หน้าเว็บ

ผกามาศ





แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับภาวะผู้นำ



จากประสบการณ์ที่ผ่านมาย่อมเป็นที่ประจักษ์แล้วว่า ภาวะผู้นำเป็นองค์ประกอบที่สำคัญยิ่งในการบริหารและการจัดองค์การทั้งของรัฐและเอกชนให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามนโยบายขององค์การ
เวบสเตอร์(Webster, 1973, p. 801) ได้ให้ความหมายของผู้นำว่า ผู้นำคือบุคคลที่ทำหน้าที่นำ ควบคุม บังคับบัญชา หรือเป็นผู้นำ เป็นหัวหน้าของกลุ่มหรือกิจกรรมนั้นๆ
กูด (Good, 1973, p. 313) ได้ให้ความหมายของผู้นำไว้ว่า ผู้นำคือ ผู้ที่ได้รับการยกย่อง หรือได้รับการยกย่องรับว่าเป็นผู้มีความสามารถในการนำหมู่คณะไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายในการทำงาน
เนื่องจากมีผู้นิยามคำว่า ผู้นำ ไว้หลายทางและมีความขัดแย้งกันบ้าง จึงมีผู้นิยามการเป็นผู้นำในรูปของพฤติกรรม เนื่องจากผู้นำต้องแสดงพฤติกรรมที่แตกต่างกันในสถานการณ์ที่ไม่เหมือนกัน มอร์รีสและซีแมน (Morris and Seemen อ้างถึงใน Barnard, 970 , p. 87) ได้แยกนิยามการเป็นผู้นำออกเป็น 4 กลุ่มดังนี้



1. สถานะ (Status) กลุ่มนี้ถือว่าเป็นการผู้นำเหมือนกับความสำคัญของตำแหน่งของผู้นั้น ผู้นำจึงมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย



2. การยกย่องนับถือ (Esteem) กลุ่มนี้ถือว่าเป็นที่รวมของความสนใจ เป็นตัวแทนของกลุ่ม จึงมีความเชื่อมั่นในตนเองสูง มีความรู้ความสามารถและมีอิสระในการปฏิบัติงานการยกย่องนับถือนี้จะช่วยเป็นเครื่องชี้ถึงความโน้มเอียงในการเลือกผู้นำทางสังคมด้วย



3. พฤติกรรม (Behavior) ตามแนวคิดของกลุ่มนี้ ผู้นำคือบุคคลที่แสดงพฤติกรรมของการนำกลุ่มในรูปแบบต่างๆ เนื่องจากบุคคลที่มีตำแหน่งต่างกัน มีปรัชญาและค่านิยามที่แตกต่างกันย่อมมีพฤติกรรมของการนำไม่เหมือนกัน



4. อิทธิพล (Influence) การเป็นผู้นำคือการมีอิทธิพลเหนือคนอื่น และชักนำให้คนอื่นปฏิบัติตามเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ในทางที่ดี







อ้างอิง : หนังสือภาวะผู้นำและการทำงานเป็นทีม



ผู้เรียบเรียง : รองศาสตราจารย์ยงยุทธ เกษสาคร



พิมพ์ครั้งที่ 11 : ฉบับปรังปรุงตามหลักสูตรสภามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร



จำนวนพิมพ์ : 1,037 เล่ม



ปีที่พิมพ์ : 2554

ไม่มีความคิดเห็น: