศทางธุรกิจ นำมาพิจารณาใช้กันมากในระบบบัญชี การเก็บข้อมูลต่างๆซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการวางแผน การควบคุมและกระบวนการตัดสินใจในองค์การธุรกิจ และปัจจุบันที่รู้จักกันดีของระบบข้อสนเทศทางดารบริหาร ที่เรียกย่อๆว่า MIS (Management Information System)
แหล่งที่มา
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=624335
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น