หน้าเว็บ

นางสาว วิไลพร ส่งเสริม เอก การจัดการทั่วไป รหัส 5210125401043



ทฤษฏีการจูงใจของพอร์เทอร์(porter)และลอว์เลอร์(Lawler) ในปีค.ศ.1968 พอร์เทอร์และลอว์เลอร์ได้เขียนหนังสอสนับสนุนทฤษฏีความคาดหวังซึ่งได้แก้ไขและขยายขอบเขตของทฤษฏีตัวแบบของวรูมในด้านความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจกับการปฏิบัติงานตัวแบบของพอร์เทอร์และลอว์เลอร์ มีฐานคติที่ว่า การจูงใจ (ความพยายามหรือพลัง) มิใช่ความงามพึงพอใจในงาน และการจูงใจเองก็มิใช่การปฏิบัติงาน ตรงกันข้ามการจูงใจ ความพึงพอใจ และการปฏิบัติงานนั้นต่างก็เป็นอิสระต่อกัน แต่ก็สัมพันธ์กันในบางลักษณะ ความพยายามหรือการจูงใจนั้นจะขึ้นอยู่กับความสามารถ ลักษณะส่วนตัว และการรับรู้ของบุคคลด้วยซึ่งผสมผสานออกมาเป็นการปฏิบัติงาน จากนั้นรางวัลที่ได้ไม่ว่าจะเป็นรางวัลภายในหรือรางวัลภายนอกและการรับรู้ในคุณค่าของรางวัลจะเป็นตัวช่วยกำหนดความพึงพอใจ

แนวคิดของพอร์เทอร์และลอว์เลอร์ มีความเห็นว่าการปฏิบัติงานย่อมก่อให้เกิดรางวัลหรือผลตอบแทนและรางวัลหรือผลตอบแทนจะก่อให้เกิดความพึงพอใจของพนักงาน ซึ่งตามแนวความคิดนี้มีส่วนประกอบดังนี้

1. คุณค่าของรางวัล บุคคลที่หวังจะได้รับรางวัลหรือผลตอบแทนต่างๆเช่น มิตรภาพจากเพื่อนร่วมงาน การเลื่อนขั้น

2. การรับรู้ความพยายามอาจนำมาซึ่งรางวัลหรือผลตอบแทนเป็นการคาดหวังของบุคคลว่าปริมาณของผลตอบแทน(ที่กำหนดให้)ขึ้นอยู่กับปริมาณของความพยายาม

3. ความพยายามของลูกจ้างเป็นปริมาณของพลังที่บุคคลใช้ในสถานการณ์หนึ่ง ปริมาณของความพยายามขึ้นอยู่กับการกระทำระหว่างกัน

4. คุณลักษณะและความสามารถ ความพยามยามได้นำไปสู้การปฏิบัติงานโดยตรงคุณลักษณะและความสามารถเป็นลักษณะของแต่ละคน เช่น ความสามารถทางสติปัญญา

5. การรับรู้บทบาท เป็นกิจกรรมที่บุคคลเชื่อว่าเราสามารถปฏิบัติ ถ้าเขา ฃต้องการความสำเร็จและได้ผลตอบแทนตามต้องการ

6. การปฏิบัติงาน การรวมเข้าด้วยกันของคุณค่าผลตอบแทนและการรับรู้ความพยายามอาจนำมาซึ่งรางวัลหรือผลตอบแทน ก่อให้เกิดความคาดหวังเกี่ยวกับการปฏิบัติงาน การปฏิบัติงานไม่เพียงขึ้นอยู่กับปริมาณของความพยายามที่แต่ละคนใช้แต่ขึ้นอยู่กบความสามารถและวิธีการที่พวกเขาได้รับบทบาทที่เขาควรจะทำด้วย

7. รางวัลหรือผลตอบแทน ได้แบ่งออกเป็นรางวัลภายนอกและรางวัลภายใน รางวัลภายนอกที่องค์การเป็นผู้ให้คือเงินเดือน สภาพความมั่นคง รางวัลภายในคือ ความรู้สึกที่เกิดขึ้นภายในใจได้แก่ ความสำเร็จ การย้อมรับตนเอง

8. การรับรู้รางวัลหรือผลตอบแทนที่เป็นธรรม ปริมาณของรางวัลหรือผลตอบแทนที่บุคคลรู้สึกว่าเราควรจะได้รับในฐานะเป็นผลมาจากการปฏิบัติงานที่เขาได้ทำลงไป

9. ความพึงพอใจ ในผลตอบแทนมีความสำคัญต่อประสิทธิภาพในการทำงาน ซึ่งเป็นภาวะภายในของพนักงานแต่ละคน



ชื่อหนังสือ หลักการจัดการ หลักการบริหาร

ชื่อผู้แต่ง ตุลา มหาพสุธานนท์

สำนักพิมพ์ บริษัท สำนักพิมพ์ พ.ศ. พัฒนา จำกัด


ไม่มีความคิดเห็น: