หน้าเว็บ

นายไกรฤกษ์ ไชยมงคล รหัส 5210125401005 เอกการจัดการทั่วไป ปี 4 ภาคปกติ





Situational Leadership Style ผู้นำตามสถานการณ์



จากความเชื่อในอดีตเกี่ยวกับผู้นำมี 2 Style



Style ที่ 1 พวกอัตตาธิปไตย ได้แก่ ผู้นำแบบเผด็จการ ปกครองลูกน้องโดยทำให้พนักงานหรือลูกน้องขลาดกลัว ไม่ค่อยฟังคนรอบข้างเลย ยึดความคิดของตัวเองเป็นใหญ่เพียงฝ่ายเดียว ในระยะยาวพนักงานหรือลูกน้องจะไม่นับถือ ไม่กล้าแสดงความคิดเห็น หรือลาออกไปเลย



Style ที่ 2 คือ พวกประชาธิปไตย ได้แก่ ผู้นำแบบใจดี เน้นให้พนักงานหรือลูกน้องมีส่วนร่วม ยกย่อง ชมเชยพนักงานหรือลูกน้อง มอบหมายงานเกือบทุกอย่าง และโดยทั่วไปเมื่อมอบหมายงานให้ทำแล้วก็จะปล่อยไปเลยไม่เข้าไปยุ่มย่ามอีก การบริหารแบบนี้เกือบจะตรงข้ามแบบอัตตาธิปไตยโดยสิ้นเชิง เพราะทำให้ลูกน้องขาดทิศทาง และหงุดหงิด



การบริหารคน (Managing People) ไม่เหมือนกับการบริหารสิ่งของ หรือโครงการ เพราะคนมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกัน ทั้งด้านสติปัญญา จุดแข็ง จุดอ่อน และที่สำคัญคือ ความรู้สึก ดังนั้น การที่ผู้บริหารหรือผู้นำในองค์กรในระดับต่าง ๆ จะประสบความสำเร็จได้ ผู้นำ (Leadership) จะต้องใช้ความสามารถในการดึงศักยภาพของลูกน้องออกมาเพื่อประสิทธิภาพในการทำงาน ซึ่งต้องอาศัยการสร้างแรงจูงใจ ใช้กลยุทธ์ และเทคนิคการนำทีมงาน ที่เหมาะสมสอดคล้องกับลูกน้องแต่ละคน



ปัจจุบันนี้โมเดลที่ถูกนำมาใช้ในการบริหาร และเป็นที่ยอมรับมากที่สุด คือ แนวคิดผู้นำตามสถานการณ์:Situation Leadership Style (Ken Blanchard) เพราะในปัจจุบันนี้โลกของการทำงานและการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว ผู้นำที่มีภาวะผู้นำที่ดีจะต้องสามารถปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ ทั้งสถานการณ์ขององค์กร ทีมงาน และความพร้อมของพนักงานแต่ละคน ดังนั้นผู้นำหรือหัวหน้างานที่ดีนั้นไม่ควรมี Style (สไตล์) เดี่ยว เพราะการบริหาร Style อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือบางสถานการณ์ การที่ผู้นำต้องตัดสินใจโดยไม่ต้องฟังใครเลยอาจเป็นสิ่งที่จำเป็น ขณะเดียวกันในบางสถานการณ์ผู้นำอาจยอมเสียเวลา เพื่อถามและฟังความคิดเห็นของลูกน้อง



ดังนั้นในการบริหารไม่ว่าจะเป็นแบบใดย่อมมีข้อดีและข้อเสีย ผู้นำที่ดีจึงควรมีความ-สามารถในการปรับตัวยืดหยุ่นการนำของตนเองตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อให้ได้ผลลัพท์ที่ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ สำหรับแนวคิดผู้นำตามสถานการณ์ : Situation Leadership Style มีดังนี้











Style 1 : แบบ S1 Directing (สั่ง/บงการ)



ผู้นำแบบนี้จะชอบสั่งเสียเป็นส่วนใหญ่ แต่ไม่ค่อยให้การช่วยเหลือ สนับสนุน ชอบให้ลูกน้องทำตามคำสั่งอย่างรวดเร็ว และอย่ามีปัญหากับคำสั่ง ภาวะผู้นำแบบนี้เหมาะกับงานที่มีระยะเวลาดำเนินงานสั้น ๆ หรือกันลูกน้องที่เพิ่งเคยทำงานแบบนี้เป็นครั้งแรก หรือลูกน้องที่เพิ่มเริ่มต้นชีวิตการทำงาน นอกจากนี้ก็อาจใช้กับงานที่มีลักษะง่าย ๆ ได้ด้วย



Style 2 : แบบ S2 Coaching (สอน)



ผู้นำแบบนี้จะสั่งงานและคอยให้ความช่วยเหลือสนับสนุน เช่น เขาจะบอกว่า “นี่คืองานที่คุณต้องทำ และผมอยากให้ทำแบบนี้ ๆ ถ้าคุณมีปัญหาหรือต้องการความช่วยเหลือ มาหาผมได้ทันที”

Style 3 : แบบ S3 Supporting (สนับสนุน)



ผู้นำแบบนี้จะให้การสนับสนุนมาก แต่ไม่ค่อยสั่งการหรือชี้นำ เป็นวิธีที่เหมาะกับสถานการณ์ที่มีลูกน้องระดับอาวุโสทำงานร่วมกัน ซึ่งผู้นำจะต้องแสดงออกถึงความไว้วางใจในตัวลูกน้อง แต่นอกจากคอยให้ความช่วยเหลือแล้ว ผู้นำกับลูกน้องยังสามารถทำงานแก้ปัญหาร่วมกันได้



Style 4 : แบบ S4 Delegating (มอบหมายงาน)



ผู้นำแบบนี้จะไม่ค่อยสั่งและค่อยช่วยเหลือ ด้วยเหตุที่ว่าลูกน้องมีความสามารถอยู่ในระดับสูง และผู้นำก็ให้ความไว้วางใจในตัวลูกน้องคนนั้นอย่างมาก การมอบหมายงาน ไม่ได้หมายความว่า มอบหมายงานให้ลูกน้องแล้วก็ถอนตัวออกไปเลย แต่ต้องคอย-สนับสนุน มีส่วนร่วม และคอยอำนวยความสะดวก ช่วยให้ลูกน้องประสบความสำเร็จ ติดตามความก้าวหน้าตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุด รวมทั้งเข้าไปมีส่วนร่วมตามความจำเป็นเพื่อคุมทิศทางและให้อยู่ในร่องในรอย ร่วมต่อสู้เพื่อให้สำเร็จ ขณะเดียวกัน ก็มองไปข้างหน้าคาดการณ์ล่วงหน้าในสิ่งที่อาจจะผิดพลาดหลงทาง เตรียมแผนฉุกเฉินปรับเปลี่ยนได้ทันทีในกรณีที่จำเป็นจริง ๆ เท่านั้น



อ้างอิง



ผู้นำตามสถานการณ์.(ออนไลน์). แหล่งที่มา http://www.deonetraining.com/view_leader_talk.php?id=18&PHPSESSID=a2ad3d6ad781b438c86f3b4c19ae63da. ๑๗ สิงหาคม ๒๕๕๕

ไม่มีความคิดเห็น: