การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ มีองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้
1. การสร้างความมุ่งมั่นไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ การสร้างองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้นับว่าเป็นการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญอย่างหนึ่ง ผู้นาและผู้บริหารองค์กรต้องเข้าใจและเห็นคุณค่าของการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้และมีความมุ่งมั่นผลักดันไปสู่ความสำเร็จ ผู้นาและผู้บริหารองค์กรต้องกระทาตนเป็นแบบอย่างที่ใฝ่ใจเรียนรู้และมีความรอบรู้ (Personal mastery)
การแสดงเจตนารมณ์แห่งความมุ่งมั่นของผู้นาและผู้บริหารที่จะสร้างองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้จะเป็นสิ่งช่วยกระตุ้นให้บุคลากรเกิดการตื่นตัวและต้องการมีส่วนร่วมในการสร้างคุณค่าให้แก่องค์กร บุคลากรจะมีความมั่นใจในองค์กร มีความพึงพอใจในหน้าที่การงาน มีความรักงานและทุ่มเท มีความรู้สึกที่ดีต่อผู้ร่วมงาน มีความใฝ่ฝันที่จะเห็นองค์กรก้าวหน้า มีความภูมิใจในความเป็นเลิศขององค์กรและมีความหวังและความหวงแหนในองค์กร
2. การกำหนดวิสัยทัศน์ที่สนับสนุนการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ การมีวิสัยทัศน์ร่วมกันในองค์กร (Shared vision) เป็นหนึ่งในหลักปฏิบัติหรือวินัยแห่งการเรียนรู้ที่เน้นส่งเสริมการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ดังที่กล่าวในเรื่องที่ 13.1.2 การกำหนดวิสัยทัศน์ที่ให้ความสำคัญต่อการเรียนรู้ย่อมกระตุ้นให้บุคลากรเกิดความสนใจในการเรียนรู้ เพราะวิสัยทัศน์สร้างแรงจูงใจ กาลังใจและการทุ่มเท เช่น การแสดงวิสัยทัศน์ไว้ว่า “โรงพยาบาลเชื่อมั่นว่า การเรียนรู้ให้ทันองค์ความรู้และเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่เกิดขึ้นใหม่ตลอดเวลา ย่อมทาให้การรักษาพยาบาลมีคุณภาพและไม่ล้าหลัง” เป็นต้น
3. การทำให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน การจัดวางยุทธศาสตร์ของการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้โดยให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของงานหรืองานเป็นแบบฝึกหัดของการเรียนรู้ การจัดวางยุทธศาสตร์เช่นนี้จะเป็นการส่งเสริมให้บุลากรสามารถทางานไปเรียนรู้ไปพร้อมกัน และตระหนักอยู่เสมอว่างานและการเรียนรู้เป็นสิ่งที่ไม่แยกจากกัน เช่น จัดให้มีกลุ่มพัฒนาการเรียนรู้ ฝึกอบรม สัมมนาเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนรู้ระหว่างบุคลากร มีการฝึกฝน ทบทวนและทดสอบการเรียนรู้ในระหว่างปฏิบัติงาน (In-service training) หรือการปฏิบัติงานโดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศที่สามารถให้มีการเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ๆ ทางเชิงอิเล็กทรอนิกส์ได้ด้วย เป็นต้น
4. การกระตุ้นและส่งเสริมการเรียนรู้ร่วมกัน การเรียนรู้ร่วมกัน (Team learning) จะนาไปสู่การเรียนรู้อย่างใช้ความคิดและตริตรองใคร่ครวญ ทาให้เกิดแนวความคิดอ่านอย่างเป็นระบบ และเรียนรู้การแก้ปัญหาหรือหาคาตอบอย่างมีระบบ เสริมสร้างให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ต่อกัน องค์กรจะต้องส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ของบุคลากรในทุกระดับจึงจะนับว่าเป็นการเรียนรู้ร่วมกันทั่วทั้งองค์กร ดังได้กล่าวแล้วว่า ผู้นาและผู้บริหารองค์กรต้องกระทาตนเป็นแบบอย่างจึงต้องมีส่วนร่วมเรียนรู้ด้วย เข้าทานองว่า ไม่มีใครแก่เกินเรียนหรือเก่งเกินเรียน
การเรียนรู้ร่วมกัน ยังเป็นการเรียนรู้แบบเชื่อมโยงและเสริมผล เช่นเดียวกับการร่วมกันทางาน อีกทั้งทาให้เกิดความเข้าใจตรงกัน เข้าใจซึ่งกันและกัน และเกิดวิสัยทัศน์ร่วม
5. การจัดโครงสร้างองค์กรไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้ องค์กรแห่งการเรียนรู้จะนาความรู้และความคิดอ่านใหม่ ๆ ไปปฏิบัติเพื่อการพัฒนาองค์กรตลอดเวลา โครงสร้างการบริหารองค์กรจึงต้องสนองต่อการเรียนรู้และการบริหารการเปลี่ยนแปลง ขนาดและรูปแบบของโครงสร้างองค์กรแม้จะใหญ่โตหรือหลากหลายซับซ้อนก็ไม่อาจเป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้ แต่โครงสร้างการบริหารที่มีขั้นตอนการปฏิบัติที่เข้มงวดกวดขันแบบราชการ (Bureaucracy) อย่างมากมาก สื่อสารถึงกันได้ยาก (Poor communication) มีผู้นาที่อ่อนแอและเชื่องช้า (Poor leadership) จะเป็นอุปสรรคที่สำคัญ
องค์กรแห่งการเรียนรู้จึงควรมีโครงสร้างการบริหารที่มีชั้นการบังคับบัญชาน้อย ยืดหยุ่นและคล่องตัว เพื่อการมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว มีลักษณะของขั้นตอนการปฏิบัติที่มอบหมายอำนาจการตัดสินใจและความรับผิดชอบ (Empowerment) มากกว่ามุ่งสั่งการและควบคุม (Autocratic)
6. การปลูกฝังวัฒนธรรมองค์กรที่เน้นการเรียนรู้ การปลูกฝังวัฒนธรรมองค์กรที่เน้นการเรียนรู้อยู่ที่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและการยอมรับของทุกคนในองค์กร ที่สำคัญอย่างยิ่งคือ การกระทาอันเป็นแบบอย่างของผู้นาและผู้บริหารซึ่งจะเป็นการสร้างบรรยากาศของการเรียนรู้ให้บุคลากรทุกระดับได้ซึมซับ ผู้นาและผู้บริหารต้องมีใจที่เปิดกว้าง ยินดีรับฟัง รับคาติชม โปร่งใน จริงใจ และมีภาวะผู้นำแห่งยุคการเปลี่ยนแปลง (Change leadership)
7. การบริหารระบบองค์ความรู้ (Knowledge management)
การบริหารระบบองค์ความรู้ คือ รูปแบบการจัดการแสวงหา ศึกษาใคร่ครวญ ถ่ายทอดแบ่งปันประยุกต์ใช้ประโยชน์ และสะสมเก็บรักษา อาจแบ่งการบริหารระบบองค์ความรู้ออกได้ดังนี้
7.1 การได้มา (Acquisition)
7.2 การศึกษาและสร้างสรรค์ (Creation)
7.3 การเผยแพร่ถ่ายทอดและประยุกต์ใช้ (Transfer and use)
7.4 การเก็บรักษาและการค้นหา (Storage and retrieval)
8. การสนับสนุนการทดลองและวิจัยเพื่อการเรียนรู้และแสวงหานวัตกรรม การศึกษาค้นคว้าและวิจัยเป็นอีกมิติหนึ่งของการเรียนรู้ ช่วยส่งเสริมให้องค์กรแห่งการเรียนรู้ได้เป็นองค์กรแห่งความรู้และช่วยให้บุคลากรในองค์กรมีความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์ไตร่ตรองปัญหาด้วยข้อมูลและเหตุผลอย่างเป็นระบบ องค์กรแห่งการเรียนรู้จะใช้การวิจัยและพัฒนาเพื่อประโยชน์ในการเรียนรู้และทราบแนวการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่กาลังเกิดขึ้น องค์ความรู้จากการวิจัยที่มีคุณค่าจะคงอยู่เป็นส่วนหนึ่งของคุณค่าทางปัญญาขององค์กรด้วย
9. การส่งเสริมแนวทางไปสู่การเรียนรู้ต่อเนื่อง องค์กรแห่งการเรียนรู้ต้องสร้างแนวทางสาหรับการเรียนรู้ต่อเนื่องไว้ตราบนานเท่าตัวองค์กรเอง องค์กรจะสิ้นสภาพองค์กรแห่งการเรียนรู้เมื่อบุคลากรในองค์กรไม่เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ความรู้และเทคโนโลยีกำลังพัฒนาไปอย่างมากมายและรวดเร็ว การเรียนรู้ต่อเนื่องโดยไม่หยุดยั้งของบุคลากรในองค์กรจะทาให้องค์กรสามารถบริหารการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ได้อย่างต่อเนื่อง และสามารถคงความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ได้อยู่สืบไป
ที่มา : กลยุทธ์การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้, รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ทองดี ชัยพานิช, โรงพยาบาลสมิติเวช
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น