หน้าเว็บ

นางสาว วณิดา สามทอง สาขา การจัดการทั่วไป ปี 4 รหัส 5210125401065



ทฤษฎีเสริมแรง (Reinforcement theory)

เป็นทฤษฎีที่อยู่ในกลุ่มทฤษฎีจูใจแบบกระบวนการ (Process motivation) ประยุกต์ใช้หลักการทางทฤษฎีการเรียนรูและหลักการวางเงื่อนไขในกระบวนการจูงใจและการปฏิบัติงานของบุคคลมาใช้ ซึ่งพัฒนาขึ้นโดยสกินเนอร์ (Skinner, 1953) โดยพื้นฐานแล้วทฤษฎีเสริมแรงมีความเห็นว่าสภาพแวดล้อมภายนอกตัวบุคคลโดยส่วนรวมเป็นสิ่งกำหนดพฤติกรรมที่บุคคลแสดงออกไม่ใช่ความต้องการภายใน รวมทั้งพฤติกรรมที่แสดงออกหากได้รับรางวัลหรือผลตอบแทนที่น่ายินดีสำหรับผู้แสดงก็มีแนวโน้มจะเป็นพฤติกรรมที่ได้รับการปฏิบัติซ้ำแล้วซ้ำอีกในอนาคต (Arnold และ Feldman, 1986:68) จึงสรุปได้ว่าการเสริมแรงทางบวก (Positive reinforcement) อันได้แก่ สิ่งเร้า (Stimulus) จะเสริมสร้างแนวโน้มให้เกิดการตอบสนองที่ต้องการในเชิงบวก (Positive consequences) และมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นอีกเรื่อยๆ ส่วนการตอบสนองที่จะนำไปสู่ผลในเชิงลบ (Negative consequences) จะมีแนวโน้มที่จะหยุดไป ดังนั้นในการจูงใจผู้ปฏิบัติงานนั้น ผู้บริหารจะต้องเลือกสิ่งเสริมแรง (Reinforcers) ที่มีพลังไปในทางที่ส่งเสริมและรักษาไว้ซึ่งพฤติกรรมที่ต้องการ เช่น โดยการให้เงินเดือนและพิจารณาความดีความชอบอย่างเป็นธรรม หรือการมอบหมายงานที่น่าสนใจ เป็นต้น (มนัส, 2537ก: 34) ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด เมื่อพนักงานปฏิบัติงานได้ดี ผู้บังคับบัญชาชมเชย (Congratulate) พนักงานผู้นั้น ปรากฏว่าพนักงานผู้นั้นปฏิบัติงานอย่างมีปะสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นกว่าที่เคยปฏิบัติในอดีต คำชมเชยของผู้บังคับบัญชาก็คือตัวเสริมแรง(Reinforcer)ในการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง (Arnold และ Feldman, 1986:68)

ในทฤษฎีเสริมแรงจะมีประเภทของรางวัล (Reward) และการลงโทษ (Punishment) ที่แตกต่างกันตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น โดยสถานการณ์ที่เกิดขึ้นแตกต่างกันส่งผลให้บุคคลเข้าหาเมื่อผลตอบสนองออกมาในเชิงบวกและถอยหนีในผลตอบสนองเชิงลบ ซึ่งสามารถจำแนกสถานการณ์ออกได้เป็น 4 ประเภทด้วยกัน คือ

1.การแสริมแรงทางบวก(Positive reinforcement) พฤติกรรมการแสดงออกของบุคคลในองค์การจะเกิดซ้ำอีกได้ ถ้ามีการสร้างเหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่เป็นการเสริมแรงทางบวกแล้วบุคคลผู้นั้นมีความยินดีเหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่นาชื่นชมยินดีเหล่านี้ เช่น คำสรรเสริมยกย่อง ค่าตอบแทนที่จ่ายให้ไม่แน่นอนช่วงเวลาที่ไม่ได้ทำงาน (วันหยุด) ฯลฯ จะเป็นตัวเสริมแรงทางบวก (Positive reinforcer) ที่ทำให้พฤติกรรมมีโอกาสเกิดขึ้นบ่อยซ้ำแล้วซ้ำอีกได้ในอนาคต (Arnold และ Feldman, 1986:69)

2.การเสริมแรงทางลบ (Negative reinforcement) เกิดขึ้นเมื่อสถานการณ์ที่ไม่น่ายินดีกระทำให้บุคคลแสดงพฤติกรรมถอยหนีหรือออกห่างอันเป็นการสนองตอบต่อสถานการณ์นั้น สถานการณ์หรือเหตุการณที่ไม่น่ายินดีเหล่านี้ เรียกว่า ตัวเสริมแรงทางลบ (Negative reinforcer) ที่เสริมสร้างให้เกิดพฤติกรรมถอยหนีหรือออกห่างจากเหตุการณ์เกิดขึ้นซ้ำได้ในอนาคต ตัวอย่างของสถานการณ์เหล่านี้เช่น การจ้ำจี้จ้ำไชรบกวน (Harass) และก่อความรำคาญ (Badger) โดยการบ่นให้กับผู้ใต้บังคับบัญชาฟังอยู่ตลอดเวลาเพื่อที่ผู้ใต้บังคับบัญชาจะได้ปฏิบัติงานอย่างถูกต้องไม่ผิดพลาด ซึ่งถ้าหากผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติงานได้ถูกต้องไม่ผิดพลาดในอนาคตเมื่อใด การถอยหนีจากสถานการณ์ไม่พึงประสงค์หรือไม่น่ายินดี (การรบกวนและก่อความรำคาญ) จะหยุดลงทันที ซึ่งการจ้ำจี้จ้ำไชรบกวนก่อความรำคาญโดยการพูดบ่นอยู่ตลอดเวลาเป็นตัวเสริมแรงทางลบ (Negative reinforcer) นั่นเอง

3.การลงโทษ (Punishment) พฤติกรรมการแสดงออกของบุคคลในองค์การจะลดลง ถ้ามีการลงโทษเกิดขึ้นแล้วทำให้บุคคลผู้นั้นไม่ปรารถนาและมีโอกาสที่จะลดลงเรื่อยๆ หรือเกิดขึ้นได้น้อยมากในอนาคต ตัวอย่างเช่น การรบกวนผู้ใต้บังคับบัญชาด้วยการตำหนิติเตียนอย่างรุนแรง (Berate) ของผู้บังคับบัญชาในแต่ละครั้งที่ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติงานผิดพลาด โดยผู้บังบัญชาหวังว่าการรบกวนดังกล่าวจะเป็นการลงโทษสำหรับการปฏิบัติงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ และคาดหวังว่าผลลัพธ์เหตุการณ์การปฏิบัติงานที่ไม่มีประสิทธิภาพจะไมเกิดขึ้นอีกต่อไปในอนาคต (Arnold และ Feldman, 1986: 69)

4.การสูญสิ้น (Extinction) พฤติกรรมการแสดงของบุคคลในองค์การจะลดลง ถ้ามีการยุติการแสดงว่าเห็นคุณค่าหรือการยอมรับ (Recognition) หรือการสนับสนุน (Support) จากผู้บังคับบัญชาเกิดขึ้น ตัวอย่างเช่น การแสดงออกซึ่งการยอมรับและการสนับสนุนผู้ใต้บังคับบัญชาถือเป็นเหตุการณ์ปกติที่ผู้บังคับบัญชาเองก็หยุดปฏิบัติงานด้วยเช่นกัน พฤติกรรมของผู้ใต้บังคับบัญชาที่หยุดปฏิบัติงานเรียกว่า “การยุติพฤติกรรมอย่างเด็ดขาด” (Arnold และ Feldman, 1986: 69) โดยการเสริมแรงประเภท “สูญสิ้น” จากผู้บังคับบัญชา

ชื่อหนังสือ: หลักการจัดการ หลักการบริหาร
ชื่อผู้แต่ง: ตุลา มหาพสุธานนท์
สำนักพิมพ์: บริษัท สำนักพิมพ์ พ.ศ. พัฒนา จำกัด

พ.ศ. ที่พิมพ์ : 2545

4 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

This article will help you find the best tablet PC.
A whole host of image enhancing features is provided as standard which allows users to manipulate and edit images and videos,
including autofocus, touch-focus, face & smile detection as well
as geo-tagging which functions based on GPS. 1 is also known
as Tab 750 and expected to be priced at Rs.

Here is my web blog: galaxy tab

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

To give life, a button on the side shows the charge level.
They have shallow feedback and require moderate force to activate which can be really much more comfortable.

The RAM of the computer is 6GB of DDR3 memory which makes it possible for you to
store a lot of content such as music, videos and games.


Also visit my web site - macbook pro

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

The pack of Black - Berry Play - Book Tablet 64Gb is included with a screen wipe,
a pouch case with foam based material, charger, USB cable, and instruction
guide. It has all the extra features that the i - Pad has too, just fewer apps because it's fairly new compared to the i - Pad. Apple products include the Iphones, Ipads and Ipods all at competitive prices.

My page - blackberry playbook review

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

The Chromebook obviously still requires these updates but
they are managed in a very different way. 5 hour battery life you
aren't going to find anything that lasts longer on one charge and is still able to offer a full range of applications and net connectivity. " Should you not mind an inferior screen however , you will not taking the laptop with you - we may advise something from the 14-inch range.

Here is my site - samsung chromebook reviews