หน้าเว็บ

นัตพล ใบเรือ



บทที่7 การพัฒนาองค์การไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้และการพัฒนาอย่างยั่งยืน

องค์กรแห่งการเรียนรู้(LearningOrganization LO)คืออะไร?

Peter Senge ( 1990 ) แห่ง Massachusetts Institute of Technology กล่าวว่า องค์กรแห่งการเรียนรู้ คือ สถานที่ซึ่งทุกคนสามารถขยายศักยภาพของตนเองได้อย่างต่อเนื่องสามารถสร้างผลงานตามที่ตั้งเป้าหมายไว้เป็นที่ซึ่งเกิดรูปแบบการคิดใหม่ๆหลากหลายมากมายที่ซึ่งแต่ละคนมีอิสระที่จะสร้างแรงบันดาลใจและเป็นที่ซึ่งทุกคนต่างเรียนรู้วิธีการเรียนรู้ร่วมกัน

ลักษณะขององค์กรแห่งการเรียนรู้ ประกอบด้วย

1.มุมมองในเชิงองค์กร(Organizational Perspective)ได้แก่
1.1มีมุมมองที่เป็นระบบโดยภาพรวมมองเห็นและเข้าใจถึงกระบวนการ และความสัมพันธ์
ของระบบต่างๆทั่วทั้งองค์กร
1.2มีวิสัยทัศน์ เป้าหมายและค่านิยมร่วมกันทั้งองค์กร
1.3เป็นการมองว่าองค์กรสามารถเรียนรู้และเติบโตได้
2.มุมมองในเชิงกระบวนการ(Process Perspective)ได้แก่
2.1การเล็งเห็นโอกาสในความไม่แน่นอนเพื่อสร้างความเจริญก้าวหน้า
2.2ความสามารถปรับตัวและสอดรับกับกระแสการเปลี่ยนแปลงได้ดี
2.3การสร้างวัฒนธรรมของการใช้การเสริมแรงและการเปิดเผยข้อมูลในองค์กร
2.4การกระจายอำนาจการตัดสินใจด้วยการเพิ่มอำนาจการปฏิบัติงานแก่
พนักงานในองค์กร
2.5การสร้างเครือข่ายทั้งภายในและภายนอกองค์กร (คน งาน เทคโนโลยี
และชุมชน)
2.6การให้รางวัลสำหรับความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และจัดตั้งโครงงาน
เพื่อรองรับความคิดดังกล่าว
2.7การสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจให้เกิดทั่วทั้งองค์กร
2.8การมุ่งสู่การปรับปรุงแก้ไขอย่างต่อเนื่อง
2.9การใช้ระบบการสำรวจและประเมินทักษะสมรรถนะของการเรียนรู้
2.10การมีระบบต่างๆเพื่อการเรียนรู้และใช้ประโยชน์ร่วมกันในองค์กร
3.มุมมองที่เกี่ยวกับคน(Human Perspective)ได้แก่
3.1สนับสนุนให้พนักงานในระดับล่างได้มีโอกาสและสามารถอธิบาย
ความคืบหน้าและอุปสรรคในการทำงานได้
3.2การสนับสนุนให้ผู้บริหารทำหน้าที่เป็นผู้ชี้แนะ พี่เลี้ยง ที่ปรึกษา
และเป็นผู้เกื้อหนุนการเรียนรู้แก่สมาชิกขององค์กร
3.3การมีผู้ที่เป็นแม่แบบเกี่ยวกับการกล้าเสี่ยง กล้าทดลองปฏิบัติในสิ่งที่คิดดีแล้ว
3.4การให้การสนับสนุนและส่งเสริมการจัดตั้งทีมปฎิบัติงานทุกรูปแบบ
3.5การใช้คณะทำงานที่มีผู้ปฏิบัติมาจากหลายๆ ส่วนงาน

ปัจจัยที่จะสนับสนุนการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้
1.ความเข้าใจในสภาพแวดล้อมที่องค์กรได้ทำหน้าที่อยู่
2.มีความคุ้นเคยในการมองเห็นความแตกต่างด้านการปฏิบัติงาน
3.การให้ความสำคัญกับเรื่องการวัดและประเมินผล
4.การให้มีการริเริ่มและฝึกทดลองอย่างต่อเนื่อง
5.มีบรรยากาศที่เปิดเผยและโปร่งใส
6.มีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องในทุกระดับขององค์กร
7.มีทางเลือกที่หลากหลายในการปฎิบัติงาน
8.การมีผู้สนับสนุนการเรียนรู้ในทุกระดับ
9.ความสามารถในการมองเห็นและเข้าใจในทิศทาง/วิสัยทัศน์
ของผู้นำองค์กรในทุกระดับ
10.การพิจารณาสิ่งต่างๆ อย่างเป็นระบบ

แหล่งที่มา

http://www.songthai.com/cgi-bin/viewarti.pl?00000016

ไม่มีความคิดเห็น: