หน้าเว็บ

น.ส.สุนิสา ปิ่นชูทอง รหัส 5130125401212 การจัดการทั่วไป กศ.พบ. รุ่น 19




บทที่ 8 เทคนิคการบริหารทรัพยากรมนุษย์และการจัดการที่เหมาะสมกับวัฒนธรรมไทย







เทคนิคในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่เหมาะสมกับวัฒนธรรมไทยนั้น น่าจะเน้นไปที่การฝึกอบรม(Training) เนื่องจากสามารถทำการเชื่อมโยงให้สอดคลองกับกลยุทธ์ขององค์การ ทำให้ผู้ฝึกอบรมได้เรียนรู้ เพิ่มความสามารถและทักษะที่จำเป็นในงานปัจจุบันและเตรียมความพร้อมสำหรับการทำงานในอนาคต การฝึกอบรมจึงเป็นกิจกรรมที่สามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมรวมทั้งทัศนคติของพนักงานและสามารถปฏิบัติงานได้ดีขึ้นอันจะนำไปสู่การเพิ่มผลผลิตและก่อให้เกิดผลสำเร็จต่อเป้าหมายและวัตถุประสงค์ขององค์การ



เทคนิคการฝึกอบรมที่นิยมใช้มากที่สุดในปัจจุบัน ประกอบด้วยการฝึกอบรมแบบขณะปฏิบัติงานและการฝึกอบรมแบบไม่ลงมือปฏิบัติงาน



1. การฝึกอบรมแบบขณะปฏิบัติงาน ประกอบด้วย



1) การหมุนเวียนงาน (Job Rotation) คือการสับเปลี่ยนงาน เพื่อจะได้เรียนรู้งานทุกด้านในองค์การและรู้ปัญหาในการทำงานของทุกฝ่าย ทำให้พนักงานสามารถเพิ่มความรู้ ทักษะ ประสบการณ์และทัศนคติในงานด้านต่าง ๆ มากขึ้น



2) การสอนงาน(Coaching) คือกระบวนการเพื่อเสริมสร้างและพัฒนาลูกน้องให้มีความรู้ ทักษะและคุณลักษณะเฉพาะตัวในการทำงานนั้น ๆ ให้ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนด



3) การเป็นพี่เลี้ยง (Mentoring) เป็นแนวทางในการให้คำแนะนำในการสร้างปฏิสัมพันธ์ในการปฏิบัติงานโดยรุ่นพี่หรือผู้ที่อยู่ในตำแหน่งที่สูงกว่า เพื่อถ่ายทอดความรู้เพื่อยกระดับความสามารถและทำให้พนักงานมีความก้าวหน้าในงาน



4) การฝึกอบรมแบบสอนงาน(Job Instruction) คือ การชี้แนะและสอนงานไปในขณะที่ผู้อบรมทำงานไปด้วย



5) การฝึกอบรมด้วยการฝึกงาน(Apprenticeship Training) เป็นการผสมผสานการสอนในห้องเรียนกับการฝึกอบรมโดยลงมือปฏิบัติงาน โดยอาจเป็นการให้คำแนะนำทั้งในขณะปฏิบัติงานและนอกเหนือการปฏิบัติงาน



























2. การฝึกอบรมแบบไม่ลงมือปฏิบัติงาน ประกอบด้วย



1) การบรรยาย(Lecture)หรือการเป็นวิทยากร เป็นการแนะนำเรื่องต่าง ๆ แก่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมตามหัวข้อที่ได้กำหนดไว้



2) การประชุมอภิปราย ( Conference) คือการแลกเปลี่ยนความรู้ตามหัวข้อที่ได้มีการจัดเตรียมไว้ล่วงหน้าแล้ว



3) การศึกษากรณีตัวอย่าง (Case study) เป็นการฝึกอบรมโดยการนำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงหรือสมมติขึ้นทั้งจากการทำงานในองค์การที่ประสบผลสำเร็จและล้มเหลวเพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมทำการวิเคราะห์ในแต่ละด้าน ซึ่งเป็นการให้ผู้อบรมได้ใช้ความคิดของตนเอง



4) การสาธิต (Demonstration) เป็นการแสดงให้ผู้เข้ารับการองรมได้เห็นจริงในเรื่องที่ทำการอบรม



5) การจำลองสถานการณ์ (Simulated) เป็นการสร้างเหตุการณ์จำลองขึ้นเพื่อให้ผู้เข้ารักการฝึกอบรมได้เรียนรู้และฝึกทำการแก้ไขปัญหาในเบื้องต้น



6) การระดมความคิดหรือการระดมสมอง (Brain Storming) เป็นการระดมสมองร่วมกันและแสดงความคิดเห็นในแต่ละเรื่องที่ได้รับมอบหมายและหาข้อสรุปที่ดีที่สุดร่วมกัน



7) การเล่นเกมส์ (Games) เป็นการสร้างบรรยาการศและจัดสภาพแวดล้อมเพื่อไม่ให้รู้สึกเบื่อหน่าย โดยทุกคนจะมีส่วนในการทำงานร่วมกันในรูปของการละเล่นเพื่อหาคำตอบของกลุ่ม และวิทยากรก็จะอธิบายคำตอบว่าเกี่ยวกับกับการทำงานอย่างไร



8) การใช้โปรแกรมการเรียนรู้ (Programmed Learning) เป็นเทคนิคการฝึกอบรมในรูปแบบใหม่ใช้กับผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่มีความรู้และความสามารถในระดับดี



9) การฝึกอบรมแบบออนไลน์ (Online Training) เป็นการพัฒนาพนักงานด้วยวิธีการเรียนรู้แบบทางไกล โดยสามารถเรียนรู้ได้ทั้งที่บ้านและที่ทำงาน ทำให้เกิดความสะดวกและสามารถตอบสนองพนักงานได้ทุกระดับ















ที่มา : อนิวัช แก้วจำนงค์.(2552).การจัดการทรัพยากรมนุษย์.สงขลา: บริษัท นำศิลป์โฆษณา จำกัด.







น.ส.สุนิสา ปิ่นชูทอง รหัส 5130125401212 การจัดการทั่วไป กศ.พบ. รุ่น 19





บทที่ 7 การพัฒนาองค์การไปสู่องค์การแห่งการเรียนรู้และการพัฒนาอย่างยั่งยืน



องค์การแห่งการเรียนรู้ เป็นแนวคิดในการพัฒนาองค์การที่สำคัญเพื่อตอบสนองและรองรับต่อการท้าทายความเปลี่ยนแปลงในองค์การ ซึ่งมีความหมายว่า องค์การที่สามารถดำเนินการเพื่อให้บุคคลในองค์การได้เพิ่มขีดความสามารถของตนเองโดยเชื่อมโยงขีดความสามารถนั้นส่งผ่านไปยังบุคคลอื่นในองค์การได้ ก่อให้เกิดผลลัพธ์คือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลและการดำเนินงานขององค์การทำให้องค์การบรรลุในสิ่งที่ต้องการและสามารถดำรงอยู่ได้ และมีวิธีต้องดำเนินการในวินัย 5 ประการ คือ


การเป็นผู้ที่มีใจจดจ่อในการเรียนรู้ (Personal Mastery) เพื่อช่วยกระตุ้นบุคคลให้เกิดการเรียนรู้ เพิ่มทักษะ ความรู้ความสามารถของตนเองรวมถึงการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องจนสามารถพัฒนาไปสู่การเป็นผู้ที่มีความสามารถเป็นเลิศ
การเป็นผู้ที่รู้จักพัฒนากรอบความคิดในใจ (Mental Model) เป็นการสร้างภาพความเชื่องหรือสมมติฐานที่เป็นภาพภายในใจของบุคคล องค์การจึงต้องสร้างความคิดและความเชื่อที่ถูกต้องให้เป็นภาพสวยงามในจิตใจของพนักงานในองค์การ
การมีวิสัยทัศน์ร่วม(Shared Vision) คือ การมีจุดหมายร่วมกันหรือแนวทางที่จะนำไปสู่การบรรลุจัดหมายร่วมกัน
การเรียนรู้ของทีม (Team Learning) เป็นการทำงานร่วมกันเพื่อนำไปสูผลสำเร็จขององค์การ องค์การสมัยใหม่โดยทั่วไปจะกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ของทีมโดยต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องและอาจไม่มีวันสิ้นสุด
การคิดได้อย่างเป็นระบบ (System Thinking) สามารถเชื่อมโยงสิ่งต่าง ๆ เข้าด้วยกันโดยเข้าใจว่าเหตุที่เกิดเป็นผลมาจากสิ่งใด การมองภาพกว้าง ๆ อย่างมีเหตุผลและมีการคิดแบบองค์รวม นั่นคือการบูรณาการวิธีการทั้ง 4 ประการข้างต้นด้วยกันย่อมทำให้เกิดความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ ได้ดีกว่า















ที่มา : อนิวัช แก้วจำนงค์.(2552).การจัดการทรัพยากรมนุษย์.สงขลา: บริษัท นำศิลป์โฆษณา จำกัด.







น.ส.สุนิสา ปิ่นชูทอง รหัส 5130125401212 การจัดการทั่วไป กศ.พบ. รุ่น 19





บทที่ 6 การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และ วิเคราะห์ถึงผลกระทบต่อการบริหารจัดการ





กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีการเตรียมความพร้อมของภาคเกษตรกรรมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน 2558 (AC) หลังจากที่มีการประชุมเตรียมพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ซึ่งมีการรวมกันของทุกกระทรวงเพื่อเสนอแนวทางและการเตรียมความพร้อมของแต่ละกระทรวง ในรูปแบบการทำเวิร์คช็อปเพื่อบูรณาการ 3 เสาหลักของอาเซียน คือ 1.ด้านประชาคมเศรษฐกิจ 2.ด้านประชาคมการเมืองและความมั่นคง และ 3.ด้านประชาคมสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งในส่วนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เสนอการเตรียมความพร้อมการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนที่อาจเกิดขึ้นกับภาคเกษตร รวม 7 เรื่อง ได้แก่

1.การสร้างมาตรฐานและการตรวจสอบสินค้าเกษตร มีการปรับมาตรฐานด้านความปลอดภัยและคุณภาพสำหรับผลิตภัณฑ์พืช ปศุสัตว์ และประมงที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจในอาเซียนให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล เพื่อป้องกันสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน รวมทั้งพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับเสริมความมั่นคงและความปลอดภัยด้านอาหารในภูมิภาค

2.การผลิตทางการเกษตร มีการผลิตสินค้าเกษตรมีมูลค่าสูง เช่น สินค้าเกษตรอินทรีย์ และการสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้า เช่น ผลิตภัณฑ์ข้าว และผลไม้แปรรูป ฯลฯ ดำเนินการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุนการผลิต รวมทั้งศึกษาข้อตกลงของ AC ที่มีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์และกลุ่มเกษตร

3.การวิจัยและพัฒนา มีการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับประเทศสมาชิก ในการช่วยเพิ่มโอกาสในการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ จากการวิจัยและพัฒนาร่วมกันในภูมิภาคอาเซียน

4.การจัดการศัตรูพืชและโรคระบาด เพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการการป้องกันการระบาดโรคพืชและโรคสัตว์แบบกำหนดมาตรการเฝ้าระวังการ แพร่ระบาดของโรคและแมลง และการกักกันพืชและสัตว์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ การจัดทำเขตปลอดโรคระบาดสัตว์ รวมทั้งเพิ่มการผลิตวัคซีนในการป้องกันโรคสัตว์ เพิ่มความเข้มงวดในการเคลื่อนย้ายสินค้า รวมถึงเพิ่มศักยภาพของด่านกักกัน ได้รับการยอมรับในระดับสากลมากขึ้น

5.แรงงานเกษตร มีการปรับตัวในการใช้เทคโนโลยีและเครื่องจักรกลทางการเกษตรเพื่อทดแทนแรงงาน และให้แรงงานเกษตร ถูกกฎหมายในระบบมากขึ้น

6.การลงทุนภาคเกษตร สนับสนุนการลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน ปรับปรุงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนให้รัดกุมและทันสมัย ขยายฐานการผลิตไปยังประเทศเพื่อนบ้านทำให้ได้ปัจจัยการผลิต เช่น แหล่งวัตถุดิบใหม่ที่ราคาถูก และแรงงานราคาถูก ทั้งนี้ อาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของเกษตรกรรายย่อยลดลงเนื่องจากมีการแข่งขันจากนักลงทุนในภูมิภาค

7.การจัดการดินและน้ำ ดำเนินการส่งเสริมความร่วมมือในการพัฒนาบริหารจัดการทรัพยากรดินและน้ำอย่างบูรณาการและเป็นระบบในภูมิภาคอาเซียน สร้างฐานข้อมูลดินและน้ำของกลุ่มประเทศอาเซียนเพื่อประโยชน์ในการพัฒนา






ที่มา : http://www.moac.go.th/ewt_news.php?nid=9602&filename=NFC











ไม่มีความคิดเห็น: