หน้าเว็บ

นางสุชาดา มณีโชติ 51230125401217






บทที่ 8เทคนิคการบริหารทรัพยากรมนุษย์และการจัดการที่เหมาะสมกับวัฒนธรรมไทย



แนวทางการปรับตัว ของประเทศไทย สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน



เนื่องจากการพัฒนาที่ยั่งยืนของแต่ละกลุ่มคนหรือแต่ละประเทศ ต่างมีวิถีและบริบทที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับพื้นฐานของทุนที่มีอยู่ สำหรับประเทศไทยมีทุนทรัพยากรที่มีคุณภาพ ทั้งทุนทรัพยากรธรรมชาติและทุนมนุษย์ ขณะเดียวกันยังมีทุนทางปัญญา รวมทั้งทุนทางวัฒนธรรมและจารีตประเพณีที่ดีงามอีกด้วย ฉะนั้น ทิศทางการพัฒนาประเทศสู่ความยั่งยืนในอนาคตจำเป็นต้องสำรวจเพื่อรู้ทุนของตัวเองได้มากขึ้น และนำมาปรับใช้ให้เป็นประโยชน์กับการพัฒนาประเทศให้มุ่งสู่ความมั่นและยั่งยืนทั้งนี้การพัฒนาที่ยั่งยืนในบริบทไทยที่สอดคล้องกับทิศทางในกระแสโลกดังกล่าวข้างต้นควรจะต้องเป็น "การพัฒนาที่ทำให้เกิดดุลยภาพของมิติทางเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อเสริมสร้างความอยู่ดีมีสุขของประชาชนตลอดไป"



โดยกรอบแนวคิดของการดำเนินงานในแต่ละมิติของการพัฒนา พิจารณาได้ ดังนี้



1.การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ให้ความสำคัญกับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ในปริมาณที่ระบบนิเวศ สามารถฟื้นตัวกลับสู่สภาพเดิมได้ และปล่อยมลพิษออกสู่สิ่งแวดล้อม ในระดับที่ระบบนิเวศสามารถดูดซับ และทำลายมลพิษนั้นได้ง่าย กล่าวคือ หากใช้ทรัพยากรธรรมชาติประเภทที่ใช้แล้วหมดไป (non-renewable) จำเป็นต้องหาทรัพยากรธรรมชาติ ประเภทใช้แล้วไม่หมดไป (renewable) มาแทนที่ และต้องใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วไม่หมดไปนี้ ไม่มากเกินขีดความสามารถ ของระบบนิเวศในการผลิตทดแทนได้ด้วย ทั้งนี้เพื่อคงความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ ความหลากหลายทางชีวภาพ และคุณภาพสิ่งแวดล้อมเพื่อเป็นฐานการผลิต ของระบบเศรษฐกิจ และการดำรงชีวิตของมนุษย์ ได้อย่างต่อเนื่องตลอดไป โดยมีกรอบแนวทางการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่



1.1 ปรับกระบวนทัศน์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งในระดับนโยบาย และระดับปฏิบัติ รวมทั้งประชาชนทั่วไป ให้ตระหนักและเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์ ฟื้นฟูและพัฒนาฐานทรัพยากรในท้องถิ่น เพื่อสนับสนุนการเพิ่มทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ ให้สามารถใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนได้ในระยะยาว



1.2 อาศัยกลยุทธ์เชิงรุกในการดำเนินการป้องกันทรัพยากร อาทิ การมีนโยบายการใช้ทรัพยากรที่ชัดเจน การสร้างจิตสำนึกและจริยธรรมด้านสิ่งแวดล้อม และกำหนดให้มีการจัดสรรงบประมาณ เพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อมเป็นเงื่อนไขของการลงทุน



1.3 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการจัดการทรัพยากร โดยสนับสนุนการรวมตัวเป็นเครือข่าย ของภาคส่วนต่างๆ ในสังคม มีการแก้ไขกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อม และการสร้างองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการเทคโนโลยีที่เหมาะสม



2.การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ซึ่งจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ให้เจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพ,มีเสถียรภาพ มีความสมดุลและกระจายความมั่นคง เอื้อประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่ และต้องเป็นการเติบโตที่ยั่งยืนได้ในระยะยาว โดยมีกรอบแนวทางการดำเนินงานที่สำคัญ ดังนี้



2.1 การเติบโตอย่างมีคุณภาพ ให้ความสำคัญกับการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ทั้งการพัฒนาคุณภาพแรงงาน และทุนมนุษย์ การเพิ่มประสิทธิภาพการลงทุน และการบริหารจัดการในทุกระดับให้เกิดการบริหารจัดการที่ดี เพื่อสร้างความได้เปรียบในเชิงแข่งขันของประเทศ



2.2 การเติบโตอย่างมีเสถียรภาพและยั่งยืน มุ่งบริหารเศรษฐกิจส่วนรวมอย่างมีประสิทธิภาพ สร้างระบบเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็ง พึ่งตนเองได้ มีภูมิคุ้มกัน สามารถเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลกได้อย่างรู้เท่าทัน รวมทั้งมีกระบวนการผลิตและการบริโภคที่เหมาะสม ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม



2.3 การกระจายความมั่นคง มุ่งกระจายโอกาสการพัฒนาทางเศรษฐกิจให้เอื้อประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่ สามารถเข้าถึงการใช้ประโยชน์ในทรัพยากรธรรมชาติ และบริการโครงสร้างพื้นฐานของรัฐได้อย่างเท่าเทียม



3.การพัฒนาสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีการพัฒนาคนและสังคมให้เชื่อมโยงกับการพัฒนาเศรษฐกิจ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล



3.1 พัฒนาคุณภาพคนไทยให้มีผลิตภาพสูงขึ้น รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง มีจิตสำนึก พฤติกรรมและวิถีชีวิตที่ไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม



3.2 มีสิทธิและโอกาสที่จะได้รับการจัดสรรทรัพยากร และผลประโยชน์จากการพัฒนา และได้รับการคุ้มครอง อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม



3.3 มีระบบการจัดการทางสังคม ที่เสริมสร้างการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนของสังคมในกระบวนการพัฒนา



3.4 มีการนำทุนทางสังคม และทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ ที่มีอยู่หลากหลาย มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม โดยมีกรอบแนวทางการดำเนินงานที่สำคัญ ดังนี้



3.4.1 การพัฒนาคุณภาพคน(ทุนมนุษย์) ให้มีความรู้ มีสมรรถนะและมีผลิตภาพสูงขึ้น สามารถปรับตัวได้ทันการเปลี่ยนแปลง ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี มีทักษะในการนำความรู้และข้อมูลต่างๆ มาวิเคราะห์และเลือกใช้ ในการดำรงชีวิตอย่างเหมาะและรู้เท่าทัน มีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีพฤติกรรมการผลิต การออม การบริโภคที่เหมาะสม



3.4.2 การพัฒนา และใช้ประโยชน์ จากทุนทางสังคม โดยเลือกรักษาฟื้นฟูวัฒนธรรม ค่านิยมที่ดีงาม และภูมิปัญญา ที่มีอยู่อย่างหลากหลาย โดยผสมผสานกับเทคโนโลยีหรือวิทยาการใหม่ๆ รวมทั้งการเสริมสร้างทุนทางสังคมใหม่ๆ และการหาทางลด ละ เลิก พฤติกรรม/ค่านิยมที่ไม่เหมาะสม เพื่อให้มีส่วนช่วยเพิ่มผลิตภาพการผลิต สร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้า และบริการ และลดต้นทุนทางเศรษฐกิจ และสังคมที่ไม่จำเป็น



สรุป



การพัฒนาที่ยั่งยืนจะเกิดขึ้นได้ในสังคมไทย ทุกภาคส่วนของสังคม ควรผนึกกำลังร่วมกันในการขับเคลื่อน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง บนพื้นฐานของทุนทรัพยากรที่มีอยู่ ทั้งนี้ จำเป็นต้องสร้างจิตสำนึกใหม่ของคนในสังคม ให้มุ่งผลประโยชน์ส่วนรวม และปรับวิธีคิด ทัศนคติในการดำเนินชีวิตใหม่ ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยลง ขณะเดียวกันต้องประสานเชื่อมโยงบทบาทภาครัฐ ท้องถิ่นและชุมชนให้มีส่วนร่วมทำงานด้วยกันได้ เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้เกิดการพัฒนาและเพิ่มมูลค่าของทรัพยากรในท้องถิ่น



นอกจากนี้ ยังจำเป็นต้องพัฒนาดัชนีชี้วัด เพื่อสามารถสะท้อนผลการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้งในระดับท้องถิ่น และระดับประเทศได้





นางสุชาดา มณีโชติ 51230125401217



บทที่ 7 การพัฒนาองค์การไปสู่องค์การแห่งการเรียนรู้และการพัฒนาอย่างยั่งยืน



โลกปัจจุบัน ดูเหมือนว่า ไม่ว่าจะหันไปทางไหน จะเห็นว่าองค์กรแทบจะทุกวงการ จะกล่าวถึง การสร้างองค์กรให้เป็น "องค์กรแห่งการเรียนรู้: Learning Organization" เกือบทั้งสิ้น เพื่อเป้าหมาย อยากจะให้องค์กรนั้นสามารถแข่งขันหรืออยู่รอดในยุคเศรษฐกิจแบบปัจจุบัน หรือ ในศตวรรษนี้



การพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้และการพัฒนาอย่างยั่งยืน หรือ ที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า การพัฒนาองค์กร : Development Organization นั่นเอง ทำไมถึงได้กล่าวถึงการพัฒนา (Development) เพราะว่า เมื่อท่านได้มีแนวทางในการปฏิบัติในสิ่งต่าง ๆ เพื่อให้องค์กรเป็นไปอย่างที่ท่านคาดหวังแต่ว่าท่านไม่ได้มีการพัฒนาหรือสานต่อเลย ถามว่าสิ่งที่ท่านเพียรค้นหาหรือพยายามที่จะปฏิบัตินั้นจะสามารถทันต่อเหตุการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงไปทุกวินาทีได้หรือไม่



"ประตูของความสำเร็จขององค์กรนั้นก็คือการพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่อง" คำกล่าวนี้ ท่านพอจะนึกออกไหมว่าท่านจะต้องทำอะไรต่อไปเพื่อให้องค์กรของท่านอยู่รอดได้ในเศรษฐกิจโลก ณ ปัจจุบัน ความด้อยประสิทธิภาพในการบริหารงานหรือการปฏิบัติงานนั้นมีสาเหตุรากฐานมาจาก คนคิดคนทำ ทั้งสิ้น เมื่อคนคิดไม่ได้ทำ คนทำไม่ได้คิด ถ้าทั้งคิดและทำแต่ไม่ได้มีการพัฒนาทุกอย่างก็เหมือนว่าเราย่ำอยู่กับที่นั้นเอง



ท่านสามารถตรวจสอบได้ว่าองค์กรของท่านได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องหรือยัง โดยทำการสอบถามจากสมาชิกหรือบุคลากรในองค์กรของท่านเองว่า สิ่งที่บุคลากรทุกคนควรทำและปฏิบัติในการทำงาน ณ คงมองได้ว่า ควรเริ่มที่จะพัฒนาองค์กรได้หรือยัง ดังนั้น ในสถานการณ์ปัจจุบัน ถ้าจะเอ่ยถึงการพัฒนาองค์กรแบบยั่งยืนน่าจะกล่าวถึง Development Organization กันได้แล้ว เพื่อที่องค์กรของท่านจะได้ไปถึงเป้าหมายที่หวังไว้อย่างไม่ตกยุค และท่านจงพึงระลึกอยู่เสมอว่า การพัฒนากำลังคนหรือองค์กรเพียงเท่าที่เป็นมาและเป็นอยู่นั้น คงไม่เป็นการเพียงพอที่จะยืนหยัดอยู่ในเวทีของการแข่งขันแบบไร้ขอบเขตของโลกแห่งการไร้พรมแดน (Globalizations) ได้อย่างแน่นอน







ที่มา : http://www.hu.ac.th/academic/article/HR/Organightsation.html



ปัจจุบันนั้นควรทำเช่นไร ถ้าคำตอบที่ท่านได้รับไปกันคนละทาง สองทาง หรือเป็นในแนวทางเดิม ๆ ท่านเองก็คงมองได้ว่า ควรเริ่มที่จะพัฒนาองค์กรได้หรือยัง



ดังนั้น ในสถานการณ์ปัจจุบัน ถ้าจะเอ่ยถึงการพัฒนาองค์กรแบบยั่งยืนน่าจะกล่าวถึง Development Organization กันได้แล้ว เพื่อที่องค์กรของท่านจะได้ไปถึงเป้าหมายที่หวังไว้อย่างไม่ตกยุค และท่านจงพึงระลึกอยู่เสมอว่า การพัฒนากำลังคนหรือองค์กรเพียงเท่าที่เป็นมาและเป็นอยู่นั้น คงไม่เป็นการเพียงพอที่จะยืนหยัดอยู่ในเวทีของการแข่งขันแบบไร้ขอบเขตของโลกแห่งการไร้พรมแดน (Globalizations) ได้อย่างแน่นอน



ที่มา : http://www.hu.ac.th/academic/article/HR/Organightsation.html





ไม่มีความคิดเห็น: