หน้าเว็บ

นายวิทวัชร ยัสพันธุ์ รหัส 5210125401074 การจัดการทั่วไป ปี 4




การบริหารการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาอย่างยั่งยืน



การบริหารการเปลี่ยนแปลง เป็นการดำเนินงานหรือกิจกรรมที่ใช้กระตุ้น และสนับสนุนองค์การ ให้สามารถผ่านช่วงแห่งการปรับเปลี่ยนอย่างต่อเนื่อง เพื่อเข้าสู่สภาพแวดล้อมใหม่ในการทำงาน ได้อย่างเป็นผลสำเร็จ กุญแจสำคัญดอกแรกของการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล คือการทำให้บุคลากรในองค์กร (ทรัพยากรมนุษย์) เชื่อ และตระหนักในคุณค่า หรือเล็งเห็นถึงประโยชน์ของการเปลี่ยนแปลง ดังคำกล่าวของเกว็น เวนทริส ที่ว่า First, you must get your people to believe in the value of change. ก่อนอื่นใด ท่านต้องทำให้คนของท่านเชื่อ และตระหนักถึงคุณค่าแห่งการเปลี่ยนแปลงนั้นเสียก่อน



C = Challenge ต้องกล้าทักทาย (มีวิสัยทัศน์)



H = Head ต้องกล้าคิดใหม่ (คิดนอกกรอบ)



A = Analysis ต้องศึกษา วิเคราะห์ (มีข้อมูลเพียงพอ)



N = Network สร้างเครือข่าย (ต้องแสวงหาเพื่อน)



G = Good Governance ต้องมีธรรมรัฐ (จริงใจ)



E = Effective ต้องคำนึงถึงประสิทธิผล (คิดถึงผลลัพธ์)



ปัจจัยที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง มี 2 ประเภท ได้แก่



1. ปัจจัยภายนอก ได้แก่ สังคม เศรษฐกิจ การเมือง และ เทคโนโลยี



2. ปัจจัยภายใน แบ่งย่อยได้อีก 2 ประเภท ได้แก่



2.1 ระบบย่อยอย่างเป็นทางการ ได้แก่ การบริหาร การจัดการผลิต เป้าหมายขององค์กร โครงสร้างองค์กร



2.2 ระบบย่อยอย่างไม่เป็นทางการ ได้แก่ วัฒนธรรมองค์กร การเมืองในองค์การ ภาวะผู้นำของผู้นำองค์กร



อ้างอิง พันศักดิ์ ผู้มีสัตย์. (2553). การบริหารจัดการยุคใหม่. กรุงเทพฯ : บริษัท ก.พล (1996) จำกัด

ไม่มีความคิดเห็น: