หน้าเว็บ

นางสาวนฤมล คำแหงพล





เทคนิคการบริหารทรัพยากรมนุษย์และการจัดการที่เหมาะสมกับวัฒนธรรมไทย ดังนี้



การจัดการด้านทรัพยากรมนุษย์ เป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งในการพัฒนาสถาบัน หรือองค์การ คือ การจัดทำระบบที่ดี ที่มีการขับเคลื่อนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเริ่มจากการที่ต้องให้ได้คนดี คนเก่ง มาจัดทำระบบให้มีประสิทธิภาพในการขับเคลื่อนในสถาบัน หรือองค์การเสียก่อน ดังนั้น การจัดการในเรื่องทรัพยากรมนุษย์จึงมีความสำคัญ ในการวางตำแหน่งการบริหารงานต่างๆ (Put the right man to the right job) เป็นประการแรก เพื่อให้มีการขับเคลื่อนอย่างมีประสิทธิภาพ



นั่นคือ การบริหารงานทรัพยากรมนุษย์ (Human resource management at work) เป็นสิ่งสำคัญยิ่งและมีความจำเป็นที่ต้องกระทำ เพื่อให้ทรัพยากรมนุษย์ที่มีอยู่ในสถาบัน หรือองค์การสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล ตลอดจนเพื่อความอยู่รอดและความเจริญก้าวหน้าของสถาบัน หรือองค์การ การพิจารณามองหาบุคคล ต้องมองว่าเป็นเรื่องของการลงทุน มองคนให้เป็น Asset เป็นการลงทุนที่ทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด การจ้างคนจึงต้องคำนึงถึงการบริหารความเสี่ยงด้วย โดยแนวคิดการบริหารปริมาณคน (Human Capital Idea)ต้องมองคนเป็น Asset ไม่ใช่ liability จึงจะเป็นการลงทุนทำให้เพิ่มมูลค่าได้



ในความเป็นจริงแต่ละสถาบัน หรือองค์การ ก็จะมีวัฒนธรรมการทำงานที่แตกต่างกัน ระบบและรูปแบบจึงเป็นตัวแสดงศักยภาพของการบริหารจัดการของแต่ละสถาบัน หรือองค์การว่ามีประสิทธิภาพเพียงใด ดังนั้นผู้ที่มีประสบการณ์ในการทำงานมาหลายสถาบัน หรือองค์การ ก็ย่อมเห็นสัจจะธรรมของระบบการทำงานในแต่ละแห่ง ที่สามารถพิจารณาดังนี้



- ถ้าได้หัวหน้างานที่เก่งและดี ต้องรีบเรียนรู้ เก็บทักษะ ตักตวงความรู้ให้ได้มากที่สุด



- ถ้าได้หัวหน้างานที่ไม่เก่ง แต่ดี ก็ยังพอทน แต่ต้องเรียนรู้ด้วยตัวเอง เหนื่อยหน่อย



- ถ้าได้หัวหน้างานที่เก่ง แต่ไม่ดี ต้องทนกับความเจ็บปวด แต่ผลที่ได้จากการเรียนรู้ จะคุ้มค่า และเร็ว



- ถ้าได้หัวหน้างานที่ไม่เก่งและไม่ดี ให้ลาออกจากงานได้เลย ไปแสวงหางานใหม่ที่ดีกว่า แล้วชีวิตจะดีขึ้น







ปัจจุบันนี้ การทำงานในสถาบันหรือองค์การ จึงมีผู้บริหารอยู่หลายช่วงอายุคน (Generation) ซึ่งคนแต่ละรุ่น (Generation) ก็จะมีแนวคิดและมุมมองที่แตกต่างกันไป ดังนั้น สถาบัน หรือองค์การใดที่มีผู้บริหาร หรือบุคคลากรหลาย Generations อยู่ด้วยกัน ย่อมทำให้เกิดปัญหาในสถาบัน เนื่องจากมีแนวคิด มุมมองและความต้องการที่แตกต่างกัน ข้อดีของการมีความคิดเห็นที่หลากหลายและแตกต่างในการตัดสินใจนั้นมีหลายประการด้วยกัน ทั้งทำให้เกิดมุมมองที่หลากหลายไม่ใช่การมองเรื่องๆ หนึ่งจากมุมมองเพียงด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น อีกทั้ง



หลักการสมัยใหม่ที่เน้นนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ก็กระตุ้นให้มีความหลากหลายในข้อมูลและมุมมองก่อนการตัดสินใจ



อย่างไรก็ดี ความยากสำหรับผู้บริหารในการตัดสินใจท่ามกลางความคิดเห็นที่หลากหลายก็มีอยู่มากเริ่มตั้งแต่การที่ผู้บริหารจะเปิดใจและยอมรับในความคิดเห็นของผู้อื่นที่แตกต่างจากตนเอง เนื่องจากผู้บริหารหลายท่านที่ประสบความสำเร็จและมีความมั่นใจในตนเองสูงก็จะมีความยึดมั่นและถือมั่นต่อความคิดของตนเองพอสมควร



ดังนั้น การที่สมาชิกในทีมจะมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันได้นั้นจะต้องเริ่มจากการที่ผู้บริหารจะต้องเปิดใจและยอมรับต่อความแตกต่างนั้นเสียก่อน นอกจากนี้ผู้บริหารยังจะต้องมีทักษะและความสามารถในการบริหารและนำการประชุมที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริหารจัดการความขัดแย้งจากที่ประชุมที่มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันและถ้าสมาชิกต่างยึดมั่นและถือมั่นต่อความเห็นของตนเอง ก็จะนำไปสู่ความขัดแย้งได้ นั่นคือองค์ควรสร้างวัฒนธรรมการทำงานที่ดีให้เกิดขึ้นภายในองค์กรให้ได้ เพื่อให้สมาชิกภายในองค์สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด รวมทั้งยังเป็นการสร้างความมั่นคง และยังเป็นสร้างความสัมพันธ์ที่ดีให้เกิดขึ้นภายในองค์กร







อ้างอิง



กนกพันธรน์ โลกุตรวงศ์. (2555, เมษายน). แนวคิดการจัดการทรัพยากรมนุษย์ในสถาบันและองค์การ.



กระจก 8 ด้าน 360° . TPA news,



















การจัดการทั่วไป รุ่น 19

ไม่มีความคิดเห็น: