หน้าเว็บ

นส.รำไพพรรณ เชียงหนุ้น 215 การจัดการทั่วไป

PATH-GOAL THEORY ทฤษฎีหนทาง-เป้าหมาย ของ ROBERT HOUSE (1971)

เสนอว่า ผู้นำที่จะนำได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือผู้นำที่เข้าไปมีพฤติกรรมในการสนับสนุนสภาพแวดล้อมและขีดความสามารถของผู้อยู่ภายใต้บังคับบัญชาของเขา เพื่อชดเชยจุดอ่อนที่มีอยู่ และใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างผลการทำงานของหน่วยและความพอใจของผู้ใต้บังคับบัญชาด้วยการสร้างหนทางที่ชัดเจนและง่ายไปสู่เป้าหมาย
ทฤษฎีนี้เสนอว่า ผู้นำจะเลือกใช้พฤติกรรมหรือท่วงทำนองการนำแบบใดแบบหนึ่งใน 5 แบบ คือ

1) ACHIEVEMENT-ORIENTED มุ่งผลสำเร็จ ตั้งเป้าหมายที่ท้าทาย ทั้งสำหรับงานและการพัฒนาตนเอง, แสดงให้เห็นมาตรฐานและการคาดหมายที่สูง ผู้นำเชื่อมั่นในความสามารถว่าผู้ตามจะทำได้สำเร็จ สไตล์นี้เหมาะกับสถานะการณ์ที่งานมีความซับซ้อน
2) DIRECTIVE เน้นการชี้แนะ ผู้นำบอกผู้ตามว่าต้องทำอะไร และให้คำชี้แนะที่เหมาะสมตลอดทาง รวมทั้งกำหนดเวลาของงานแต่ละช่วง สไตล์นี้เหมาะกับสถานะการณ์ที่ผู้ตามยังมีประสบการณ์น้อย งานยังไม่มีการจัดโครงสร้างที่ดี จำเป็นต้องทำให้ผู้ตามรู้สึกมั่นคง และอยู่ภายใต้การควบคุมดูแล
3) PARTICIPATIVE เน้นการมีส่วนร่วม ผู้นำปรึกษากับผู้ตามและนำความคิดของพวกเขามาเป็นส่วนหนึ่งในการตัดสินใจ เหมาะกับสถานะการณ์ที่ผู้ตามมีประสบการณ์ ความชำนาญ ให้คำแนะนำได้ และองค์กรต้องการคำแนะนำจากพวกเขา
4) SUPPORTIVE เน้นการสนับสนุน ผู้นำสร้างบรรยากาศการทำงานที่เป็นมิตร สนใจความต้องการและสวัสดิการของผู้ตาม ช่วยทำให้ผู้ตามเพิ่มการนับถือตนเองและทำให้งานสนุกขึ้น สไตล์นี้เหมาะกับสถานการณ์ที่งานเป็นเรื่องเครียด น่าเบื่อ หรือเสี่ยงอันตราย
5) DELEGATING เน้นการมอบหมายงาน ผู้นำสไตล์นี้ยังคงเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ แต่จะมอบหมายส่งผ่านกระบวนการทำงานและความรับผิดชอบให้กับปัจเจกชนและกลุ่ม โดยผู้นำเป็นคนติดตามตรวจสอบความก้าวหน้าของงาน

ทฤษฎีนี้ไม่ได้มองว่าสไตล์การนำแบบไหนใน 5 แบบข้างต้นดีที่สุด ที่ผู้นำทุกคนจะเลือกนำไปใช้ได้ทุกเวลา และไม่ได้มองว่าผู้นำแต่ละคนจะมีพฤติกรรมแบบหนึ่งแบบใดโดยเฉพาะตลอดไป แต่ผู้นำอาจเลือกใช้ทั้ง 5 แบบนี้ได้อย่างยืดหยุ่น โดยขึ้นอยู่กับสถานะการณ์แต่ละสถานะการณ์ ผู้นำที่มีประสิทธิภาพ คือคนที่มีความคล่องตัวยืดหยุ่น รู้จักปรับตัวเองให้เข้ากับสถานการณ์ที่มีลักษณะแตกต่างกันไป




ไม่มีความคิดเห็น: