เรวดี ศรีสุข เลขที่ 231
ทฤษฎีวิถีทาง-เป้าหมาย (Path - Goal Theory)
แนวคิดเบื้องต้นของทฤษฎีวิถีทาง - เป้าหมาย
เป็นทฤษฎีเชิงสถานการณ์ที่พัฒนาโดยเฮาส์และมิทเชลล์ (House & Mitchell, 1974) ซึ่งมีความเชื่อว่า ผู้นำสามารถสร้างแรงจูงใจในการทำงานแก่ผู้ตามได้ โดยเพิ่มจำนวนและชนิดของรางวัลผลตอบแทนที่ได้รับจากการทำงานนั้น ผู้นำยังสามารถสร้างแรงจูงใจด้วยการทำให้วิถีทาง (Path) ที่จะไปสู่เป้าหมายชัดเจนขึ้น และง่ายพอที่ผู้ปฏิบัติจะสามารถทำสำเร็จ ซึ่งผู้นำแสดงพฤติกรรมด้วยการช่วยเหลือแนะนำ สอนงานและนำทางหรือเป็นพี่เลี้ยงคอยดูแล นอกจากนี้ผู้นำยังช่วยสร้างแรงจูงใจได้ด้วยการช่วยแก้ไขอุปสรรคขวางกั้นหนทางไปสู่เป้าหมาย รวมทั้งสามารถช่วยในการทำให้ตัวงานเองมีความน่าสนใจ และทำให้ผู้ตามเกิดความพึงพอใจต่องานที่ทำ กรอบแนวคิดของทฤษฎีวิธีทาง-เป้าหมาย สามารถแสดงได้ดังภาพต่อไปนี้
ผู้นำสามารถเพิ่มแรงจูงใจแก่ผู้ตามได้ด้วยวิธีหนึ่งในสองวิธีต่อไปนี้
1. ทำให้วิถีทางที่ผู้ตามจะได้รับรางวัลตอบแทนให้มีความชัดเจน ได้แก่ เมื่อผู้ตามทำงานสำเร็จตามข้อตกลง จึงให้รางวัล
2. ให้การเพิ่มปริมาณรางวัลที่ผู้ตามยอมรับในคุณค่าและมีความต้องการ เช่น การขึ้นเงินเดือน หรือการเลื่อนตำแหน่ง
องค์ประกอบสำคัญของทฤษฎีวิถีทาง-เป้าหมาย
1. พฤติกรรมผู้นำ (Leader behaviors)
2. คุณลักษณะส่วนบุคคลของผู้ใต้บังคับบัญชา (Subordinate characteristics)
3. คุณลักษณะของงาน (Task characteristics) และ
4. การจูงใจ (Motivation)
บทบาทของผู้นำตามทฤษฎีวิถีทาง - เป้าหมาย
พฤติกรรมของผู้นำตามทฤษฎีวิถีทาง-เป้าหมาย แบ่งออกเป็น 4 ประเภท
1. ภาวะผู้นำแบบสนับสนุน (supportive leadership) คล้ายกับพฤติกรรมมุ่งมิตรสัมพันธ์ ผู้นำจะเป็นมิตรกับผู้ใต้บังคับบัญชา สร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน
2. ภาวะผู้นำแบบสั่งการ .(directive leadership) คล้ายกับพฤติกรรมผู้นำแบบมุ่งกิจสัมพันธ์ เป็นพฤติกรรมของผู้นำที่ปฏิบัติต่อผู้ใต้บังคับบัญชา ด้วยการใช้คำสั่งเกี่ยวกับการทำงาน แจ้งความคาดหวังให้ทราบ บอกวิธีทำงานกำหนดเวลาทำงานสำเร็จให้ทราบ พร้อมกับกฎระเบียบต่าง ๆ ในการทำงานให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชา
3. ภาวะผู้นำแบบมุ่งความสำเร็จ (achievement –oriented leadership) เป็นพฤติกรรมที่ผู้นำกำหนดเป้าหมายที่ท้าทาย สร้างมาตรฐานด้ายความเป็นเลิศสูง แก่ผู้ใต้บังคับบัญชา สร้างความมั่นใจให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทำงานได้มาตรฐานสูงได้สำเร็จ
4. ภาวะผู้นำแบบให้มีส่วนร่วม (participative leadership) เป็นผู้นำที่แสดงพฤติกรรมต่อผู้ใต้บังคับบัญชาด้วยการขอคำปรึกษาก่อนที่จะตัดสินใจ มีการกระตุ้นให้มีส่วนร่วม แสดงความคิดเห็นในการตัดสินใจ
สถานการณ์เอื้ออำนวย (situation Comtingencies) ประกอบด้วยตัวแปร 2 ชนิด
1. คุณลักษณะส่วนบุคคลผู้ใต้บังคับบัญชา เป็นตัวบ่งชี้ว่าผู้ใต้บังคับบัญชามีความเข้าใจต่อความคาดหวังและพฤติกรรมเกี่ยวกับงานมากน้อยเพียงใด ประกอบด้วย
- ความต้องการส่วนบุคคล เป็นแรงจูงใจ เช่นความต้องการด้านวัตถุ ด้านความรัก มีชื่อเสียง ความสำเร็จ
- ความสามารถผู้ใต้บังคับบัญชา เช่น ความรู้ ทักษะ ความถนัด
- คุณลักษณะด้านบุคลิกภาพ เช่นความเชื่ออำนาจภายใน ภายนอก และความเชื่อมั่นในตนเอง
ทฤษฎีวิถีทาง - เป้าหมาย คาดว่า ผู้ใต้บังคับบัญชาทีมีความต้องการได้รับด้านความรักใคร่สูง มีแนวโน้มต้องการภาวะผู้นำแบบสนับสนุน สำหรับผู้ใต้บังคับบัญชาประเภทหัวดื้อหัวรั้น ยึดมั่นในอัตตาของตนแต่ต้องทำงานในสถานการณ์ที่ผันผวนแปรปรวน เสนอแนะใช้ภาวะผู้นำแบบสั่งการ
2. คุณลักษณะของงาน (task characteristics) เป็นตัวแปรที่สองของสถานการณ์ที่ส่งผลการะทบอย่างสำคัญต่อการใช้อิทธิพลของผู้นำในการจูงใจผู้ใต้บังคับบัญชา ประกอบด้วย
- โครงสร้างของภารกิจ (task structure)
- ระบบอำนาจทางการขององค์การ (formal authority system) เช่น กฎระเบียบ และเงื่อนไขจากอำนาจทางการ
- ปทัสถาน (norms) ของกลุ่มทำงานเอง (work group)
คุณลักษณะเหล่านี้สามารถก่อให้เกิดแรงจูงใจต่อผู้ใต้บังคับบัญชาในตัวผู้ใต้บังคับบัญชาเกิดความรู้สึกเหมือนว่าทำงานสำเร็จด้วยตนเอง ภาวะผู้นำไม่มีความจำเป็นต้องคอยเอาใจใส่และควบคุมมากเกินไป
สรุป สถานการณ์ที่แตกต่างกันย่อมต้องการพฤติกรรมแบบผู้นำที่ต่างกัน นอกจากนี้ในบางเหตุการณ์ผู้นำอาจจำเป็นต้องใช้การผสมของแบบภาวะผู้นำต่าง ๆ เข้าด้วยกันอย่างเหมาะสมมากกว่าการเลือกใช้แต่แบบภาวะผู้นำเดิมอยู่ตลอดเวลา
ที่มา : suthep.cru.in.th/chapter8.doc และ www.lamptech.ac.th/webprg/Compute
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น