ภาวะผู้นำตามสถานการณ์ตามแนวคิดของเฟรดเลอร์ (Fiedler's Contingency Theory)
(สัปดาห์ที่ 6 ทฤษฎีผู้นำที่เหมาะสมกับสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมใน)
เฟรด อี เฟรดเลอร์ (Fied E.Fiedler) ได้นำเสนอแนวคิดภาวะผู้นำที่ดีขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและสอดคล้องระหว่างสไตล์ผู้นำกับความจำเป็นตามสถานการณ์ Fiedler ได้นำพื้นฐานของแนวคิดความยืดหยุ่นของผู้นำ (Leader Flexibity) มาใช้โดยการสร้างเครื่องมือที่เรียกว่า "Peast Preferred Co-worker: PLC" สำหรับใช้ในการประเมินตนเอง โดยสามารถใช้เครื่องมือเป็นแบบสอบถามจำนวน 16 ข้อในการสอบถามบุคคลที่ต้องการทำงานด้วย โดยข้อคำถามมีลักษณะเน้นไปทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ การคิดค้นและการนำเสนอแนวคิดของ Fiedler พบว่าผู้นำที่จะประสบความสำเร็จได้ต้องรูปจักปรับเปลี่ยนรูปแบบภาวะผู้นำซึ่งเป็นบุคลิกภาพของแต่ละบุคคลให้เหมาะสมตามสถานการณ์ภายในองค์การ ทั้งนี้ ต้องทำการปรับเปลี่ยนรูปแบบภาวะผู้นำไปตามสถานการณ์ไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงสถานการณ์
Fiedler ได้จำแนกผู้นำออกเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่
1.ผู้นำแบบมุ่งงาน (Task-oriented Leader) เน้นการสั่งงาน กำหนดเส้นตายในการทำงาน มอบหมายงาน กำหนดโครงสร้างการทำงาน เป็นต้น
2.ผู้นำแบบมุ่งความสัมพันธ์ (Relationship-oriented Leader) ที่ไม่ได้เน้นการสั่งงานแต่มุ่งเรื่องคนและปฏิกิริยาทางสังคม แม้ว่าแนวคิดของ Fiedler จะคล้ายคลึงกับทฤษฎีพฤติกรรมแต่ในความแตกต่าง Fiedler เห็นว่า "เป็นการยากที่จะเปลี่ยนรูปแบบภาวะผู้นำโดยเฉพาะ" ส่วนทฤษฎีพฤติกรรมเห็นว่า "ผู้นำมีแบบพฤติกรรมให้เลือก"
อ้างอิงจาก อนิวัช แก้วจำนงค์. (2552). หลักการจัดการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. สงขลา: นำศิลป์โฆษณา. (หน้า 209).
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น