ทฤษฎีวิธีทางสู่เป้าประสงค์ (ลักษณะของผู้นำ)
เฮาส์ ( House, 1971) ได้แสดงทัศนคติว่า จากทฤษฎีสู่เป้าประสงค์ อาจกำหนดชนิดหรือแบบของภาวะผู้นำได้ 4 แบบซึ่งสรุปได้ดังนี้
1.ภาวะการเป็นผู้นำแบบชี้ทาง (Directive leadership) ภาวะการเป็นผู้นำแบบนี้มีลักษณะของภาวะการเป็นผู้นำแบบอำนาจนิยม (Authoritarian) ผู้นำจะเป็นผู้กำหนดเป้าหมายและแนวทางการปฏิบัติงานโดยเฉพาะให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชา โดยผู้ใต้บังคับบัญชาจะไม่เปิดโอกาสให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีส่วนร่วม (Participation)
2.ภาวะการเป็นผู้นำแบบสนับสนุน (Supportive leadership) ผู้นำแบบนี้จะมีความเป็นกันเอง มีลักษณะเข้าหาได้ง่ายและมีความเห็นอกเห็นใจผู้ใต้บังคับบัญชาอย่าแท้จริง
3.ภาวะการเป็นผู้นำแบบมีส่วนร่วม (Participative leadership) ผู้นำแบบนี้จะเปิดโอกาสให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีส่วนร่วม โดยเขาจะขอให้ผู้ใต้บังคับบัญชาแสดงความคิดเห็นต่างๆ แต่ถึงกระนั้น เขาก็ยังรักษาและสงวนหน้าที่ในการทำการวินิจฉัยสั่งการหรือการตัดสินใจไว้ที่ตัวเขา
4.ผู้นำแบบมุ่งความสำเร็จ (Achievement - oriented leadership) ผู้นำแบบนี้จะตั้งเป้าหมายที่น่าท้าทายไว้สำหรับผู้ใต้บังคับบัญชาและมีความมั่นใจว่าผู้ใต้บังคับบัญชาจะบรรลุเป้าหมายต่างๆเหล่านั้นได้อย่างดี ดังนั้น ผู้นำแบบนี้จึงมีความเชื่อมั่นในตัวผู้ใต้บังคับบัญชาและจะเปิดโอกาสให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้แสดงความสามารถอย่างเต็มที่
เฮาส์แนะนำว่าชนิดหรือแบบต่างๆของภาวการณ์เป็นผู้นำนี้ ผู้นำคนหนึ่งอาจนำมาใช้ได้ในสถานการณ์ที่ต่างกัน ปัจจัยที่กำหนดความแตกต่างของสถานการณ์หนึ่งๆก็คือปัจจัยลักษณะส่วนตัวของผู้ใต้บังคับบัญชาและปัจจัยสภาพแวดล้อม
อ้างอิงจาก ชนัญนี ภังคานนท์. (2551). พฤติกรรมและการสื่อสารในองค์การ. พิมพ์ครั้งที่. ปทุมธานี.สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น