หน้าเว็บ

นัตพล ใบเรือ 233 การจัดการทั่วไป รุ่น 19



บทที่6 การเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนและวิเคราะห์ผลกระทบต่อการบริหารจัดการ

การเตรียมความพร้อมของภาคเกษตร

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีการดำเนินการตามพันธกรณี และส่งเสริมความร่วมมือกับประเทศสมาชิกอาเซียน รวมทั้งมีการเตรียมความพร้อม เสริมสร้างศักยภาพการผลิต และให้ความรู้ความเข้าใจแก่ข้าราชการและเกษตรกรเพื่อการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน หน่วยงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ดำเนินกิจกรรมต่างๆ เกี่ยวข้องกับอาเซียน ดังนี้

ด้านพืช

กรมวิชาการเกษตร

ภายใต้กรอบอาเซียน กรมฯ มุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาให้ตรงตามมาตรฐานสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชการตรวจวิเคราะห์รับรองคุณภาพ มีความร่วมมือด้านการวิจัยการผลิต การใช้ระบบ GAP เพื่อความปลอดภัยด้านอาหาร ประสานกับประเทศสมาชิกอาเซียนในการจัดทำมาตรฐานสินค้าพืชสวน อีกทั้งมีการจัดสัมมนาเตรียมความพร้อมให้แก่นักวิจัยและพัฒนา การจัดประชุมผู้เชี่ยวชาญด้าน GAP ระหว่างกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน และที่สำคัญมีการจัดตั้งคณะทำงานเพื่อทบทวนกฏหมายเกี่ยวกับการควบคุม การผลิตพืช ที่กรมวิชาการเกษตรรับผิดชอบ ทั้งหมด 6 ฉบับ เพื่อมิให้เป็นอุปสรรคต่อการค้า

ด้านปศุสัตว์

กรมปศุสัตว์

กรมปศุสัตว์ได้ดำเนินการภายใต้กรอบ ASEAN Sectoral Working Group on Livestock (ASWGL) และการดำเนินการ่วมกับสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ ได้แก่ การจัดทำวัคเซียนโรคสัตว์ การตรวจรับรองสถานที่ผลิตวัคซีนสำหรับปศุสัตว์ในอาเซียน ซึ่งขณะนี้มีประเทศไทยและประเทศอินโดนีเซียที่ได้รับการรับรอง การจัดทำมาตรฐาน กฏระเบียบต่าง ๆ เกี่ยวกับสินค้าปศุสัตว์ อาทิ มาตรฐานฟาร์มเลี้ยง มาตรฐานโรงฆ่า มาตรฐานโรงงานแปรรูป ความร่วมมือในการควบคุมโรคระบาดสัตว์และโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคนในอาเซียน โดยการจัดตั้งกองทุนสุขภาพสัตว์อาเซียน ซึ่งมีงบประมาณประมาณ 1 ล้านเหรียญสหรัฐ ระบบข้อมูลโรคระบาดสัตว์ในอาเซียน การจัดตั้งห้องปฏิบัติการอ้างอิงของอาเซียนสำหรับโรคระบาด เช่น โรค FMD โรคไข้หวัดนก เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีความร่วมมือในภูมิภาคที่จะกำจัดโรคพิษสุนัขบ้า ซึ่งเป็นโรคระบาดสัตว์สู่คนที่สำคัญ ให้หมดไปในปี 2020 ร่วมมือกับกรมควบคุมโรค (กระทรวงสาธารณสุข) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช (กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) ในการกำจัดควบคุมโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน และการฝึกอบรมภาษาอังกฤษให้แก่บุคลากรกรมปศุสัตว์เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ฯลฯ

ด้านประมง

กรมประมง

กรมประมงมีการดำเนินการภายในกรมเพื่อเตรียมความพร้อมสู่การเป็นประชาคมอาเซียน อาทิ ตั้งกลุ่มอาเซียนภายในกองประมงต่างประเทศ และมีการตั้งคณะกรรมการเตรียมการรองรับภาคการประมงสู่ประชาชนคมอาเซียน จัดสัมมนาประชาคมอาเซียนกับการประมงไทย การศึกษาผลกระทบการเปิดเสรีอาเซียนสาขาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ซึ่งอยู่ระหว่างตรวจรับงานจาก TDRI งวดสุดท้าย เป็นต้น

ด้านสหกรณ์การเกษตร

กรมส่งเสริมสหกรณ์

กรมส่งเสริมสหกรณ์ ได้ดำเนินการตามแผนงานแห่งชาติการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน อาทิ การเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะกรรมการศูนย์อาเซียนเพื่อการพัฒนาสหกรณ์การเกษตร (ACEDAC) ครั้งที่ 19 และการประชุมคณะทำงานด้านสหกรณ์การเกษตร (ASWGAC) ครั้งที่ 14 พร้อมกับมีการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง Establishment of Pilot Project on Marketing Networking Linkage of Rice in ASEAN ระหว่างวันที่ 24 – 29 มิถุนายน 2554 นอกจากนี้ กรมส่งเสริมสหกรณ์เป็น Lead Country ในการจัดทำเว็บไซต์ระหว่างกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อเผยแพร่ข้อมูลสหกรณ์การเกษตร กลุ่มสตรีและเยาวชนเกษตรกร สินค้าและผลิตภัณฑ์การเกษตรที่แต่ละประเทศมีศักยภาพ ในส่วนการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน กรมส่งเสริมสหกรณ์ได้จัดฝึกอบรมข้าราชการ การสัมมนาเตรียมความพร้อมข้าราชการสู่การเป็นประชาคมอาเซียนเป็นต้น

กรมวิชาการเกษตร

ภายใต้กรอบอาเซียน กรมฯ มุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาให้ตรงตามมาตรฐานสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชการตรวจวิเคราะห์รับรองคุณภาพ มีความร่วมมือด้านการวิจัยการผลิต การใช้ระบบ GAP เพื่อความปลอดภัยด้านอาหาร ประสานกับประเทศสมาชิกอาเซียนในการจัดทำมาตรฐานสินค้าพืชสวน มีบทบาทใน Sectoral Working Group on Crops, Expert Working Group เสนอค่า Manimum Residue Limits (MRLs), Expert Working Group on Harmonization of Phytosanitary Measures among ASEAN Countries, Good Agricultural Practices, Standards for Horticultural Produce, ASEAN Trade in Goods Agreement โดยเฉพาะ Protocol 8 (SPS) เป็นต้น อีกทั้งมีการจัดสัมมนาเตรียมความพร้อมให้แก่นักวิจัยและพัฒนา การจัดประชุมผู้เชี่ยวชาญด้าน GAP ระหว่างกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน และที่สำคัญมีการจัดตั้งคณะทำงานเพื่อทบทวนกฏหมายเกี่ยวกับการควบคุม การผลิตพืช ที่กรมวิชาการเกษตรรับผิดชอบ ทั้งหมด 6 ฉับบ เพื่อมิให้เป็นอุปสรรคต่อการค้า

กรมการข้าว

กรมการข้าวมีการจัดฝึกอบรมสัมมนาการเตรียมความพร้อมให้แก่ข้าราชการกรมการข้าว ตั้งแต่ปี 2552 จัดทำโครงการต่อเนื่องเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวและสร้างความเข้มแข็งให้ชาวนาเพื่อรองรับผลกระทบการเปิดการค้าเสรีอาเซียน ตั้งแต่ปี 2553 ถึงปัจจุบัน โดยเน้นศูนย์ข้าวชุมชน เป็นต้น

กรมชลประทาน

กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับความร่วมมือภายใต้กรอบอาเซียน ได้แก่ การส่งเสริมความร่วมมือในการพัฒนาการบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการและเป็นระบบ เพื่อการแก้ไขปัญหาวิกฤตน้ำในภูมิภาคอาเซียน ผ่านความร่วมมือการบริหารจัดการน้ำแม่พรมแดนไทย – ประเทศเพื่อนบ้านต่าง ๆ การเข้าร่วมคณะทำงาน MeKong River Commission กับประเทศกัมพูชา ลาว และเวียดนาม เพื่อเสนอข้อคิดเห็นในการกำหนดนโยบายร่วมสำหรับการพัฒนาแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน ทั้งที่เกี่ยวกับการเกษตร ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรน้ำ และการเจรจากับประเทศอื่น อาทิ จีน และพม่า เพื่อนำไปสู่การบริหารจัดการน้ำร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ กรมฯ มียุทธศาสตร์เตรียมความพร้อมให้แก่บุคคลากรภายในกรมชลประทานให้มีความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน เป็นต้น



แหล่งที่มา

http://moac2aec.moac.go.th/ewt_news.php?nid=64

ไม่มีความคิดเห็น: