หน้าเว็บ

นางสาวอารยา อินทะสอน 5210125401039 การจัดการทั่วไป ปี4





ทฤษฎีความคาดหวัง

Victor H. Vroom และคณะ ได้ให้ความสนใจศึกษากระบวนการที่ทำให้บุคคลทำการตัดสินใจแสดงพฤติกรรมเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการ โดยที่ Vroom อธิบายว่า พฤติกรรมของบุคคลจะเป็นผลมาจากการตัดสินใจเลือกที่จะกระทำในสิ่งที่เขาเชื่อว่าจะได้ผลตอบแทนสูงที่สุดและเป็นผลตอบแทนที่เขาต้องการ ซึ่งจะสามารถแสดงได้จากสมการต่อไปนี้

การจูงใจ(M) = ความคาดหวัง (E) × เครื่องมือ (I) × ผลบวกของปัจจัยเชิงปฏิบัติการ(V)

โดยการจูงใจ(M) จะเกิดจากความคาดหวัง (E) หรือโอกาสที่การกระทำจะบรรลุด้วยความสำเร็จกับวิธีการหรือเครื่องมือ (I) ที่จะทำให้บรรลุความต้องการ กับคุณค่าของรางวัล (V) หรือผลลัพธ์ที่บุคคลจะได้รับจากการกระทำนั้น ซึ่งจะมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันและให้ผลเชิงบวก โดยบุคคลจะมีการจูงใจเมื่อปัจจัยทั้งสามมีแนวโน้มที่จะส่งผลตามที่เขาต้องการ โดยทฤษฎีความคาดหวังจะอธิบายกระบวนการตัดสินใจของบุคคลว่าจะขึ้นอยู่กับการประเมินปัจจัย 3 ประการ ได้แก่

1. ความน่าสนใจหรือคุณค่าของผลงาน (Attractiveness) เป็นคุณค่าและความพอใจในผลลัพธ์ที่บุคคลจะได้รับเมื่อเขาทำงานเสร็จ ซึ่งจะมีความแตกต่างกันในแต่ละคน

2. ความคาดหวังจากผลลัพธ์ของการทำงาน (Performance-outcome Expectancy) เป็นความเชื่อมั่นในความสำเร็จของผลงานว่าจะมีโอกาสหรือความเป็นไปได้มากหรือน้อยอย่างไร

3. ความคาดหวังจากแรงพยายามและการทำงาน (Effort-performance Expectancy) เป็นความพยายามที่บุคคลได้ส่งลงไปในงาน เพื่อที่จะให้ได้ผลงานออกมาตามต้องการ

ถึงแม้ทฤษฎีความต้องการจะมีความสมเหตุผลทางตรรกะ (Logic) แต่ก็มิได้หมายความว่าทฤษฎีนี้จะมีความเป็นสากลที่สามารถนำไปประยุกต์ได้กับทุกสถานการณ์ เนื่องจากปัจจัยต่างๆ ล้วนมีความเป็นนามธรรม (Subjective) ซึ่งผู้ใช้ต้องแน่ใจว่าผู้ได้รับการกระตุ้นจะมีความคาดหวังในเป้าหมายและความสามารถของตน ตลอดจนให้ความสำคัญกับรางวัลที่เขาจะได้รับ จึงถือว่าเป็นงานที่ต้องใช้ความละเอียดอ่อนและประสบการณ์ของผู้ใช้ในการประเมินสภาพแวดล้อมและความต้องการส่วนบุคคลของพนักงานที่เขาต้องการจะจูงใจให้ทำงาน

อ้างอิงจากหนังสือ การจัดการ โดย ผศ.ดร.ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์ และฉัตยาพร เสมอใจ พ.ศ.2547                  

ไม่มีความคิดเห็น: