หน้าเว็บ

ปณิตา การจัดการทั่วไป รุ่น52ภาคปกติ รหัส5210125401064



บทที่ 5 ทฤษฎีผู้นำที่เหมาะสมกับสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน
ทฤษฎีความเป็นผู้นำเชิงสถานการณ์ : ทฤษฎีเส้นทางสู่เป้าหมาย

เป็นทฤษฎีเชิงสถานการณ์ซึ่งยึดถือว่าประสิทธิผลของผู้นำขึ้นกับความสามารถที่จะจูงใจและสร้างความพึงพอใจของพนักงานให้ทำงาน ทั้งหมดมีความสัมพันธ์เกี่ยวของกับ Martin G. Evans, Robert J. House และบุคคลอื่นซึ่งได้ขยายความ และทำให้ส่วนของทฤษฎีเส้นทางสู่เป้าหมายชัดเจนขึ้น โดยมีทฤษฎีความคาดหวังของการาจูงใจ พนักงานได้รับการกระตุ้นให้ทำงานถ้าเขาเชื่อว่าความพยายามจะนำไปสู่ความสำเร็จในงานที่ได้รับมอบหมาย และถ้าเขาเชื่อว่าความสำเร็จในงานจะนำไปสู่รางวัลที่เขาพึงพอใจ
พฤติกรรมผู้นำ(Leader behavior) การขึ้นกับสถานการณ์ผู้นำจะยอมรับพฤติกรรมผู้นำ 4 ประการ คือ
1.ผู้นำแบบบงการ เป็นการบอกพนักงานถึงวิธีการที่ควรทำโดยจัดเตรียมรายละเอียดของงานที่มอบหมายและตารางการทำงาน กำหนดมาตรฐานการทำงานเฉพาะเอาไว้ พฤติกรรมนี้คลายคลึงกับการกำหนดโครงสร้างที่เริ่มจากตัวเองเป็นหลักและการมุ่งที่งาน

2.ผู้นำที่ให้การสนับสนุน เป็นผู้นำที่มุ่งความต้องการที่พนักงานและต้องการให้ความเป็นอยู่ที่ดีกับพนักงาน รวมทั้งการสร้างโอกาสและสิ่งแวดล้อมในการทำงานที่เป็นมิตร คล้ายคลึงกับพฤติกรรมที่คำนึงถึงผู้อื่นและการมุ่งความสัมพันธ์กันมีการฝึกอบรมการเป็นผู้นำ

3.ผู้นำแบบมีส่วนร่วม เป็นผู้นำที่ให้คำแนะนำกับพนักงาน การค้นหาความคิด และการกระตุ้นการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ

4.ผู้นำที่มุ่งที่ความสำเร็จ เป็นการกำหนดวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนและท้าทายสำหรับพนักงาน ผู้นำที่มุ่งที่ความสำเร็จได้มีการปรับปรุงการทำงานกลุ่มอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่สร้างความเชื่อมั่นว่าพนักงานสามารถบรรลุมาตรฐานเหล่านั้น

ตัวแปรเชิงสถานการณ์ สามารถจัดกลุ่มเป็น 2 ประเภท คือ
1.ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย โครงสร้างงาน ระบบอำนาจที่เป็นทางการขององค์การ และกลุ่มงาน ปัจจัยเหล่านี้จะสามารถสร้างความพึงพอใจและรู้สึกพอใจในงาน
2.ลักษณะผู้ใต้บังคับบัญชา หรือผู้ร่วมงาน ซึ่งประกอบด้วย ทักษะและความต้องการของพนักงาน ผู้บริหารโดยทั่วไปจะปรับรูปแบบการเป็นผู้นำตามความสามารถของพนักงาน

อ้างอิง : ศิริวรรณ เสรีรัตน์ . (2550). การจัดการและพฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ : ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.

ไม่มีความคิดเห็น: