หน้าเว็บ

นางสาว อัสรา พัฒนพูสกุล รหันักศึกษา 5230135401​271



ลักษณะภาวะผู้นำ

นักวิชาการหลายท่านจึงสรุปได้ว่า ผู้นำ (Leader) คือบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งหรือการเลือกตั้งหรือการยกย่องจากกลุ่มให้ทำหน้าที่ของตำแหน่งผู้นำ เช่น ในเรื่องของการชี้แนะ การสั่งการ และการให้ความช่วยเหลือเพื่อให้กลุ่มสามารถปฏิบัติงานได้สำเร็จตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ ในแต่ละหน่วยงานหรือองค์กรนั้นต่างเขียนชื่อผู้นำแตกต่างกันไปตามลักษณะงานและองค์การที่อยู่ เช่น ผู้บริหาร ผู้จัดการ ประธานกรรมการ ผู้อำนวยการ อธิการบดี ผู้บัญชาการเหล่าทัพ นายอำเภอ กำนัน เจ้าคณะจังหวัด เจ้าอาวาส ปลัดกระทรวง และคณบดี เป็นต้น เมื่อมีการกล่าวถึงผู้นำแล้วย่อมลีมไม่ได้ที่จะกล่าวถึง ภาวะผู้นำ (Leadership) หรือความเป็นผู้นำ คือความสามารถในการนำ (The American Heritage Dictionary, 1985: 719) จึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งสำหรับความสำเร็จของผู้นำภาวะผู้นำ เพื่อให้รู้ว่าอะไรเป็นองค์ประกอบที่จะช่วยให้ผู้นำมีความสามารถในการนำ หรือมีภาวะผู้นำที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้มีความเข้าใจตรงกันในความหมายของภาวะผู้นำ และจากการให้ความหมายของนักวิชาการหลายท่านจึงสรุปได้ว่า ภาวะผู้นำ (Leadership) คือ กระบวนการที่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือมากกว่า พยายามใช้อิทธิพลของตนหรือกลุ่มตน กระตุ้น ชี้นำ ผลักดัน ให้บุคคลอื่น หรือกลุ่มบุคคลอื่นมีความเต็มใจ และกระตือรือร้นในการทำสิ่งต่างๆ ตามต้องการ โดยมีความสำเร็จของกลุ่มหรือองค์การเป็นเป้าหมาย

มิทเซล และลาร์สัน จูเนียร์ (Michell and Larson , Jr.. 1987:435-436) ได้ชี้ให้เห็นองค์ประกอบที่สำคัญ3 ประการ ในการพิจารณาว่าผู้นำใดมีภาวะผู้นำหรือไม่ คือ

1. ผู้นำเป็นกระบวนการ

ภาวะผู้ เป็นกระบวนการของการใช้อิทธิพล ที่ผู้นำพยายามจะมีอิทธิพลเหนือผู้ตาม เพื่อให้มีพฤติกรรมการปฏิบัติงานตามต้องการโดยมีจุดมุ่งหมายขององค์การเป็นเป้าหมาย ไม่ใช่เรื่องของบุคคลที่จะพีงมีภาวะผู้นำได้โดยที่ไม่ได้มีการกระทำใดๆ เป็นกระบวนการ (Process) ให้เกิดอิทธิพลต่อผู้อื่น ดังนั้น ผู้นำที่มาจาการแต่งตั้ง เช่น ผู้อำนวยการ ผู้บัญชาการ อาจจะมีภาวะหรือไม่มีก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่ว่ามีลักษณะทั้ง 3 ประการหรือเปล่า ในทางตรงกันข้ามผู้ที่แสดงภาวะผู้นำอาจจะไม่เป็นผู้นำที่แบบทางการ แต่มีองค์ประกอบ 3 ประการนั้น

2. มีระดับความถูกต้องของการใช้อิทธิพล

ภาวะผู้นำ นอกจากเป็นการกระบวนการแล้ว ภาวะผู้นำจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้ตามยอมให้ผู้นำใช้อิทธิพลต่อตัวเขา ซึ่งโดยทั่วไปก็ต้องพิจารณาถึงระดับความถูกต้องของอิทธิพลที่ใช้ด้วยว่า ไม่ใช่เป็นการใช้อำนาจเข้าขู่เข็ญ หรือบีบบังคับให้ทำตาม เพราะถ้าเป็นการเช่นนั้นก็ไม่ถือว่าผู้นำมีภาวะผู้นำได้

3. มีความสำเร็จของจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้

ภาวะผู้นำ จะถูกอ้างถึงเมื่อจุดหมายของกลุ่ม หรือองค์การประสบความสำเร็จ ดังนั้น ถ้าหากผู้นำไม่สามารถนำกลุ่มไปสู่ความสำเร็จดังกล่าวได้ ก็ย่อมหมายถึงว่าผู้นำไม่ได้แสดงภาวะผู้นำหรือไม่มีความสามารถในการนำนั้นเอง ประสิทธิภาพของภาวะผู้นำ

การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

ผู้นำในองค์การสามารถใช้อำนาจหน้าที่ของตน และความสามารถในการจูงใจคน ชักจูงให้สมาชิกในองค์การนั้นมีความอยากที่จะทำงานอย่างเต็มความสามารถ การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของภาวะผู้นำ ได้มีนักวิชาการให้เกณฑ์ (Criteria) ที่ใช้ในการประเมินประสิทธิภาพผู้นำ แยกออกได้ 3 ลักษณะด้วยกันคือ

1. ผลที่เกิดขึ้นของกลุ่ม (Outcome) คือผลที่เกิดขึ้นของกลุ่ม เนื่องจากความสามารถ ในการนำหรือภายใต้การนำของผู้นำ เช่น ผลสำเร็จของการปฏิบัติของกลุ่ม การสามารถ บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ การอยู่รอดของกลุ่มความก้าวหน้าของกลุ่ม ความพร้อมของกลุ่ม ความสามารถในการแก้ปัญหาของกลุ่ม ความพึงพอใจของสมาชิกของกลุ่มที่มีผู้นำและฐานะที่ได้รับการยอมรับไม่เปลี่ยนแปลงของผู้นำ สำหรับผลสำเร็จของการปฏิบัติงานในองค์การธุรกิจ อาจจะเห็นได้ชัดจากผลกำไรที่เพิ่มขึ้น ยอดขายที่เพิ่มขึ้น ครองส่วนแบ่งของตลาดมากขึ้น เงินหมุนเวียนลงทุนมากขึ้น รวมทั้ง การยอมรับในผู้นำจากผู้บังคับบัญชา เพื่อน และผู้ตามมากขึ้น ส่วนองค์การของรัฐมักจะเน้นไปที่ ปริมาณและคุณภาพของผลผลิตและการบริการขององค์การ

2. ทัศนคติของผู้ตาม (Attitude of Followers) ทัศนคติของผู้ตามหรือผู้ใต้บังคับบัญชาที่มีต่อผู้นำ นิยมใช้เป็นเกณฑ์ ตัดสินประสิทธิภาพของผู้นำอีกเกณฑ์หนึ่ง โดยการใช้แบบสอบถามหรือการสัมภาษณ์ผู้ตาม

3. คุณภาดของกระบวนการกลุ่ม (Quakity of Group process) คุณภาพของกระบวนการกลุ่มก็เป็นเกณฑ์ที่ใช้ประเมินประสิทธิภาพของผู้นำ โดยประเมินจากความสนับสนุนด้านต่างๆ และความตั้งใจที่จะทำให้คุณภาพของกระวนการกลุ่มของลูกน้อง มีคุณภาพดีขึ้นในด้านความสามัคคี ความร่วมมือ แรงจูงใจ การแก้ปัญหา การตัดสินใจ การแก้ไข ความขัดแย้ง ประสิทธิภาพ ของงานเฉพาะด้าน กิจกรรมขององค์การ การมีทรัพยากรอย่างพอเพียง และความพร้อมของกลุ่มที่จะรับมือต่อการเปลี่ยนแปลง และเหตุการณ์วิกฤตต่างๆ รวมทั้งการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของการทำงานการสร้างความมั่นใจให้สมาชิก การเพิ่มพูนทักษะในการทำงาน และพัฒนาสุขภาพจิตของสมาชิกให้ดีขึ้น





ประสิทธิภาพของภาวะผู้นำ

การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ผู้นำในองค์การสามารถใช้อำนาจหน้าที่ของตน และความสามารถในการจูงใจคน ชักจูงให้สมาชิกในองค์การนั้นมีความอยากที่จะทำงานอย่างเต็มความสามารถ การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของภาวะผู้นำ ได้มีนักวิชาการให้เกณฑ์ (Criteria) ที่ใช้ในการประเมิณประสิทธิภาพผู้นำ แยกออกได้ 3 ลักษณะ

1. ผลที่เกิดขึ้นของกลุ่ม (Outcome) คือผลที่เกิดขึ้นของกลุ่ม เนื่องจากความสามารถ ในการนำหรือภายใต้การนำของผู้นำ เช่น ผลสำเร็จของการปฏิบัติของกลุ่ม การสามารถ บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ การอยู่รอดของกลุ่มความก้าวหน้าของกลุ่ม ความพร้อมของกลุ่ม ความสามารถในการแก้ปัญหาของกลุ่ม ความพึงพอใจของสมาชิกของกลุ่มที่มีผู้นำและฐานะที่ได้รับการยอมรับไม่เปลี่ยนแปลงของผู้นำ สำหรับผลสำเร็จของการปฏิบัติงานในองค์การธุรกิจ อาจจะเห็นได้ชัดจากผลกำไรที่เพิ่มขึ้น ยอดขายที่เพิ่มขึ้น ครองส่วนแบ่งของตลาดมากขึ้น เงินหมุนเวียนลงทุนมากขึ้น รวมทั้ง การยอมรับในผู้นำจากผู้บังคับบัญชา เพื่อน และผู้ตามมากขึ้น ส่วนองค์การของรัฐมักจะเน้นไปที่ ปริมาณและคุณภาพของผลผลิตและการบริการขององค์การ

2. ทัศนคติของผู้ตาม (Attitude of Followers) ทัศนคติของผู้ตามหรือผู้ใต้บังคับบัญชาที่มีต่อผู้นำ นิยมใช้เป็นเกณฑ์ ตัดสินประสิทธิภาพของผู้นำอีกเกณฑ์หนึ่ง โดยการใช้แบบสอบถามหรือการสัมภาษณ์ผู้ตาม

3. คุณภาดของกระบวนการกลุ่ม (Quakity of Group process) คุณภาพของกระบวนการกลุ่มก็เป็นเกณฑ์ที่ใช้ประเมินประสิทธิภาพของผู้นำ โดยประเมินจากความสนับสนุนด้านต่างๆ และความตั้งใจที่จะทำให้คุณภาพของกระวนการกลุ่มของลูกน้อง มีคุณภาพดีขึ้นในด้านความสามัคคี ความร่วมมือ แรงจูงใจ การแก้ปัญหา การตัดสินใจ การแก้ไข ความขัดแย้ง ประสิทธิภาพ ของงานเฉพาะด้าน กิจกรรมขององค์การ การมีทรัพยากรอย่างพอเพียง และความพร้อมของกลุ่มที่จะรับมือต่อการเปลี่ยนแปลง และเหตุการณ์วิกฤตต่างๆ รวมทั้งการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของการทำงานการสร้างความมั่นใจให้สมาชิก การเพิ่มพูนทักษะในการทำงาน และพัฒนาสุขภาพจิตของสมาชิกให้ดีขึ้น

อ้างอิง : สืบค้นจาก http://www.baanjomyut.com/library_2/the_nature_of_leadership/03.html เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2555 ; ธีรศักดิ์ ชนะบางแก้ว นักวิชาการ วิทยาลัยภูมิปัญญา มหาวิทยาลัยทักษิณ

ไม่มีความคิดเห็น: