หน้าเว็บ

นางสาว นัฐภรณ์ อยู่ดี รหัส 5210125401068 การจัดการทั่วไป ปี 4



บทที่ 5

ทฤษฎีผู้นำเชิงสถานการณ์ : ตัวแบบผู้นำแบบมีส่วนร่วม (Leader-participation model) ในต้นทศวรรษที่ 1970 วิกเตอร์ รรูม (Victor Vroom) และ ฟิลลิป เยลตัน (Philip Yetton) ได้พัฒนาสร้างตัวแบบมีส่วนร่วม โดยตัวแบบนี้จะเกี่ยวข้องโดยตรงระหว่างพฤติกรรมของผู้นำและการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจโครงสร้างของงานต้องการกิจกรรมที่ทำเป็นประจำ และไม่เป็นประจำ นักวิจัยได้ทำการโต้แย้งว่าพฤติกรรมผู้นำต้องมีการปรับปรุง เพื่อเป็นสิ่งสะท้อนกลับถึงโครงสร้าง ตัวแบบของ Vroom และ Yetton เป็นตัวแบบที่ใช้เป็นบรรทัดฐานโดยมีการจัดกลุ่มของกฎเกณฑ์ที่จะนำมาใช้ในการตัดสินใจภายใต้สถานการณ์ 7 สถานการณ์ และพิจารณารูปแบบของภาวะผู้นำไว้ 5 ทางเลือก

เมื่อเร็วๆนี้ Vroom และ Arthur Jago โครงสร้างตัวแบบขึ้นมาประกอบซึ่งยังคงประกอบด้วยรูปแบบผู้นำไว้ 5 ทางเลือก จากการคำถามตัดสินใจแก้ปัญหาโดยอาศัยตัวแปร 12 ตัวแปร ที่มีการปรับปรุงใหม่ดังนี้

1. ความสำคัญในการตัดสินใจ

2. ความสำคัญด้านการมอบหมายการตัดสินใจไปยังผู้ใต้บังคับบัญชา

3. ผู้นำมีระบบข้อมูลข่าวสารที่เพียงพอในการตัดสินใจที่ดี

4. การมีโครงสร้างที่ดีในการแก้ปัญหา

5. การตัดสินใจด้วยตนเองจะเกิดการยอมรับจากผู้ใต้บังคับบัญชาหรือไม่

6. ผู้ใต้บังคับบัญชามีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมายหรือไม่

7. ความขัดแย้งระหว่างผู้ใต้บังคับบัญชาที่มีผลต่อทางเลือกในการแก้ปัญหาหรือไม่

8. ผู้ใต้บังคับบัญชามีข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นสำหรับการตัดสินใจหรือไม่

9. เงื่อนไขข้อจำกัดทางด้านเวลาของผู้นำมีส่วนกระทบต่อข้อจำกัดการมีส่วนร่วมของผู้ใต้บังคับบัญชา

10. ต้นทุนที่ใช้ในการบังคับบัญชาที่กระจายอยู่ในแต่ละพื้นที่ที่จะมาร่วมแสดงความคิดเห็นมีปัญหาหรือไม่

11. การใช้เวลาเพียงเล็กน้อยมีส่วนสำคัญต่อการตัดสินใจของผู้นำหรือไม่

12. การใช้เครื่องมือเพื่อพัฒนาให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ

Vroom และ Jago ได้พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ซึ่งช่วยในการสร้างตัวแบบดังกล่าวที่ซับซ้อนผู้บริหารสามารถใช้ทางเลือกการตัดสินใจเพื่อเลือกรูปแบบของผู้นำได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์

อ้างอิง : วังสรรค์ ประเสริฐศรี. พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ.บริษัท เพียร์สัน เอ็คดูเคชั่น อิโด ไชน่า จำกัด.2548

ไม่มีความคิดเห็น: