หน้าเว็บ

ตราสัญลักษณ์ประจำชาติอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ

รูปนี้เป็นรูปตราสัญลักษณ์ประจำชาติอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ บนตึก 150704 คะ ตราสัญลักษณ์นี้จะบ่งบอกความเป็นตัวตนหรือเอกลักษณ์ของประเทศนั่นๆ

น.ส.วรรณภา ปั้นนาค รหัส 5210125401038 เอกการจัดการทั่วไป ปี ภาคปกติ








1. ตราแผ่นดินของไทย คือตราพระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์ เทพพาหนะของพระนารายณ์ ใช้เป็นสัญลักษณ์ของพระราชอำนาจแห่งพระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุขของชาติและเป็นองค์อวตารของพระนารายณ์ตามแนวคิดสมมุติเทพ โดยเริ่มใช้มาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ดั้งแต่หลัง พ.ศ. 2436 เป็นต้นมา แต่มาใช้อย่างเต็มที่แทนตราแผ่นดินเดิมทั้งหมดเมื่อ พ.ศ. 2453




2. ตราแผ่นดินของบรูไน ใช้เครื่องหมายอย่างเดียวกับที่ปรากฏในธงชาติบรูไน เริ่มใช้เมื่อพ.ศ. 2475 ประกอบด้วยสัญลักษณ์ 5 อย่าง คือ ราชธวัช (ธง) พระกลด (ร่ม) ปีกนก 4 ขน มือสองข้าง และซีกวงเดือนหรือพระจันทร์เสี้ยว ภายในวงเดือนซึ่งหงายขึ้นนั้น มีข้อความภาษาอาหรับจารึกไว้ ซึ่งแปลความได้ว่า "น้อมรับใช้ตามแนวทางของพระอัลเลาะห์เสมอ" ("Always in service with God's guidance") เบื้องล่างสุดมีแพรแถบจารึกชื่อประเทศไว้ว่า บรูไนดารุสซาลาม (มาเลย์: بروناي دار السلام) แปลว่า นครแห่งสันติ






3. ตราประจำชาติสิงคโปร์ เริ่มใช้ครั้งแรกเมื่อปี 2502 เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2502 พร้อมกันกับธงชาติ แล ะเพลงชาติสิงคโปร์ ณ ห้องสาบานตนประธานาธิบดีแห่งสิงค์โปร์ ที่ศาลาว่าการของเมืองสิงคโปร์ซิตี้ ลักษณะของตราแผ่นดิน เป็นรูปสิงโตและเสือถือโล่สีแดงซึ่งมีรูปดาวห้าแฉกสีขาว 5 ดวง และพระจันทร์เสี้ยวสีขาวซึ่งเป็นสัญลักษณ์ สำคัญที่ใช้บนธงชาติของสิงคโปร์ เสือเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงความผูกพันทางประวัติศาสตร์กับประเทศมาเลเชีย และสิงโตเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงสิงคโปร์ ด้านล่างของตราแผ่นดินเป็นริบบิ้นสีน้ำเงินจารึกคำขวัญประจำชาติด้วยตัวหนังสือที่ทองว่า ข้างใต้มีคำขวัญ "Majulah singapura:" ซึ่งมีความหมายว่า "สิงคโปร์จงเจริญ"







4. ตราแผ่นดินลาว แบบปัจจุบันเป็นตราของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวที่เริ่มใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2534 หลังจากการใช้นโยบายจินตนาการใหม่ มีลักษณะตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หมวดที่ 10 มาตราที่ 90 ไว้ว่า:-
"เครื่องหมายชาติของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเป็นรูปวงกลม ด้านล่างมีรูปครึ่งกงจักรเป็นฟันเฟืองและโบว์อักษร "สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว" สองข้างล้อมด้วยรวงข้าวสุกเป็นรูปวงพระจันทร์และโบว์สีแดงเขียนอักษร "สันติภาพ เอกราช ประชาธิปไตย เอกภาพ วัฒนาถาวร (ลาว: ระหว่างกลางของสองปลายรวงข้าวมีรูปพระธาตุหลวง อยู่กลางรูปวงกลมมีหนทาง ทุ่งนา ป่าไม้ และเขื่อนไฟฟ้าน้ำตก"







5. ตราแผ่นดินของกัมพูชา เป็นรูปฉลองพระองค์ครุยคลุมพานแว่นฟ้า อัญเชิญพระแสงขรรค์และเครื่องหมายอุณาโลมภายใต้พระมหามงกุฎเปล่งรัศมี มีลายช่อต่อออกมาจากกรรเจียกจรทั้งสองข้าง รูปดังกล่าวอยู่เหนือรูปดาราของเครื่องราชอิสริยาภรณ์แห่งกัมพูชา (Royal Order of Cambodia) และมีรูปลายก้านขดอยู่ใต้รูปฉลองพระองค์ครุยอีกชั้นหนึ่ง ถัดมาทางด้านข้างทั้ง 2 ด้านขนาบด้วยรูปฉัตร 5 ชั้น ซึ่งประคองโดยคชสีห์ทางด้านซ้าย และราชสีห์ทางด้านขวา เบื้องล่างสุดของรูปทั้งหมดเป็นแพรแถบแสดงข้อความว่า "ព្រះចៅក្រុងកម្ពុជា" ("พระเจ้ากรุงกัมพูชา") ด้วยอักษรเขมรแบบอักษรมูล






6. ตราแผ่นดินของอินโดนีเซีย มีชื่อว่า "ตราพญาครุฑปัญจศีล" ลักษณะเป็นรูปพญาครุฑมีขนปีกข้างละ 17 ขน ,หาง 8 ขน, โคนหาง 19 ขน และคอ 45 ขน หมายถึง วันที่ 17 สิงหาคม ค.ศ. 1945 ซึ่งเป็นวันประกาศเอกราช กลางตัวพญาครุฑนั้นมีรูปโล่ ภายในโล่แบ่งเป็นสี่ส่วน และมีโล่ขนาดเล็กช้อนทับอีกชั้นหนึ่ง






7. ตราแผ่นดินของมาเลเซีย (มาเลย์: Jata Negara) ประกอบด้วยส่วนหลักๆห้าส่วนคือ โล่ เสือโคร่งสองตัว พระจันทร์เสี้ยวสีเหลือง และดาวสีเหลือง 14 แฉก และแถบผ้า ตราแผ่นดินของมาเลเซียนี้สืบทอดมาจากตราแผ่นดินสหพันธรัฐมาลายาระหว่างที่เป็นอาณานิคมของอังกฤษ ตราในปัจจุบันจึงมีอิทธิพลของตราแบบตะวันตกอยู่มาก









8. ตราแผ่นดินของฟิลิปปินส์ (Coat of Arms of the Philippines) มีลักษณะเป็นพระอาทิตย์มีรัศมีแปดแฉกซึ่งแสดงถึงจังหวัดทั้งแปด (บาตันกัส บูลาจัน กาวิเต มะนิลา ลากูนา นูเอวา เอจิยา ปัมปางาและตาร์ลัก) ซึ่งอยู่ภายใต้กฏอัยการศึกระหว่างการปฏิวัติฟิลิปปินส์และดาวห้าแฉกสามดวงแสดงถึงเขตทางภูมิศาสตร์หลักสามแห่งคือลูซอน วิซายา และ มินดาเนา พื้นสีน้ำเงินทางด้านซ้ายมีนกอินทรีของสหรัฐอเมริกา และพื้นสีแดงทางด้านขวามีสิงโตของสเปน ซึ่งแสดงถึงประวัติศาสตร์ในการเป็นอาณานิคม การออกแบบนี้คล้ายกับการออกแบบโดยเครือรัฐแห่งฟิลิปปินส์เมื่อ พ.ศ. 2483







9. ตราแผ่นดินของเวียดนาม (Coat of arms of Viet Nam) มีรูปแบบเช่นเดียวกับประเทศคอมมิวนิสต์อื่นๆ มีรูปดาวสีเหลืองบนพื้นสีแดง มีรูปเฟืองและรวงข้าวหมายถึงความร่วมมือกันระหว่างแรงงานภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมตามแนวคิดแบบคอมมิวนิสต์ มีลักษณะคล้ายตราแผ่นดินของเยอรมัน








10. ตราแผ่นดินของสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า เป็นเครื่องหมายราชการของรัฐบาลสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า ใช้ประทับในเอกสารของทางราชการทุกชนิด รวมถึงการตีพิมพ์ในเอกสารสำหรับเผยแพร่ แบบตราดังที่ปรากฏในปัจจุบันนี้เป็นลักษณะตามที่ปรากฏในหมวดที่ 8 ของรัฐธรรมนูญสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า ซึ่งได้รับการรับรองด้วยการลงประชามติในปี พ.ศ. 2551




การส่งงาน วิชาสัมมนาปัญหาการจัดการ

ถึงนักศึกษาที่น่ารักทุกท่าน

ขอให้นักศึกษาส่งงานรายวิชา สัมมนาปัญหาการจัดการที่ email นี้ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น นะคะ


kitti2011s@gmail.com

สำหรับผู้ที่ได้ส่งงานมาทาง hotmail เรียบร้อยแล้วและยังไม่ได้รับการ post ลงใน Blog ของรายวิชานี้

 ขอให้นักศึกษาช่วยส่งมาใหม่ทาง ที่อยู่ข้างต้นนะคะ ขออภัยในความไม่สะดวกด้วยค่ะ

ดื่มกาแฟ ไปพลางๆ ก่อนนะคะ


นางสาววิไลพร ส่งเสริม รหัส 5210125401043 เอกการจัดการทั่วไป



คุณลักษณะของผู้นำองค์กรที่ดีนั้นประกอบด้วย

1. การมีโลกทัศน์อันกว้างไกล ผู้นำที่ดีต้องเป็นผู้ที่มีความรอบรู้ในหลายด้าน แต่ต้องเป็นการรอบรู้ในเชิงเข้าใจในเอกภาพและความสัมพันธ์ ผู้นำที่ดีจะต้องเข้าใจถึงสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงในเงื่อนเวลา

2. การยอมรับฟังความคิดเห็นอันหลากหลาย การที่ผู้นำยอมรับฟังความคิดเห็นและคำวิจารณ์ผู้ร่วมงานหรือบุคคลภายนอก เพราะข้อคิดเห็นเหล่านี้คือจุดที่จะชี้ถึงข้อเสียที่พึงแก้ไขได้และสร้างโลกทัศน์ให้กว้างไกลและลึกซึ้งกว่าที่ตนเองอาจคาดการณ์ไว้ได้

3. การสร้างทีมงาน ผู้นำทีประสบความสำเร็จในการบริหารนั้นจะต้องมีทีมงานที่แข็งพอที่จะนำเอาโครงการที่ริเริ่มมานำไปปฏิบัติได้อย่างดี มิฉะนั้นโครงการทุกโครงการจะกลายเป็นเพียงความฝันเท่านั้น

4. การรู้จักการกระจายงาน ผู้นำที่เก่งกาจจะต้องเป็นผู้ที่รู้จักใช้คนรู้จักลดบทบาทที่ไม่สำคัญของตนเองเพื่อมุ่งทำในบทบาทที่สำคัญ การรู้จักการกระจายงานจึงเป็นเงื่อนไขสู่ความสำเร็จอันสำคัญของการจัดการของผู้นำในองค์กร

5. จิตวิทยาของผู้นำ การรู้จักการใช้จิตวิทยาเพื่อให้ผู้ร่วมงานมีแรงจูงใจหรือแรงกระตุ้นในการทำงานเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมาย

6. การรู้จักความรับผิดชอบ ยอมรับความผิดในสิ่งที่พลาดไป ผู้นำคือมนุษย์ซึ่งมีอารมณ์และความพลั้งเผลอฉะนั้นการยอมรับในข้อผิดพลาดจึงเป็นส่วนหนึ่งของการแสดงออกถึงคุณลักษณะในการเป็นผ็นำที่พร้อมที่จะรับผิดชอบในสิ่งที่ตนหรือลูกน้องได้ทำขึ้น

ชื่อหนังสือ กระแสการจัดการ

ชื่อผู้แต่ง ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ ดร.พิพัฒน์ พิทยาอัจฉริยกุล ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์

สำนักพิมพ์ บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด

ปีที่พิมพ์ 2545



อารยา 039 การจัดการทั่วไปปี



www.a-roi.com

เป็นเว็บไซต์ " ภัตตาคาร ศิรินทร์ " ในนามของ "อร่อยดอทคอม" ภัตตาคารมีบริการหลากหลาย อาหารไทย-อาหารจีน ทั้งในและนอกสถานที่ มีรายการหลากหลายให้ท่านเลือก การันตี "ความอร่อย" ที่ มรว.ถนัดศรี มอบ "เชลล์ชวนชิม" ให้มาตลอดระยะเวลากว่า 40 ปี ปรุงอาหารอย่างถูกสุขลักษณะ ราคาย่อมเยาว์แต่ในคุณภาพระดับภัตตาคาร
สำหรับบริการนอกสถานที่มีบริการพร้อมรายการอาหารให้ท่านเลือกได้ตามความประสงค์ ไม่ว่าจะเป็นโต๊ะจีน, บุฟเฟต์, อาหารเลี้ยงพระ, อาหารกล่อง, ออกร้าน ฯลฯ ด้วยราคาและคุณภาพที่ท่านพิสูจน์ได้ด้วยตัวเอง

อารยา 039 การจัดการทั่วไป ปี4‏



ผู้นำที่มีประสิทธิภาพควรเป็นผู้นำที่มีพฤติกรรมต่อไปนี้

1. มองปัญหาที่จะเกิดขึ้นในวันพรุ่งนี้ และผลจากการทำงานในวันนี้มีอะไรบ้างที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในอนาคต

2. พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอเพื่อผลประโยชน์ขององค์การ

3. กำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับบัญชาให้สูงโดยมีการชี้แจงวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนและเข้าใจตรงกัน

4. พยายามสร้างหรือปลูกฝังค่านิยมในการทำงานที่ถูกต้องให้กับผู้ใต้บังคับบัญชาทุกคน เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นในการทำงานให้ประสบผลสำเร็จ

5. ต้องกล้าตัดสินใจด้วยความเชื่อมั่นว่าถูกต้อง และมีเหตุผลเพียงพอ

6. สุขุมใจเย็น และรู้จักรอเวลาที่เหมาะสมสำหรับการตัดสินใจดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง

7. สร้างบรรยากาศในการทำงานให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเกิดความกระตือรือร้นในการทำงานอยู่เสมอ

8. ให้ความสนใจต่อความต้องการและความคาดหวังของผู้ใต้บังคับบัญชาโดยเฉพาะอย่างยิ่งงานฝึกอบรมเพื่อพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชา

9. จัดให้มีการสื่อสารระบบเปิด เป็นไปอย่างทั่วถึงทุกระดับ

10. กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ใต้บังคับบัญชาให้ชัดเจนแน่นอน ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับบัญชาให้สูงขึ้นอยู่เสมอ

11. ยอมรับว่าแต่ละคนมีแรงจูงใจในการทำงานที่แตกต่างกัน ดังนั้นต้องพยายามวิเคราะห์ดูว่า อะไรเป็นแรงจูงใจในการทำงานของผู้ใต้บังคับบัญชา แล้วให้ความสนใจกับสิ่งนั้นเพื่อเป็นการจูงใจให้เขาได้ปฏิบัติงานตามเป้าหมายขององค์การให้มากที่สุด

12. กำหนดขอบเขตอำนาจ หน้าที่ ความรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน หรือมอบหมายงานให้ชัดเจน เพื่อให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีอิสระหรือมีความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน



อ้างอิง : หนังสือ การบริหารทักษะ และ การปฏิบัติ

โดย เอกชัย กี่สุขพันธ์

น.ส.ภาณีนุช ปิยภานีกุล การจัดการทั่วไป ปี4 รหัส 014





ทฤษฎีความเป็นผู้นำเชิงสถานการณ์ ของ Hersey-Blanchard

เป็นทฤษฎีความเป็นผู้นำเชิงสถานการณ์ ซึ่งเสนอว่าพฤติกรรมผู้นำควรจะเปลี่ยนแปลงตามความพร้อมของพนักงานในการทำงาน ทฤษฎีนี้มีการพัฒนาโดยนักวิจัยชื่อ Paul Hersey and Kenneth H. Blanchard เพื่อช่วยเหลือผู้บริหารปรับปรุงรูปแบบการเป็นผู้นำในแต่ละระดับ ความพร้อมของพนักงานซึ่งจะแตกต่างในแต่ละงานความพร้อมของพนักงานที่ Hersey-Blanchard เรียกว่า ความพร้อมในการเป็นผู้ตามเป็นหน้าที่ของสองปัจจัย คือ

1.ความสามารถ เช่น ทักษะ ความรู้ และประสบการณ์

2.ความเต็มใจ เช่น ความเชื่อมั่น

เงื่อนไขและการจูงใจความสัมพันธ์ของปัจจัยเหล่านี้ทำให้เกิดสภาพที่เป็นไปได้ 4 ประการ สภาพความพร้อมของพนักงานที่เป็นไปได้เพื่อให้บรรลุงานเฉพาะอย่าง 4 ประการ คือ

1.ไม่มีความสามารถ ไม่เต็มใจหรือไม่มีความมั่นคง เรียกว่า R1

2.ไม่มีความสามารถ แต่เต็มใจหรือเชื่อมั่น เรียกว่า R2

3.มีความสามารถ แต่ไม่เต็มใจหรือมีความไม่มั่นคง เรียกว่า R3

4.มีความสามารถและเต็มใจหรือเชื่อมั่น เรียกว่า R4

ทฤษฎี Hersey-Blanchard ตระหนักถึงพฤติกรรมผู้นำอิสระ 2 ประการ คือ

1.พฤติกรรมการทำงาน เป็นพฤติกรรมที่ผู้นำได้กำหนดความรับผิดชอบการทำงานเฉพาะอย่างของบุคคลหรือกลุ่ม

2.พฤติกรรมความสัมพันธ์ เป็นขอบเขตซึ่งผู้นำรับฟังและติดต่อสื่อสารกับพนักงานร่วมกัน ซึ่งผู้บริหารจะต้องเลือกรูปแบบความเป็นผู้นำที่เป็นไปได้ 4 ประการ เพื่อยอมรับและปรับปรุงความพร้อมของพนักงาน Hersey และ Blanchard ได้กำหนดรูปแบบความเป็นผู้นำเหล่านี้โดยการบอก การใช้งาน การมีส่วนร่วม และการมอบหมายงาน

น.ส.ภาณีนุช ปิยภานีกุล การจัดการทั่วไป ปี4 รหัส014





ทฤษฎีคุณลักษณะผู้นำ

ทฤษฎีคุณลักษณะผู้นำ (Trait theories of leadership) เป็นทฤษฎีซึ่งเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะตัวของผู้นำ ในระหว่างครึ่งแรกของศตวรรษที่ 12 ผู้วิจัยได้ศึกษาวิธีการต่างๆ ได้คาดคะเนประสิทธิผลของผู้นำโดยถือเกณฑ์ลักษณะส่วนตัว เช่น บุคลิกภาพ ทักษะและลักษณะทางกายภาพ(ความสูงและรูปร่างลักษณะ) จากการสำรวจลักษณะของผู้นำที่มีชื่อเสียง พบว่าผู้นำที่มีประสิทธิผลสูงสุดโดยทั่วไปจะมีลักษณะฉลาด กระตือรือร้น ตื่นตัวกับความต้องการของบุคคลอื่น เข้าใจงาน มีลักษณะในการติดต่อสื่อสารที่ดี มีความคิดริเริ่ม ชอบแก้ปัญหา มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีความรับผิดชอบ มีตำแหน่งสำคัญและมีลักษณะเด่น

นักวิจัยได้สังเกตว่าคุณลักษณะของผู้นำต่างๆ จะมีไม่เท่ากันในทุกสถานการณ์ ผู้วิจัยได้วิจัยเพิ่มเติมและวิเคราะห์เทคนิคเพื่อยืนยันเกี่ยวกับคุณลักษณะและทักษะของผู้นำที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งประกอบด้วย ความเฉลียวฉลาด ความเชื่อมั่นในตนเอง สิ่งกระตุ้นให้มีความรับผิดชอบ ลักษณะการติดต่อสื่อสาร การค้นพบนี้ระบุถึงผู้นำที่มีประสิทธิผลโดยทั่วไปจะมีพลังงานสูงและมีทักษะในการติดต่อระหว่างบุคคลสูง

คุณลักษณะ (Traits) ได้แก่

1.รู้จักปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ต่างๆ

2.มีความตื่นตัวต่อสภาวะแวดล้อมทางสังคม

3.มีความทะเยอทะยานสูง

4.มีความเชื่อถือและสามารถสร้างสรรค์ประโยชน์

5.มีลักษณะประนีประนอม

6.มีความเด็ดขาด

7.ลูกน้องสามารถพึ่งพาได้

8.เป็นผู้ทรงอำนาจ

9.มีความสามารถในการทำงานที่ต้องใช้ความคิดมาก

10.มีความมั่นใจในตนเองสูง

11.เผชิญหน้ากับเหตุการณ์ซึ่งมีความยุ่งยาก

12.สามารถรับผิดชอบสูง

ทักษะ (Skills) ได้แก่

1.มีความเฉลียวฉลาด

2.มีทักษะในความคิด

3.มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

4.มีทักษะในเชิงการทูต รู้จักผูกมิตรไมตรี

5.มีวาทศิลป์ มีทักษะทางการพูด

6.มีความรู้เกี่ยวกับงาน

7.มีทักษะในการจัดการอย่างเป็นระบบ

8.มีทักษะในการชักนำจูงใจผู้อื่น

9.มีทักษะทางสังคมสูง



แหล่งที่มา : ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ . (2550) . การจัดการและพฤติกรรมองค์การ . กรุงเทพฯ : ธีระฟิล์มและไชเท็กซ์

นางสาว วิชญาพร อ่องมี รหัส 5210125401075 สาขาการจัดการทั่วไป



ทฤษฏีของสกินเนอร์ในการบริหารจัดการ



ทฤษฎีการเรียนรู้สามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังต่อไปนี้

1. ทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้ช่วงก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 20

1.1 ฝึกจิตหรือสมองทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการ(Mental Discipline)

นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า จิตหรือสมองหรือสติปัญญา(mind) สามารถพัฒนาให้ปราดเปรื่องได้โดยการฝึก ในการฝึกจิตหรือสมองนี้ทำได้โดยให้บุคคลเรียนรู้สิ่งที่ยากๆ ยิ่งยากมากเท่าไร จิตก็จะได้รับการฝึกให้แข็งแกร่งขึ้นเท่านั้น หลักการในการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยการกระตุ้นความรู้ในตัวผู้เรียนให้แสดงออกมา วิธีการสอนแบบโสเครติส(Socratic Method) และวิธีการสอนแบบบรรยาย(Didactic Method) เป็นวิธีการสอนตามทฤษฏีนี้ที่ใช้คำถามเพื่อดึงความรู้ในตัวผู้เรียนออกมาให้กระจ่างชัดและช่วยเพิ่มเติมประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียน ซึ่งเป็นวิธีการสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี

1.2 ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการพัฒนาไปตามธรรมชาติ(Natural Unfoldment)

นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า ธรรมชาติคือแหล่งเรียนรู้สำคัญ เด็กควรจะได้เรียนรู้ไปตามธรรมชาติ การใช้ของจริงเป็นสื่อในการสอนจะช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดี การเล่นเป็นการเรียนรู้ที่สำคัญของเด็ก เด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ตัวเล็กๆ เด็กมีสภาวะของเด็ก ซึ่งแตกต่างไปจากวัยอื่น การจัดการศึกษาให้เด็กจึงควรพิจารณาระดับอายุเป็นหลัก การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้แก่เด็กจะต้องมีความแตกต่างไปจากการจัดให้ผู้ใหญ่ และยึดเด็กเป็นศูนย์กลางให้เสรีภาพแก่เด็กได้เรียนรู้ตามความต้องการและความสนใจของตน ให้เด็กได้เรียนรู้ตามธรรมชาติและเป็นไปตามธรรมชาติ โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและความพร้อมของเด็ก

1.3 ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิด(Apperception)

นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า การเรียนรู้เกิดจากแรงกระตุ้นภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม (neutral - passive) การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 (sensation) และความรู้สึก(feeling) คือ การตีความหรือแปลความหมายจากการสัมผัสการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงเน้นให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจได้เป็นอย่างดี



2. ทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20



2.1 ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม(Behaviorism)

นักคิดในกลุ่มนี้มองธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะที่เป็นกลาง คือ ไม่ดี–ไม่เลว การกระทำต่างของมนุษย์เกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมภายนอก พฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า(stimulus response) การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง กลุ่มพฤติกรรมนิยมให้ความสนใจกับ ”พฤติกรรม” มากเพราะพฤติกรรมเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัด สามารถวัดและทดสอบได้ ทฤษฏีการเรียนรู้ในกลุ่มนี้ ประกอบด้วยแนวคิดสำคัญๆ 3 แนวด้วยกัน คือ

- ทฤษฎีการเชื่อมโยง(Classical Connectionism) ของธอร์นไดค์(Thorndike)

มีความเชื่อว่าการเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง ซึ่งมีหลายรูปแบบ บุคคลจะมีการลองผิดลองถูกปรับเปลี่ยนไปเรื่อยๆ จนกว่าจะพบรูปแบบการตอบสนองที่สามารถให้ผลที่พึงพอใจมากที่สุด

เมื่อเกิดการเรียนรู้แล้ว บุคคลจะใช้รูปแบบการตอบสนองที่เหมาะสมเพียงรูปแบบเและจะพยายามใช้รูปแบบนั้นเชื่อมโยงกับสิ่งเร้าในการเรียนรู้ต่อไปเรื่อยๆ การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงเน้นที่การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนแบบลองผิดลองถูกบ้าง มีการสำรวจความพร้อมของผู้เรียนซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องกระทำก่อนการสอนบทเรียน เมื่อผู้เรียนเกิดการเรียนรู้แล้วครูควรฝึกให้ผู้เรียนฝึกการนำการเรียนรู้นั้นไปใช้บ่อยๆ การศึกษาว่าสิ่งใดเป็นสิ่งเร้าหรือรางวัลที่ผู้เรียนพึงพอใจจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้

- ทฤษฎีการวางเงื่อนไข(Conditioning Theory) ประกอบด้วยทฤษฏีย่อย 4 ทฤษฏี ดังนี้

1) ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบอัตโนมัติของพาฟลอฟ (Pavlov’s Classical Conditioning) เน้นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข สรุปแนวคิดตามทฤษฏีนี้ได้ว่า การเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตเกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข

2) ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบอัตโนมัติของวัตสัน (Watson’s Classical Conditioning) เน้นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขเช่นกัน สรุปแนวคิดตามทฤษฏีนี้ได้ว่า การเรียนรู้จะคงทนถาวรหากมีการให้สิ่งเร้าที่สัมพันธ์กันนั้นควบคู่กันไปอย่างสม่ำเสมอ



3) ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบต่อเนื่องของกัทธรี(Guthrie’s Contiguous Conditioning) เน้นหลักการจูงใจ สรุปแนวคิดตามทฤษฏีนี้ได้ว่า การเรียนรู้เมื่อเกิดขึ้นแล้วแม้เพียงครั้งเดียว ก็นับว่าได้เรียนรู้แล้วไม่จำเป็นต้องทำซ้ำอีก



4) ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบโอเปอร์แรนต์ของสกินเนอร์(Skinner’s Operant Conditioning) เน้นการเสริมแรงหรือให้รางวัล สรุปแนวคิดตามทฤษฏีนี้ได้ว่า การกระทำใดๆ ถ้าได้รับการเสริมแรงจะมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นอีก การเสริมแรงที่แปรเปลี่ยนทำให้การตอบสนองคงทนกว่าการเสริมแรงที่ตายตัว การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงเน้นที่การเสนอสิ่งเร้าในการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง มีการแสริมแรงหรือให้รางวัลเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความพึงพอใจที่จะเรียนรู้

- ทฤษฏีการเรียนรู้ของฮัลล์ (Hull’s Systematic Behavior Theory) มีความเชื่อว่าถ้าร่างกายเมื่อยล้า การเรียนรู้จะลดลง การตอบสนองต่อการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีที่สุดเมื่อได้รับแรงเสริมในเวลาใกล้บรรลุเป้าหมาย หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงมักคำนึงถึงความพร้อม ความสามารถและเวลาที่ผู้เรียนจะเรียนได้ดีที่สุด การจัดการเรียนการสอนควรให้ทางเลือกที่หลากหลายเพื่อตอบสนองระดับความสามารถของผู้เรียน



2.2 ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม ( Cognitivism) เน้นกระบวนการทางปัญญาหรือความคิด ซึ่งเป็นกระบวนการภายในของสมอง นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์ไม่ใช่เรื่องของพฤติกรรมที่เกิดจากกระบวนการตอบสนองต่อสิ่งเร้าเพียงเท่านั้น การเรียนรู้ของมนุษย์มีความซับซ้อนยิ่งไปกว่านั้น การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดที่เกิดจากการสะสมข้อมูล การสร้างความหมายและความสัมพันธ์ของข้อมูลและการดึงข้อมูลออกมาใช้ในการกระทำและการแก้ปัญหาต่างๆ การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสติปัญญาของมนุษย์ในการที่จะสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ตนเอง ทฤษฏีในกลุ่มนี้ที่สำคัญๆ มี 5 ทฤษฏี คือ

- ทฤษฎีเกสตัลท์(Gestalt Theory) แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดซึ่งเป็นกระบวนการภายในตัวมนุษย์ บุคคลจะเรียนรู้จากสิ่งเร้าที่เป็นส่วนรวมได้ดีกว่าส่วนย่อย หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะเน้นกระบวนการคิด การสอนโดยเสนอภาพรวมก่อนการเสนอส่วนย่อย ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีประสบการณ์มากและหลากหลายซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนสามรถคิดแก้ปัญหา คิดริเริ่มและเกิดการเรียนรู้แบบหยั่งเห็นได้

- ทฤษฎีสนาม (Field Theory) แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ การเรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อบุคคลมีแรงจูงใจหรือแรงขับที่จะกระทำให้ไปสู่จุดหมายปลายทางที่ตนต้องการ หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการเข้าไปอยู่ใน “โลก” ของผู้เรียน การสร้างแรงจูงใจหรือแรงขับโดยการจัดสิ่งแวดล้อมทั้งทางกายภาพและจิตวิทยาให้ดึงดูดความสนใจและสนองความต้องการของผู้เรียนเป็นสิ่งจำเป็นในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้

- ทฤษฎีเครื่องหมาย (Sign Theory) ของทอลแมน ( Tolman) แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้คือ การเรียนรู้เกิดจากการใช้เครื่องหมายเป็นตัวชี้ทางให้แสดงพฤติกรรมไปสู่จุดหมายปลายทาง หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการสร้างแรงขับและหรือแรงจูงใจให้ผู้เรียนบรรลุจุดมุ่งหมายใดๆ โดยใช้เครื่องหมาย สัญลักษณ์หรือสิ่งอื่นๆ ที่เป็นเครื่องชี้ทางควบคู่ไปด้วย



- ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา(Intellectual Development Theory) นักคิดคนสำคัญของทฤษฏีนี้มีอยู่ 2 ท่าน ได้แก่ เพียเจต์(Piaget) และบรุนเนอร์(Bruner) แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้เน้นเรื่องพัฒนาการทางสติปัญญญาของบุคคลที่เป็นไปตามวัยและเชื่อว่ามนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจและการเรียนรู้เกิดจากระบวนการการค้นพบด้วยตนเอง หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ คำนึงถึงพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนและจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนอย่างเหมาะสมกับพัฒนาการนั้น ให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์และมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมมากๆ ควรเด็กได้ค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้คิดอย่างอิสระและสอนการคิดแบบรวบยอดเพื่อช่วยส่งงเสริมความคิดสร้างสรรค์ของผุ้เรียน

- ทฤษฏีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย(A Theory of Meaningful Verbal Learning) ของออซูเบล(Ausubel) เชื่อว่า การเรียนรู้จะมีความหมายแก่ผู้เรียน หากการเรียนรู้นั้นสามารถเชื่อมโยงกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่รู้มาก่อน หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ มีการนำเสนอความคิดรวบยอดหรือกรอบมโนทัศน์ หรือกรอบแนวคิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่งแก่ผู้เรียนก่อนการสอนเนื้อหาสาระนั้นๆ จะช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนเนื้อหาสาระนั้นอย่างมีความหมาย

2.3 ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม(Humanism) นักคิดกลุ่มมานุษยนิยมให้ความสำคัญของความเป็นมนุษย์และมองมนุษย์ว่ามีคุณค่า มีความดีงาม มีความสามารถ มีความต้องการ และมีแรงจูงใจภายในที่จะพัฒนาศักยภาพของตน หากบุคคลมีอิสระภาพและเสรีภาพ มนุษย์จะพยายามพัฒนาตนเองไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทฤษฏีและแนวคิดที่สำคัญๆ ในกลุ่มนี้มี 2 ทฤษฏีและ 5 แนวคิด คือ

- ทฤษฎีการเรียนรู้ของมาสโลว์ แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ มนุษย์ทุกคนมีความต้องการพื้นฐานตามธรรมชาติเป็นลำดับขั้น และต้องการที่จะรู้จักตนเองและพัฒนาตนเอง หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการเข้าถึงความต้องการพื้นฐานของผู้เรียน และตอบสนองความต้องการพื้นฐานนั้นอย่างพอเพียง ให้อิสรภาพและเสรีภาพแก่ผู้เรียนในการเรียนรู้ มีการจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ซึ่งช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์ในการรู้จักตนเองตามสภาพความเป็นจริง

- ทฤษฎีการเรียนรู้ของรอเจอร์ แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ มนุษย์สามารถพัฒนาตนเองได้ดีหากอยู่ในสภาวะที่ผ่อนคลายและเป็นอิสระ การจัดบรรยากาศที่ผ่อนคลายและเอื้อต่อการเรียนเรียนรู้และเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยครูเป็นผู้ชี้แนะและทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนและการเรียนรู้จะเน้นกระบวนการเป็นสำคัญ หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการเรียนรู้กระบวนการเป็นสำคัญ ควรจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนให้อบอุ่น ปลอดภัย ครูควรสอนแบบชี้แนะโดยให้ผู้เรียนเป็นผู้นำทางในการเรียนรู้ของตนและคอยช่วยเหลือผู้เรียนให้เรียนอย่างสะดวกจนบรรลุผล

- แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของโคมส์ เชื่อว่าความรู้สึกของผู้เรียนมีความสำคัญต่อการเรียนรู้มาก เพราะความรู้สึกและเจตคติของผู้เรียนมีอิทธิพลต่อกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน หลักการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดนี้จึงเน้นถึงความรู้สึกของผู้เรียนเป็นหลัก การสร้างเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี

- แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของโนลส์ เชื่อว่าผู้เรียนจะเรียนรู้ได้มากหากมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ มีอิสระที่จะเรียนและได้รับการส่งเสริมในการพัฒนาด้วยตนเอง หลักการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดนี้เน้นการให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียน เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เลือกสิ่งที่เรียนและวิธีเรียนด้วยตนเอง ลงมือกระทำและยอมรับผลของการตัดสินใจหรือการกระทำของตนเอง

- แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของแฟร์ เชื่อว่าผู้เรียนต้องถูกปลดปล่อยจากการกดขี่ของครูที่สอนแบบเก่า ผู้เรียนมีศักยภาพและมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่จะกระทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง หลักการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดนี้เน้นการให้อิสรภาพและเสรีภาพในการเรียนรู้แก่ผู้เรียน

- แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของอิลลิช เชื่อว่าสังคมแห่งการเรียนรู้เป็นสังคมที่ต้องล้มเลิกระบบโรงเรียน การศึกษาควรเป็นการศึกษาตลอดชีวิตแบบเป็นไปตามธรรมชาติ โดยให้โอกาสในการศึกษาเล่าเรียนแก่บุคคลอย่างเต็มที่ หลักการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดนี้เน้นการจัดการศึกษาต่อเนื่องไปตลอดชีวิตไปตามธรรมชาติ

- แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของนีล เชื่อว่ามนุษย์เป็นผู้มีศักดิ์ศรี มีความดีโดยธรรมชาติ หากมนุษย์อยู่ในสภาพแวดล้อมที่อบอุ่น บริบูรณ์ด้วยความรัก มีอิสรภาพและเสรีภาพ มนุษย์จะพัฒนาไปในทางที่ดีทั้งต่อตนเองและสังคม หลักการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดนี้ คือ การให้เสรีภาพอย่างสมบูรณ์แก่ผู้เรียนในการเรียน จัดให้เรียนเมื่อพร้อมจะเรียนจะช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาไปตามธรรมชาติ

2.4 ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสานของกานเย (Gagne’s eclecticism) แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ ความรู้มีหลายประเภท บางประเภทสามารถเข้าใจได้อย่างรวดเร็วไม่ต้องใช้ความคิดที่ลึกซึ้ง บางประเภทมีความซับซ้อนมาก จำเป็นต้องใช้ความสามารถในขั้นสูง หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ

การจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบซึ่งเริ่มจากง่ายไปหายากมีทั้งหมด 9 ขั้น ดังนี้

ขั้นที่ 1 สร้างความสนใจ(Gaining attention)

ขั้นที่ 2 แจ้งจุดประสงค์(Informing the learning)

ขั้นที่ 3 กระตุ้นให้ผู้เรียนระลึกถึงความรู้เดิมที่จำเป็น(Stimulating recall of prerequisite learned capabilities)

ขั้นที่ 4 เสนอบทเรียนใหม่(Presenting the stimulus)

ขั้นที่ 5 ให้แนวทางการเรียนรู้(Providing learning guidance)



ขั้นที่ 6 ให้ลงมือปฏิบัติ(Eliciting the performance)

ขั้นที่ 7 ให้ข้อมูลป้อนกลับ(Feedback)

ขั้นที่ 8 ประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ตามจุดประสงค์(Assessing the performance)

ขั้นที่ 9 ส่งเสริมความแม่นยำและการถ่ายโอนการเรียนรู้(Enhancing retention and transfer)

3. ทฤษฎีการเรียนรู้และการสอนร่วมสมัย

3.1 ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล(Information Processing Theory)

เป็นทฤษฏีที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์ โดยให้ความสนใจเกี่ยวกับการทำงานของสมอง ทฤษฏีนี้มีแนวคิดว่า การทำงานของสมองมนุษย์มีความคล้ายคลึงกับการทำงานของคอมพิวเตอร์ หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ การนำเสนอสิ่งเร้าที่ผู้เรียนรู้จักหรือมีข้อมูลอยู่จะสามารถช่วยให้ผู้เรียนหันมาใส่ใจและรับรู้สิ่งนั้น

จัดสิ่งเร้าในการเรียนรู้ให้ตรงกับความสนใจของผู้เรียน สอนให้ฝึกการจำโดยใช้วิธีการที่หลากหลาย หากต้องการให้ผู้เรียนจดจำเนื้อหาสาระใดๆ ได้เป็นเวลานาน สาระนั้นจะต้องได้รับการเข้ารหัส(encoding) เพื่อนำไปเข้าหน่วยความจำระยะยาว วิธีการเข้ารหัสสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การท่องจำซ้ำๆ การทบทวน หรือการใช้กระบวนการขยายความคิด









3. 2 ทฤษฎีพหุปัญญา (Theory of Multiple Intelligences) ทฤษฏีนี้มีความเชื่อพื้นฐานที่สำคัญ 2 ประการ คือ

1. เชาวน์ปัญญาของบุคคลมิได้มีเพียงความสามารถทางภาษาและทางคณิตศาสตร์เท่านั้น แต่มีอยู่อย่างหลากหลายถึง 8 ประเภทด้วยกัน ประกอบด้วย

- เชาวน์ปัญญาด้านภาษา(Linguistic intelligence)

- เชาวน์ปัญญาด้านคณิตศาสตร์หรือการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ(Logical mathematical intelligence)

- สติปัญญาด้านมิติสัมพันธ์(Spatial intelligence)

- เชาวน์ปัญญาด้านดนตรี(Musical intelligence)

- เชาวน์ปัญญาด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ(Bodily kinesthetic intelligence)

- เชาวน์ปัญญาด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น(Interpersonal intelligence)

- เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจตนเอง(Intrapersonal intelligence)

- เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจธรรมชาติ(Naturalist intelligence)

เชาวน์ปัญญาของแต่ละคนอาจจะมีมากกว่านี้ คนแต่ละคนจะมีความสามารถเฉพาะด้านที่แตกต่างไปจากคนอื่น และมีความสามารถในด้านต่างๆ ไม่เท่ากัน ความสามารถที่ผสมผสานกันออกมา ทำให้บุคคลแต่ละคนมีแบบแผนซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน

2. เชาวน์ปัญญาของแต่ละบุคคลจะไม่อยู่คงที่อยู่ที่ระดับที่ตนมีตอนเกิด แต่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ หากได้รับการส่งเสริมที่เหมาะสม

หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ มีกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายที่สามารถส่งเสริมเชาวน์ปัญญาหลายๆ ด้าน ให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการของผู้เรียน การสอนควรเน้นการส่งเสริมความเป็นเอกลักษณ์ของผู้เรียน ครูควรสอนโดนเน้นให้ผู้เรียนค้นหาเอกลักษณ์ของตน ภาคภูมิใจในเอกลักษณ์ของตนเอง และเคารพในเอกลักษณ์ของผู้อื่น

รวมทั้งเห็นคุณค่าและเรียนรู้ที่จะใช้ความแตกต่างของแต่ละบุคคลให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ระบบการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ควรมีการประเมินหลายๆ ด้าน และในแต่ละด้านควรเป็นการประเมินในสภาพการณ์ของปัญหาที่สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยอุปกรณ์ที่สัมพันธ์กับเชาวน์ปัญญาด้านนั้นๆ การประเมินจะต้องครอบคลุมความสามารถในการแก้ปัญหาหรือการสร้างสรรค์ผลงานโดยใช้อุปกรณ์ที่สัมพันธ์กับเชาวน์ปัญญาด้านนั้นๆ อีกวิธีหนึ่ง

3.3 ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง(Constructivism) เป็นทฤษฏีที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการและวิธีการของบุคคลในการสร้างความรู้ความเข้าใจจากประสบการณ์ รวมทั้งโครงสร้างทางปัญญาและความเชื่อที่ใช้ในการแปลความหมายเหตุการณ์และสิ่งต่างๆ เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนจะต้องจัดกระทำกับข้อมูล นอกจากกระบวนการเรียนรู้จะเป็นกระบวนการปฏิสัมพันธ์ภายในสมองแล้ว ยังเป็นกระบวนการทางสังคมด้วย การสร้างความรู้จึงเป็นกระบวนการทั้งด้านสติปัญญาและสังคมควบคู่กันไป หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะมุ่งเน้นไปที่กระบวนการสร้างความรู้(process of knowledge construction)

เป้าหมายของการสอนจะเปลี่ยนจากการถ่ายทอดให้ผู้เรียนได้รับสาระความรู้ที่แน่นอนตายตัว ไปสู่การสาธิตกระบวนการแปลและสร้างความหมายที่หลากหลาย ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้จัดกระทำกับข้อมูลหรือประสบการณ์ต่างๆ และจะต้องสร้างความหมายให้กับสิ่งนั้นด้วยตนเอง โดยการให้ผู้เรียนอยู่ในบริบทจริง ในการจัดการเรียนการสอนครูจะต้องพยายามสร้างบรรยากาศทางสังคมจริยธรรมให้เกิดขึ้น ผู้เรียนได้มีบทบาทในการเรียนรู้อย่างเต็มที่โดยผู้เรียนจะนำตนเองและควบคุมตนเองในการเรียนรู้

บทบาทของครูจะเป็นผู้ให้ความร่วมมือ อำนวยความสะดวกและช่วยเหลือผู้เรียนในการเรียนรู้ การประเมินผลการเรียนรู้ตามทฤษฏีนี้มีลักษณะที่ยืดหยุ่นกันไปในแต่ละบุคคล การประเมินควรใช้วิธีการที่หลากหลาย การวัดผลจะต้องใช้กิจกรรมหรืองานในบริบทจริงด้วย ซึ่งในกรณีที่จำเป็นต้องจำลองของจริงมา ก็สามารถทำได้ แต่เกณฑ์ที่ใช้ควรเป็นเกณฑ์ที่ใช้ในโลกความจริงด้วย

3.4 ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน(Constructionism) แนวคิดของทฤษฏีนี้ คือ การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเอง หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม จะทำให้ความคิดเห็นนั้นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ ครูจะต้องทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้แก่ผู้เรียน ให้คำปรึกษาชี้แนะแก่ผู้เรียน เกื้อหนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ ในการประเมินผลนั้นต้องมีการประเมินทั้งทางด้านผลงานและกระบวนการซึ่งสามารถใช้วิธีการที่หลากหลาย เช่น การประเมินตนเอง การประเมินโดยครูและเพื่อน การสังเกต การประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมงาน

3.5 ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ(Theory of Cooperative or Collaborative Learning) แนวคิดขอทฤษฏีนี้ คือ การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ 3 – 6 คน ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม โดยผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะแข่งขันกัน ต่างคนต่างเรียนและร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้ การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะเน้นให้ผู้เรียนช่วยกันในการเรียนรู้ โดยมีกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนมีการพึ่งพาอาศัยกันในการเรียนรู้ มีการปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด มีการสัมพันธ์กัน มีการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม มีการวิเคราะห์กระบวนการของกลุ่ม และมีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบงานร่วมกัน ส่วนการประเมินผลการเรียนรู้ควรมีการประเมินทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ โดยวิธีการที่ หลากหลายและควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมิน และครูควรจัดให้ผู้เรียนมีเวลาในการวิเคราะห์การทำงานกลุ่มและพฤติกรรมของสมาชิกกลุ่ม เพื่อให้กลุ่มมีโอกาสที่จะปรับปรุงส่วนบกพร่องของกลุ่มเดียว






น.ส.นันทรัชต์ นาคมอญ รหัส081 เอกการจัดการทั่วไป



แนวความคิดการบริหารเชิงสถานการณ์

ในปี 1967 Fred E. Fiedler ได้เสนอแนวความคิดการบริหารเชิงสถานการณ์ (Situational Management Theory) หรือทฤษฎีอุบัติการณ์ (Contingency Theory) ซึ่งถือเป็นทฤษฎีการบริหารที่ขึ้นอยู่กับ สภาพข้อเท็จจริงด้วยแนวคิดที่ว่าการเลือกทางออกที่จะไปสู่การแก้ปัญหาทางการบริหารถือว่าไม่มีวิธีใดที่ดีที่สุด หากแต่สถานการณ์ต่างหากที่จะเป็นตัวกำหนดว่าควรจะหยิบใช้วิธีการบริหารแบบใดในสภาวการณ์นั้นๆ หลักคิดง่ายๆ ของการบริหารเชิงสถานการณ์นั้น ถือว่าการบริหารจะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ สถานการณ์จะเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจ ในการเลือกรูปแบบการบริหารที่เหมาะสม ผู้บริหารจะต้องพยายามวิเคราะห์สถานการณ์ให้ดีที่สุด โดยเป็นการผสมผสานแนวคิดระหว่างระบบปิดและระบบเปิด ยอมรับหลักการของทฤษฎีระบบว่าทุกส่วนของระบบจะต้องสัมพันธ์ มีผลกระทบซึ่งกันและกัน คือมุ่งเน้น ความสัมพันธ์ระหว่างองค์การกับสภาพแวดล้อมขององค์การ สถานการณ์บางครั้งจะต้องใช้การตัดสินใจอย่างเฉียบขาด บางสถานการณ์ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ บางครั้งก็ต้องคำนึงถึงหลักมนุษย์และแรงจูงใจ บางครั้งก็ต้องคำนึงถึงเป้าหมายหรือผลผลิตขององค์กรเป็นหลัก การบริหารจึงต้องอาศัยสถานการณ์เป็นตัวกำหนดในการตัดสินใจ

แนวความคิดทางการบริหารเชิงสถานการณ์ ตามทฤษฎีของ Fiedler ประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ปัจจุบัน 2 ลักษณะดังนี้

1. การศึกษารูปแบบของผู้นำที่มุ่งความสัมพันธ์ (Relationship-oriented leader) เป็นผู้นำที่มุ่งความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ผู้นำจะสร้างความไว้วางใจ ความเคารพนับถือ และรับฟังความต้องการของพนักงาน เป็นผู้นำที่คำนึงถึงผู้อื่นเป็นหลัก (Consideration)

2. ผู้นำที่มุ่งงาน (Task -oriented leader) เป็นผู้นำที่มุ่งความสำเร็จในงาน ซึ่งจะกำหนดทิศทางและมาตรฐานในการทำงานไว้อย่างชัดเจน มีลักษณะคล้ายกับผู้นำแบบที่คำนึงถึงตัวเองเป็นหลัก (Initiating structure style)

ชื่อ นางสาว วิชญาพร อ่องมี รหัส 5210125401075 สาขา การจัดการทั่วไป



SWOT

SWOT เป็นตัวย่อที่มีความหมายดังนี้
Strengths - จุดแข็งหรือข้อได้เปรียบ
Weaknesses - จุดอ่อนหรือข้อเสียเปรียบ
Opportunities - โอกาสที่จะดำเนินการได้
Threats - อุปสรรค ข้อจำกัด หรือปัจจัยที่คุกคามการดำเนินงานขององค์การ

หลักการสำคัญของ SWOT ก็คือการวิเคราะห์โดยการสำรวจจากสภาพการณ์ 2 ด้าน คือ สภาพการณ์ภายในและสภาพการณ์ภายนอก ดังนั้นการวิเคราะห์ SWOT จึงเรียกได้ว่าเป็นการวิเคราะห์สภาพการณ์ (situation analysis) ซึ่งเป็นการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน เพื่อให้รู้ตนเอง (รู้เรา) รู้จักสภาพแวดล้อม (รู้เขา) ชัดเจน และวิเคราะห์โอกาส-อุปสรรค การวิเคราะห์ปัจจัยต่าง ๆ ทั้งภายนอกและภายในองค์กร ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริหารขององค์กรทราบถึงการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายนอกองค์กร ทั้งสิ่งที่ได้เกิดขึ้นแล้วและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในอนาคต รวมทั้งผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ที่มีต่อองค์กรธุรกิจ และจุดแข็ง จุดอ่อน และความสามารถด้านต่าง ๆ ที่องค์กรมีอยู่ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการกำหนดวิสัยทัศน์ การกำหนดกลยุทธ์และการดำเนินตามกลยุทธ์ขององค์กรระดับองค์กรที่เหมาะสมต่อไป

ประโยชน์ของการวิเคราะห์ SWOT
วิเคราะห์ SWOT เป็นการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมต่าง ๆ ทั้งภายนอกและภายในองค์กร ซึ่งปัจจัยเหล่านี้แต่ละอย่างจะช่วยให้เข้าใจได้ว่ามีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานขององค์กรอย่างไร จุดแข็งขององค์กรจะเป็นความสามารถภายในที่ถูกใช้ประโยชน์เพื่อการบรรลุเป้าหมายในขณะที่จุดอ่อนขององค์กรจะเป็นคุณลักษณะภายใน ที่อาจจะทำลายผลการดำเนินงาน โอกาสทางสภาพแวดล้อมจะเป็นสถานการณ์ที่ให้โอกาสเพื่อการบรรลุเป้าหมายองค์กรในทางกลับกันอุปสรรคทางสภาพแวดล้อมจะเป็นสถานการณ์ที่ขัดขวางการบรรลุเป้าหมายขององค์กร ผลจากการวิเคราะห์ SWOT นี้จะใช้เป็นแนวทางในการกำหนดวิสัยทัศน์ การกำหนดกลยุทธ์ เพื่อให้องค์กรเกิดการพัฒนาไปในทางที่เหมาะสม




น.ส.วรรณภา ปั้นนาค รหัส 5210125401038 เอกการจัดการทั่วไป ปี 4 ภาคปกติ



ภาวะผู้นำตามสถานการณ์ตามแนวคิดของเฟรดเลอร์ (Fiedler's Contingency Theory)
(สัปดาห์ที่ 6 ทฤษฎีผู้นำที่เหมาะสมกับสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมใน)
                เฟรด อี เฟรดเลอร์ (Fied E.Fiedler) ได้นำเสนอแนวคิดภาวะผู้นำที่ดีขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและสอดคล้องระหว่างสไตล์ผู้นำกับความจำเป็นตามสถานการณ์ Fiedler ได้นำพื้นฐานของแนวคิดความยืดหยุ่นของผู้นำ (Leader Flexibity) มาใช้โดยการสร้างเครื่องมือที่เรียกว่า "Peast Preferred Co-worker: PLC" สำหรับใช้ในการประเมินตนเอง โดยสามารถใช้เครื่องมือเป็นแบบสอบถามจำนวน 16 ข้อในการสอบถามบุคคลที่ต้องการทำงานด้วย โดยข้อคำถามมีลักษณะเน้นไปทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ การคิดค้นและการนำเสนอแนวคิดของ Fiedler พบว่าผู้นำที่จะประสบความสำเร็จได้ต้องรูปจักปรับเปลี่ยนรูปแบบภาวะผู้นำซึ่งเป็นบุคลิกภาพของแต่ละบุคคลให้เหมาะสมตามสถานการณ์ภายในองค์การ ทั้งนี้ ต้องทำการปรับเปลี่ยนรูปแบบภาวะผู้นำไปตามสถานการณ์ไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงสถานการณ์
                Fiedler ได้จำแนกผู้นำออกเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่
                1.ผู้นำแบบมุ่งงาน (Task-oriented Leader) เน้นการสั่งงาน กำหนดเส้นตายในการทำงาน มอบหมายงาน กำหนดโครงสร้างการทำงาน เป็นต้น
                2.ผู้นำแบบมุ่งความสัมพันธ์ (Relationship-oriented Leader) ที่ไม่ได้เน้นการสั่งงานแต่มุ่งเรื่องคนและปฏิกิริยาทางสังคม แม้ว่าแนวคิดของ Fiedler จะคล้ายคลึงกับทฤษฎีพฤติกรรมแต่ในความแตกต่าง Fiedler เห็นว่า "เป็นการยากที่จะเปลี่ยนรูปแบบภาวะผู้นำโดยเฉพาะ" ส่วนทฤษฎีพฤติกรรมเห็นว่า "ผู้นำมีแบบพฤติกรรมให้เลือก"


อ้างอิงจาก อนิวัช แก้วจำนงค์. (2552). หลักการจัดการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. สงขลา: นำศิลป์โฆษณา. (หน้า 209).

กันตินันท์ บุญลิลา รหัส 5130125401235

ทฤษฎีความคาดหวังของวรูม (Vroom Expectancy Theory)
วรูม (Victor H.Vroom) เป็นนักจิตวิทยาในกลุ่มพุทธินิยม (Cognitive Psychology) ที่ศึกษาวิจัยการทำงานของคนในโรงงานอุตสาหกรรม และได้สร้างทฤษฎีความคาดหวังไว้ตั้งแต่ปี ค.ศ.1964 แม้คำอธิบายในทฤษฎีของวรูม อาจจะยังมีความไม่สมบูรณ์ แต่ก็พบว่าเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญที่ทำให้มีการวิจัยต่อเนื่องมาอีกมากในเรื่องแรงจูงใจในการทำงานของคนงานในโรงงานอุตสาหกรรม นักจิตวิทยาในกลุ่มพุทธินิยมนี้เชื่อในเรื่องของความคิดของบุคคลว่าเป็นส่วนสำคัญในการทำให้เกิดแรงจูงใจต่อพฤติกรรม หรือการกระทำ แม้จะมีเรื่องของผลรางวัลหรือสิ่งเร้าภายนอกตัวเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดแรงจูงใจคือความคิดของบุคคล นักจิตวิทยาบางคนในกลุ่มนี้ศึกษาเรื่องการวางแผน บางคนศึกษาเรื่องการตั้งเป้าหมาย แต่สำหรับวรูมจะเน้นศึกษาเรื่องความคาดหวัง
คำอธิบายของวรูมเน้นใน 2 เรื่องด้วยกัน คือเรื่องค่านิยมในงานว่าทำงานแล้วคาดหวังว่าจะได้อะไร เช่น ทำงานให้ดี เพื่อหวังจะได้รับเงินเดือนเพิ่ม หรือบางคนหวังได้รับคำยกย่อง ในที่นี้เงินและคำยกย่องเป็นค่านิยม และอีกเรื่องที่เน้นคือแรงจูงใจซึ่งกำหนดทิศทางการกระทำเพื่อให้ได้ตามค่านิยมของตน คือคาดหวังว่าจะได้ตามค่านิยม เป็นแรงจูงใจให้บุคคลใช้ความพยายามกระทำให้สำเร็จ และความสำเร็จของงานเกิดจากความพยายามบวกกับความสามารถของตน จากคำอธิบายดังกล่าวนี้ หลายคนเห็นว่าวรูมเน้นที่สิ่งจูงใจจากภายนอก คือความคาดหวังที่จะได้รับรางวัล ได้รับการยกย่อง ได้รับเงินเดือนเพิ่มขึ้น ฯลฯ แต่ถ้ามองทัศนะของกลุ่มพุทธินิยม กลุ่มนี้จะกล่าวว่า ความคาดหวังซึ่งเป็นความคิดของบุคคล เป็นจุดสำคัญของแรงจูงใจ

แนวคิดในทฤษฎีของวรูม สรุปได้ว่า แรงจูงใจในการทำงานของบุคคล เกิดจากความคิดของบุคคลในการตั้งความคาดหวังในสิ่งที่กระทำ ซึ่งความคาดหวังนั้นมักเป็นไปตามค่านิยมของตน ทำให้บุคคลพยายามทำให้ได้ หากสิ่งที่พยายามสอดคล้องกับความสามารถด้วย ก็จะเป็นแรงจูงใจที่เข้มข้นสำหรับบุคคล นอกจากนั้น ผลการศึกษาต่อเนื่องจากวรูมก็ช่วยสนับสนุนแนวคิดดังกล่าว และยังได้ข้อสรุปเพิ่มขึ้นจากการที่บุคคลได้เข้าใจบทบาทการทำงานของตนเป็นอย่างดี จึงเห็นได้ว่า แนวทางในการสร้างแรงจูงใจให้บุคคลทำงาน คือการสร้างความคาดหวัง การให้ตระหนักในค่านิยมต่องาน การใช้ความพยายามการเสริมสร้างความสามารถในงาน และการช่วยให้บุคคลเข้าใจบทบาทของตนในงานนั้นๆ

นางสาวสายฝน โป่งมะณี รหัส 5210125401003 เอกการจัดการทั่วไป ปี4


ทฤษฎีผู้นำที่เหมาะสมกับสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน
ทฤษฎีผลกระทบระหว่างบุคคลและสถานการณ์ (Personal & Situation Theory)
ภายหลังปี ค.ศ. 1930 นักทฤษฎีได้เริ่มต้นศึกษาเกี่ยวกับความมีประสิทธิภาพของภาวะผู้นำในลักษณะที่มีความซับซ้อนมากขึ้น ทฤษฎีนี้มีแนวความคิดว่าคุณลักษณะของผู้นำจะต้องมีความสัมพันธ์กับสถานการณ์ จึงจะทำให้เกิดภาวะผู้นำที่มีประสิทธิภาพ ความเชื่อเบื้องหลังความคิดนี้คือลักษณะของสถานการณ์ใดๆก็ตามจะเป็นตัวกำหนดคุณลักษณะที่จำเป็นต่อความสำเร็จของภาวะผู้นำ ดังนั้นบุคคลที่มีลักษณะผู้นำตามทฤษฎีลักษณะผู้นำนั้น มิได้หมายความว่าจะเป็นผู้นำได้ทุกโอกาสหรือทุกสถานการณ์ ตัวอย่างเช่น ในสถานการณ์ที่กลุ่มต้องการความสนุกสนานรื่นเริงในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ บุคคลที่มีรูปร่างสูงใหญ่ เฉลียวฉลาด สุขุมเยือกเย็น ความจำดี กล้าหาญ และอดทน ย่อมไม่เหมาะที่จะเป็นผู้นำเท่ากับบุคคลที่มีนิสัยร่าเริง ชอบสนุกสนาน ชอบดื่ม แม้รูปร่างไม่ใหญ่โตและสติปัญญาไม่สู้จะเฉลียวฉลาดนัก เพราะในสถานการณ์เช่นนี้ทุกคนในกลุ่มต้องการหาความสุขจากการสนุกสนานรื่นเริง

อ้างอิง : รองศาสตราจารย์สมคิด บางโม. องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์, 2541.316 หน้า.

นางสาวนฤมล คำแหงพล รหัส 5130125401247 การจัดการทั่วไป รุ่น 19



สไตล์ของภาวะผู้นำที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์ใหม่ๆในยุคปัจจุบัน มี 4 รูปแบบ คือ ภาวะผู้นำแบบปฏิรูป (transformational leadership) ภาวะผู้นำแบบผู้สอนงาน (coaching leadership) ภาวะผู้นำแบบพิเศษ (super leadership) และภาวะผู้นำแบบผู้ประกอบการ (entrepreneurial leadership) ดังมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้

1. ภาวะผู้นำแบบปฏิรูป (transformational leadership)

Karl W. Kuhnert และ Philip Lewis ได้ร่วมกันพัฒนาทฤษฎีภาวะผู้นำแบบปฏิรูป(Transformational Leadership) โดยมีสาระสำคัญของทฤษฎีที่ชี้ให้เห็นว่า ความสำเร็จในการสร้างแรงจูงใจขององค์การ เกิดขึ้นเนื่องจากความเชื่อของบุคลากรที่เชื่อมั่นต่อองค์การ ตลอดจนเกิดความภาคภูมิใจในค่านิยมเกี่ยวกับความเป็นธรรม และความมีศักดิ์ศรี ขององค์การ สไตล์ภาวะผู้นำแบบนี้จะสร้างสรรค์ ภารกิจใหม่ ๆ ขึ้นในองค์การส่งเสริมให้แสวงหาวิธีการใหม่ ๆ ในการแก้ปัญหา และส่งเสริมให้สมาชิกทุกคนขององค์การเกิดการเรียนรู้ และเป็นสไตล์ภาวะผู้นำที่มีลักษณะใกล้เคียงกับภาวะผู้นำแบบบารมี และภาวะผู้นำแบบการสร้างแรงจูงใจ

ผู้นำแบบปฏิรูป ต้องปฏิบัติภารกิจโดยใช้กลยุทธ์ ดังต่อไปนี้ คือ

1. ทำให้บุคลากรตระหนัก (awareness) ถึงปัญหาขององค์การ และผลที่เกิดขึ้นจากปัญหา โดยสมาชิกองค์การต้องมีความเข้าใจถึงปัญหาที่มีความสำคัญเร่งด่วนขององค์การ และจะต้องทราบด้วยว่าถ้าปัญหาดังกล่าวไม่สามารถแก้ไขให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี จะเกิดผลในทางลบตามมาอย่างไรบ้าง

2.กำหนดวิสัยทัศน์ขององค์การ (create vision) โดยการกำหนดว่าองค์การควรเจริญเติบโตไปทิศทางใดในอนาคต สร้างความผูกพันและการยอมรับ ในวิสัยทัศน์ให้ครอบคลุมทั้งองค์การ และสนับสนุนให้เกิดความสะดวกสบายในการเปลี่ยนแปลงองค์การตามแนวทางที่กำหนดไว้ในวิสัยทัศน์

3. พัฒนากลยุทธ์ (strategy) ขององค์การ ให้เกิดขึ้นในกระบวนการเชิงกลยุทธ์ทั้งระบบขององค์การ ผู้บริหารในยุคปัจจุบันและอนาคต ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลง ในองค์การเพราะแนวโน้มในอนาคต องค์การจะต้องเข้าสู่การแข่งขันในสภาพแวดล้อมของกิจการในยุคโลกาภิวัตน์ เป็นความจำเป็นที่การประยุกต์แนวความคิดของภาวะผู้นำแบบปฏิรูปจะกลายเป็นทางเลือกที่สำคัญขององค์การต่อไป



2. ภาวะผู้นำแบบผู้สอนงาน (coaching leadership)

Samuel Certo ได้นำเสนอแนวคิดว่า ภาวะผู้นำแบบผู้สอนงาน (coaching leadership) คือภาวะผู้นำ ที่ผู้บริหารให้คำแนะนำ แก่ผู้ใต้บังคับบัญชาถึงวิธีการที่จะจัดการกับสถานการณ์ที่เป็นการท้าทายองค์การให้บรรลุผลสำเร็จได้ ส่วนแนวทางในการประยุกต์ต้องนำวิธีการจากการฝึกสอนกีฬามาปรับใช้



พฤติกรรมของภาวะผู้นำแบบสอนงาน (Coaching Behavior)

Pagonis เสนอแนวคิดที่เป็นพฤติกรรมกาสอนงานที่นำไปสู่ความสำเร็จ ดังนี้

1. การฟังด้วยความตั้งใจ (Listens Closely) ผู้นำแบบสอนงานพยายามจะมองปัญหาทั้งสองด้านกล่าวคือ จะต้องรวบรวมข้อความจริงจากสิ่งที่ผู้ใต้บังคับบัญชาพูด และขณะเดียวกันก็ต้องใส่ใจต่อความรู้สึก และอารมณ์ที่แอบแผงอยู่เบื้องหลังสิ่งที่ผู้ใต้บังคับบัญชาได้แสดงออก ซึ่งถือว่าเป็นศิลปะการ

ฟังที่ดี และต้องไม่ตกหลุมพรางของผู้ใต้บังคับบัญชา



แผนภาพแสดง ลักษณะของภาวะผู้นำแบบผู้สอนงานที่มีประสิทธิผล



คุณลักษณะ เจตคติ หรือพฤติกรรม

(Trait, Attitude, of Behavior)

แผนปฏิบัติการในการปรับปรุงภาวะผู้นำ (Action Plan)


1. เอาใจใส่ความรู้สึกผู้อื่น (Empathy)

2. มีทักษะในการฟัง(Listening)

3.มีความสามารถในการมองผู้อื่นได้ทะลุปรุโปร่ง

(Insight)

4. มีกุศลโรบายทางากรทูตและมียุทธวิธี

(Diplomacy and tact)

5.มีความอดทนต่อผู้อื่น

6.สนใจจัดสวัสดิการให้บุคลากร (Welfare)

7. ไม่ทำตัวเป็นปฏิปักษ์ต่อผู้อื่น (Minimum

Hostility)

8. มีความเชื่อมั่นในตนเอง และมีความมั่นคงทาง

อารมณ์

9. ไม่ทำตัวเป็นคู่แข่งขันกับสมาชิกในทีมงาน

10.กระตือรือร้นในการพบปะกับบุคคล

1. จะต้องฝึกรับฟังความคิดเห็นและทำความเข้าใจผู้อื่น

2. ฝึกความอดทนในการฟังเป็นพิเศษ

3. ฝึกสังเกตบุคคลเมื่อแรกพบ แล้วขยายผลในโอกาส

ต่อไป

4. จะต้องศึกษาจากตำราและเอกสารเกี่ยวกับ

จรรยาบรรณและพิธีกรรมทางการทูต

5. จะต้องฝึกอดกลั้นและสงบสติอารมณ์(calm) เมื่อพบ

เห็นผู้อื่นกระทำผิด

6. เมื่อพบปะกับผู้ใต้บังคับบัญชา จะต้องฝึกวิเคราะห์

ว่าแต่ละคนควรจะได้รับบริการทางด้านใด

7. จะต้องตรวจเช็คตนเองว่า ทำไมจึงโกรธให้ผู้อื่นเป็นประจำ

8. จะต้องพยายามปรับปรุงบุคลิกภาพของตนเองในแต่ละด้าน

ให้ประสบผลสำเร็จ อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง

9. จะต้องรักษาความเป็นหนึ่งเดียวของทีมงาน

10. จะต้องค้นหาส่วนที่ดีงามที่มีอยู่ในแต่ละบุคคล


ที่มา : ปรับปรุงจาก Samuel C.Certo, Modern Management, 7th ed, (Upper Saddle River, NJ:

Prentice-Hall International, 1998), p. 369.



2. สนับสนุนจูงใจพนักงาน (Gives Emotional Support) ผู้นำแบบสอนงานจะต้องให้กำลังใจพนักงานเพื่อจูงใจให้เขาทำงานให้องค์การประสบผลสำเร็จ

3. สามารถแสดงพฤติกรรมให้เป็นแบบอย่างแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาได้อย่างเหมาะสม (Show by Example)

ผู้นำแบบสอนงานสามารถแสดงวิธีการทำงาน ให้เป็นแบบอย่างแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาได้อย่างเหมาะสมและสามารถแสดงวิธีการแก้ปัญหาในการทำงาน หรือวิธีการแก้ปัญหาการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพแสดงให้เห็นว่าตนเองมีความเชี่ยวชาญและสร้างความไว้วางใจ (trust) และความนับถือ(respect) จากผู้ใต้บังคับบัญชาได้อย่างมีกลยุทธ์



3.ภาวะผู้นำแบบพิเศษ (super leadership)

Charles C. Manz และ Henry P. Sims ได้นำเสนอ ทฤษฎีภาวะผู้นำแบบพิเศษ (super leadership)” ซึ่งถือว่าเป็นวิธีการนำผู้อื่นโดยการแสดงให้เห็นว่า บุคคลจะสามารถนำตนเองได้อย่างไร กล่าวคือ ผู้นำแบบพิเศษจะประสบผลสำเร็จได้ ก็ต่อเมื่อพวกเขาสามารถพัฒนาผู้ตามให้เป็นบุคคลที่มีผลิตภาพสูงทำงานได้อย่างอิสระและต้องการให้ผู้นำเข้ามาควบคุมน้อยที่สุด

สำหรับความสำคัญอย่างยิ่งของผู้นำแบบพิเศษ คือ ความสามารถในการสอนให้ลูกน้องมีความสามารถในการคิดตามวิธีการของลูกน้องแต่ละคนพร้อมกับสามารถกระทำกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างเป็นรูปธรรม และดำเนินการได้อย่างอิสระ ผู้นำแบบพิเศษจะพยายามส่งเสริมให้บุคลากรได้ขจัดความคิดและความเชื่อในทางที่ไม่ดีที่มีต่อองค์การและเพื่อนร่วมงานออกไปจากกระบวนการคิด พร้อมกับให้ทดแทนความคิดและความเชื่อดังกล่าวด้วยความเชื่อในทางบวกและเป็นรูปธรรม นอกจากนี้ ผู้นำแบบพิเศษยังต้องสร้างความเชื่อมั่นในตนเองให้กับผู้ใต้บังคับบัญชา ด้วยวิธีการยอมรับพวกเขาอย่างจริงใจ ยอมรับว่าผู้ใต้บังคับบัญชามีศักยภาพเพียงพอและพร้อมที่จะเผชิญกับสิ่งท้าทายต่างๆ ขององค์การในสถานการณ์การทำงาน



4.ภาวะผู้นำแบบผู้ประกอบการ (entrepreneurial leadership)

ภาวะผู้นำแบบผู้ประกอบการอยู่บนพื้นฐานที่ว่า ผู้นำเป็นนายจ้างของตนเอง ผู้นำตามทฤษฎีนี้มี

ความสำคัญอย่างยิ่งต่อองค์การในการแก้ปัญหาวิกฤติ โดยต้องดำเนินการเสมือนว่าเขาเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงในทางการเงินสูงในการลงทุน แต่ก็อาจจะทำกำไรได้อย่างสูง ถ้าอีกฝ่ายเกิดการพ่ายแพ้ไป ความคิดพลาดที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้ง ถือว่ามีความสำคัญยิ่งต่อองค์การ

นายวิทวัชร ยัสพันธุ์ รหัส 5210125401074 เอกการจัดการทั่วไป



การพัฒนาองค์การมุ่งเน้นที่การสร้างทีมงานที่มีประสิทธิภาพสำหรับองค์การ

เหตุที่การพัฒนาองค์การต้องมุ่งเน้นที่การสร้างทีมงานที่มีประสิทธิภาพ มีสาเหตุสืบเนื่องมาจากคติฐานดังต่อไปนี้ คือ

1. ความสำเร็จขององค์การประเภทต่างๆ ทุกประเภทบนโลกปัจจุบันนี้มีผลสืบเนื่องมาจากประสิทธิภาพของทีมงานขององค์การนั้นๆ

2. วัฒนธรรมของทีมงานมีอิทธิพลอย่างสูงต่อพฤติกรรมของปัจเจกชน

3. การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม กระบวนการ วิธีการทำงานของกลุ่มทีมงานตลอดจนแบบแผนความสัมพันธ์ภายในกลุ่มทีมงานและระหว่างกลุ่มทีมงานจะเป็นวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพขององค์การอย่างถาวร

คติฐานดังกล่าวเบื้องต้นทั้งสามประการนี้เป็นคติฐานของเบลค เมาทัน เชปปาร์ด โฮโรวิทซ์ และแมกเกรเกอร์ ซึ่งเป็นกลุ่มของผู้ให้กำเนิดสาขาวิชาการพัฒนาองค์การ

การทดลองในห้องปฏิบัติการและกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์เป็นเทคนิคหนึ่งที่ช่วยสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับพลวัตของกลุ่ม และช่วยสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาทีมงานที่มีประสิทธิภาพ รากฐานความเชื่อเกี่ยวกับพลังของกลุ่มหรือทีมงานที่มีประสิทธิภาพนี้มีพื้นฐานมาจากหลายสาขาวิชา เช่น มานุษยวิทยา สังคมวิทยา ทฤษฎีองค์การและจิตวิทยาสังคม

ไลเคิร์ท ได้ให้ข้อคิดเห็นว่า “การที่สมาชิกของกลุ่มจะปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น จะต้องมีข้อบังคับเบื้องต้นว่าทีมงานหรือกลุ่มต้องทำงานอย่างมีประสิทธิภาพเสียก่อน”

ไลเคิร์ทมีความเชื่อว่าวัฒนธรรมของทีมงานมีอิทธิพลอย่างมากต่อพฤติกรรมของสมาชิกของทีมงาน

ดังนั้น การยอมรับความสำคัญของพลังกลุ่มหรือทีมงานจึงเป็นปัจจัยที่สำคัญในการเพิ่มพูนประสิทธิภาพของปัจเจกชนและองค์การ ซึ่งกลายมาเป็นเนื้อหาสาระที่สำคัญของการพัฒนาองค์การทั้งทางภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ

อ้างอิง หนังสือการพัฒนาองค์การ โดยสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช พ.ศ.2530

นางสาวหทัยทิพย์ พรายแก้ว รหัส 5210125401070 การจัดการทั่วไปปี 4



แนวคิดของการพัฒนาองค์การในแง่การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การ

ซึ่งครอบคลุมถึงปฏิสัมพันธ์ของพฤติกรรมต่างๆในองค์การ บรรทัดฐาน ความรู้สึก ความเชื่อ ทัศนคติ ค่านิยมและเทคโนโลยี (เทคโนโลยีในที่นี้หมายถึง วิธีการ กระบวนการและเครื่องมือที่ใช้ในองค์การ ซึ่งโดยนัยแห่งการพัฒนาองค์การนั้น การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีมักเป็นผลสืบเนื่องมาจากการพัฒนาองค์การ การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีไม่ใช่เป็นสาเหตุที่ต้องการพัฒนาองค์การ)

การพัฒนาองค์การเพื่อการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การเป็นความพยายามที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบ ซึ่งมีความหมายรวมถึงระบบขององค์การที่เป็นทางการ (Formal System) และระบบขององค์การที่ไม่เป็นทางการ (Informal System)

ระบบขององค์การที่ไม่เป็นทางการ (Informal System ) มีองค์ประกอบ เช่น การรับรู้ (Perceptions) ทัศนคติ (Attitudes) ความรู้สึก (Feelings) อันได้แก่ ความโกรธ ความกลัว ความรักใคร่ชอบพอและความสิ้นหวัง เป็นต้น ค่านิยม (Values) ความเชื่อ (Beliefs) การปฏิสัมพันธ์อย่างไม่เป็นทางการ (Informal Interactions) และบรรทัดฐานของกลุ่ม (Group Norms) เหล่านี้เป็นต้น ส่วนลักษณะของระบบที่เป็นทางการขององค์การ (Formal System) นั้นหมายถึง ข้อกำหนดที่มีการประกาศออกมาอย่างเป็นทางการและเปิดเผย เช่น วัตถุประสงค์ขององค์การ (Organizational Goals) โครงสร้างขององค์การ (Organizational Structure) นโยบายและแนวทางปฏิบัติ (Organizational Policies and Procedures) เทคโนโลยี (Technology) ผลผลิต (Products) และทรัพยากรด้านการเงิน (Financial Resources) ขององค์การ เหล่านี้เป็นต้น

เวนเดลล์ แอล เฟรนซ์ (Wendell L. French) และ ซีซิล เอช เบลล์ (Cecil H. Bell) ได้อธิบายเปรียบเทียบระบบขององค์การที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการขององค์การว่าเปรียบเสมือนภูเขาน้ำแข็ง ส่วนของภูเขาน้ำแข็งที่มักจมอยู่ใต้ผิวน้ำ คือระบบขององค์การที่ไม่เป็นทางการ ซึ่งผู้บริหารมักจะไม่ได้คำนึงถึงเท่ากับระบบขององค์การที่เป็นทางการ เฟรนซ์และเบลล์เปรียบเทียบระบบขององค์การที่เป็นทางการเสมือนส่วนบนของภูเขาที่ลอยขึ้นอย่างเปิดเผยเหนือน้ำ นอกจากนี้ เฟรนซ์ และ เบลล์ ให้ข้อสังเกตว่าเมื่อการพัฒนาองค์การได้เป็นที่ยอมรับอย่างเป็นทางการจากระบบขององค์การที่เป็นทางการเรียบร้อยแล้ว ระบบขององค์การที่ไม่เป็นทางการกลับเป็นจุดเริ่มต้นที่การพัฒนาองค์การ ต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะองค์ประกอบด้านทัศนคติ ความรู้สึก ความเชื่อ และค่านิยมขององค์การที่ไม่เป็นทางการ

อ้างอิง หนังสือการพัฒนาองค์การ จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช พ.ศ. 2530

นางสาวนพมาศ พิณทมร รหัส 5210125401067 เอกการจัดการทั่วไป


บทที่ 5 ทฤษฎีความเป็นผู้นำ ติณ ปรัชญพฤทธิ์ ได้กล่าวถึงความเป็นผู้นำนั้นมีทฤษฎีความเป็นผู้นำที่สำคัญดังนี้
1. Great-man Theories ทฤษฎีผู้ยิ่งใหญ่ เชื้อว่าผู้นำมีลักษะพิเศษบางประการที่ผู้ตามไม่มี ซึ่งรวมถึง พลังกาย พลังสมอง และพลังศีลธรรม ที่สืบเนื่องมาจากพันธุกรรมและสภาพแวดล้อมแต่ละยุคสมัย
2. Environmental Theories ทฤษฎีสภาพแวดล้อม ทฤษฎีนี้เชื้อว่าบุคคลที่จะเป็นผู้นำขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมกล่าวคือ ผู้นำจะเป็นผู้สามารถแก้ปัญหาในยามวิกฤตได้ซึ่งสอดคล้องกับแนวติดของ Ross and Hendry, 1958) สถานการณ์ที่กลุ่มเผชิญอยู่ก่อให้เกิดผู้นำได้
3. Personal Situational Theories ทฤษฎีบุคคลและสถานการณ์ โดยมีความเชื้อที่ว่าผู้นำเกิดจากลักษณะพิเศษ ผู้ตาม และสถานการณ์ หมายความว่าผู้นำ แต่ละคนจะต้องมีคุณลักษณะที่เด่นชัด และจำเป็นจะต้องศึกษาสถานการณ์ที่กำลังเผชิญอยู่ และพันธุกรรมไม่สามารถอธิบายความเป็นผู้นำได้
4. Interaction Expectation Theories ทฤษฎีปฏิสัมพันธ์และความคาดหวัง มีความเชื่อว่า การเป็นผู้นำเกิดจากปฏิกิริยาโต้ตอบและความคาดหวังระหว่าสมาชิกภายในกลุ่ม ผู้นำต้องเป็นผู้ริเริ่มไดสอดคล้องกับสถานการณ์ ซึ่งอาจมองตามอำนาจตามตำแหน่ง มากหรือน้อย สถานการณ์กลุ่มก็แตกต่างกัน ภารกิจของกลุ่มเป็นงานของกลุ่มที่จะต้องทำให้สำเร็จ งานเหล่านี้จะยากง่ายแตกต่างกัน และความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำกับผู้ตาม หากผู้นำเป็นที่ยอมรับและมีความสามารถตามที่คาดหวังการติดต่อสัมพันธ์ภายในกลุ่มก็จะเป็นไปด้วยดี
5. Humanistic Theories ทฤษฎีมนุษยนิยม เป็นการมุ่งพัฒนาองค์การให้มีประสิทธิผลและมีความเป็นปึกแผ่น ผู้นำจะต้องให้ผู้ร่วมงานมีอิสระและเสรี เพื่อที่จะปฏิบัติงานสนองความต้องการของตนเองและองค์การ ซึ่งมนุษย์ต้องการแรงจูงใจในการทำงาน มีความต้องการ ความคาดหวังและ ความตั้งใจ ในขณะเดียวกันก็ต้องมีการควบคุมให้เป็นระเบียบ และต้องปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้เอื้ออำนวยต่อธรรมชาติของมนุษย์อย่างเต็มที่
6.Exchange Theories ทฤษฎีการแลกเปลี่ยน เชื่อว่าการที่ผู้ตามยินดีคล้อยตามผู้นำเพราะต่างก็มีผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน กล่าวคือการที่สมาชิกคนใดในกลุ่มได้รับการยกย่องให้เป็นผู้นำ จะทำให้ผู้นั้นรู้สึกว่าตนได้รับรางวัลและผลประโยชน์ ซึ่งมีผลต่อสมาชิกอื่นๆ มีความพอใจและยอมรับ

อ้างอิง: http://www.oknation.net

น.ส.ภาณีนุช ปิยภานีกุล 5210125401014 การจัดการทั่วไป ปี4


การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม
ความรู้ทางด้านเศรษฐศาสตร์อยู่รอบตัวเราทุกหนทุกแห่ง ไม่มีบริษัทใดที่หลีกเลี่ยงปัจจัย
จากสภาพแวดล้อมที่ก่อให้เกิดอุปสรรคคุกคามและโอกาสได้
นักวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของ IC&M จะมุ่งเป้าไปที่ประเด็นจากสภาพแวดล้อมที่มีนัยสำคัญต่อองค์กรของคุณ IC&M จะช่วยคุณในเรื่องการเก็บรวบรวมข้อมูล และติดตามดูแลองค์กรของคุณ และประเมินผลกระทบของปัจจัยจากสภาพแวดล้อม และเพื่อรวมกันเข้าเป็นกลยุทธ์
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกของ IC&M จะวิเคราะห์ปัญหาที่ส่งผลกระทบกับกลยุทธ์ทางด้านการตลาดขององค์กร เช่น ปัจจัยทางด้านสังคมวัฒนธรรม ประเด็นทางด้านกฎหมาย และการแข่งขันกันในตลาด การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกเป็นการวิเคราะห์ที่เกี่ยวข้องกันระหว่างองค์กรของคุณและสภาพแวดล้อมภายนอก เพื่อกำหนดและทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากภายนอก เราจะแยกการเปลี่ยนแปลงออกเป็นโอกาส และ อุปสรรคคุกคาม โอกาสคือช่องทางในการสร้างความเติบโตให้ธุรกิจ ขณะที่อุปสรรคคุกคาม คือภัยท้าทายต่อการทำงาน ผู้จัดการจึงมีภาระที่จะต้องทำความเข้าใจและหากำไรจากโอกาสภายนอก และต้องระวังในอุปสรรคคุกคามที่อาจจะทำให้ประสบผลสำเร็จหรือล้มเหลวได้
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในของ IC&M เป็นการวิเคราะห์ในด้านทรัพยากร ความสามารถในการแข่งขัน และความสามารถในด้านอื่นๆ ขององค์กร ผู้เชี่ยวชาญของ IC&M จะเฝ้าดูปัจจัยเหล่านี้ภายในองค์กรของคุณ และจะทำการวิเคราะห์เชิงลึกในเรื่อง การดำเนินงานภายใน วัฒนธรรม โครงสร้าง บุคคลากร ทรัพยากรทางกายภาพ และเทคโนโลยี
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในนั้นตรงกันข้ามกับการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก มันทำให้เราทราบถึงตำแหน่งของการแข่งขัน รวมทั้งจุดแข็งและจุดอ่อนที่เกี่ยวพันกันขององค์กร จุดแข็งทำให้คุณกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญในแวดวงธุรกิจของคุณ ขณะที่จุดอ่อนทำให้คุณขาดความชำนาญการ ทั้งจุดแข็งและจุดอ่อนทำให้คุณเข้าใจถึงผลดีและผลเสียจากการแข่งขัน การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในของ IC&M จะช่วยให้คุณเพิ่มประโยชน์จากจุดแข็งและพิชิตจุดอ่อน


อ้างอิงจาก www.idealconsultancy.com

นางสาววัชรี ทองห่อ รหัส 5210125401052 การจัดการทั่วไป

ผู้นำตามสถานการณ์ของฟิดเลอร์
แนวคิดทฤษฎีผู้นำตามสถานการณ์ของฟิดเลอร์ คือ ความยืดหยุ่นของผู้นำ (Leader flexibility) หมายถึง ผู้นำที่ประสบความสำเร็จจะต้องเปลี่ยนรูปแบบความเป็นผู้นำเมื่อเผชิญสถานการณ์ที่แตกต่างกัน โดยผู้นำประยุกต์ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ทฤษฎีผู้นำตามสถานการณ์นี้ให้ความสำคัญกับตัวแปรสำคัญที่เป็นตัวกำหนดถึงสถานการณ์ด้วยองค์ประกอบ 3 ด้าน คือ
1. ความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำกับผู้ใต้บังคับบัญชา (Leader-member relations) หมายถึง ความรู้สึกของพนักงานในการยอมรับในตัวผู้นำ
2. โครงสร้างของงาน (Task structure) หมายถึง เป้าหมายของงานที่จะต้องทำการกำหนดหน้าที่งาน
3. การใช้อำนาจหน้าที่ตามตำแหน่ง (Position power) หมายถึง ผู้นำเป็นผู้ให้คุณให้โทษแก่พนักงานได้
อ้างอิง : การจัดการสมัยใหม่, ผู้ช่วยศาสตราจารย์เนตร์พัณณา ยาวิราช, ปี 2546, หน้า 123-124

นางสาว อัสรา พัฒนพูสกุล รหันักศึกษา 5230135401​271



ลักษณะภาวะผู้นำ

นักวิชาการหลายท่านจึงสรุปได้ว่า ผู้นำ (Leader) คือบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งหรือการเลือกตั้งหรือการยกย่องจากกลุ่มให้ทำหน้าที่ของตำแหน่งผู้นำ เช่น ในเรื่องของการชี้แนะ การสั่งการ และการให้ความช่วยเหลือเพื่อให้กลุ่มสามารถปฏิบัติงานได้สำเร็จตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ ในแต่ละหน่วยงานหรือองค์กรนั้นต่างเขียนชื่อผู้นำแตกต่างกันไปตามลักษณะงานและองค์การที่อยู่ เช่น ผู้บริหาร ผู้จัดการ ประธานกรรมการ ผู้อำนวยการ อธิการบดี ผู้บัญชาการเหล่าทัพ นายอำเภอ กำนัน เจ้าคณะจังหวัด เจ้าอาวาส ปลัดกระทรวง และคณบดี เป็นต้น เมื่อมีการกล่าวถึงผู้นำแล้วย่อมลีมไม่ได้ที่จะกล่าวถึง ภาวะผู้นำ (Leadership) หรือความเป็นผู้นำ คือความสามารถในการนำ (The American Heritage Dictionary, 1985: 719) จึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งสำหรับความสำเร็จของผู้นำภาวะผู้นำ เพื่อให้รู้ว่าอะไรเป็นองค์ประกอบที่จะช่วยให้ผู้นำมีความสามารถในการนำ หรือมีภาวะผู้นำที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้มีความเข้าใจตรงกันในความหมายของภาวะผู้นำ และจากการให้ความหมายของนักวิชาการหลายท่านจึงสรุปได้ว่า ภาวะผู้นำ (Leadership) คือ กระบวนการที่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือมากกว่า พยายามใช้อิทธิพลของตนหรือกลุ่มตน กระตุ้น ชี้นำ ผลักดัน ให้บุคคลอื่น หรือกลุ่มบุคคลอื่นมีความเต็มใจ และกระตือรือร้นในการทำสิ่งต่างๆ ตามต้องการ โดยมีความสำเร็จของกลุ่มหรือองค์การเป็นเป้าหมาย

มิทเซล และลาร์สัน จูเนียร์ (Michell and Larson , Jr.. 1987:435-436) ได้ชี้ให้เห็นองค์ประกอบที่สำคัญ3 ประการ ในการพิจารณาว่าผู้นำใดมีภาวะผู้นำหรือไม่ คือ

1. ผู้นำเป็นกระบวนการ

ภาวะผู้ เป็นกระบวนการของการใช้อิทธิพล ที่ผู้นำพยายามจะมีอิทธิพลเหนือผู้ตาม เพื่อให้มีพฤติกรรมการปฏิบัติงานตามต้องการโดยมีจุดมุ่งหมายขององค์การเป็นเป้าหมาย ไม่ใช่เรื่องของบุคคลที่จะพีงมีภาวะผู้นำได้โดยที่ไม่ได้มีการกระทำใดๆ เป็นกระบวนการ (Process) ให้เกิดอิทธิพลต่อผู้อื่น ดังนั้น ผู้นำที่มาจาการแต่งตั้ง เช่น ผู้อำนวยการ ผู้บัญชาการ อาจจะมีภาวะหรือไม่มีก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่ว่ามีลักษณะทั้ง 3 ประการหรือเปล่า ในทางตรงกันข้ามผู้ที่แสดงภาวะผู้นำอาจจะไม่เป็นผู้นำที่แบบทางการ แต่มีองค์ประกอบ 3 ประการนั้น

2. มีระดับความถูกต้องของการใช้อิทธิพล

ภาวะผู้นำ นอกจากเป็นการกระบวนการแล้ว ภาวะผู้นำจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้ตามยอมให้ผู้นำใช้อิทธิพลต่อตัวเขา ซึ่งโดยทั่วไปก็ต้องพิจารณาถึงระดับความถูกต้องของอิทธิพลที่ใช้ด้วยว่า ไม่ใช่เป็นการใช้อำนาจเข้าขู่เข็ญ หรือบีบบังคับให้ทำตาม เพราะถ้าเป็นการเช่นนั้นก็ไม่ถือว่าผู้นำมีภาวะผู้นำได้

3. มีความสำเร็จของจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้

ภาวะผู้นำ จะถูกอ้างถึงเมื่อจุดหมายของกลุ่ม หรือองค์การประสบความสำเร็จ ดังนั้น ถ้าหากผู้นำไม่สามารถนำกลุ่มไปสู่ความสำเร็จดังกล่าวได้ ก็ย่อมหมายถึงว่าผู้นำไม่ได้แสดงภาวะผู้นำหรือไม่มีความสามารถในการนำนั้นเอง ประสิทธิภาพของภาวะผู้นำ

การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

ผู้นำในองค์การสามารถใช้อำนาจหน้าที่ของตน และความสามารถในการจูงใจคน ชักจูงให้สมาชิกในองค์การนั้นมีความอยากที่จะทำงานอย่างเต็มความสามารถ การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของภาวะผู้นำ ได้มีนักวิชาการให้เกณฑ์ (Criteria) ที่ใช้ในการประเมินประสิทธิภาพผู้นำ แยกออกได้ 3 ลักษณะด้วยกันคือ

1. ผลที่เกิดขึ้นของกลุ่ม (Outcome) คือผลที่เกิดขึ้นของกลุ่ม เนื่องจากความสามารถ ในการนำหรือภายใต้การนำของผู้นำ เช่น ผลสำเร็จของการปฏิบัติของกลุ่ม การสามารถ บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ การอยู่รอดของกลุ่มความก้าวหน้าของกลุ่ม ความพร้อมของกลุ่ม ความสามารถในการแก้ปัญหาของกลุ่ม ความพึงพอใจของสมาชิกของกลุ่มที่มีผู้นำและฐานะที่ได้รับการยอมรับไม่เปลี่ยนแปลงของผู้นำ สำหรับผลสำเร็จของการปฏิบัติงานในองค์การธุรกิจ อาจจะเห็นได้ชัดจากผลกำไรที่เพิ่มขึ้น ยอดขายที่เพิ่มขึ้น ครองส่วนแบ่งของตลาดมากขึ้น เงินหมุนเวียนลงทุนมากขึ้น รวมทั้ง การยอมรับในผู้นำจากผู้บังคับบัญชา เพื่อน และผู้ตามมากขึ้น ส่วนองค์การของรัฐมักจะเน้นไปที่ ปริมาณและคุณภาพของผลผลิตและการบริการขององค์การ

2. ทัศนคติของผู้ตาม (Attitude of Followers) ทัศนคติของผู้ตามหรือผู้ใต้บังคับบัญชาที่มีต่อผู้นำ นิยมใช้เป็นเกณฑ์ ตัดสินประสิทธิภาพของผู้นำอีกเกณฑ์หนึ่ง โดยการใช้แบบสอบถามหรือการสัมภาษณ์ผู้ตาม

3. คุณภาดของกระบวนการกลุ่ม (Quakity of Group process) คุณภาพของกระบวนการกลุ่มก็เป็นเกณฑ์ที่ใช้ประเมินประสิทธิภาพของผู้นำ โดยประเมินจากความสนับสนุนด้านต่างๆ และความตั้งใจที่จะทำให้คุณภาพของกระวนการกลุ่มของลูกน้อง มีคุณภาพดีขึ้นในด้านความสามัคคี ความร่วมมือ แรงจูงใจ การแก้ปัญหา การตัดสินใจ การแก้ไข ความขัดแย้ง ประสิทธิภาพ ของงานเฉพาะด้าน กิจกรรมขององค์การ การมีทรัพยากรอย่างพอเพียง และความพร้อมของกลุ่มที่จะรับมือต่อการเปลี่ยนแปลง และเหตุการณ์วิกฤตต่างๆ รวมทั้งการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของการทำงานการสร้างความมั่นใจให้สมาชิก การเพิ่มพูนทักษะในการทำงาน และพัฒนาสุขภาพจิตของสมาชิกให้ดีขึ้น





ประสิทธิภาพของภาวะผู้นำ

การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ผู้นำในองค์การสามารถใช้อำนาจหน้าที่ของตน และความสามารถในการจูงใจคน ชักจูงให้สมาชิกในองค์การนั้นมีความอยากที่จะทำงานอย่างเต็มความสามารถ การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของภาวะผู้นำ ได้มีนักวิชาการให้เกณฑ์ (Criteria) ที่ใช้ในการประเมิณประสิทธิภาพผู้นำ แยกออกได้ 3 ลักษณะ

1. ผลที่เกิดขึ้นของกลุ่ม (Outcome) คือผลที่เกิดขึ้นของกลุ่ม เนื่องจากความสามารถ ในการนำหรือภายใต้การนำของผู้นำ เช่น ผลสำเร็จของการปฏิบัติของกลุ่ม การสามารถ บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ การอยู่รอดของกลุ่มความก้าวหน้าของกลุ่ม ความพร้อมของกลุ่ม ความสามารถในการแก้ปัญหาของกลุ่ม ความพึงพอใจของสมาชิกของกลุ่มที่มีผู้นำและฐานะที่ได้รับการยอมรับไม่เปลี่ยนแปลงของผู้นำ สำหรับผลสำเร็จของการปฏิบัติงานในองค์การธุรกิจ อาจจะเห็นได้ชัดจากผลกำไรที่เพิ่มขึ้น ยอดขายที่เพิ่มขึ้น ครองส่วนแบ่งของตลาดมากขึ้น เงินหมุนเวียนลงทุนมากขึ้น รวมทั้ง การยอมรับในผู้นำจากผู้บังคับบัญชา เพื่อน และผู้ตามมากขึ้น ส่วนองค์การของรัฐมักจะเน้นไปที่ ปริมาณและคุณภาพของผลผลิตและการบริการขององค์การ

2. ทัศนคติของผู้ตาม (Attitude of Followers) ทัศนคติของผู้ตามหรือผู้ใต้บังคับบัญชาที่มีต่อผู้นำ นิยมใช้เป็นเกณฑ์ ตัดสินประสิทธิภาพของผู้นำอีกเกณฑ์หนึ่ง โดยการใช้แบบสอบถามหรือการสัมภาษณ์ผู้ตาม

3. คุณภาดของกระบวนการกลุ่ม (Quakity of Group process) คุณภาพของกระบวนการกลุ่มก็เป็นเกณฑ์ที่ใช้ประเมินประสิทธิภาพของผู้นำ โดยประเมินจากความสนับสนุนด้านต่างๆ และความตั้งใจที่จะทำให้คุณภาพของกระวนการกลุ่มของลูกน้อง มีคุณภาพดีขึ้นในด้านความสามัคคี ความร่วมมือ แรงจูงใจ การแก้ปัญหา การตัดสินใจ การแก้ไข ความขัดแย้ง ประสิทธิภาพ ของงานเฉพาะด้าน กิจกรรมขององค์การ การมีทรัพยากรอย่างพอเพียง และความพร้อมของกลุ่มที่จะรับมือต่อการเปลี่ยนแปลง และเหตุการณ์วิกฤตต่างๆ รวมทั้งการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของการทำงานการสร้างความมั่นใจให้สมาชิก การเพิ่มพูนทักษะในการทำงาน และพัฒนาสุขภาพจิตของสมาชิกให้ดีขึ้น

อ้างอิง : สืบค้นจาก http://www.baanjomyut.com/library_2/the_nature_of_leadership/03.html เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2555 ; ธีรศักดิ์ ชนะบางแก้ว นักวิชาการ วิทยาลัยภูมิปัญญา มหาวิทยาลัยทักษิณ

นส.รำไพพรรณ เชียงหนุ้น รหัส 215 การจัดการทั่วไป



www.fda.moph.go.th สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

เป็นเว็ปที่ให้ฐานข้อมูลกฎหมายเกี่ยวกับ อย. ดังนี้

1.ยา

2.เครื่องสำอาง

3.วัตถุเสพติด

4.อาหาร

5.เครื่องมือแพทย์

6.วัตถุอันตราย

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเป็นส่วนราชการมีฐานะการปกป้องและคุ้มครองสุขภาพประชาชนจากการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพโดยผลิตภัณฑ์สุขภาพเหล่านั้นต้องมีคุณภาพมาตรฐานและปลอดภัย มีการส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้องด้วยข้อมูลวิชาการที่มีหลักฐานเชื่อถือได้และมีความเหมาะสม เพื่อให้ประชาชนได้บริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปลอดภัยและสมประโยชน์ โดยมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
1. ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร กฎหมายว่าด้วยยา กฎหมายว่าด้วยเครื่องสำอาง กฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย กฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท กฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ กฎหมายว่าด้วยเครื่องมือแพทย์ กฎหมายว่าด้วยการป้องกันการใช้สารระเหย และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
2. พัฒนาระบบและกลไก เพื่อให้มีการดำเนินการบังคับใช้กฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบ
3. เฝ้าระวังกำกับและตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานของผลิตภัณฑ์สถานประกอบการ และการโฆษณา รวมทั้งผลอันไม่พึงประสงค์ของผลิตภัณฑ์ตลอดจนมีการติดตามหรือเฝ้าระวังข้อมูลข่าวสารด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพจากภายในประเทศและภายนอกประเทศ
4. ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ เทคโนโลยี และระบบงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
5. ส่งเสริมและพัฒนาผู้บริโภคให้มีศักยภาพในการเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ถูกต้อง เหมาะสม ปลอดภัย และคุ้มค่า รวมทั้งเพื่อให้ผู้บริโภคนั้นมีการร้องเรียน เพื่อปกป้องสิทธิของตนได้
6. พัฒนาและส่งเสริมการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ โดยการมีส่วนร่วมของภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชน และเครือข่ายประชาคมสุขภาพ
7. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาหรือตามที่กระทรวงหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย

นส.รำไพพรรณ เชียงหนุ้น 215 การจัดการทั่วไป

PATH-GOAL THEORY ทฤษฎีหนทาง-เป้าหมาย ของ ROBERT HOUSE (1971)

เสนอว่า ผู้นำที่จะนำได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือผู้นำที่เข้าไปมีพฤติกรรมในการสนับสนุนสภาพแวดล้อมและขีดความสามารถของผู้อยู่ภายใต้บังคับบัญชาของเขา เพื่อชดเชยจุดอ่อนที่มีอยู่ และใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างผลการทำงานของหน่วยและความพอใจของผู้ใต้บังคับบัญชาด้วยการสร้างหนทางที่ชัดเจนและง่ายไปสู่เป้าหมาย
ทฤษฎีนี้เสนอว่า ผู้นำจะเลือกใช้พฤติกรรมหรือท่วงทำนองการนำแบบใดแบบหนึ่งใน 5 แบบ คือ

1) ACHIEVEMENT-ORIENTED มุ่งผลสำเร็จ ตั้งเป้าหมายที่ท้าทาย ทั้งสำหรับงานและการพัฒนาตนเอง, แสดงให้เห็นมาตรฐานและการคาดหมายที่สูง ผู้นำเชื่อมั่นในความสามารถว่าผู้ตามจะทำได้สำเร็จ สไตล์นี้เหมาะกับสถานะการณ์ที่งานมีความซับซ้อน
2) DIRECTIVE เน้นการชี้แนะ ผู้นำบอกผู้ตามว่าต้องทำอะไร และให้คำชี้แนะที่เหมาะสมตลอดทาง รวมทั้งกำหนดเวลาของงานแต่ละช่วง สไตล์นี้เหมาะกับสถานะการณ์ที่ผู้ตามยังมีประสบการณ์น้อย งานยังไม่มีการจัดโครงสร้างที่ดี จำเป็นต้องทำให้ผู้ตามรู้สึกมั่นคง และอยู่ภายใต้การควบคุมดูแล
3) PARTICIPATIVE เน้นการมีส่วนร่วม ผู้นำปรึกษากับผู้ตามและนำความคิดของพวกเขามาเป็นส่วนหนึ่งในการตัดสินใจ เหมาะกับสถานะการณ์ที่ผู้ตามมีประสบการณ์ ความชำนาญ ให้คำแนะนำได้ และองค์กรต้องการคำแนะนำจากพวกเขา
4) SUPPORTIVE เน้นการสนับสนุน ผู้นำสร้างบรรยากาศการทำงานที่เป็นมิตร สนใจความต้องการและสวัสดิการของผู้ตาม ช่วยทำให้ผู้ตามเพิ่มการนับถือตนเองและทำให้งานสนุกขึ้น สไตล์นี้เหมาะกับสถานการณ์ที่งานเป็นเรื่องเครียด น่าเบื่อ หรือเสี่ยงอันตราย
5) DELEGATING เน้นการมอบหมายงาน ผู้นำสไตล์นี้ยังคงเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ แต่จะมอบหมายส่งผ่านกระบวนการทำงานและความรับผิดชอบให้กับปัจเจกชนและกลุ่ม โดยผู้นำเป็นคนติดตามตรวจสอบความก้าวหน้าของงาน

ทฤษฎีนี้ไม่ได้มองว่าสไตล์การนำแบบไหนใน 5 แบบข้างต้นดีที่สุด ที่ผู้นำทุกคนจะเลือกนำไปใช้ได้ทุกเวลา และไม่ได้มองว่าผู้นำแต่ละคนจะมีพฤติกรรมแบบหนึ่งแบบใดโดยเฉพาะตลอดไป แต่ผู้นำอาจเลือกใช้ทั้ง 5 แบบนี้ได้อย่างยืดหยุ่น โดยขึ้นอยู่กับสถานะการณ์แต่ละสถานะการณ์ ผู้นำที่มีประสิทธิภาพ คือคนที่มีความคล่องตัวยืดหยุ่น รู้จักปรับตัวเองให้เข้ากับสถานการณ์ที่มีลักษณะแตกต่างกันไป




นางสาวนพมาศ พิณทมร รหัส 5210125401067 เอกการจัดการทั่วไป


บทที่ 5 ทฤษฎีความเป็นผู้นำ ติณ ปรัชญพฤทธิ์ ได้กล่าวถึงความเป็นผู้นำนั้นมีทฤษฎีความเป็นผู้นำที่สำคัญดังนี้
1. Great-man Theories ทฤษฎีผู้ยิ่งใหญ่ เชื้อว่าผู้นำมีลักษะพิเศษบางประการที่ผู้ตามไม่มี ซึ่งรวมถึง พลังกาย พลังสมอง และพลังศีลธรรม ที่สืบเนื่องมาจากพันธุกรรมและสภาพแวดล้อมแต่ละยุคสมัย
2. Environmental Theories ทฤษฎีสภาพแวดล้อม ทฤษฎีนี้เชื้อว่าบุคคลที่จะเป็นผู้นำขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมกล่าวคือ ผู้นำจะเป็นผู้สามารถแก้ปัญหาในยามวิกฤตได้ซึ่งสอดคล้องกับแนวติดของ Ross and Hendry, 1958) สถานการณ์ที่กลุ่มเผชิญอยู่ก่อให้เกิดผู้นำได้
3. Personal Situational Theories ทฤษฎีบุคคลและสถานการณ์ โดยมีความเชื้อที่ว่าผู้นำเกิดจากลักษณะพิเศษ ผู้ตาม และสถานการณ์ หมายความว่าผู้นำ แต่ละคนจะต้องมีคุณลักษณะที่เด่นชัด และจำเป็นจะต้องศึกษาสถานการณ์ที่กำลังเผชิญอยู่ และพันธุกรรมไม่สามารถอธิบายความเป็นผู้นำได้
4. Interaction Expectation Theories ทฤษฎีปฏิสัมพันธ์และความคาดหวัง มีความเชื่อว่า การเป็นผู้นำเกิดจากปฏิกิริยาโต้ตอบและความคาดหวังระหว่าสมาชิกภายในกลุ่ม ผู้นำต้องเป็นผู้ริเริ่มไดสอดคล้องกับสถานการณ์ ซึ่งอาจมองตามอำนาจตามตำแหน่ง มากหรือน้อย สถานการณ์กลุ่มก็แตกต่างกัน ภารกิจของกลุ่มเป็นงานของกลุ่มที่จะต้องทำให้สำเร็จ งานเหล่านี้จะยากง่ายแตกต่างกัน และความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำกับผู้ตาม หากผู้นำเป็นที่ยอมรับและมีความสามารถตามที่คาดหวังการติดต่อสัมพันธ์ภายในกลุ่มก็จะเป็นไปด้วยดี
5. Humanistic Theories ทฤษฎีมนุษยนิยม เป็นการมุ่งพัฒนาองค์การให้มีประสิทธิผลและมีความเป็นปึกแผ่น ผู้นำจะต้องให้ผู้ร่วมงานมีอิสระและเสรี เพื่อที่จะปฏิบัติงานสนองความต้องการของตนเองและองค์การ ซึ่งมนุษย์ต้องการแรงจูงใจในการทำงาน มีความต้องการ ความคาดหวังและ ความตั้งใจ ในขณะเดียวกันก็ต้องมีการควบคุมให้เป็นระเบียบ และต้องปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้เอื้ออำนวยต่อธรรมชาติของมนุษย์อย่างเต็มที่
6.Exchange Theories ทฤษฎีการแลกเปลี่ยน เชื่อว่าการที่ผู้ตามยินดีคล้อยตามผู้นำเพราะต่างก็มีผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน กล่าวคือการที่สมาชิกคนใดในกลุ่มได้รับการยกย่องให้เป็นผู้นำ จะทำให้ผู้นั้นรู้สึกว่าตนได้รับรางวัลและผลประโยชน์ ซึ่งมีผลต่อสมาชิกอื่นๆ มีความพอใจและยอมรับ

อ้างอิง: http://www.oknation.net

น.ส.ภาณีนุช ปิยภานีกุล 5210125401014 การจัดการทั่วไป ปี4


การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม
ความรู้ทางด้านเศรษฐศาสตร์อยู่รอบตัวเราทุกหนทุกแห่ง ไม่มีบริษัทใดที่หลีกเลี่ยงปัจจัย
จากสภาพแวดล้อมที่ก่อให้เกิดอุปสรรคคุกคามและโอกาสได้
นักวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของ IC&M จะมุ่งเป้าไปที่ประเด็นจากสภาพแวดล้อมที่มีนัยสำคัญต่อองค์กรของคุณ IC&M จะช่วยคุณในเรื่องการเก็บรวบรวมข้อมูล และติดตามดูแลองค์กรของคุณ และประเมินผลกระทบของปัจจัยจากสภาพแวดล้อม และเพื่อรวมกันเข้าเป็นกลยุทธ์
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกของ IC&M จะวิเคราะห์ปัญหาที่ส่งผลกระทบกับกลยุทธ์ทางด้านการตลาดขององค์กร เช่น ปัจจัยทางด้านสังคมวัฒนธรรม ประเด็นทางด้านกฎหมาย และการแข่งขันกันในตลาด การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกเป็นการวิเคราะห์ที่เกี่ยวข้องกันระหว่างองค์กรของคุณและสภาพแวดล้อมภายนอก เพื่อกำหนดและทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากภายนอก เราจะแยกการเปลี่ยนแปลงออกเป็นโอกาส และ อุปสรรคคุกคาม โอกาสคือช่องทางในการสร้างความเติบโตให้ธุรกิจ ขณะที่อุปสรรคคุกคาม คือภัยท้าทายต่อการทำงาน ผู้จัดการจึงมีภาระที่จะต้องทำความเข้าใจและหากำไรจากโอกาสภายนอก และต้องระวังในอุปสรรคคุกคามที่อาจจะทำให้ประสบผลสำเร็จหรือล้มเหลวได้
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในของ IC&M เป็นการวิเคราะห์ในด้านทรัพยากร ความสามารถในการแข่งขัน และความสามารถในด้านอื่นๆ ขององค์กร ผู้เชี่ยวชาญของ IC&M จะเฝ้าดูปัจจัยเหล่านี้ภายในองค์กรของคุณ และจะทำการวิเคราะห์เชิงลึกในเรื่อง การดำเนินงานภายใน วัฒนธรรม โครงสร้าง บุคคลากร ทรัพยากรทางกายภาพ และเทคโนโลยี
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในนั้นตรงกันข้ามกับการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก มันทำให้เราทราบถึงตำแหน่งของการแข่งขัน รวมทั้งจุดแข็งและจุดอ่อนที่เกี่ยวพันกันขององค์กร จุดแข็งทำให้คุณกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญในแวดวงธุรกิจของคุณ ขณะที่จุดอ่อนทำให้คุณขาดความชำนาญการ ทั้งจุดแข็งและจุดอ่อนทำให้คุณเข้าใจถึงผลดีและผลเสียจากการแข่งขัน การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในของ IC&M จะช่วยให้คุณเพิ่มประโยชน์จากจุดแข็งและพิชิตจุดอ่อน

ปณิตา การจัดการทั่วไป รุ่น52ภาคปกติ รหัส5210125401064



บทที่ 5 ทฤษฎีผู้นำที่เหมาะสมกับสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน
ทฤษฎีความเป็นผู้นำเชิงสถานการณ์ : ทฤษฎีเส้นทางสู่เป้าหมาย

เป็นทฤษฎีเชิงสถานการณ์ซึ่งยึดถือว่าประสิทธิผลของผู้นำขึ้นกับความสามารถที่จะจูงใจและสร้างความพึงพอใจของพนักงานให้ทำงาน ทั้งหมดมีความสัมพันธ์เกี่ยวของกับ Martin G. Evans, Robert J. House และบุคคลอื่นซึ่งได้ขยายความ และทำให้ส่วนของทฤษฎีเส้นทางสู่เป้าหมายชัดเจนขึ้น โดยมีทฤษฎีความคาดหวังของการาจูงใจ พนักงานได้รับการกระตุ้นให้ทำงานถ้าเขาเชื่อว่าความพยายามจะนำไปสู่ความสำเร็จในงานที่ได้รับมอบหมาย และถ้าเขาเชื่อว่าความสำเร็จในงานจะนำไปสู่รางวัลที่เขาพึงพอใจ
พฤติกรรมผู้นำ(Leader behavior) การขึ้นกับสถานการณ์ผู้นำจะยอมรับพฤติกรรมผู้นำ 4 ประการ คือ
1.ผู้นำแบบบงการ เป็นการบอกพนักงานถึงวิธีการที่ควรทำโดยจัดเตรียมรายละเอียดของงานที่มอบหมายและตารางการทำงาน กำหนดมาตรฐานการทำงานเฉพาะเอาไว้ พฤติกรรมนี้คลายคลึงกับการกำหนดโครงสร้างที่เริ่มจากตัวเองเป็นหลักและการมุ่งที่งาน

2.ผู้นำที่ให้การสนับสนุน เป็นผู้นำที่มุ่งความต้องการที่พนักงานและต้องการให้ความเป็นอยู่ที่ดีกับพนักงาน รวมทั้งการสร้างโอกาสและสิ่งแวดล้อมในการทำงานที่เป็นมิตร คล้ายคลึงกับพฤติกรรมที่คำนึงถึงผู้อื่นและการมุ่งความสัมพันธ์กันมีการฝึกอบรมการเป็นผู้นำ

3.ผู้นำแบบมีส่วนร่วม เป็นผู้นำที่ให้คำแนะนำกับพนักงาน การค้นหาความคิด และการกระตุ้นการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ

4.ผู้นำที่มุ่งที่ความสำเร็จ เป็นการกำหนดวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนและท้าทายสำหรับพนักงาน ผู้นำที่มุ่งที่ความสำเร็จได้มีการปรับปรุงการทำงานกลุ่มอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่สร้างความเชื่อมั่นว่าพนักงานสามารถบรรลุมาตรฐานเหล่านั้น

ตัวแปรเชิงสถานการณ์ สามารถจัดกลุ่มเป็น 2 ประเภท คือ
1.ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย โครงสร้างงาน ระบบอำนาจที่เป็นทางการขององค์การ และกลุ่มงาน ปัจจัยเหล่านี้จะสามารถสร้างความพึงพอใจและรู้สึกพอใจในงาน
2.ลักษณะผู้ใต้บังคับบัญชา หรือผู้ร่วมงาน ซึ่งประกอบด้วย ทักษะและความต้องการของพนักงาน ผู้บริหารโดยทั่วไปจะปรับรูปแบบการเป็นผู้นำตามความสามารถของพนักงาน

อ้างอิง : ศิริวรรณ เสรีรัตน์ . (2550). การจัดการและพฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ : ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.

สุชาดา สุขวงษ์ suchada.tak002@gmail.com

องค์การสมัยใหม่ (Modern organization)

การจัดการเกิดขึ้นในองค์การ และในมุมมองด้านการจัดการ องค์การหมายถึง การที่มีคนมาทํางานร่วมกันอย่างเป็นระบบเพื่อให้ได้บรรลุเป้าหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งองค์การมีลักษณะร่วมกันอยู่ 3 ประการ ได้แก่
1) ทุกองค์การต้องมีวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของตนเอง
2) ทุกองค์การต้องมีคนร่วมกันทํางาน
3) องค์การต้องมีการจัดโครงสร้างงานแบ่งงานหน้าที่รับผิดชอบของคนในองค์การ

ตามที่กล่าวข้างต้น จะเห็นว่าองค์การปัจจุบันต้องเผชิญกับสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นองค์การต้องมีการปรับเปลี่ยนอยู่เสมอ แนวคิดเกี่ยวกับองค์การในแบบเดิมกับองค์การสมัยใหม่ก็มีความแตกต่างกัน เช่น การจัดการแบบคงเดิมกับแบบพลวัตร รูปแบบไม่ยืดหยุ่นกับแบบยืดหยุ่น การเน้นที่ตัวงานกับเน้นทักษะ การมีสถานที่ทำงานและเวลาทำงานที่เฉพาะคงที่กับการทํางานได้ทุกที่ทุกเวลา

http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=46d9281b0ded0530

อารยา 039 การจัดการทั่วไป



ผู้นำที่มีประสิทธิภาพควรเป็นผู้นำที่มีพฤติกรรมต่อไปนี้

1. มองปัญหาที่จะเกิดขึ้นในวันพรุ่งนี้ และผลจากการทำงานในวันนี้มีอะไรบ้างที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในอนาคต

2. พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอเพื่อผลประโยชน์ขององค์การ

3. กำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับบัญชาให้สูงโดยมีการชี้แจงวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนและเข้าใจตรงกัน

4. พยายามสร้างหรือปลูกฝังค่านิยมในการทำงานที่ถูกต้องให้กับผู้ใต้บังคับบัญชาทุกคน เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นในการทำงานให้ประสบผลสำเร็จ

5. ต้องกล้าตัดสินใจด้วยความเชื่อมั่นว่าถูกต้อง และมีเหตุผลเพียงพอ

6. สุขุมใจเย็น และรู้จักรอเวลาที่เหมาะสมสำหรับการตัดสินใจดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง

7. สร้างบรรยากาศในการทำงานให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเกิดความกระตือรือร้นในการทำงานอยู่เสมอ

8. ให้ความสนใจต่อความต้องการและความคาดหวังของผู้ใต้บังคับบัญชาโดยเฉพาะอย่างยิ่งงานฝึกอบรมเพื่อพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชา

9. จัดให้มีการสื่อสารระบบเปิด เป็นไปอย่างทั่วถึงทุกระดับ

10. กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ใต้บังคับบัญชาให้ชัดเจนแน่นอน ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับบัญชาให้สูงขึ้นอยู่เสมอ

11. ยอมรับว่าแต่ละคนมีแรงจูงใจในการทำงานที่แตกต่างกัน ดังนั้นต้องพยายามวิเคราะห์ดูว่า อะไรเป็นแรงจูงใจในการทำงานของผู้ใต้บังคับบัญชา แล้วให้ความสนใจกับสิ่งนั้นเพื่อเป็นการจูงใจให้เขาได้ปฏิบัติงานตามเป้าหมายขององค์การให้มากที่สุด

12. กำหนดขอบเขตอำนาจ หน้าที่ ความรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน หรือมอบหมายงานให้ชัดเจน เพื่อให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีอิสระหรือมีความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน



อ้างอิง : หนังสือ การบริหารทักษะ และ การปฏิบัติ

โดย เอกชัย กี่สุขพันธ์

อารยา 039 การจัดการทั่วไป



www.a-roi.com

เป็นเว็บไซต์ " ภัตตาคาร ศิรินทร์ " ในนามของ "อร่อยดอทคอม" ภัตตาคารมีบริการหลากหลาย อาหารไทย-อาหารจีน ทั้งในและนอกสถานที่ มีรายการหลากหลายให้ท่านเลือก การันตี "ความอร่อย" ที่ มรว.ถนัดศรี มอบ "เชลล์ชวนชิม" ให้มาตลอดระยะเวลากว่า 40 ปี ปรุงอาหารอย่างถูกสุขลักษณะ ราคาย่อมเยาว์แต่ในคุณภาพระดับภัตตาคาร
สำหรับบริการนอกสถานที่มีบริการพร้อมรายการอาหารให้ท่านเลือกได้ตามความประสงค์ ไม่ว่าจะเป็นโต๊ะจีน, บุฟเฟต์, อาหารเลี้ยงพระ, อาหารกล่อง, ออกร้าน ฯลฯ ด้วยราคาและคุณภาพที่ท่านพิสูจน์ได้ด้วยตัวเอง

นางสาวอารยา อินทะสอน 5210125401039 การจัดการทั่วไป ปี4





ทฤษฎีความคาดหวัง

Victor H. Vroom และคณะ ได้ให้ความสนใจศึกษากระบวนการที่ทำให้บุคคลทำการตัดสินใจแสดงพฤติกรรมเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการ โดยที่ Vroom อธิบายว่า พฤติกรรมของบุคคลจะเป็นผลมาจากการตัดสินใจเลือกที่จะกระทำในสิ่งที่เขาเชื่อว่าจะได้ผลตอบแทนสูงที่สุดและเป็นผลตอบแทนที่เขาต้องการ ซึ่งจะสามารถแสดงได้จากสมการต่อไปนี้

การจูงใจ(M) = ความคาดหวัง (E) × เครื่องมือ (I) × ผลบวกของปัจจัยเชิงปฏิบัติการ(V)

โดยการจูงใจ(M) จะเกิดจากความคาดหวัง (E) หรือโอกาสที่การกระทำจะบรรลุด้วยความสำเร็จกับวิธีการหรือเครื่องมือ (I) ที่จะทำให้บรรลุความต้องการ กับคุณค่าของรางวัล (V) หรือผลลัพธ์ที่บุคคลจะได้รับจากการกระทำนั้น ซึ่งจะมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันและให้ผลเชิงบวก โดยบุคคลจะมีการจูงใจเมื่อปัจจัยทั้งสามมีแนวโน้มที่จะส่งผลตามที่เขาต้องการ โดยทฤษฎีความคาดหวังจะอธิบายกระบวนการตัดสินใจของบุคคลว่าจะขึ้นอยู่กับการประเมินปัจจัย 3 ประการ ได้แก่

1. ความน่าสนใจหรือคุณค่าของผลงาน (Attractiveness) เป็นคุณค่าและความพอใจในผลลัพธ์ที่บุคคลจะได้รับเมื่อเขาทำงานเสร็จ ซึ่งจะมีความแตกต่างกันในแต่ละคน

2. ความคาดหวังจากผลลัพธ์ของการทำงาน (Performance-outcome Expectancy) เป็นความเชื่อมั่นในความสำเร็จของผลงานว่าจะมีโอกาสหรือความเป็นไปได้มากหรือน้อยอย่างไร

3. ความคาดหวังจากแรงพยายามและการทำงาน (Effort-performance Expectancy) เป็นความพยายามที่บุคคลได้ส่งลงไปในงาน เพื่อที่จะให้ได้ผลงานออกมาตามต้องการ

ถึงแม้ทฤษฎีความต้องการจะมีความสมเหตุผลทางตรรกะ (Logic) แต่ก็มิได้หมายความว่าทฤษฎีนี้จะมีความเป็นสากลที่สามารถนำไปประยุกต์ได้กับทุกสถานการณ์ เนื่องจากปัจจัยต่างๆ ล้วนมีความเป็นนามธรรม (Subjective) ซึ่งผู้ใช้ต้องแน่ใจว่าผู้ได้รับการกระตุ้นจะมีความคาดหวังในเป้าหมายและความสามารถของตน ตลอดจนให้ความสำคัญกับรางวัลที่เขาจะได้รับ จึงถือว่าเป็นงานที่ต้องใช้ความละเอียดอ่อนและประสบการณ์ของผู้ใช้ในการประเมินสภาพแวดล้อมและความต้องการส่วนบุคคลของพนักงานที่เขาต้องการจะจูงใจให้ทำงาน

อ้างอิงจากหนังสือ การจัดการ โดย ผศ.ดร.ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์ และฉัตยาพร เสมอใจ พ.ศ.2547